ชีวิตหมูหมู...ที่ไม่หมู
Group Blog
 
 
เมษายน 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 เมษายน 2550
 
All Blogs
 

คุณภาพการศึกษาไทย

เมื่อวานได้มีโอกาสอ่านบทความของอาจารย์พิเศษท่านหนึ่งที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ท่านได้พูดถึง คุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎ

และท่านได้ ให้ความเห็นว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้นสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 อันดับด้วยกัน คือ มหาวิทยาลัยปิดของรัฐโดยมากก็จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้น1 มหาวิทยาลัยเอกชน เป็นชั้น2 และมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นชั้น3

อ่านแล้วก็ได้แต่ทดท้อใจ เพราะแม้โดยส่วนตัวแล้วไม่ได้สอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ แต่คิดว่ามหาวิทยาลัยที่ตัวเองสอนอยู่นั้น จัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้น 3 ได้เหมือนกัน

เราจะมีแนวทาง หรือวิธีการอย่างไรที่จะให้คุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยชั้น 3 นั้นดีขึ้นได้

อุปสรรคมากมายของการแก้ปัญหานี้ เริ่มจาก

1. ระบบการบริหารของมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ยังคงติดกับระบบราชการแบบเดิมมาก ทั้งๆที่คุยนักคุยหนาว่าได้ออกนอกระบบแล้ว ระบบการทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา โดยไม่มีข้อโต้แย้ง หรือไม่สามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างได้ ซึ่งสมควรจะมีเฉพาะในกรม กองของทหารเท่านั้น ก็ยังคงมีการนำมาใช้กับระบบบริหารการศึกษา

2. สืบเนื่องจากการที่รัฐลอยแพการศึกษา ปล่อยมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งถ้าดูกันตามหลักการแล้วน่าจะเป็นเรื่องดี แต่นำปัญหาใหญ่มาสู่สถานศึกษา โดยมหาวิทยาลัยต้อง ทำทุกวิถีทาง ที่จะเลี้ยงตนเองให้ได้ มุ่งหวังแต่ปริมาณของนักศึกษา มองนักศึกษาเป็นลูกค้า ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทยในปัจจุบัน

3. จากการต้องการปริมาณนักศึกษานี้เอง ที่ทำให้ไม่มีการคัดกรอง ความเหมาะสมของนักศึกษาในสาขาวิชาที่เรียน หรือแม้จะมีระบบการคัดกรอง ก็ไม่แข็งแรงพอ การสอบเข้า การสอบสัมภาษณ์ ทำพอเป็นพิธี ถ้าอยากเข้าเรียนจริงๆ ก็มีวิถีทางเข้าได้เสมอ แม้ว่าผู้เรียนจะไม่มีพื้นฐาน ทักษะที่เหมาะกับการเรียนก็ตาม

4. ระบบการบริหารงานแบบราชการเก่าๆนี้เองที่ทำให้ มีเรื่องเลื่อยขาเก้าอี้ เรื่องประจบสอพลอ เส้นสาย กันไม่เว้นแต่ละวัน แทนที่อาจารย์จะเอาเวลาที่มีไปปรับปรุง หาความรู้เพิ่มเติมด้านการเรียนการสอนของตน กลับเอาแต่มุ่งหวังประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้มีความรู้ความสามารถที่ทนไม่ได้ หรือรับกับการบริหารงานไม่ได้ ต้องลาออกจากราชการไป ทำให้ขาดบุคลากรคุณภาพ

5. ทั้งนี้ระบบการบริหารแบบยุคเก่าเต่าล้านปี ก็มีผลต่อการการคัดเลือกบุคลากรที่เข้ามาสอน หรือ การจัดการกับผู้สอนในรายวิชาต่างๆ ที่ไม่ความยุติธรรม ไม่มองความเหมาะสมของความรู้ ความสามารถเฉพาะทางของผู้สอนเป็นหลัก ผู้บริหารรักชอบ พอใจ ใคร จะให้ใครสอนหรือไม่สอนวิชาใดก็ได้ จริงอยู่เหล่านี้ล้วนเป็นสิทธิอันชอบของผู้บริหาร หรือหัวหน้างาน หากแต่ผู้บริหารคำนึงถึงคุณภาพการศึกษาเป็นหลักแล้ว มีการจัดสรร และคัดสรรผู้สอนตามหลักวิชาการ ก็จะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งผู้สอน และนักศึกษา ผลที่ตามมาก็คือ คุณภาพการศึกษาที่ดี

6. การสนับสนุนทุนเพื่อการวิจัยของอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยชั้น 3 เหล่านี้ ในบางที่ ก็ยังไม่มากพอ แม้ว่าจะมีการเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้ทำงานวิจัย ก็มีขั้นตอนการขอทุนที่ซับซ้อน ยุ่งยาก การตัดสินใจใดๆ ก็มีผู้บริหารเป็นส่วนสำคัญ


ทั้งนี้ส่วนสำคัญที่สุดที่มหาวิทยาลัยชั้น3 อย่างราชภัฏ หรือ ราชมงคล ควรทราบไว้ คือ มหาวิทยาลัยทั้งสองนี้ มิได้เป็นมหาวิทยาลัยชั้น 3 มาแต่อ้อนแต่ออก หากแต่เรามองย้อนกลับไปดูพัฒนาการของมหาวิทยาลัยทั้งสอง (อันนี้ขอออกตัวว่า มิได้รู้ลึกซึ้งถึงที่มาที่ไป ของมหาวิทยาลัยทั้งสอง เพียงแต่ คาดเอาจากที่ได้ประสบมา) เคยเป็นวิทยาลัยชั้นนำ ในสาขาเฉพาะทาง อย่างเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ก็เคยเป็นวิทยาลัยครู มาก่อน มีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นในการผลิตครู เมื่อคนต้องการเป็นครู ก็มักจะเลือก วิทยาลัยครูเป็นอันดับต้นๆ ส่วนราชมงคลเอง ก็มีสายทางช่าง หรืออาชีวะ มีโรงเรียน วิทยาลัยดังๆอันดับต้นของประเทศ เช่น เพาะช่าง อุเทนถวาย อันเป็นสถาบันที่บ่มเพาะบุคคลชั้นนำในประเทศมานักต่อนัก

แต่ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยทั้งสองกลับหลงลืม หรือ ตั้งใจลืม จุดแข็ง หรือจุดเด่นของตนไปอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาหลักสูตรของทั้งสองมหาวิทยาลัย ก็เอาแต่ตามก้นคนอื่นเป็นหลัก ทั้งๆที่ บุคลากร และ คุณภาพนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งสองนั้น มิได้มีความเหมือนกัน กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ซึ่งอันนี้เป็นความจริงที่เราต้องยอมรับ แต่นั่นมิได้หมายความว่า เราจะไม่สามารถผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณภาพทัดเทียมกับบัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำได้ เพียงแต่ เราต้องมองจุดแข็งของตนเองให้ออก นำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้คุ้มค่า และสมกับค่าที่มีมากที่สุด

การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงข้อเด่น ข้อด้อย จุดยืน ของการผลิตบัณฑิตให้มาก และไม่ควรนำเอาเงิน มาเป็นตัวนำทางการกำหนดการศึกษา แม้ว่าต้องยอมรับว่า เงินก็เป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนามหาวิทยาลัยในหลายๆด้าน

เนื่องจากเป็นแค่คนตัวเล็กๆในองค์กร จึงได้แต่หวังว่าท่านผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรทั้งหลายจะตระหนักในข้อนี้ได้ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการเรียกว่า มหาวิทยาลัยชั้น 3




 

Create Date : 09 เมษายน 2550
1 comments
Last Update : 9 เมษายน 2550 13:40:16 น.
Counter : 411 Pageviews.

 

ปัญหาของระบบการบริหารราชการไทย

คนรู้ปัญหาไม่ใช่ผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหา

ผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหามักเป็นผู้สร้างปัญหา ... งานนี้การศึกษาไทยก็เลยวังเวง



...... มันเหนื่อยใจนะ

 

โดย: NooNok [MiChiYo] 13 เมษายน 2550 20:27:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ลูกหมูลุย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ลูกหมูลุย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.