DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
20 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
การจำลองใบหน้าจากกะโหลก (Facial reconstruction)

เมืองไทยเรามีการจำลองใบหน้าจากกะโหลกหรือที่เรียกกันว่า Facial reconstruction เหมือนกันค่ะ
เท่าที่รู้มีคนทำได้อยู่ 2 คน เป็น จนท. จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่ไปอบรมด้านนี้มาจากประเทศอเมริกา

การทำ Facial reconstruction จะมีอยู่ 2 แบบคือ 2D(การวาด)และ 3D(การปั้น)
การปั้นนี่จะเป็นการใช้ดินน้ำมันปั้นลงไปบนกะโหลกเลยโดยตรงหรืออาจจะทำการหล่อกะโหลกแล้วปั้นลงไปบนกะโหลกจำลองแทนก็ได้
แต่ในบางครั้งที่กะโหลกเกิดความเสียหายมากไม่สามารถทำการปั้นได้ก็จะทำการถ่ายรูปกะโหลกแล้วน้ำมาวาดเพิ่มเติมเนื้อเยื่อลงไปได้ค่ะ

ความหนาของเนื้อเยื่อในแต่ละส่วนก็จะมาจากงานวิจัยค่ะ
โดยความหน้าของเนื้อเยื่อใบหน้าเนี่ยก็ขึ้นอยู่กับเพศ เชื้อชาติ รูปร่างของผู้ตายด้วย
ดังนั้นกะโหลกที่จะนำมาปั้นหรือวาดก็จะต้องผ่านการวิเคราะห์มาก่อนแล้วว่าเป็นเพศ อายุและเชื้อชาติอะไร
(เมื่อรู้อายุแล้ว คนปั้นสามารถเพิ่มริ้วรอยลงไปบนใบหน้าที่ปั้นได้ด้วยค่ะ)

ส่วนข้อมูลที่อาจได้เพิ่มเติมก็มีอย่างเช่นหนวด เครา เส้นผม(อาจทำให้คาดเดาทรงผมของผู้ตายได้)
วัตถุพยานต่าง ๆ ที่พบในสถานที่เกิดเหตุก็มีส่วนช่วยได้เยอะ อย่างเช่นแว่นตา ตุ้มหู หรือเสื้อผ้า
เมื่อได้ข้อมูลในส่วนนี้เราก็จะนำไปเพิ่มเติมบนใบหน้าหรือหุ่นที่เราปั้นแล้วก็ทำการถ่ายรูปเพื่อนำออกเผยแพร่ต่อไป

อ้อ มีอีกเรื่องนึงที่ลืมบอกคือถ้าหากว่าผู้ปั้นเห็นว่าฟันของผู้ตายมีลักษณะที่เด่นเป็นพิเศษ
อย่างเช่นมีฟันเขี้ยว หรือฟันฝังเพชร ก็สามารถจะปั้นใบหน้าให้ยิ้มเห็นฟันได้ เพื่อให้เห็นฟันอันเป็นเอกลักษณ์
เผื่อญาติจะจำได้และมารับศพกลับต่อไปค่ะ
หมุดที่เห็นใช้ติดลงบนกะโหลกเป็นยางลบดินสอแบบที่เป็นแท่งนะคะ
เสร็จแล้วจะนำมาวัดให้ได้ขนาดความหนาของเนื้อเบื่อใบหน้าตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
(แต่ละจุดจะมีการกำหนดไว้โดยแน่นอนหรือถ้าจุดไหนไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนก็จะมีคำนิยามกำกับไว้ให้อีกที)
เสร็จแล้วก็จะใช้คัตเตอร์ตัดให้ได้ตามที่ต้องการ เสร็จแล้วก็ใช้กาวติดลงบนกะโหลกค่ะ

ส่วนที่ยากในการทำ Facial reconstruction คือหลายส่วนเราต้องประมาณเอา
อย่างเช่นขนาดปาก ที่คนวิเคราะห์กระดูกไม่สามารถบอกได้ว่าปากหนาหรือบางยังไง
ก็จะใช้วิธีประมาณความกว้างของปากให้ได้ประมาณฟัน 6 ซี่หน้า
และมีความหนาของริมฝีปากเท่ากับขอบฟันล่างและบน
ส่วนของตาก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ตายมีฟันชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น
คิ้วก็ไม่สามารถบอกได้ว่าหนาหรือบาง หรือโก่งแค่ไหนยังไง ก็จะต้องประมาณเอาหมดค่ะ

ส่วนที่พอจะคำนวนได้ก็คือจมูก ที่สามารถคำนวนได้จากกระดูกจมูก (Nasal bone),
องศาของ Anterior nasal spine และความกว้างของ Nasal aperture

ถึงแม้ว่าการจำลองใบหน้าจากกะโหลกจะมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะแบบนี้
แต่ในบางกรณีก็มีประโยชน์ช่วยให้ญาติสามารถจดจำใบหน้าของผู้ตายได้ค่ะ

จากคุณ : when i'm feeling .. blue




Create Date : 20 มกราคม 2553
Last Update : 20 มกราคม 2553 1:35:30 น. 3 comments
Counter : 3745 Pageviews.

 


โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:2:07:48 น.  

 
ขอขอบคุณอาจารย์ครับที่นำสาระความรู้ดีๆ มาแบ่งปัน ได้ความรู้มากมายเลยครับ


โดย: kanetp007 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:20:22:15 น.  

 
น่าสนใจมากครับ อาจารย์

ถ้าผมจบ นิติเวช แล้ว สามารถไปเรียนต่อด้านนี้ได้หรือไม่ครับ

เป็น PhD ต่อยอด


โดย: Little Brother IP: 10.6.220.85, 202.28.179.4 วันที่: 2 สิงหาคม 2553 เวลา:22:45:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.