ฉบับ 1109 30/8/56 : โรงหนังภูธร ในยุคเปลี่ยนผ่าน (ตอนจบ)
Mr. Coffee : ได้ยินว่าการฉายหนังในระบบฟิล์มฟิล์มถึงชุดสามารถจัดฉายได้หลายโรง ทำได้จริงหรือไม่และทำอย่างไร คุณหนุ่ม : จริงครับ ฟิล์ม 1ชุดสามารถฉายได้หลายโรงและโรงภาพยนตร์ที่มีหลายโรงในสถานที่เดียวกันก็ทำแบบนี้ทุกที่ Mr. Coffee : ฟิล์ม 1 ชุดที่เคยจัดฉายได้สูงสุดกี่รอบต่อวัน คุณหนุ่ม : โดยปกติตามความเข้าใจทั่วไปฟิล์ม 1 ชุด น่าจะจัดฉายได้ในดรงเดียวได้ประมาณ 6-7 รอบต่อวัน (เช้าถึงดึก) แต่ผมสามารถจัดให้ฉายได้มากถึง 20รอบต่อวัน โดยมีการส่งฟิล์มวิ่งไปฉายต่อที่โรงอื่น Mr. Coffee : แล้วในด้านการสึกหรอของฟิล์ม จะมีเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน คุณหนุ่ม : แน่นอน ฟิล์มก็จะช้ำง่ายกว่าแต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแล roller ของเครื่องฉายที่ใช้ฉาย อาจเป็นปัญหาบ้างที่รอยต่อของม้วน Mr. Coffee : แสดงว่าเป็นข้อดีของระบบฟิล์ม ใช่หรือไม่เพราะระบบดิจิตอลทำแบบนี้ไม่ได้ คุณหนุ่ม : ตรงนี้ขออธิบายรายละเอียดทางเทคนิกนิดนึงนะครับถ้าเป็นโรงที่ฉายด้วยระบบฟิล์ม เรานำฟิล์มมา 1 copyสามารถนำมาฉายหลายโรงได้อย่างที่กล่าวมาปั่นรอบเพิ่มได้ แต่ถ้าเป็นโรงที่ฉายด้วยระบบดิจิตอล จะมี Server ที่มี Serial Number ของแต่ละเครื่องแต่ละโรง ในการเอาหนังมาโหลด ไฟล์หนังถูกเข้ารหัสไว้ ไม่สามารถฉายได้จนกว่าจะได้ รับรหัสซึ่งรหัสจะถูกสร้างขึ้นเฉพาะเครื่อง server แต่ละเครื่อง ไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องอื่นๆได้เป็นเรื่องของระบบความปลอดภัยครับดังนั้นแม้ไฟล์หนังจะหลุดออกไปก็ไม่สามารถนำไปเปิดใช้ได้ครับ โดยข้อดีของระบบดิจิตอลคือไม่ต้องพิมพ์ฟิล์มซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงและถึงแม้จะฉายไปหลายรอบก็ไม่เกิดความสึกหรอไม่ลายครับ Mr. Coffee : ขออนุญาตกลับมาที่ระบบฟิล์ม ในหนัง 1เรื่องฟิล์มจะถูกแบ่งเป็นกี่ส่วน คุณหนุ่ม : ส่วนใหญ่ฟิล์ม 1 ม้วน(รีล) จะยาวประมาณ15-20 นาที โดยจะส่งมาเป็นรีล หนัง 1 เรื่องก็จะส่งมาประมาณ 6-8 รีล โดยจะใช้วิธีโรงที่ฉายโรงแรก จะฉายรีลที่ 1 ก่อน พอจบ ก็รีบกรอ แล้วนำไปฉายในโรงถัดไป ขณะนั้นโรงที่ 1 ก็ฉายรีลที่ 2 แล้ว แต่ถ้าในโรงหนังที่มีห้องฉายจากศูนย์กลาง ก็จะมีระบบ Loop โดยฟิล์มก็จะไหลขึ้นไปตามรางไปที่เครื่องฉายของแต่ละโรง ส่วนช่วงที่ไม่ได้ฉายก็จะมีฟิล์ม dummy หมุนรอไปก่อนทำเป็น roller วิ่งหากันเลย แต่ของผมไม่ได้ใช้ระบบนั้นเพราะโรงหนังของผมไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ระบบนั้นตั้งแต่ครั้งแรก ก็ใช้คนวิ่งแทนซึ่งก็ทำรอบได้ดีหรืออาจจะมากกว่าระบบ roller ด้วยซ้ำไป แต่ของผมจะต้องใช้พนักงานฉายหนังมากกว่าระบบ Loop Mr. Coffee : ทำไม่หนัง Hollywood ที่ฉายในต่างจังหวัด ถึงเป็นแบบพากย์ไทยเป็นเรื่องปกติหรือความนิยมหรืออื่นๆ คุณหนุ่ม : เป็นเรื่องปกติและความนิยมทางเราเคยพยายามสร้างกลุ่ม soundtrack นำหนัง soundtrack มาฉาย แต่คนดูน้อยครับคงเป็นที่คนไม่อยากอ่าน subtitle ฟังไม่ออกก็ต้องอ่าน คนดูก็อยากฟังสบายๆมากกว่า วัฒนธรรมมาแบบนี้ในอีสานที่เห็นว่าฉายหนัง soundtrack ได้มีแค่ที่ขอนแก่นที่เดียว จริงๆระบบฟิล์ม มีทั้งแบบ soundtrack และพากย์ไทยให้เลือกอยู่แล้ว แต่ระบบดิจิตอลในช่วงแรกๆไม่มีพากย์ไทย แต่ปัจจุบันก็มีแล้ว เท่าที่เคยทดลองนำsoundtrack มาฉาย จำนวนคนดูจะต่างกันหลายเท่า Mr. Coffee : ที่กรุงเทพฯ ถ้าดูจากรอบฉายดูเหมือนว่าพากย์ไทยจะได้รับความนิยมน้อยกว่า คุณหนุ่ม :จริงๆที่จังหวัดใหญ่ๆหรือแหล่งท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต ก็จะมี soundtrack ให้เลือกชมได้ที่จริงอาจจะเกิดจากตั้งแต่สมัยก่อนสมัยคุณพ่อของผมดูหนังที่กรุงเทพฯ ก็มีแต่ soundtrack ไม่มีพากย์ไทยน่าจะเป็นที่วัฒนธรรมมาแบบไทย ที่ต่างจังหวัดเริมฉายแบบพากย์ไทยก็ดูพากย์ไทยกันมาตลอด ถ้าจะเปลี่ยน คงจะลำบาก Mr. Coffee : ทิศทางการพัฒนาและปรับตัวของเครือเนวาด้าให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นระบบดิจิตอล หรือ 3D คุณหนุ่ม : ก็แน่นอนจริงๆเทคโนโลยีการฉายหนังด้วยระบบดิจิตอล มีเข้ามาไทยประเทศไทยหลายปีมากๆแล้วแต่ในสมัยก่อนนั้นราคาจะสูงมาก ในยุคแรกพูดกันในระดับ 10 ล้านบาทต่อโรงผมเคยเช็คราคาเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ก็ยังอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านบาทต่อโรงและในขณะนั้น ความแตกต่างของระบบฟิล์มและดิจิตอลในดู ยังแทบไม่แตกต่างกันและดิจิตอลก็มี 3D (สามมิติ) ขึ้นมาเพื่อสร้างความแตกต่างแต่หลังจากนั้นก็มีระบบที่ช่วยเหลือโรงภาพยนตร์ที่ยังใช้ฟิล์มฉายอยู่ขึ้นมาคือระบบ Technicolor3D (เป็น 3D ระบบฟิล์ม) ซึ่งผมได้นำระบบนี้มาฉายตอนที่Tranformer : Dark of the Moon ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากถือว่าคุ้มค่าถึงแม้จะลงทุนเยอะก็ตาม และในช่วงปี 2554-2555 ก็มีหนังที่ใช้ระบบ Technicolor 3Dหลายเรื่อง แต่ในปี 2556 แทบไม่มีฉายแล้ว Mr. Coffee : เพราะอะไรหนังในระบบ Technicolor3D ถึงลดจำนวนลง คุณหนุ่ม : ก็น่าจะเกิดจากสภาวะของโลกที่ผู้ผลิตฟิล์มเริ่มทำธุรกิจต่อไปไม่ไหว ยักษ์ใหญ่อย่าง Kodak ประกาศปิดตัวลง ฟิล์มหายากขึ้น ต้นทุนสูงขึ้นอันที่จริงก็มีความพยายามให้เปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิตอลกันมานานแล้ว Mr. Coffee :แล้วปัจจุบันทางเนวาด้ามีโรงที่ฉายในระบบดิจิตอลแล้วหรือยัง? ถ้ามีแล้วผลตอบรับเป็นอย่างไร คุณหนุ่ม : มีครับ ในเครือตอนนี้มี 5 โรงโดยเป็นแบบเครื่องฉายคู่คือ ฟิล์ม 1 เครื่อง ดิจิตอล 1 เครื่อง เพราะปกติโรงของผมจะมีเครื่องฉาย2 เครื่องอยู่แล้วเพราะสมัยก่อนระบบฟิล์มจะใช้การฉายด้วยเครื่องฉายคู่สลับม้วนฟิล์มกันแต่หลังๆพัฒนามาจนเหลือเพียงเครื่องเดียว เพราะการตัดต่อจะไม่สะดุดแบบใช้ 2เครื่อง ข้อดีของดิจิตอลก็แน่นอนคือ หนังไม่ลาย จะฉายไปกี่สัปดาห์ก็ไม่มีลายส่วนในด้านความสว่างไม่ต่างกัน แต่หลอดฉายของฟิล์มจะราคาถูกกว่าหลอดฉายในระบบดิจิตอล2-3 เท่า ในขณะที่อายุการใช้งานนานกว่าดังนั้นต้นทุนของระบบดิจิตอลจะแพงกว่าในด้านอุปกรณ์ แต่ง่ายกว่าในด้านการฉายตั้งเครื่องครั้งเดียว ไม่ต้องทำอะไรอีกเลย ม่านปิดเปิดเอง ไฟหรี่เองสว่างเองเป็นระบบ automation Mr. Coffee : ในอนาคต โรงภาพยนตร์จะต้องฉายในระบบดิจิตอลทั้งหมดหรือไม่ คุณหนุ่ม : แน่นนอน เพราะ ณ วันนี้ค่ายหนังหลายค่ายแจ้งแล้วว่าจะยกเลิกระบบฟิล์ม เช่น 20th Century Foxได้แจ้งมาแล้วว่า ตั้งแต่หนังเรื่อง PercyJackson: Sea of Monsters ที่กำลังจะเข้าฉายเป็นเรื่องแรกที่จะไม่มีระบบฟิล์มให้เลือกอีกแล้ว เลิกฟิล์มแล้วส่วนค่ายอื่นๆก็แจ้งมาแล้วว่าจะมีการยกเลิกฟิล์มเช่นกัน บางค่ายก็ Quarter แรกของปี2014 บางค่ายก็ Quarter ที่ 2 ของปี 2014 หนัง Hollywoodผมเชื่อว่าปีหน้าหมดแต่หนังไทยอาจจะยังมีอยู่ Mr. Coffee : แบบนี้โรงภาพยนตร์ชั้น 2ลำบากแน่ คุณหนุ่ม : ใช่ครับถ้าไม่ปรับตัวแย่แน่นอน Mr. Coffee : อีก 10 ปีข้างหน้าโรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัดจะต้องปรับตัวอย่างไร คุณหนุ่ม : ก็ต้องปรับตัวเครือหนังค่ายใหญ่ก็จะขยายเข้ามามากขึ้นต้องยอมรับสัจธรรมและความเปลี่ยนแปลงให้ได้ เรื่องระบบดิจิตอลมาแน่ๆ Mr. Coffee : ปัจจุบันเครือเนวาด้ามีโรงภาพยนตร์ทั้งหมดกี่แห่งและกี่โรง คุณหนุ่ม : มี 4 แห่ง อุบลราชธานีร้อยเอ็ด สกลนคร และอุดรธานี อุบลฯมี 7 โรง ร้อยเอ็ดและสกลนครมีที่ 3 โรง อุดรฯมี8 โรง รวมทั้งหมดก็ 21 โรง โรงดิจิตอลมีที่อุบลฯ 3 โรง และอุดรฯ 2โรงต้นทุนต่อการปรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลต่อ 1 โรงประมาณ 2-3 ล้านบาท
Create Date : 30 กันยายน 2557 |
Last Update : 6 ตุลาคม 2557 10:50:06 น. |
|
0 comments
|
Counter : 473 Pageviews. |
|
|