DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
17 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
สังคมได้อะไรจากข่าวฆาตกรรมฆ่าหั่นศพ

               



           จิตแพทย์แนะสื่อมีจรรยาบรรณ เสนอข่าวฆ่าหั่นศพดูเรื่องสิทธิเด็กด้วย แถมผลิตซ้ำความรุนแรงไม่ให้อะไรกับสังคมนอกจากสะใจ จี้ตำรวจกันสื่อออกจากเด็กที่เป็นพยานบุคคลไม่ให้เสียรูปคดี ด้านเอ็นจีโอสิทธิเด็กฉะสื่อแย่งเสนอข่าวสัมภาษณ์เด็กลูกเหยื่อรอดชีวิตและลูกผู้ต้องหาผิดกม.คุ้มครองสิทธิเด็ก บี้ตำรวจช่วยสิทธิเด็ก เร่งพม.ผู้ถือกม.จริงจัง


           นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตและในฐานะรองประธานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนกรณีข่าวฆาตกรรมฆ่าหั่นศพสองแม่ลูกในช่วงนี้ เป็นการทำลายระบบในการคุ้มครองสิทธิเด็กที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ไว้ทั้งหมด เพราะสื่อต่างแข่งขันกันไปสัมภาษณ์เด็กที่เป็นเหยื่อที่รอดชีวิต, ลูกของผู้ต้องหา และผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องด้วย โดยพยายามไขความจริงให้ปรากฏในช่วงระยะเวลาอันสั้น โดยไม่คำนึงถึงเรื่องสิทธิของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ และยิ่งเป็นการผลิตซ้ำความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สังคมไม่ได้อะไรจากการนำเสนอข่าวนอกจากความสะใจ


            “สื่อมวลชนเองควรจะมีการควบคุมด้านจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าวที่จะเป็นผลกระทบกับเด็กและผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีมากกว่านี้ ไม่ใช่แค่การแข่งกันนำเสนอข่าว โดยไม่คำนึงว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคม เพราะท้ายสุดแล้ว สังคมก็ไม่ได้อะไรจากการนำเสนอข่าวลักษณะนี้ นอกจากความสะใจ แม้ว่าในช่วงแรกจะเป็นการอาจรู้สึกสังเวช แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดความชินชาความรุนแรง และเป็นอารมณ์ลุ้นระทึก และตื่นเต้นไปกับการนำเสนอข่าว โดยสังคมไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ”นพ.ยงยุทธ กล่าว


            นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า นอกจากนี้การนำเสนอข่าวลักษณะนี้ตามพ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเด็ก พ.ศ.2546จะต้องมีการคุ้มครองโดยไม่ให้เด็กถูกเปิดเผยหรือให้ข่าวใดๆ แม้แต่เสียง แต่ที่ผ่านมาสื่อทุกแขนงต่างรุมกันสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องแม้ว่าจะไม่เห็นหน้า แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะรูปพ่อที่เป็นผู้ต้องหา หรือรูปแม่ที่ถูกฆาตกรรมปรากฏต่อสื่อมวลชนอยู่ดี ทำให้คนใกล้ชิดคนรู้จักก็ทราบว่าเด็กคนนั้นเป็นใครอยู่ดี ซึ่งมีผลกระทบกับเด็กทางด้านจิตใจ จากการที่สื่อมวลชนรุมสัมภาษณ์ถึงเรื่องราวซ้ำๆ โดยตามแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องมีนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์เข้าบำบัดจิตใจเด็กก่อน


            “การนำเสนอข่าวที่ผลิตซ้ำความรุนแรงยังจะทำให้สังคมเกิดความชินชาในสังคม และทำให้ผู้ต้องหาไม่รู้ว่าจะกลายเป็นผู้ร้ายหรือพระเอกในการเดินเรื่องราวสืบสวนสอบสวนที่ชวนให้สังคมติดตามกันแน่  แทนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้คดีมีความคืบหน้าต่อไป ขณะเดียวกันต้องกันพยานบุคคลที่เป็นเหยื่อด้วย  ไม่ใช่สืบสวนสอบสวนคดีไปพร้อมกับสื่อมวลชน หรือให้สื่อมวลชนทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนแทน  ซึ่งขณะนี้กลายเป็นว่าสื่อทำข่าวจนเกินไป ลงลึกในรายละเอียดที่เป็นรูปคดี เหมือนละครฉากใหญ่”นพ.ยงยุทธ์ กล่าว


            นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้บริหารมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างมากที่สื่อมวลชนจะแข่งขันกันตามสัมภาษณ์เด็กที่เป็นทั้งเหยื่อและลูกของผู้ต้องหา เพราะตามมาตรา 27 ของพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ระบุห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือ  สื่อสารสนเทศประเภทใด  ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครองโดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ  ชื่อเสียง  เกียรติคุณ  หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก  หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6  เดือน  ปรับไม่เกิน  60,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และสื่อทุกวันนี้ได้ละเมิดในส่วนนี้


            “สื่อมวลชนควรตระหนักว่าไม่ควรทำหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะเรื่องราวที่สื่อมวลชนนำเสนอมีผลต่อรูปคดีอย่างมาก อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีสิทธิในการไม่อนุญาติให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการใดๆกับพยานบุคคลที่มีผลต่อรูปคดี และตำรวจจำเป็นต้องกันบุคคลเหล่านี้ให้ไม่เป็นข่าว เพื่อเป็นความลับ ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงขอมนุษย์ในฐานะดูแลรับผิดชอบพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯต้องจริงจังในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเด็กมากกว่านี้”นายสรรพสิทธิ์ กล่าว




Create Date : 17 เมษายน 2553
Last Update : 17 เมษายน 2553 1:01:58 น. 7 comments
Counter : 2519 Pageviews.

 
สื่อเดี๋ยวนี้หมดจรยาบรรณไปนานแล้วค่ะ
เสนอข่าวกันที ไม่สนใจจิตใจของคนอื่นที่เกี่ยวข้องเลย
แถมบางข่าวทำเป็นสกู๊ปพิเศษอีกต่างหาก
ทำซะละเอียดยังกะสร้างหนังสักเรื่อง บอกวิธีชำแหละจนถึงการอำพรางหลักฐานให้รู้เสียด้วยสิ เฮ้อ....สังคม

สังคมได้อะไรน่ะหรือ?

ได้ไอดอล หรือต้นแบบของการฆ่าไงคะ


โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 17 เมษายน 2553 เวลา:0:47:32 น.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 17 เมษายน 2553 เวลา:9:36:04 น.  

 
สื่อได้ความสะใจ มวลชนได้ความตกใจ


โดย: Scorchio วันที่: 17 เมษายน 2553 เวลา:12:06:50 น.  

 
^

( คุณ หาแฟนตัวเป็นเกลียว )

มันเลยวันสงกรานต์มา 2 วันแล้วค่ะ เคี้ยกเคี้ยก .



โดย: yosita_yoyo วันที่: 17 เมษายน 2553 เวลา:12:58:27 น.  

 
อ่านข่าวทั่วไทยจากทุกสำนักงานๆที่ข่าวทั่วไทยซึ่งสามารถอ่านจาก pad phone ได้ด้วยครับ


โดย: preampcc วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:13:14:59 น.  

 
สังคมได้อะไรจากข่าวฆาตกรรมฆ่าหั่นศพ?
ตอบโดยรวมทุกสังคมคงไม่ได้
้เพราะสังคมแต่ละสังคมมีพื้นฐานด้านวุฒิภาวะของคนในสังคมนั้นแตกต่างกันไป

แต่ถ้าเจาะจงเฉพาะสังคมไทยปัจจุบัน พ.ศ. 2553
ตอบได้เลยว่า ได้ความสะใจ ได้การตอบสนองต่อความรู้สึกลึกๆในใจเป็นส่วนใหญ่
ทำไมน่ะหรือ?
เพราะสังคมไทยได้รับการหล่อหลอมค่านิยมความรุนแรงจากสื่อทุกประเภทแบบยัดเยียด ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงหลับตานอนยังไม่พอยังตามไปถึงในฝันด้วย

จึงไม่แปลกที่สังคมไทยจะสะใจอยู่ลึกๆเมื่อได้เห็น ได้ฟังได้รับรู้ความรุนแรง นอกเสียจากว่า เรื่องนั้นจะเกิดขึ้นกับตนเอง

คำตอบต่อคำถามนี้จึงซับซ้อนเกินกว่าที่ปรากฏ


โดย: violent-based โซไซ IP: 114.128.41.26 วันที่: 25 เมษายน 2553 เวลา:10:55:31 น.  

 
ขอบคุณ คุณ violent-based โซไซ มากๆครับ ถ้าไงช่วยเข้ามาให้ความเห็นบ่ยๆนะครับ


โดย: DR.MOO CAN DO วันที่: 25 เมษายน 2553 เวลา:12:47:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.