นักบริหารกับยุคของการเปลี่ยนแปลง
นักบริหารกับยุคของการเปลี่ยนแปลง

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)

//www.drsuthichai.com

มีนักวิชาการหลายท่านเคยกล่าวว่า “ ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจ ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองเศรษฐกิจ ” ดูจะเป็นจริงมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ถ้าองค์กรใด หน่วยงานใด หรือนักบริหารคนใด ไม่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน องค์กรนั้น หน่วยงานนั้นหรือนักบริหารคนนั้น จะเสียเปรียบในการแข่งขันกับ องค์กร หน่วยงานหรือนักบริหาร ที่ใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการทำงาน บริหารงาน

การใช้เทคโนโลยีช่วยทำงาน ทำให้นักบริหารทำงานได้ง่ายขึ้น มีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ใช้ความคิดในการจดจำสิ่งต่างๆน้อยลง เช่น เบอร์โทรศัพท์ต่างๆ นักบริหารสามารถบันทึกไว้ได้ในโทรศัพท์มือถือ หรือ ข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการตัดสินใจ นักบริหารก็สามารถนำเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์

นายจอห์น ไนส์บิตต์ เขียนไว้ในหนังสือ MEGATREND ซึ่งพูดถึงเทคโนโลยี่ต่อสังคมโลก เมื่อปี 1982 โดยเขียนไว้ว่า

1.สังคมจะเปลี่ยนเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ กล่าวคือมีนักวิชาการท่านหนึ่งบอกว่า คลื่นลูกที่ 1 เป็นสังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่ 2 เป็นสังคมอุตสาหกรรม และคลื่นลูกที่ 3 เป็นสังคมสารสนเทศ ซึ่งก็เป็นยุคปัจจุบันนี่เอง

2.เศรษฐกิจจะเปลี่ยนเป็นระดับโลกจากอดีตที่เคยเป็นแค่เศรษฐกิจระดับประเทศหรือระดับท้องถิ่น กล่าวคือ โลกทั้งโลกจะเป็นสังคมเดียวกัน ติดต่อค้าขายกัน ดังนั้นทุกประเทศจะมีบริษัทข้ามชาติ เข้าไปค้าขายและตั้งสำนักงานในประเทศต่างๆมากขึ้นหรือเรียกว่าเป็นการค้าขายแบบ “ อินเตอร์ ” นั่นเอง

3.ธุรกิจต่างๆจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยในการทำงาน กล่าวคือระบบคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามาในชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเข้ามาช่วยในเรื่องการบริหารจัดการ หรือ เข้ามาอำนวยความสะดวกกับชีวิต

4.การวางแผนจะเน้นวางแผนระยะยาวมากกว่าระยะกลางหรือระยะสั้น คือ การวางแผนจะต้องวางแผนเป็นระยะ 5 ปี 10 ปี 15 ปี หรือวางแผนระยะยาวขึ้น

5.การตัดสินใจจะเร็วขึ้นเนื่องจากมีการกระจายอำนาจไปสู่ระดับล่างมากขึ้น คือ ให้อำนาจกับผู้บริหารระดับล่างมากขึ้นหรือให้อำนาจกับพนักงานมากขึ้นในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริหารที่รวดเร็วหรือทำให้การบริการลูกค้าที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

6.รูปแบบการจัดองค์กรจะเป็นแบบ NETWORK มากกว่าเป็นแบบลำดับชั้น คือ องค์กรจะมีลักษณะเป็นเครือข่ายหรือตาข่าย จะไม่เหมือนอดีตที่มีการจัดโครงสร้างองค์กรในลักษณะให้ฐานล่างกว้างใหญ่ แต่ฐานบนแคบเล็ก

7.มีทางเลือกมากขึ้นในการพิจารณาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เมื่อคนเรามีความฉลาดขึ้น มีเครื่องมือมากขึ้น มีข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ทำให้คนเรามีทางเลือกในการตัดสินใจมากตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น การจะเดินทางไปจังหวัดขอนแก่น เราสามารถเลือกเดินทางได้หลายทางด้วยกันเช่น รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องบิน ฯลฯ

นายจอห์น ไนส์บิตต์ เป็นนักทำนายอนาคตที่มีชื่อเสียงมากในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำนายเมื่อปี 1982 ซึ่งปัจจุบันเป็นปี 2011 ซึ่งดูแล้วจะเป็นความจริงมากที่เดียวในปัจจุบัน

ฉะนั้นการเป็นนักบริหารจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย อีกทั้งถ้าหากมองในแง่ดี การเปลี่ยนแปลงก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ท้าทายความสามารถศักยภาพในตัวของนักบริหาร

อีกทั้งถ้าหากองค์กรยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตัวนักบริหารเองจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากโลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง นักบริหารจึงต้องมองไปข้างหน้าเพื่อความอยู่รอดขององค์กร เพราะถ้านักบริหารไม่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือรอคอยให้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกมาก่อนแล้วจึงค่อยเปลี่ยนแปลง นักบริหารก็จะทำให้องค์กรล้าหลังหรือเสียเปรียบคู่แข่งขันทันที

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวว่า “ การแก้ปัญหาในเรื่องเดิม จะต้องใช้วิธีการใหม่เท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จ” ฉะนั้น หากว่าองค์กร เจอปัญหาเดิมๆ แล้วแก้ปัญหาไม่ได้ นักบริหารจะต้องมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะถ้านักบริหารไม่แก้ปัญหา ปัญหาก็จะสะสมเหมือนดินพอกหางหมูแล้วดินนั้นก็จะพอกตัวหมูในที่สุด

นักบริหารส่วนใหญ่มักกลัวการเปลี่ยนแปลงแต่อย่าลืมว่าองค์กรจะเจริญก้าวหน้าได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง ถามว่าทำไมนักบริหารถึงไม่กล้าเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเพราะว่า นักบริหารบางคนกลัวเสียผลประโยชน์ นักบริหารบางคนกลัวว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วตนเองจะทำงานหนักขึ้น เหนื่อยมากขึ้น นั่นเอง




Create Date : 30 กันยายน 2554
Last Update : 30 กันยายน 2554 11:16:34 น.
Counter : 642 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
24
25
26
27
28
29
 
 
30 กันยายน 2554
All Blog