อย่าหยุดคิดริเริ่ม
จงอย่าหยุดคิดริเริ่มสร้างสรรค์
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
//www.drsuthichai.com
นักปรัชญาชาวจีนผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า “ทุกวันเป็นวันใหม่ แม้แต่ปลายังไม่ว่ายน้ำอยู่ที่เดิม” จากคำกล่าวนี้ ทำให้เรารู้ว่า
โลกนี้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ วัน ก็เนื่องจากเกิดสิ่ง แปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้นมาตลอดเวลา การที่เกิดสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ตลอดเวลา ก็เนื่องมาจากปัจจัยหนึ่งก็คือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของมนุษย์เรานั่นเอง
- สตีฟ จอบส์ เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ เกี่ยวกับการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ของบริษัท Apple ซึ่งเขาและ
ทีมงานได้คิดค้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาด จนคนใช้กันทั่วโลก เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ไว้เป็นประโยคสุดท้ายเพื่อฝากไว้ให้คิดและปฏิบัติตาม ซึ่งเขาก็ได้ยึดหลักการนี้และนำเอาไปใช้คือ “ จงหิวโหยอยู่เสมอ จงโง่เขลาอยู่เสมอ ” นั่นหมายถึงว่า จงรักที่จะเรียนรู้อย่างตลอดเวลา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลานั้นเอง
- โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) และทีมงาน ได้คิดค้นและจดทะเบียนลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์เป็น
จำนวน 1,093 ชนิด ในสหรัฐอเมริกาและรวมกับทั่วโลกอีกกว่า 3,000 ชนิด ก็ด้วยเกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นตัวอย่างได้ดีในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หากอาจารย์เอาแต่วาดรูป ก็
ได้แค่สร้าง หอศิลป์ ในแก่ตัวเองซึ่งมีคุณค่าและสร้างความยิ่งใหญ่ให้ตนเองน้อยมาก อาจารย์จึงมีความริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดเวลาโดยการสร้าง สถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่ยิ่งใหญ่ ดังเช่น วัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นวัดสมัยใหม่ สวยงาม มีความหมายในเชิงพุทธศาสนา
การคิดสร้างสรรค์ จะทำให้เราได้วิธีการใหม่ๆ หรือเรียกว่าได้ “ ไอเดียใหม่” ซึ่งการคิดสร้างสรรค์นี้ เราทุกคนมีเหมือนกัน อีกทั้งเรายังสามารถสร้างขึ้นมาได้ แต่มันไม่ทำงานเนื่องจากพวกเราไม่ได้มีโอกาสได้นำมันมาใช้หรือไม่พยายามใช้มันนั้นเอง ฉะนั้นหากต้องการใช้มันในบางครั้งเราอาจจะต้องสร้างเงื่อนไขที่จะให้มันทำงาน เช่น ในการอบรม การประชุม ในการทำงาน หากให้องค์กรหรือหน่วยงาน ต้องการให้คนออกความคิดเห็นที่สร้างสรรค์หรือให้นโยบายบอกให้สร้างสรรค์งานออกมาให้ได้ กระผมเชื่อว่าหลายๆคน สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ได้
ดังคำพูดของ มัทธิว 7:7.8 ในคัมภีร์ไบเบิ้ล กล่าวไว้ว่า “ จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน ” ดังนั้นหากท่านต้องการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จงขอแล้วท่านจะได้ จงแสวงหาแล้วท่านจะพบมัน จงเคาะแล้วสวรรค์ก็จะเปิดทางให้แก่ท่าน
แต่ในทางกลับกัน สังคมไทย มักเป็นสังคมที่ไม่ค่อยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แต่เป็นสังคมที่คัดลอก เลียนแบบ กัน ซึ่งบางกรณีถือว่าเป็นการผิดกฎหมายลิขสิทธิ์อีกด้วย
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มีด้วยกันหลายปัจจัย เช่น
1. การคิดในแง่บวก, พูดบวก(เป็นไปได้,ทำได้) ความคิดและคำพูดเหล่านี้จะทำให้เราเกิดกำลังใจ และควรหลีกเลี่ยงความคิดในแง่ลบ,พูดลบ (การคิดว่าเป็นไปไม่ได้ , ทำไม่ได้ ) ความคิดและคำพูดเหล่านี้จะทำให้เกิดการบันทอนกำลังใจของเรา
2. จงคิดแตกต่างจากคนอื่นดูบ้าง สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่กล้าทำอะไรที่แตกต่างหรือโดดเด่นจากคนอื่น อาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่นเกิดความกลัวต่างๆ ดังคำกล่าวที่ว่า “ อันความจริงคนเขาก็อยากให้เราดี แต่เราเด่นขึ้นทุกที คนเขาก็หมั่นไส้ จงทำดีอย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน ” คำกล่าวนี้ทำให้คนไทย มักทำอะไรตามๆ กัน เพื่อไม่ให้ตนเองเกิดความแตกต่างหรือเด่นเกินชาวบ้าน แต่ความคิดดังกล่าว เป็นความคิดที่ขัดขว้างความคิดที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น
3. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ จากที่ต่างๆ การเปิดใจกว้างรับสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ จะทำให้ท่านเกิดประสบการณ์ที่ดีและมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ขึ้น นักธุรกิจ นักฝึกอบรม จำนวนมาก มักนำสินค้าหรือหลักสูตรการฝึกอบรม ที่แปลกๆ ใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาขาย แล้วจึงประสบความสำเร็จ ร่ำรวย ขึ้นมา
4. ต้องอดทนรอคอยความสำเร็จ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่ต้องอาศัยเวลา คนที่ไม่ประสบความสำเร็จบางคน มักไม่มีความอดทนรอคอย จึงล้มเลิกไปเสียก่อน ที่ความคิดสร้างสรรค์ดีๆ จะออกมา
ปัจจัยเหล่านี้ เป็นปัจจัยหนึ่งของคนที่ต้องการมีความคิดสร้างสรรค์ หากท่านต้องการมีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ ท่านก็ควรฝึกฝนตนเอง อีกทั้งควรศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติม



Create Date : 24 มกราคม 2555
Last Update : 24 มกราคม 2555 15:13:22 น.
Counter : 779 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



มกราคม 2555

1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog