วัดมิ่งเมือง Wat Ming Muang, Chiang Rai.


ที่ตั้ง
           วัดมิ่งเมืองตั้งอยู่บนถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ประวัติ:
           วัดมิ่งเมืองเป็นวัดเก่าแก่ของเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ด้วยความที่เป็นวัดเก่าแก่ จึงไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง มีแต่ตำนานที่แตกต่างกันไปตามเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา ใต้รูปที่ตั้งไว้บูชาในวิหาร ทางวัดเขียนบรรยายไว้ว่าพระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (เทพคำข่าย) พระชนนีของพญามังรายมหาราชเป็นผู้สร้างโดยมีพระนางอุสาปายะโค (ตะละแม่ศรี) พระเทวีของพญามังรายเป็นผู้บูรณะ แต่ทางวัดก็เคยอ้างด้วยว่ามีการค้นพบจารึกภาษาพม่าบนหลาบคำ (แผ่นทองคำบางๆ) ซึ่งปัจจุบันบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ในวัดว่าผู้สร้างคือตะละแม่ศรี พระธิดาพระเจ้าหงสาวดีซึ่งถวายให้เป็นมเหสีพญามังราย แต่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้สร้างก็ตาม ตามตำนานนี้ วัดมิ่งเมืองก็มีมาตั้งแต่สมัยพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
           ส่วนในประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม ๘ กล่าวว่าวัดมิ่งเมืองสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยกลุ่มชาวไทใหญ่ที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ที่นี่เพื่อช่วยฟื้นฟูเมืองเชียงรายโดยให้ชื่อวัดว่า "วัดช้างมูบ (วัดช้างหมอบ)" เพราะสร้างขึ้นบริเวณหนองช้างมูบก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมิ่งเมืองในภายหลัง
           แม้แต่ในเรื่องนี้ ก็มีเรื่องเล่าต่างกันเป็น ๓ แบบ พวกหนึ่งเชื่อว่ามีวัดอยู่ที่นี่อยู่แล้วตั้งแต่ครั้งที่พระเจ้าสามฝั่งแกนทรงพยายามอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๙๗๙ โดยตั้งขบวนอัญเชิญจากวัดพระแก้วไปประดิษฐานบนหลังช้างซึ่งหมอบรออยู่หน้าวัดมิ่งเมืองก่อนเคลื่อนขบวนออกจากประตูเมืองที่ติดกับวัดไปเชียงใหม่ ชาวบ้านจึงพากันเรียกวัดที่ช้างหมอบรอนี้ว่า “วัดช้างมูบ” ตั้งแต่นั้นมา
           อีกทางหนึ่งก็ว่ากันว่าในบริเวณวัดมีบ่อน้ำโบราณแห่งหนึ่ง เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่โดยมีซุ้มครอบไว้บนหลังช้างหมอบ ชาวบ้านผ่านไปมาจึงเรียกว่าบ่อน้ำช้างมูบและเรียกชื่อวัดว่า "วัดช้างมูบ"
           ส่วนอีกตำนานนั้นกล่าวว่าในสมัยเจ้าหลวงอุ่นเรือนปกครองเมืองเชียงราย (พ.ศ. ๒๔๐๗-๑๙) ได้มีการขุดดินเพื่อนำไปเผาอิฐสร้างกำแพงเมืองกันจนบริเวณนี้กลายเป็นหนองกว้าง เป็นที่ที่นิยมนำช้างมาหมอบรอชักลากของและพักเล่นน้ำกัน ชาวบ้านจึงเรียกหนองนี้ว่าหนองช้างมูบ เมื่อมีการสร้างวัดขึ้นแถวนี้ในปีต่อมา วัดจึงได้ชื่อว่าวัดช้างมูบตามหนอง
           ก่อนการก่อสร้างซ่อมแซมในปัจจุบัน วัดมิ่งเมืองมีสิ่งก่อสร้างเป็นรูปทรงไทใหญ่ทั้งหมด นอกจากนั้น ยังพบศิลปะพม่าในระยะแรกของการสร้างวัดอีกด้วย ทำให้ทุกตำนานดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น

ที่ตั้งภาพจิตรกรรม: 
 ภายในวิหาร หน้ามุขและด้านในโบสถ์

เนื้อหา: 
           วิหาร: มีภาพจิตรกรรมพุทธประวัติใส่กรอบติดตั้งไว้เหนือขอบประตูและหน้าต่าง มีภาพวาดเทวดาและพระพุทธเจ้าบนตุง นอกจากนั้น ยังมีภาพเขียนของพระเจ้าลวะจักราช พญามังรายมหาราช พระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (เทพคำข่าย) และพระนางอุสาปายะโค (ตะละแม่ศรี) ใส่กรอบตั้งไว้ให้บูชา
           โบสถ์: ด้านหลังของหน้าบัน สาหร่ายรวงผึ้ง ปีกนกและหน้าบันปีกนกในบริเวณหน้ามุขหรือโถงด้านหน้าเขียนภาพเลียนแบบลายคำโดยการเขียนสีทองไว้บนพื้นเขียวเป็นรูปเทวดาและมนุษย์มาร่วมกันบูชาพระพุทธเจ้าโดยสอดแทรกภาพวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของล้านนาไว้ด้วย
           ภายในมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติในระดับเหนือหน้าต่างและประตู ใต้ลงมาเขียนเรื่องเวสสันดร ตำนานเรือแตกของพระสงฆ์รูปหนึ่งซึ่งผู้จัดทำไม่ทราบว่าเป็นใคร รวมทั้งเขียนภาพเรื่องราวที่เกี่ยวกับช้าง โบสถ์หลังนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งในเรื่องการก่อสร้างและการวาดภาพฝาผนังและยังไม่มีกำหนดว่าจะเสร็จเมื่อไร


โบสถ์

โถงหน้ามุข

ทำนาย-ไถนา

โหรเฒ่าเจ้าเล่ห์

ยมกปาฏิหาริย์


เวสสันดร

ตำนานเรือแตก

หลายเชื้อชาติ

หลากอารมณ์

วิหาร

ด้านในวิหาร

รายละเอียดพุทธประวัติ 1

รายละเอียดพุทธประวัติ 2

ทรงพระสุบิน

ปราบช้างนาฬาคิรี

ปางเลไลยกะ

อิงพุทธประวัติ

ตะละแม่ศรี

ตุง


Wat Ming Muang, Chiang Rai

Location:
       On Trai Rat Road in the town centre of Chiang Rai.

Location of murals: Inside the Vihara (the main assembly hall) as well as inside and in the front hall outside the entrance to the still unfinished Bot (the main temple).

Stories:
       Vihara: Framed paintings of the Buddha Story over some doors and windows. Paintings of angel guardians and the Buddha on Tung (Northern flags). There are also portraits of Phya Mungrai the Great who founded Chiang Rai and Chiang Mai, his ancestor, his mother and his wife.
       Bot: In the front hall, there are murals in the Lai Kham (gilded lacquer) style showing the gathering of angels and human beings to worship the Buddha, with some scenes of lives and culture in Northern Thailand
       Inside, one can find the Buddha Story above doors and windows. Further down are the story of Vessantara, the adventure of a monk (unknown to me) and many scenes of elephants. (The former name of Wat Min Muang is Chang Moob, meaning “crouching elephants”).



แผนที่


(คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น)









บล็อค "ชวนชม"  จะเปลี่ยนวัดใหม่ทุกวันที่ ๑, ๑๑  และ ๒๑ ของเดือนนะคะ
A new set of murals will be uploaded on the 1st, 11th and 21st of the month.

ขอขอบคุณกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสำหรับการสนับสนุนเบื้องต้นในการจัดทำคลังภาพจิตรกรรม



Create Date : 19 มีนาคม 2560
Last Update : 20 สิงหาคม 2560 21:21:38 น.
Counter : 1916 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nanakawaii
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2560

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog