DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
9 เมษายน 2553
 
All Blogs
 

~ บุหรี่ไฟฟ้า ฤทธิ์เท่าเฮโรอีน ~

                สธ.เร่งสกัดการนำเข้า"บุหรี่ไฟฟ้า"ชี้เป็นภัยอันตรายถึงชีวิต มี"นิโคติน"ซึ่งเป็นสารเสพติดมีฤทธิ์สูงเท่าเฮโรอีน-โคเคนเสี่ยงหัวใจวายสูงกว่าคนทั่วไป3เท่าตัว พบมีโทษทั้งจำทั้งปรับ...


                เมื่อวันที่ 9 มี.ค. นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานว่ามีวัยรุ่นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาบางกลุ่มนำบุหรี่ไฟฟ้ามาสูบ เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่น โดยเด็กสั่งซื้อมาจากอินเทอร์เน็ตในราคามวนละ 2,500 บาท ขายเป็นชุด มีบุหรี่ 1 ตัว และน้ำยาที่ระบุนิโคตินสกัด 1 ขวด และมีหลายกลิ่น เช่น กลิ่นวานิลลา, ช็อคโกแล็ต, มินต์ และผลไม้รวม พร้อมกล่อง สายชาร์จแบตเตอรี่ โดยก่อนสูบบุหรี่จะต้องชาร์จแบ็ตให้เต็ม แล้วนำตัวบุหรี่มาถอดแล้วหยดน้ำยานิโคตินเข้าไป 2-3 หยด จากนั้นนำบุหรี่มาประกอบเวลาสูบจะมีไฟคล้ายการจุดบุหรี่จริงๆ ปลายบุหรี่มีสีทั้งแดง ส้ม น้ำเงินแต่ไม่มีความร้อน เมื่อสูบจะมีควันออกมาจากก้นกรองจริงๆ มีกลิ่นหอม




~ บุหรี่ไฟฟ้า ฤทธิ์เท่าเฮโรอีน ~


                จากการตรวจสอบพบว่าบุหรี่ดังกล่าวคือ บุหรี่ไฟฟ้า หรืออี ซิกาแร็ต (E-Cigarette)เป็นสินค้าเลียนแบบบุหรี่ ที่ผู้จำหน่ายโฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเลิกสูบบุหรี่ แต่พบว่าปริมาณนิโคติน (Nicotine) สูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า นับเป็นภัยตัวใหม่ จึงมีผลเสียต่อผู้ที่สูบ หากสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวนแม้ว่าตัวน้ำยานิโคตินจะมีการปรุงแต่งกลิ่นให้หอมก็ตาม แต่พิษภัยยังคงมีเหมือนเดิมหากนำไปใช้โดยปราศจากการดูแลของแพทย์จะเป็น อันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้หลายประเทศได้สั่งห้ามการใช้สินค้านี้แล้ว เช่น รัฐวิคตอเรียของออสเตรเลียบราซิล อิสราเอล จอร์แดน ตุรกีเนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าดังกล่าวยังไม่มีผลการวิจัยรองรับว่าช่วยเลิก บุหรี่ได้จริง




                 รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมาตรการห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ 1.พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535มาตรา 10 เรื่องห้ามผลิต นำเข้า เพื่อขายหรือเพื่อจ่ายแจกเป็นการทั่วไปหรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์แรต หรือบุหรี่ซิการ์ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท 2.พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นได้แต่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา 72ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขาย หรือนำเข้าหรือสั่งนำเข้ายาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มาในราชอาณาจักร ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 20,000 บาท และฉบับที่ 3 ได้แก่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรสยามความผิดครั้ง หนึ่งจะมีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรขาเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะทำหนังสือถึงกรมศุลกากรเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบ บุหรี่ไฟฟ้า ตามด่านชายแดนทั่วประเทศ


               นางพรรณสิริ กล่าว เพิ่มว่า การปล่อยให้มีการ ใช้บุหรี่ไฟฟ้า จะเกิดผลเสียหลายประการ อย่างแรกคือทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชนสูบบุหรี่มากขึ้นเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นบุหรี่ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ 2.ทำให้ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่แล้วหันมาสูบมากขึ้นเนื่องจากกลิ่นไม่เหม็นรบกวน ผู้อื่น และเป็นผลจากการติดนิโคตินอย่างแรง 3.สารนิโคตินเป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์เสพติดสูง เท่ากับเฮโรอีนและโคเคนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและ 4.บุหรี่ ไฟฟ้าทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณสารนิโคตินได้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ช่วยเลิก บุหรี่ทางการแพทย์อื่นๆ เช่นแผ่นแปะและหมากฝรั่งนิโคติน ที่มีปริมาณนิโคตินแน่นอนและใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


                ด้าน นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมบริโภคยาสูบกรมควบคุมโรค กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้านี้กระทรวงสาธารณสุขได้จับตามาตั้งแต่ปี 2551โดยบริษัทผลิตบุหรี่แห่งหนึ่งได้ผลิตบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่มีใบยาสูบแต่มีสารนิโคตินและสารเคมีโพรไพลีนไกลคอลที่มีลักษณะคล้าย ควันบุหรี่ โดยจะบรรจุในรูปแท่ง ควบคุมโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋ว และเทคโนโลยีอะตอม โดยใช้แบตเตอรี่สำหรับอัดไฟไว้ในเครื่องเพื่อใช้งานเมื่อเจ้าของต้องการสูบ โดยบุหรี่ดังกล่าวได้แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว และเตรียมนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จากข้อมูลของบุหรี่ดังกล่าวระบุว่าบรรจุนิโคตินแท่งละ 18 มิลลิกรัม ขณะที่บุหรี่ทั่วไป 1 มวนจะมีนิโคติน 1.2 มิลลิกรัม ซึ่งนิโคตินเป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์สูงเท่าเฮโรอีนและโคเคน การสูดสารนิโคตินแต่ละครั้ง ร่างกายจะได้รับนิโคตินประมาณ 50 ไมโครกรัม ซึ่งสารนี้มีพิษร้ายแรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ในขณะสูบบุหรี่ระดับนิโคตินในเลือดจะเพิ่มสูงถึง 25-50 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าตัวทั้งผู้ชายและผู้หญิง.




 

Create Date : 09 เมษายน 2553
11 comments
Last Update : 9 เมษายน 2553 7:35:26 น.
Counter : 2195 Pageviews.

 

คนสูบรับเต็มๆ คนไม่สูบจะมีโอกาสได้รับผลกระทบหรือเปล่า

 

โดย: unitan 9 เมษายน 2553 8:53:09 น.  

 

ทุกวันนี้ผมก็รับจากบ้านข้างๆแทบจะทั้งวัน
ไม่รู้ว่าจะสูบอะไรนักหนา ดมควันบุหรี่ทั้งวัน

ไม่ทราบว่าการสูดดมควันบุหรี่จางๆแบบนี้
จะมีอันตรายต่อร่างกายแค่ไหนครับคุณหมอ

 

โดย: NATSKI13 9 เมษายน 2553 9:50:17 น.  

 

อ่านดูแล้วเหมือนกับว่าประเด็นคือบุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคติน ซึ่งทางการแพทย์เห็นว่านิโคตินร้ายเหมือนเฮโรอีน จึงบอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าฤทธิ์เท่าเฮโรอีน...

ที่บอกว่าแท่งนึงมีนิโคติน 18 มิลลิกรัม ในขณะที่บุหรี่ทั่วไป มี 1.2 มิลลิกรัม แต่เคยได้ยินมาว่า แท่งนึงสูบได้สิบห้าครั้ง ในข่าวไม่ได้บอก

อ่านแล้วเหมือนแหล่งข่าวจะ bias เหมือนออกมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบุหรี่มากกว่า

 

โดย: =Por= IP: 180.180.161.13 9 เมษายน 2553 10:16:26 น.  

 

//www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8973999/X8973999.html

ลองอ่านจากกระทู้แนะนำเดือนก่อนได้ครับ อ่าน rep. ล่างๆ ดูด้วยนะครับ บุหรี่ไฟฟ้า ช่วยคนเลิกบุหรี่มาแล้วหลายราย

 

โดย: bomb IP: 58.64.95.101 9 เมษายน 2553 21:38:38 น.  

 

คนสูบรับเต็มๆ คนไม่สูบก็ได้รับผลกระทบเหมือนกันครับ
และต้องขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ=Por= และคุณ bomb ด้วยครับ

 

โดย: DR.MOO CAN DO 11 เมษายน 2553 7:41:21 น.  

 

ผมว่านะเรื่องนี้แหม่งๆยังไงก็ไม่รู้

จริงๆแล้วบุหรี่ไฟฟ้าเองน่าจะมีประโยชน์มากกว่านะครับ ถ้าใช้เป็น

คือแทนที่จะห้ามนำเข้า น่าจะควบคุมสารละลายนิโคตินที่มีความเข้มข้นมากกว่า และอนุญาตให้ใช้สารละลายนิโคตินแบบจางๆได้

ยังไงก็ตาม บุหรี่ไฟฟ้าดีกว่าบุหรี่จริงแน่ สารพิษน้อยกว่า ควันก็ไม่มี ไม่รบกวนคนรอบข้าง

เพียงแต่สงสัยว่า มี conflict of interest หรือเปล่าเท่านั้นแหละครับ

และเวลามีอย่างนี้ ก็จะเกิดตรรกะแปลกๆ อย่างนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าฤทธิ์เท่าเฮโรอีน - -"

ถามจริงเหอะ สธ.ที่มีหมอหลายคนในกระทรวงตอบมาดิครับ เฮโรอีนออกฤทธิ์ที่ receptor ไหน นิโคตินออกฤทธิ์ที่ receptor ไหนและมีผลอย่างไรกับร่างกายบ้าง

การแพร่ข่าวแบบบิดเบือนโดยจับแพะชนแกะ สร้างภาวะ State of fear แก่ประชาชนอย่างนี้ สมควรไหมที่จะมาจากกระทรวงที่อ้างว่ามีนักวิชาการเยอะ

ซื่อตรงกับวิชาชีพ แล้ววิชาชีพจะปกป้องคุณเองโดยไม่รู้ตัว

 

โดย: Buddhi IP: 124.157.184.246 6 พฤษภาคม 2553 10:36:01 น.  

 

ผมว่าร้อนตัวกลัวขายบุหรี่จริงไม่ออกมากกว่าครับ เพราะผมก้อเป็นคนนึงที่เลิกบุหรี่ได้เด็ดขาดจากบุหรี่ไฟฟ้าครับ หลังจากลองมาหมดทั้งหมากฝรั่ง แผ่นแปะ สารพัด สุดท้ายสิ่งที่หยุดปัญหาทั้งหมดได้ ก้อ บุหรี่ไฟฟ้าครับตอบโจทย์ได้เกือบทุกข้อ ขอบคุณ บุหรี่ไฟฟ้าครับ

สังเกตุว่า ข่างที่นำเสนออ้างถึงแต่ประเทศที่ห้ามจำหน่าย
ซึ่งเป็นส่วนน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอีกหลายสิบประเทศที่ยอมรับ และใช้เป็นอุปกรณ์เลิกบุหรี่อย่างแพร่หลายครับ

รับฟังข่างสารสมัยนี้ต้องใช้วิจารณญาณอย่างสูงครับ เพราะผลประโยชน์มหาศาลครับ ถ้าบุหรี่จริงขายไม่ออก555 อย่างน้อยผมรอดจากการเปนทาสบุหรี่รัฐบาลคนนึงละครับ....แร้วคุณละคิดยังไง

 

โดย: 00 IP: 124.122.238.121 19 สิงหาคม 2553 1:49:06 น.  

 

ดีคับ ทักทายนะคับ มาหาข้อมูลดีๆอ่ะคับ

 

โดย: www.24hotcasino.com IP: 180.183.245.214 17 ธันวาคม 2553 14:26:05 น.  

 

ผมไม่สงสัยหรอกครับว่าทำไมคนไทยถึง โง่ !!!!

ใครอ่านบทความนี้แล้วไม่ได้ศึกษามาอย่างแท้จริงผมกล้าด่าครับว่าคุณเป็นแค่ ไอหน้าโง่

 

โดย: DCOM IP: 124.120.151.169 1 มิถุนายน 2554 0:06:26 น.  

 

จริงๆแล้วผมว่าคนมีเหตุผลร้อยแปดประการแต่ละคนมีจุดยืนของตนเองขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำประโยชน์หรือโทษของบุหรีนำมาใช่กับตัวเราได้มากแค่ไหนครับแต่เราต้องพิจราณาให้มากที่สุด

 

โดย: คนพยามเลิกบุหรี่ IP: 180.183.105.236 24 สิงหาคม 2555 0:33:48 น.  

 

ที่ผมสูบอยู่ก็ไม่เห้นเป็นอันตรายเท่าหับบุหรีจริงเลยสักนิดอย่างน้อยก้ลดการเบรินของบุหรีลงได้ ซึ่งบุหรีมีสารพิษต้งมากมายหลายพันชนิด แต่บุหรี่ไฟฟ้ามีแค่ไม่กี่ตัว ซึ่งถ้าบอกสารนิโคตินเป็นอันตราย ทำไมไม่ให้กรมสรรพสามิตยกเลิกการผลิตบุหรีออกมาจำหน่ายประชาชนเล่า เดียวโรงงานยาสูบเจ๊งหรอ อีกอย่างนิโคตินที่ได้รับต่อตัวเท่ากับ1.2มก. สูบ1ซอง ก้เท่ากับ24มก. ซึ่งนิโคตินที่ใสไปในหลอดของบุหรี่ไฟฟ้าประมาณ 2 มล. เท่าการสูบบุหรี 1 ซอง ต่อวัน ซึงขนาดนิโคตินที่มี มันมีด้วยกัน 3 ระดับคือสูงสุด16-18มก. ขนาดกลาง 11-12 มก. และต่ำสุด 6 มก.ต่อน้ำ 2มล. ซึ่งน้ำยา 2มล.เท่าการสูบบุหรี่จริง 1 ซองแล้วมันจะมากกว่าบุหรี่จริงตรงไหน น่าสงสารเนอะคนเราพอจะมีอระที่พอจะดีบ้างก็ผิดกฎหมายมันไปหมดหาเรื่องเก็บภาษี ไม่เป็นไรหมอนำเข้าเองไม่ผิดกฎหมาย แดกหมากฝรั่งนิโคตินก็ไม่ได้เรื่อง นำเข้าเองจะได้ชาร์ตค่านำเข้าเยอะๆ กินกันทั่วหน้าก็ไม่ผิดกฎหมายแล้ว สาธุ เจริญล่ะ

 

โดย: ฟฟฟฟฟฟ IP: 110.171.15.121 23 ธันวาคม 2556 17:55:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.