Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2563
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 ตุลาคม 2563
 
All Blogs
 

หลักธรรมในวันออกพรรษา


วันออกพรรษา 2563 ปีนี้ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม
ซึ่งเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 สิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา
ของพระภิกษุสงฆ์รวม 3 เดือน ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า
"วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ 

 


ประวัติวันออกพรรษา

ประวัติวันออกพรรษา มีเหตุการณ์ในพุทธประวัติเล่าว่าพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผู้เคยมาเกิดเป็นพระนางสิริมหามายา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ถึงเมืองสังกัสสะ ชาวบ้านต่างร่วมใจกันเดินทางไปรับเสด็จพระพุทธเจ้า เป็นที่มาของการตักบาตรเทโวโหรณะ และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาท เรียกว่า “ไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์”

 ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา
 

 

ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ 

1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา 

          หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

          สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้


2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา

          งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

          งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 


 

         ในเทศกาลออกพรรษา มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ ปวารณา การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ 

       1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล
 
       2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้ การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น
 

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา

     1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ
 
     2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม
 
     3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา
 
     4. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา
 
      5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง



 
...................................................................



ขอขอบคุณที่มาจาก : ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
 
 




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2563
13 comments
Last Update : 2 ตุลาคม 2563 17:15:15 น.
Counter : 4929 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณสองแผ่นดิน, คุณSleepless Sea, คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณtuk-tuk@korat, คุณหอมกร, คุณThe Kop Civil, คุณtoor36, คุณzungzaa, คุณhaiku, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณnewyorknurse, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณInsignia_Museum, คุณร่มไม้เย็น

 

สาธุค่ะ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 2 ตุลาคม 2563 18:03:45 น.  

 

ขอบคุณข้อมูลดีดีเกี่ยวกับวันออกพรรษาครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 2 ตุลาคม 2563 20:01:25 น.  

 

สาธุครับ

 

โดย: Sleepless Sea 3 ตุลาคม 2563 0:11:52 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 3 ตุลาคม 2563 8:01:25 น.  

 

ออกพรรษาแล้ว
ฝนยังตกๆๆอยู่เลย

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 3 ตุลาคม 2563 13:31:02 น.  

 

สาธุค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 3 ตุลาคม 2563 15:18:13 น.  

 

**mp5** Dharma Blog ดู Blog
อนุโมทนาทุกบุญที่ได้ทำจ้า

 

โดย: หอมกร 3 ตุลาคม 2563 17:38:54 น.  

 

 

โดย: The Kop Civil 3 ตุลาคม 2563 21:54:57 น.  

 

ออกพรรษาแล้ว ก็ไม่ต้องรีบไปดื่มเหล้ากันล่ะ บางคนเฮทันทีเพราะจะไปดื่มเหล้า แต่เอาเถอะ กระเป๋าใครกระเป๋ามัน กรรมใครกรรมมันเช่นกัน

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 3 ตุลาคม 2563 23:26:25 น.  

 

ขอบคุณจ้า

 

โดย: หอมกร 12 ตุลาคม 2563 16:23:47 น.  

 

สวัสดี จ้ะ น้องเอ็ม

สาธุ และ ขอบใจความรู้ดี ๆ ที่นำมาฝาก ค่ะ
เท่ากับทบทวนให้ชาวพุทธได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
และจะได้เป็นพุทธศานิกชนที่ดี จ้ะ
โหวดหมวด ข้อคิดและธรรมะ

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 12 ตุลาคม 2563 18:27:01 น.  

 

เราโชคดีที่มีศาสนาพุทธให้ นับถือและปฏิบัติ
พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นมา มีเหตจึงต้องกำหนด
เพราะรู้ว่า หากทำนอกเหนือนั้นแล้ว จะมีผลเสีย
ผมว่า ดีมากเลยครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 13 ตุลาคม 2563 17:41:24 น.  

 

แวะมาทักทาย หลายรายหลายท่านดองบล็อคไว้ไม่ค่อยได้เข้า บางท่านทิ้งไปเป็น 10ปีกันเลยทีเดียว อ่านสนุกดีนะคะ เรื่องออกพรรษา แต่ส่วนใหญ่ไผ่ไม่ค่อยได้ทำบุญในเทศกาลงานบุญใหญ่ๆ สักเท่าไหร่ เพราะมีความเห็นส่วนตัวว่า คนจะแห่ไปตามวันบุญใหญ่แบบนี้เยอะมาก ทั้งอาหารการกินและปัจจัยที่ถวายพระ มันเยอะจนเหลือทิ้ง เลยจะกระจายๆ ไปวันอื่นๆ ที่เป็นวันธรรมดาแทนค่ะ

 

โดย: คมไผ่ 23 ตุลาคม 2563 13:26:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


**mp5**
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 88 คน [?]




สวัสดีครับ

ขอส่งความสุขให้กับทุกคน




New Comments
Friends' blogs
[Add **mp5**'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.