วัดบางพลีใหญ่กลาง Wat Bang Phli Yai Klang, Samut Prakan.

ที่ตั้ง
           วัดบางพลีใหญ่กลางตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
 
ประวัติ:
           วัดบางพลีใหญ่กลางเป็นวัดราษฎร์ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่มีสร้อยว่า “กลาง” เพราะตั้งอยู่ระหว่าง
วัดบางพลีใหญ่ในกับวัดคงคาราม (วัดยายหนู) ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างไปแล้ว วัดนี้สร้างขึ้นบนที่ดินของนายช้าง หมื่นราษฎร์เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๗ โดยนายน้อย หมื่นราษฎร์ผู้เป็นพี่ชายซึ่งได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดน้อยปทุมคงคา” เพราะได้ขุดสระปลูกบัวหลวงไว้ด้วย ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "วัดบางพลีใหญ่กลาง" เช่นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปสมัยนี้มักรู้จักวัดนี้ในชื่อ “วัดพระนอนบางพลี” เพราะมีวิหารพระนอนใหญ่ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระศากยมุนีศรีสุเมธบพิตรหรือพระนอนบางพลีซึ่งเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
 
           วัดบางพลีใหญ่กลางได้รับพระราชทานวิสุคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘
 
ที่ตั้งภาพจิตรกรรม: 
 ๘ อาคารตามรายละเอียดข้างล่างนี้
 
เนื้อหา: 
 
           อุโบสถ:
          ชั้นบน: ด้านหลังพระประธานเขียนภาพจักรวาลตามคติในไตรภูมิพระร่วง ผนังฝั่งทางเข้าเขียนมารผจญ สำหรับผนังด้านข้าง บนสุดเขียนลายไทย ถัดลงมาเขียนพระพุทธเจ้า (อดีตพุทธ?) ถัดลงมาจนถึงขอบหน้าต่างด้านล่างเขียนพุทธประวัติ ยกเว้นห้องสุดท้ายทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะเขียนวิถีชีวิตและประเพณีของชาวบางพลี บนบานประตูหน้าต่างเขียนภาพทวารบาล
          ชั้นล่าง: เขียนคำสอนของพระมาลัยโดยแบ่งออกเป็น ๒ ห้อง ห้องด้านหน้าแสดงผลบุญ ส่วนห้องด้านหลัง
แสดงผลกรรม
          พระมหาเจดีย์: ตอนที่ไปถ่ายภาพที่วัดนี้เมื่อปลายเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ พระมหาเจดีย์ยังสร้างไม่เสร็จ ภาพจิตรกรรมก็ยังเพิ่งเสร็จเพียงผนังเดียว (อีกผนังเพิ่งเริ่มวาดเป็นตอนนางสุชาดากับลอยถาด) ฉากที่เสร็จแล้วน่าจะเป็นฉากตอนปรินิพพานแต่วาดพระพุทธเจ้าเป็นปางไสยาสน์ จึงไม่แน่ใจว่าตั้งใจให้เป็นปางไสยาสน์จริงๆ หรือผู้วาดสับสนระหว่างพระปางไสยาสน์กับปางปรินิพพาน
 
          วิหารพระนอนใหญ่: ด้านนอกของประตูทางเข้ามีรูปพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้ ด้านในเขียนพุทธประวัติ
          วิหารพระปางปรินิพพาน: เขียนเทวดา พระสงฆ์และฆราวาสมาชุมนุมกันเพื่อสักการะพระพุทธรูป
ปางปรินิพพานที่เป็นพระประธานในวิหาร
          ศาลาพุทธบูชา: บนคอสองวาดภาพไว้ตลอดความยาวของศาลา มีทั้งภาพพระธาตุและเทวดาประจำนักษัตร พระประจำวันเกิด เทวดาผู้หญิงและสตรีที่มีบทบาทในพุทธศาสนา แล้วยังมีภาพวันเปิดสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ ๑ ภาพด้วย
          ศาลาศรีพิศาลกาญจนาภิเษก: บนคอสองวาดภาพไว้ตลอดความยาวของศาลา มีสารพัดเรื่องทั้งพุทธประวัติ ทศชาติชาดก เวสสันดรชาดก กิจวัตรของพระสงฆ์ พระประจำวันเกิด พระมาลัย ไตรลักษณ์ มรรค ๘ สัญโญชน์ (สังโยชน์) ๑๐ คาถาพาหุง คาถาชินบัญชร ภาพเหมือนพระครูพิศาลวุฒิกิจผู้สร้างศาลา อานิสงส์ของกรรมฐาน กำเนิดมนุษย์และความเชื่อเรื่องเส้นทางของผลกรรมที่จะทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก มนุษย์ เทวดา พรหมหรือเข้าสู่นิพพาน
          ศาลาอรรถโกวิทวุฒิคุณ: มีภาพปูนปั้นเขียนสีเป็นเทวดาประจำนักษัตรต่างๆ ประดับไว้เหนือหน้าต่าง
โดยรอบอาคารด้านนอก
          ระเบียงคด: มีทั้งคาถาพาหุง ทศชาติชาดก เรื่องของพระอินทร์ อนาถบิณฑิกเศรษฐี หมอชีวกโกมารภัจจ์ นางรูปนันทา ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จี้กงกับนรกคนเป็น ศีล ๕ และธรรม ๕ ประการเกี่ยวกับผู้คนที่ควรสักการะบูชา
 
 
 
 
 

ผนังด้านข้างในพระอุโบสถ

วิถีชีวิตชาวบางพลี

ประเพณีโยนบัว รับบัว

อุโบสถชั้นล่าง

มหาเจดีย์

วิหารพระปางปรินิพพาน

ศาลาพุทธบูชา ๑

ศาลาพุทธบูชา ๒

ศาลาพุทธบูชา ๓

ศาลาพุทธบูชา ๔

ศาลาศรีพิศาล ๑

ศาลาศรีพิศาล ๒

ศาลาศรีพิศาล ๓

ศาลาศรีพิศาล ๔

ศาลาอรรถโกวิทวุฒิคุณ

ระเบียงคด ๑

ระเบียงคด ๒

ระเบียงคด ๓

ระเบียงคด ๔
Wat Bang Phli Yai Klang, Samut Prakan

Location:
       On the bank of Samrong Canal, Tambon Bang Phli Yai, Amphoe Bang Phli, Samut Prakan.

Location of murals: In 8 buildings.

Stories: 
       Bot: The upper floor paints the Buddha Story with some rooms for the traditions and ways of life of Bang Phli whereas the lower floor paints Phra Malai’s teachings of what acts lead to Hell and Heaven.
       Pagoda: The Padoga was still under construction when we took photos there in April, 2014. Only one scene of the Buddha’s Nirvana was finished.
       Vihara: Both Viharas paint the Buddha Story.
       Sala: There are 3 Salas in this temple. Two Salas paint a variety of subjects many of which are uncommon. The last Sala has painted stuccos of the guardians for each Chinese Zodiac above windows.
       Corridor: Along the corridor, one can find the Buddha’s victories over non-believers and those who want to harm him; the Buddha’s Ten Previous Lives as well as the stories of some important characters in the Buddha Story.

 
     
 
แผนที่
 
(คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น สามารถกด Fullscreen แล้วขยายภาพเพื่อดูรายละเอียดในแต่ละจุดได้นะคะ
)







 
บล็อค "ชวนชม"  จะเปลี่ยนวัดใหม่ทุกวันที่ ๑, ๑๑  และ ๒๑ ของเดือนค่ะ
A new set of murals will be uploaded on the 1st, 11th and 21st of the month.
 
ขอขอบคุณกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสำหรับการสนับสนุนเบื้องต้นในการจัดทำคลังภาพจิตรกรรม



Create Date : 01 มีนาคม 2562
Last Update : 10 ตุลาคม 2563 19:46:16 น.
Counter : 1933 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nanakawaii
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2562

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog