4 | | | ตำนานอาถรรพ์ อาชญากรโลกไม่ลืม ฆาตกรรมบันลือโลก ประวัติศาสตร์ทั่วมุมโลก | | |

Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
21 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย




นักวิชาการและผู้สนใจจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่พยายามศึกษาค้นคว้าถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันเป็นหลายแนวคิด บ้างก็ว่าอยู่ไกลถึงเทือกเขาอัลไตตอนเหนือของประเทศจีนปัจจุบัน บ้างก็ว่าอยู่ทางตอนกลางหรือตอนใต้ของประเทศจีนปัจจุบัน บ้างก็ว่าอยู่แถบคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย และบ้างก็ว่าอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันนี้เอง แนวความคิดเหล่านี้ต่างก็มีเหตุผลและหลักฐานสนับสนุนพอสมควร และต่างก็มีทั้งผู้เชื่อถือและผู้คัดค้านไม่เห็นได้วย ต่อไปอาจมีหลักฐานเพิ่มเติมจนทำให้เราเชื่อแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง หรืออาจมีแนวคิดใหม่เกิดขึ้นอีกก็ได้

แนวความคิดที่ 1 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต
เจ้าของแนวความคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต ซึ่งอยู่ในมองโกเลียทางตอนเหนือของประเทศจีนนี้ คือ ดร.วิเลียม คลิฟตัน (Dr. William Clifton Dodd) หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ซึ่งอยู่ในเมืองไทยนานถึง 32 ปี และได้เดินทางสำรวจจากภาคเหนือของไทยไปในพม่า ลาว เวียดนาม จนถึงมณฑลยูนนาน กวางสี ไกวเจา และกวางตุ้งในจีน ภายหลังได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Tai Race : Elder Brother of the Chinese ว่า คนไทยมีเชื้อสายมองโกล แล้วต่อมาได้อพยพลงมาทางตอนใต้จนถึงดินแดนซึ่งปัจจุบันเรียกว่า คาบสมุทรอินโดจีน ความคิดที่ว่ากำเนิดของชนชาติไทยอยู่ที่เทือกเขาอัลไตนี้ ขุนวิจิตรมาตรา (รองอำมาตย์โท สง่า กาญจนาคพันธุ์) ข้าราชการที่มีความสนใจประวัติศาสตร์ไทย มีความเห็นสอดคล้องกับแนวความคิดนี้ จึงได้นำมาขยายความต่อ โดยได้ศึกษาค้นคว้าและเขียนผลงานออกเผยแพร่ในหนังสือชื่อ หลักไทย ซึ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2471 มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวได้ดังนี้ 

“....... ในชั้นแรกที่เดียว ไทยจะมีชาติภูมิอยู่ตรงไหนนั้น ไม่มีทางทราบได้ชัด แต่อาจกล่าวได้กว้างๆ ว่ามีแหล่งเดิมอยู่ในบริเวณภูเขาอัลไตอันเป็นบ่อเกิดของพวกมงโกลด้วยกันเท่านั้น ภายหลังาจึงแยกลงมาข้างใต้ มาตั้งภูมิลำเนาใหญ่โตขึ้นในลุ่มน้ำเหลือง ขณะที่จีนแยกไปเรียรายอยู่ตามชายทะเลสาบคัสเปียนทางด้านตะวันตก พร้อมกันกับพวกตาต ซึ่งเที่ยวไปมาอยู่แถวทะเลทรายชาโมหรือโกบีใกล้ๆ กับบ้านเกิดนั้นเอง พวกไทยได้ชัยภูมิเป็นอู่ข้าวอู่น้ำบริบูรณ์ดีกว่าพวกอื่นๆ จึงเจริญก้าวหน้าบรรดาสายมงโกลด้วยกัน.......”

ปัจจุบันมีผู้คัดค้านแนวความคิดนี้มาก เนื่องจากหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ประเกอบกับเทือกเขาอัลไตอยู่ในเขตหนาว ซึ่งอยู่ห่างไกลจากประเทศไทยในปัจจุบันมาก หากมีการอพยพโยกย้ายลงมาจริงก็จะต้องผ่านอากาศหนาวเย็น และทะเลทรายอันกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยความทุรกันดาร เป็นระยะทางยาวไกลยากที่จะมีชีวิตรอดมาเป็นจำนวนมากได้

แนวความคิดที่ 2 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน
มณฑลเสฉวนอยู่ในตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน ศาสตราจารย์ แตร์รีออง เดอ ลาคูเปอรี (Terrien ‘e Lacouprie) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน เป็นผู้เสนอแนวความคิดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2428
ลาคูเปอรี่ได้แนวความคิดนี้จากการค้นคว้าประวัติศาสตร์และภาษาโบราณาของจีน โด่ยเสนอความเห็นไว้ในบทนำของหนังสือ Amongst the Shans ตีพิมพ์ที่อังกฤษใน พ.ศ. 2428 ในบทความนี้ลาคูเปอรีสรุปว่าคนเชาติไทยเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน

ความเป็นมาของชนชาติไทยตามแนวความคิดของลาคูเปอรีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแสดงทัศนะในแนวเดียวกันไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง แสดงบรรยายพงศาวดารสยาม ซึ่งเป็นหนังสือรวมบทบรรยายของพระองค์ที่ทรงบรรยายไว้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2467 ว่า ดินแดนแถบประเทศไทยแต่เดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกละว้า มอญ เขมร คนไทยอยู่แถบทิเบตติดต่อกับเขตแดนจีน (มณฑลเสฉวนปัจจุบัน) ราว พ.ศ. 500 ถูกจีนรุกราน จึงอพยพมาอยู่ที่ยูนนาน และแยกย้ายกันไปทางตะวันตก คือ เงี้ยว ฉาน ทางใต้คือ สิบสองจุไทย และทางตอนล่างคือ ล้านนา ล้านช้าง

สำหรับนักวิชาการไทยท่านอื่น ๆ แม้ผลงานจะปรากฏในช่วงเวลาแตกต่างกัน แต่ประเด็นของเรื่องก็สอดคล้องกัน เช่น

- ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (เสถียรโกเศศ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ที่เขียนขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารชื่อ เรื่องของชาติไทย (พ.ศ. 2483) ว่า ถิ่นเดิมของคนไทยอยู่ทางตอนกลางของประเทศจีนในลุ่มแม่น้ำแยงซี ฝั่งซ้ายตั้งแต่มณฑลเสฉวนไปจดทะเลทางตะวันออก

- พระบริหารเทพธานี กล่าวไว้ในผลงาน ซึ่งได้จากการศึกษา ค้นคว้า คือ เรื่อง พงศาวดารชาติไทย (พ.ศ. 2496) ว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีน ต่อมาอพยพลงมาที่มณฑลยูนนาน และค่อยๆ ลงมาทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

- หลวงวิจิตรวาทการ เป็นอีกท่านหนึ่งสนใจเรื่องถิ่นกำเนิด ของชาติไทย ท่านได้แสดงทัศนะไว้ในหนังสือ สยามกับสุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2467) และงานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย (พ.ศ. 2499) สรุปว่า เดิมคนไทยอยู่ทางตอนกลางของจีน ในดินแดนซี่งเป็นมณฑลเสฉวนร ฮูเป อันฮุย และเกียงซีในปัจจุบัน แล้วค่อยๆ อพยพลงมาสู่มณฑลยูนานและแหลมอินโดจีน

ปัจจุบันได้มีหลักฐานการค้นคว้าใหม่ ๆ แย้งแนวความคิดนี้ว่าคนไทยเป็นพวกประกอบอาชีพการเพาะปลูกพืชเมืองร้อน โดยเฉพาะการปลูกข้าว จึงน่าจะอยู่ในที่ราบลุ่มในเขตร้อนชื้นมากกว่าบริเวณที่เป็นภูเขาอันฮุยหรือที่ราบสูงซึ่งมีอากาศหนาว

แนวความคิดที่ 3 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน
บริเวณทางตอนใต้ของจีนในทีนี้ หมายถึง บริเวณซี่งปัจจุบันเป็นมณฑลยูนนานของจีน ตอนเหนือของเวียตนาม รัฐฉานของพม่า และรัฐอัสสัมของอินเดีย แนวความคิดนี้เสนอครั้งแรกโดยนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ อาร์ซิบัล รอสส์ โคลฮูน (Archibal Ross Colquhoun) เมื่อ พ.ศ. 2428 โคลฮูนเสนอแนวความคิดนี้ หลังจากเขาเดินทางสำรวจโดยออกเดินทางจากวางตุ้ง ประเทศจีนไปทางตะวันตกถึงเมืองมันฑะเลย์ในพม่า ผลการสำรวจของเขาปรากฎอยู่ในหนังสือชื่อ ไครเซ (Chryse) ตีพิมพ์ที่อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ได้ข้อสรุปว่ามีคนเชื้อชาติไทยอาศัยอยู่ตามบริเวณที่เขาเดินทางผ่านไปโดยตลอด นักวิชาการตะวันตกที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับแนวความคิดนี้ ที่สำคัญคือ อี.เอช. ปาร์คเกอร์ (E.H. Parker) และ โวลแฟรม อีเบอร์ฮาร์ด (Wolfram Eberhard) ปาร์คเกอร์เคยเป็นกงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหลำ และได้เขียนบทความเรื่อง น่านเจ้า พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2437 สรุปใจความสำคัญว่า น่านเจ้าซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรที่ยูนานนั้นเคยเป็นของไทย

อีเบอร์ฮาร์ด ศาสตราจารย์ชาวเยอรมันได้ศึกษาเรื่องนี้เมื่อ พ.ศ. 2491 และได้แสดงแนวความคิดไว้ในหนังสือชื่อ A History of China ยืนยันว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดใกล้ปากแม่น้ำแยงซี ในมณฑลเสฉวน ต่อมาได้อพยพถอยร่นลงมาจนถึงมณฑลยูนนาน นักวิชาการไทยที่มีผลงานการค้นคว้าที่สอดคล้องกับแนวความคิดนี้คือ พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ผู้แต่งหนังสือ พงศาวดารโยนก ซึ่งเชื่อว่าถิ่นกำเนิดาของชนชาติไทยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณตอนใต้ของจีน รวมไปถึงรัฐอัสสัมของอินเดีย ท่านได้เล่าถึงวิธีการศึกษาค้นคว้าของท่านไว้ในคำนำหนังสือพงศาวดารโยนกว่า ข้าพเจ้าได้สอบสวนกับพงศาวดารพม่า รามัญ ไทยใหญ่ ล้านช้าง และพงศาวดารจีน พงศาวดารเหนือ พระราชพงศาวดารสยาม และพงศาวดารเขมรกับหนังสือต่างๆ ในภาษาอังกฤษด้วย หนังสือเรื่องนี้พิมพ์เป็นเล่มครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2450 เนื้อหาแต่ละตอนล้วนเกี่ยวกับเรื่องราวการอพยพของคนไทยจากตอนใต้ของประเทศจีนทั้งสิ้น

นอกจากนี้ศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช (พ.ศ. 2456 – 2521) ซี่งเคยเป็นกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ก็มีความเชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่ทางตอนล่างของจีน หลังจากที่ได้ค้นคว้าหลักฐานทางฝ่ายไทยตรวจสอบกับความเห็นของอีเบอร์ฮาร์ด และหมอดอดด์ แล้วลงความเห็นว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ตอนใต้ของจีนในเขตมณฑลกวางตุ้ง กวางสี ต่อมาได้อพยพมาทางตะวันตก ตั้งแต่มณฑลเสฉวนลงล่างเรื่อยมาจนเข้าเขตสิบสองจุไทยลงมาในเขตประเทศลาว

แนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน นักวิชาการาชาวตะวันตกบางท่านได้ขยายแนวความคิดนี้ออกไป ทำให้มีสมมุติฐานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น อย่างเช่นมีข้อเสนอว่า ถิ่นกำเนิดของคนไทยน่าจะอยู่มณฑลกวางสีและมณฑลกวางตุ้ง เพราะอยู่ในเขตร้อนชื้น บ้างก็ว่าน่าจะอยู่ห่างไกลจากน่านเจ้าไปทางตะวันออก คือแนวเขตแดนระหว่างมณฑลกวางสีของจีนกับบริเวณที่ต่อกับเขตของเวียดนาม เป็นต้น

แนวความคิดที่ 4 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ในแหลมมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย แนวความคิดนี้เสนอโดยกลุ่มนักวิชาการทางการแพทย์ของไทย เริ่มแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาผู้เสนอความเห็น คือ นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ และ นายแพทย์ประเวศ วะสี นายแพทย์สมศักดิ์ได้ตรวจกลุ่มเลือดของคนไทย คนชวาและคนจีน พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีเปอร์เซ็นต์ความถี่ของยีนส์เหมือนกับของชาวเกาะชวา นาจะมีความเกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง คนไทยจึงน่าจะเคยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะชวา นายแพทย์ประเวศพบว่ามีเฮโมโกลบิน อี (Hgb. E) ในเลือดของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมาก เช่นเดียวกับที่พบในกลุ่มของชาวมอญ ละว้า และเขมร แต่แทบไม่พบในคนจีน จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่คนไทยจะเคยอาศัยอยู่ในดินแดนปรแทศจีน เมื่อนำไปประกอบกับความเห็นของพอล เบเนดิกต์ (Poul Benedict) นักภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเสนอไว้เมื่อ พ.ศ. 2485 ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน (กลุ่มชวา – มลายู) คนเผ่าไทยจึงน่าจะเป็นชนชาติเดียวกับชวา – มลายู จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า ชนชาติไทยน่าจะอพยพมาจากทางตอนใต้ คือ จากหมู่เกาะอินโดนีเซียและแหลมมลายู แล้วเลยขึ้นไปทางเหนือถึงบริเวณตอนใต้ของประเทศจีนและอาจอพยพถอยร่นลงมาอีกครั้งหนึ่ง จนสามารถตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน แนวความคิดนี้แม้จะมีผู้เห็นด้วยอยู่บ้าง แต่ก็มีความคิดเห็นโต้แย้งอยู่ จึงจะต้องค้นหาหลักฐานอื่นๆ มาประกอบให้แนวความคิดนี้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

แนวความคิดที่ 5 เชื่อวาถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ในอาณาบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันนี้เอง อาณาบริเวณที่เป็นประเทศปัจจุบัน หมายถึง อาณาบริเวณที่เรีกยว่า สุวรรณภูมิ ได้แก่ดินแดนที่เป็นคาบสมุทรอินโดจีน ครอบคลุมถึงบริเวณตอนใต้ของจีนปัจจุบัน และตอนเหนือของพม่าปัจจุบัน ลงไปจนถึงแหลมมลายู แนวความคิดนี้เพิ่งเกิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2510 ภายหลังที่ได้มีการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยอย่างจริงจัง นักวิชาการคนสำคัญในกลุ่มแนวความคิดนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยเท่าที่ควรนำมากล่าว มีดังนี้
1. การสำรวจและขุดค้นที่บริเวณสองฝั่งแควน้อยและแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ของคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก พ.ศ. 2503 – 2505 และ พ.ศ. 2509
2. การสำรวจและขุดค้นที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และในพื้นที่ในเขตจังหวัดของแก่น สกลนคร และนครพนม ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา และบริติชมิวเซียม ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2509 – 2510

จากการขุดพบโครงกระดูกที่จังหวัดกาญจนบุรี ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกายวิภาคผู้ร่วมการสำรวจขุดค้นยืนยันว่า เป็นโครงกระดูกยุคหินใหม่อายุประมาณ 4,000 ปี มีลักษณะสำคัญตรงกับโครงกระดูกของคนไทยในปัจจุบัน น่าเชื่อว่าโครงกระดูกที่พบนั้นเป็นโครงกระดูกของคนไทย จึงน่าเป็นไปได้ว่า ถิ่นกำเนิดเดิมของคนไทย คือ บริเวณที่เป็นประเทศไทยเรานี้เอง ไม่ได้อพยพโยกย้ายมาจากที่ไหนเลย สำหรับหลักฐานที่ขุดพบที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี นั้น แม้นักวิชาการยังไม่อาจลงความเห็นสรุปว่าเป็นของบรรพบุรุษของคนไทยหรือไม่ แต่ก็เป็นหลัฐานบ่งบอกว่าได้มีชุมชนที่พัฒนามาถึงขั้นทำภาชนะดินเผาและเครื่องมือเครื่องใช้ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยเป๋นเวลาหลายพันปีมาแล้ว

เมื่อนำมาประกอบความเห็นเรื่องเฮโมโกลบิน อี (Hgb. E) ของนายแพทย์ประเวศ วะสี ที่บอกว่าคนไทยไม่น่าจะเคยอาศัยอยู่ในประเทศจีน และไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดใดๆ เกี่ยวกับการอพยพโยกย้ายของคนไทยเลย ทำให้น่าเชื่ออย่างยิ่งว่าคนไทยไม่ได้มาจากไหน แต่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนที่เป็นอาณาบริเวณประเทศไทยนี้เอง และคงจะสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันมานานแสนนานแล้ว

ตลอดเวลาอันยาวนานนั้น ชนชาติไทยย่อมต้องเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจอิทิพลของชนชาติอื่นที่ผลัดเปลี่ยนกันแผ่อำนาจเข้ามา เช่น มอญ และเขมร เป็นต้น หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบที่มีอักษราจารีกเป็นภาษามอญบ้าง เขมรบ้าง และสันสกฤตบ้างนั้น คงจะแสดงถึงอำนาจอิทิพลของชนชาติเหล่านั้นเท่านั้น คงจะมิได้หมายความว่า ดินแดนนี้เป็นที่อยู่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป แม้ภาษาและการแต่งกายจะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และถ้อยคำในภาษาส่วนใหญ่ยังแสดงว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนไทย และยังคงเรียกตนเองว่าเป็นคนไทย (ไต หรือ ไท) หลักฐานทางโบราณคดี หลักฐานทางเฮโมโกลบิน อี และหลักฐานจากความจริงในปัจจุบันที่มีคนเชื้อชาติไทยกระจายอยู่ทั่วไปทั้งในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน และบริเวณโดยรอบ ดังกล่าวมาแล้วนี้ยืนยันวาดินแดนนี้เป็นที่อยู่อาศัยของไทยมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ อาจถือได้ว่าเป็นแหล่างกำเนิดของชนชาติอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังคงไม่ได้รับการยอมรับกันทั่วไป คงจะต้องศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานมาสนับสนุนเพิ่มเติมอีก
........



ที่มา : 
https://sites.google.com/site/jaruphasurapinit310/thin-kaneid-khxng-chati-thiy









Create Date : 21 กรกฎาคม 2557
Last Update : 22 กันยายน 2560 16:19:37 น. 0 comments
Counter : 16686 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

hathairat2011
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]










Google

ขอบคุณที่แวะมา
อย่าลืมคอมเม้นท์นะจ้ะ

Flag Counter

ส่งอีเมล์

Facebook ของ Hathairat



New Comments
Friends' blogs
[Add hathairat2011's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.