It's my life
Group Blog
 
 
มกราคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

'ประกันบำนาญ' ทางเลือกใหม่

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4256  ประชาชาติธุรกิจ


'ประกันบำนาญ' ทางเลือกใหม่...ของผู้ลงทุนมีอันจะกิน




ภาย
หลังที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)
มีมติเห็นชอบให้กรมสรรพากรไปปรับปรุงค่าลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนการออมใน
รูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยปรับเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 บาท
จากเดิมลดหย่อนภาษีได้แค่ 100,000 บาท
เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาออมเงินผ่านช่องทางนี้
ซึ่งจะเริ่มมีใช้ตั้งแต่ปีภาษี 2553 (1 ม.ค.-31 ธ.ค. 53)
และให้นำไปยื่นแบบเสียภาษีได้ในปีหน้า

กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีบริษัทประกันชีวิตแห่งใดนำออกมาขาย
ดังนั้นก่อนที่จะไปหาซื้อกรมธรรม์ประเภทนี้
ควรจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวกันให้ชัดเจนก่อน

ตาม
นิยามของกรมสรรพากร
กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญจะมีลักษณะคล้ายกับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบทั่ว
ไป กล่าวคือจะต้องมีการออมหรือจ่ายเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่องทุกปี
เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
และเป็นกรมธรรม์ที่ออกโดยบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
และจะต้องผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ
ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ด้วย

ส่วนประเด็นที่มีความแตกต่างกันนั้นคือ

กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญจะต้องไม่มีการจ่ายเงินปันผลหรือผลประโยชน์ใดใน
ระหว่างปีที่จ่ายค่าเบี้ยประกัน หรือก่อนกรมธรรม์จะครบอายุตามสัญญา

แต่
บริษัทประกันชีวิตจะไปจ่ายผลประโยชน์ดังกล่าวได้
ก็ต่อเมื่อผู้ทำประกันมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี
โดยเงินที่ผู้ทำประกันจะได้รับคืนจะมีทั้งรูปแบบของการจ่ายเป็นรายงวดอย่าง
สม่ำเสมอ หรือได้รับเป็นเงินบำนาญคืนเต็มจำนวนเมื่อครบอายุสัญญา
โดยผู้ที่ซื้อประกันแบบบำนาญสามารถนำเบี้ยประกันไปหักลดหย่อนภาษีได้









แต่
ถ้าผู้ทำประกันไม่ได้มาชำระค่าเบี้ยประกัน
จนมีผลทำให้บริษัทประกันต้องยกเลิกสัญญา ก่อนที่กรมธรรม์จะมีอายุเกินกว่า
10 ปีขึ้นไป ตรงนี้ถือว่าผิดเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
ผู้ทำประกันจะต้องนำเงินที่ได้จากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในอดีตมาชำระคืนกรม
สรรพากร โดยการยื่นแบบเสียภาษีเพิ่มเติม

สำหรับการคำนวณค่าลดหย่อน
ภาษี กรณีของประกันชีวิตแบบบำนาญจะมีความสลับซับซ้อนพอสมควร
หากผู้เสียภาษีใช้วิธีการยื่นแบบเสียภาษีแบบปกติ (ยื่นกระดาษ)
แต่ถ้ายื่นผ่าน internet คงจะไม่มีปัญหา
เพราะขณะนี้กรมสรรพากรกำลังดำเนินการปรับปรุงซอฟต์แวร์ไว้รองรับงานนี้

ตาม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่......กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้
จากการทำประกันชีวิตไว้ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
ซึ่งการทำประกันแบบบำนาญถือเป็นการทำประกันชีวิตรูปแบบหนึ่ง
จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเช่นเดียวกับการทำประกันชีวิตแบบทั่วไป

อธิบาย
แบบง่าย ๆ คือ นำค่าเบี้ยประกันบำนาญที่จ่ายไปจริง
เข้าไปใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติให้ครบ 1 แสนบาทก่อน
จากนั้นให้นำค่าเบี้ยประกันบำนาญส่วนที่เหลือไปใช้สิทธิ
หักลดหย่อนภาษีในส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่ง ครม.อนุมัติให้นำมา
หักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีก 15% ของเงินได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท
และเมื่อนำไปรวมกับเงินสะสมที่ผู้มีเงินได้จ่ายเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยง
ชีพ (กสล.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครู
และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้ว จะต้องไม่เกิน 5 แสนบาท

ดัง
นั้นก่อนที่ท่านจะไปซื้อกรมธรรม์แบบบำนาญ
คงจะต้องไปตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของท่านให้ชัดเจนก่อนว่า
ที่ผ่านมาได้ลงทุนใน RMF หรือ กบข.ไปแล้วเท่าไหร่
เหลือวงเงินที่จะไปซื้อประกันแบบบำนาญอีกเท่าไหร่
เพราะเพดานสูงสุดกำหนดไว้ที่ 5 แสนบาท
หากเกินกว่านี้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้

ยกตัวอย่าง (ดูตามตาราง)
กรณีที่ 1 มีเงินได้ปีละ1 ล้านบาท
ที่ผ่านมาจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปปีละ 10,000 บาท
ฉะนั้นจึงเหลือสิทธิลดหย่อนภาษีที่ยังไม่ได้ใช้อีก 90,000 บาท
ส่วนหลักเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากร กำหนดให้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญได้ไม่เกิน
15% ของเงินได้ 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท
กรณีนี้จึงมีวงเงินเหลือที่จะไปซื้อประกันชีวิตแบบ บำนาญได้อีก 150,000 บาท
รวมแล้วกรณีที่ 1 สามารถซื้อประกันแบบบำนาญได้เต็มที่เกือบ 240,000 บาท/ปี
และยังมีวงเงินเหลือพอที่จะไปลงทุนใน กบข., กสล., RMF
และกองทุนสงเคราะห์ครูได้อีกไม่เกิน 260,000 บาท
ถึงจะเต็มเพดานสูงสุดที่กำหนดไว้ 5 แสนบาท แต่ถ้ามีการจ่ายเงินสมทบเข้า
กบข. หรือ RMF อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
คงจะต้องไปปรับแต่งให้อยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนด เช่น ลงทุนใน RMF หรือ กบข.
รวมกัน 400,000 บาท ก็จะเหลือวงเงินที่จะไปซื้อประกันบำนาญได้อีก 100,000
บาท เป็นต้น

ส่วนกรณีที่ 2 ก็คล้าย ๆ กัน เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่า
ถ้าจ่ายเงินซื้อประกันบำนาญไปถึง 400,000 บาท
แต่นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 290,000 บาทเท่านั้น
และถ้าไม่ดูให้ดีว่าที่ผ่านมาเข้าไปลงทุนใน RMF หรือ กบข.เท่าไหร่
จะยิ่งไปกันใหญ่ เพราะอาจจะนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้น้อยลง
หรือไม่ได้เลยก็เป็นไปได้

ปัจจุบันกรมสรรพากรให้สิทธิลดหย่อนภาษี
เพื่อสนับสนุนการออม มี 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ กลุ่มแรก
ประกันชีวิตทั่วไป หักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท กลุ่มที่ 2
เป็นการออมประเภทบำนาญ อาทิ กบข., กสล., กองทุนสงเคราะห์ครู และ RMF
ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี และกลุ่มที่ 3
เป็นประกันชีวิตแบบบำนาญตัวใหม่
หากใครทำประกันประเภทนี้มีสิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้งในกลุ่มแรกและกลุ่มที่ 2
รวมกันแล้วเกือบ 3 แสนบาท

ส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF)
จัดเข้าไปไว้หมวดของการลงทุน จึงไม่ได้นำเข้ามาปะปนกับเรื่องของการออม
ใครที่ลงทุนใน LTF ก็ยังคงได้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 15%
ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 5 แสนบาทเหมือนเดิม โดยที่ไม่มีตัวหาร

ฉะนั้น
หลัง ครม.อนุมัติเพิ่มค่าลดหย่อนให้กับการออมระยะยาวเพื่อการบำนาญแล้ว
ก็คงเป็นหน้าที่ของผู้ประกันเองที่จะต้องนำการออมแต่ละตัวมาคำนวณสิทธิที่ตน
เองจะได้





Free TextEditor




 

Create Date : 14 มกราคม 2555
0 comments
Last Update : 14 มกราคม 2555 17:41:30 น.
Counter : 2300 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


pdzk
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am very please to be your friend
Friends' blogs
[Add pdzk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.