Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 

วิธีปรุงจิตให้คิดกุศล






 
             วิธีปรุงจิตให้คิดกุศลเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา เราจะสุขจะทุกข์อยู่ที่การปรุงแต่ง การปรุงแต่งก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สังขารแปลว่าสิ่งที่ปรุงแต่งจิตซึ่งมีทั้งที่เป็นกุศล อกุศลและก็เป็นกลางๆ จิตของเรานั้นเหมือนกับน้ำซึ่งไม่มีสีในตัวเอง เมื่อเราใส่สีสวยๆ ลงไป เช่น ใส่สีชมพูก็เป็นอย่างหนึ่ง ใส่สีแดงก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง การที่จิตของเราเป็นกลางๆ นั้น ถ้าเราใส่สีอะไรเข้าไป ในที่นี้คือเราใส่ความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าไปมากๆ ชีวิตของเราก็มีแต่ความทุกข์ แต่ถ้าเราใส่ความรัก ความเมตตา ความสงสาร ใส่ปัญญาเข้าไปชีวิตเราก็มีความสุข เพราะฉะนั้นการปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลนั้นไม่ใช่เป็นกิจวัตรธรรมดา แต่เป็นการกำหนดวิถีชีวิตว่าเราอยากจะสุขหรืออยากจะทุกข์ ถ้าเราอยากจะทุกข์เราก็อยู่ไปวันๆ พอมีอะไรมากระทบจิตเราก็ถูกปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มากระทบ เช่น เราได้ของสิ่งที่เราชอบเราก็ดีใจ เราเสียของนั้นไปเราก็เสียใจ ความสุข ทุกข์เกิดขึ้นตามสถานการณ์ เราเป็นทาสสถานการณ์และไม่มีสิทธิไปกำหนด ดังคำพระท่านว่า  “จิตโต นะมี ยะติ โลโก” สัตว์โลกถูกจิตชักนำไปแล้วแต่เราจะคิด คิดให้ทุกข์มันก็ทุกข์ คิดให้สุขมันก็สุข แต่ส่วนใหญ่เราคิดตามสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเพราะฉะนั้นเราก็ไม่มีสิทธิเลือก หลักของธรรมะอยู่ที่เราต้องเป็นผู้เลือกที่จะคิด เลือกที่จะสุขหรือจะทุกข์  “สุขและทุกข์นั้นอยู่ที่ใจ ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์กัน เพราะฉะนั้นเราอยากได้สุขหรือทุกข์ขึ้นอยู่ที่การทำใจ
         
             ในบางสถานการณ์เราจะต้องปล่อยวาง อย่าไปยึดติดไว้ เช่น บางท่านตกงานไปแล้วไปยึดติดอยู่มันก็ทุกข์ “ทุกข์มีเพราะยึด ทุกข์ยืดเพราะอยาก ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหยุด ทุกข์หลุดเพราะปล่อย” และในกรณีของความสูญเสียเราก็ต้องปรุงแต่งจิตให้รู้จักปล่อยวาง เรียกว่าทำจิตให้เป็นกุศล เช่น ถ้าเราต้องการทำงานให้สำเร็จก็ต้องปรุงแต่งจิตให้มีความหวัง ซึ่งแล้วแต่สถานการณ์เพราะเราต้องใช้ธรรมะให้ถูกกับสถานการณ์ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ธรรมานุธรรมปฏิบัติ” แปลว่า ปฏิบัติธรรมน้อยให้คล้อยธรรมใหญ่ เลือกหัวข้อธรรมะย่อยๆ มาปรุงแต่งจิตของเราให้มันสอดคล้องกับเป้าหมายที่เราต้องการ ถ้าอยากจะประสบความสำเร็จก็ต้องเลือกอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แต่บางคนเลือกธรรมะมาปรุงแต่งจิตใจแบบผิดๆ เช่น ฐานะยากจนเหลือเกินจะต้องใช้ธรรมะอะไรมาปรุงแต่งจิต เพื่อนก็แนะนำว่าใช้อุเบกขา คือ การวางเฉยแล้วจะจนจนชินไปเอง
       
             หลักธรรมอุเบกขานั้นดีแต่ไม่ได้มีไว้สำหรับแก้จน เราเอาไว้ใช้กรณีที่ถูกดุด่าว่ากล่าวก็ต้องวางเฉย แต่ถ้าต้องการเป็นเศรษฐีก็ต้องใช้หัวใจเศรษฐี อยากจะเป็นข้าราชการที่ดีก็ต้องมีธรรมะประจำใจ เพราะฉะนั้นการปรุงแต่งจิต หมายความว่า เลือกธรรมะมาเป็นตัวผสมกับความคิดของเรา เช่นเรากำลังทำหน้าที่ให้บริการแก่สังคมอย่างการสอนหรือให้คำแนะนำแก่ผู้อื่น ในกรณีที่ต้องเป็นผู้ให้เราต้องคิดอย่างหนึ่งเพราะบางคนให้แล้วทุกข์ให้แล้วเครียด เรื่องอะไรที่เราจะต้องมาเสียเวลาพูดจ้ำจี้จ้ำไชกับคนโง่ พอจิตเราตั้งไว้อย่างนี้มีการปรุงแต่งอย่างนี้แล้วเราก็ทุกข์ ซึ่งมันจะขัดกับหน้าที่ของเรา บางคนก็ไปปรุงแต่งจิตที่มันไม่สอดคล้องกับงานที่ทำ ถ้างานที่ทำนั้นเป็นงานที่ต้องใช้ความพินิจวิเคราะห์ ในขณะนั้นเราก็ต้องวางจิตให้เป็นอุเบกขาให้มีความถูกต้องทางวิชาการทางกฎหมาย แต่ถ้าเราไปใส่จิตที่เป็นกรุณาสงสารถ้าตีความไปมันอาจจะกระทบต่อคนที่เรารู้จัก งานบางหน่วยงานที่เรารู้จักก็อาจจะเสียผลประโยชน์มันก็ทำไม่ได้ ในกรณีนี้เป็นการปรุงแต่งจิตที่ผิดเรื่อง การเลือกธรรมะมาปรุงแต่งจิตให้เข้ากับสถานการณ์ พระพุทธศาสนาเรียกว่า “ธรรมานุธรรมปฏิบัติ”  ธรรมะบางอย่างไม่ควรนำมาปรุงแต่ง เช่น คนที่ขยันอยู่แล้วไปปรุงแต่งจิตให้ขยันยิ่งขึ้นมากๆ ก็จะเกิดการฟุ้งซ่านอาจจะเป็นโรคประสาทนอนไม่หลับเพราะเร่งทำงานจนความดันขึ้น ลักษณะนี้ต้องปรุงแต่งจิตด้วยสมาธิ ทำจิตให้สงบต้องนั่งกรรมฐานเพราะว่าขยันมากไปเร่งมากไป ยิ่งขยันเกินไปก็ยิ่งไม่หลับไม่นอน ยิ่งประสาทกิน แต่คนที่เฉื่อยและใจเย็นมากจนเกินไปงานก็ไม่สำเร็จเสียที กรณีนี้ต้องปลุกใจโดยมีวิริยะ มีความขยันและต้องคิดถึงเป้าหมาย เพราะฉะนั้นคำตอบในการปรุงแต่งจิต คือ “โยนิโสมนสิการ” โยนิโส แปลว่าถูกต้อง แยบคาย มนสิการ แปลว่าทำในเรื่องที่เราคิดแล้ว ซึ่งก็จะเกิดผลตามที่เราต้องการ เกิดธรรมะที่เราต้องการ เพราะอยู่ๆไม่ใช่ว่าเราจะสงสารคนขึ้นมาทันที แม้พื้นฐานเราจะเป็นคนมีความกรุณาหรือความสงสาร แต่ถ้าเราไม่เห็นภาพที่น่าสงสารบางทีใจเราก็เฉยๆ ถ้าเราไปเห็นความทุกข์ของคนอื่น เรากำหนดจิตของเราให้มองความทุกข์ ความด้อย ปัญหาของคนอื่น ความกรุณาก็จะเกิด การกำหนดจิตและทิศทางของจิตให้คิดในเรื่องที่จะทำให้เกิดกุศลเราเรียกว่า  “โยนิโสมนสิการ”
          
              ธรรมะนั้นเวลาที่จะเกิดขึ้นก็เหมือนกับพระอาทิตย์ แสงพระอาทิตย์จะขึ้นมาเต็มดวงได้จะต้องมีแสงเงินแสงทองส่องมาก่อนฉันใด ก่อนที่ธรรมะจะเกิดขึ้นในจิตใจของเราก็ต้องมี "โยนิโสมนสิการ"มาก่อนฉันนั้น โยนิโสมนสิการที่แปลว่าคิดถูกต้องคือตัวกำหนดทิศทางความคิดของเรา ปกติเราไม่เคยเป็นผู้กำหนดทิศทางว่าเราควรจะคิดอะไร เพราะเราปล่อยให้แล้วแต่ใจเราจะคิดไปไหนตามกิเลสตัณหา แต่ว่าถ้าเราปฏิบัติธรรมะเรื่องที่ไม่ควรคิดก็อย่าไปคิด เรื่องไหนคิดแล้วก่อให้เกิดผลดี สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ คิดแล้วมีความสุขก็ควรคิด ถ้าเลือกคิดอย่างนี้ท่านจะเปรียบเป็นเหมือนนายทหารอากาศเพราะว่าเหตุการณ์เดียวกันท่านสามารถมองได้หลายมุม เรื่องเดียวกันที่เกิดขึ้นเราสามารถมองให้ดีก็ได้ มองให้ร้ายก็ได้ แล้วแต่ท่านจะเลือกมอง อย่างที่เศรษฐกิจตกคนไทยก็พูดกันว่าต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส จะเห็นได้ว่าขนาดเศรษฐกิจตกก็ยังจะหาโอกาสในวิกฤตนั้น อย่างนี้เรียกว่าเรารู้จักมองเรื่องที่ผิดหวังล้มเหลวก็นำมาเป็นบทเรียน หรือถ้าจะซ้ำเติมตัวเอง สมเพทตัวเองก็อยู่ที่ท่านเลือก เพราะฉะนั้นความผิดหวังความล้มเหลวเราต้องปรุงแต่งด้วย "โยนิโสมนสิการ" มองสถานการณ์นั้นเป็นเชิงบวกว่าเราจะเรียนรู้จากความผิดพลาดอย่างไร จะได้ไม่ไปซ้ำรอยเดิม พอคิดอย่างนี้ก็ทำให้กุศลเกิด แทนที่จะไปตำหนิไปว่าคนที่ทำให้เราเกิดปัญหาขึ้น เรากลับมาสอนตัวเองเพื่อที่ต่อไปเราจะไม่ทำอย่างนี้อีก จะได้ไม่เกิดการผิดพลาดอย่างนี้อีก นำสถานการณ์ที่เป็นปัญหากลับมาสอนเราเอง เรียกว่าพลิกหายนะให้เป็นพัฒนา


 
 



 
                  ธรรมะทุกเรื่องนั้นเราสามารถนำมาสอนตัวเองได้หมด หลักมีอยู่ว่าท่านจะต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางความคิดว่าจะมองเรื่องอะไร ซึ่งใช้หลัก "โยนิโสมนสิการ" คือ เลือกมอง เลือกคิด มองแง่ดีก็ได้ มองแง่ร้ายก็ได้ หาประโยชน์ก็ได้ หาโทษก็ได้ สำหรับคนที่จ้องจับผิด คนชอบนินทาคนซึ่งเป็นเรื่องความผิดพลาดของคนแล้ว เราเก็บเรื่องนั้นไว้ในใจเราเลยกลายเป็นคนที่จิตมีแต่อกุศล แต่ถ้าหากเรามองแง่ขำบ้าง ใครด่าใครว่าเรา แทนที่จะไปโกรธกลับมองอีกมุมหนึ่ง อยู่ที่ว่าเราจะเลือกรับเอามาปรุงแต่งจิตอย่างไร สมมุติว่าคนไหนที่มีจิตใจดีเขาก็จะมองแต่แง่ดีของคน เรียกว่า คนที่มีเมตตา ซึ่งเมตตาก็แปลว่าความรักที่เกิดจากการมองแง่ดี ดังคำที่ว่า “มองโลกแง่ดีมีผล เห็นคนอื่นดีมีค่า ปลุกใจให้เกิดศรัทธา ตั้งหน้าทำดีมีคุณ มองโลกด้านร้ายกลายกลับ ใจรับแต่เรื่องเคืองขุ่น เหนื่อยหน่ายเลิกร้างทางบุญ ชีพวุ่นวายแท้แน่เอย”
 
            การที่เราจะมองด้านร้ายหรือด้านดีอยู่ที่เราเป็นผู้กำหนด มองด้านดีเราก็มีเมตตา มองด้านร้ายเราก็มีอาฆาต พยาบาท มีโกรธ มีอิจฉาริษยา เราจะเลือกมองด้านไหน การมองแต่ละด้านนั้นมันกำหนดความคิดของเรา เพราะฉะนั้นอยากจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์อยู่ที่เราเป็นผู้กำหนดความคิด บางคนไม่คิดที่จะใช้ความอดทนต่อกัน ชอบทะเลาะกับชาวบ้าน ไปมองแง่ร้ายของคนอื่น แต่ไม่ใช้อดทนซึ่งบางทีเราไปเจอคนที่ไม่ค่อยดีจริงๆ แต่ถ้าเขาไม่ดีเราจะต้องมีขันติ แม้เขาจะไม่เหมือนเราแต่เขาก็มีเหตุผลที่เขาเป็นอย่างนั้น คนเราอยู่ร่วมกันทั้งๆ ที่ไม่มีความเหมือนกันนั้น บางคนทนความแตกต่างไม่ได้และไม่มีขันติ ไม่มีความอดทน ไม่คิดที่จะปรับตัวให้อยู่กับสิ่งที่ไม่เหมือนเรา ต้องมีการไปว่าร้ายเขา เพราะว่าหาความดีเขาไม่เจอ ถ้าหาความดีเขาไม่เจอก็ต้องยอมรับว่ามันแตกต่างกัน ยอมรับว่าไปด้วยกันลำบาก แต่ก็ต้องอยู่ด้วยกันต้องทำงานร่วมกัน เมื่อต้องอยู่ด้วยกันทำงานด้วยกันก็ต้องปรับใจให้ยอมรับตามที่เขาเป็น การปรับใจให้ยอมรับตามที่เขาเป็น เรียกว่า ขันติ แปลว่าความอดทน ถ้าอดทนกันได้ ก็จะไม่ทะเลาะกันและจะก่อให้เกิดความสามัคคี
 
            เช่นเดียวกับคนต่างชาติ ต่างศาสนาเมื่อมาอยู่ด้วยกันนั้นถ้าไม่อดทนกัน ไม่ยอมรับกัน ไม่เคารพกันก็จะทำให้มีเรื่อง อย่างเช่น เด็กในสมัยนี้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ค่อยสอนให้อดทน คนรุ่นใหม่สมัยนี้มองหน้ากันเดี๋ยวเดียวก็มีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน ไปเข้าค่ายด้วยกันพูดไม่ถูกหูกันก็ฆ่ากันตาย เพราะว่าพ่อแม่สมัยนี้ไม่ปลูกฝังเรื่องความอดทนแก่ลูก เลี้ยงลูกด้วยเงิน อยากได้อะไรก็ให้ ตามใจทุกอย่าง ไปโรงเรียนถูกครูดุด่าว่าลูกตัวเองพ่อแม่ก็มาประท้วงอีก ลองคิดดูว่าถ้าโตขึ้นเด็กเหล่านี้จะไปทำงานร่วมกับใครได้เพราะเขาไม่มีความอดทน ฟังคำพูดที่ประชุมที่มีคนคัดค้านก็ทนไม่ได้ ในเมื่อไม่ฟังกันก็จะเข้าใจกันได้อย่างไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาคิดเช่นไร สังคมไทยที่ต้องแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ จนต้องมีคนมาจัดระเบียบใหม่ ก็เพราะเวลาที่เรามีเสรีภาพเราจะไม่ยอมรับฟังกัน เวลามีการประท้วงกันแล้วมีใครที่คิดไม่เหมือนเราก็ต้องให้พังกันไปข้างหนึ่ง ดังคำที่ว่า “จำพิฆาตเพื่อนรักให้ตักษัย ผลประโยชน์ขัดกันต้องบรรลัย ตายเสียได้ข้างหนึ่งจึงจะดี” สังคมไทยต้องมาเผชิญหน้ากันเพราะความไร้เหตุผลและไม่อดทนที่จะฟังคนที่เห็นแตกต่างจากเรา เมื่อพูดกันไม่จบมันก็ไม่เกิดปัญญาทำให้ไม่เกิดความเข้าใจกัน เพราะฉะนั้นคุณธรรมพื้นฐานในพระพุทธศาสนาเวลาที่ไปอยู่กับคนที่ไม่เหมือนเรา พระพุทธเจ้าสอนไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ ข้อแรก คือ การประชุมพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปและสอนโอวาทปาฏิโมกข์ไม่ให้ทำชั่ว และให้ทำดี ทำใจให้ถึงพร้อมให้ผ่องใสแต่ก่อนที่จะสอนอย่างนี้ พระพุทธเจ้าสอนว่าความอดทน คือ ความอดกลั้นและเป็นตบะอย่างยิ่ง เพราะว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาใหม่ เมื่อไปสอนก็ต้องมีคนขัดแย้งบ้างมีการเถียงกันบ้าง เราก็ต้องฟังเขาและพยายามอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ข้อต่อไปก็คืออะไรที่มันแตกต่างจากเรา เราต้องยอมรับแล้วพยายามฟังกัน ถ้าเราทนและยอมรับฟังกันมันก็จะเป็นไปเพื่อความสามัคคี เพราะฉะนั้นความสามัคคีมันไม่ได้เกิดขึ้นเอง ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะให้คนมายอมรับกัน มันจะต้องเริ่มมาจากการอดทน ทนต่อความแตกต่างกันแล้วก็ฟังกัน พอฟังกันมันก็จะเกิดปัญญาเกิดความเข้าใจแล้วก็เกิดการมองกันในแง่ดี ไม่เกิดการเข้าใจผิดไม่เกิดความวุ่นวาย อย่างในที่ทำงานหรือที่ไหนๆก็ตามถ้าหากว่ามีความอดทน มีความตั้งใจที่เป็นกุศลยอมรับความแตกต่างได้มันก็จะไม่เกิดปัญหา ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องมีอยู่ในใจเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกับคนอื่นก็คือขันติ ความอดทน และโสรัจจะคือความเสงี่ยม ก็คือการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งขันติจะทำให้เราทนความแตกต่างได้ และโสรัจจะก็จะทำให้เวลาที่เราตกลงที่จะทำงานร่วมกันอยู่ด้วยกันเราก็ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
 
            ในสังคมบางแห่งไม่ยอมรับฟังกันทำให้ไม่เข้าใจกฎระเบียบก็จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็ไม่ปฏิบัติตามกฎกติกา เพราะฉะนั้นสิ่งที่สังคมไทยจะต้องมีอย่างเร่งด่วน คือ ฝึกเด็กรุ่นใหม่ที่ตามมาให้มีขันติคือมีความอดทน และให้เกิดความเข้าใจในระเบียบและกฎกติกาแล้วให้ปฏิบัติตามนั้น มันก็จะก่อให้เกิดความสามัคคี เมื่อมีความสามัคคีก็จะทำให้เกิดพลังขึ้นมา ในสังคมนี้ให้เลือกเอาระหว่างความสงบ ความสามัคคี ความสำเร็จหรือเงินทองความร่ำรวย เราจะเลือกอะไรเข้ามาก่อน จะเอาเงินเพิ่มเข้ามาเป็นรางวัลเยอะ หรือจะเลือกความสำเร็จในงาน สิ่งที่จะต้องเลือกเข้ามาก่อนในหน่วยงานหรือในประเทศชาตินั้น คือ สันติภาพที่เราเรียกว่าความรักสามัคคี ถ้าประเทศใดมีความสันติ ต่างชาติก็อยากมาลงทุน เงินก็ไม่ไหลออกนอกประเทศ ความมั่งคั่งก็จะตามมา ค้าขายที่ไหนก็ได้ไม่ขัดแข้งขัดขากันเอง เพราะฉะนั้นถ้ามีสันติมาก่อนความแตกแยกก็จะหมด ในสังคมใดที่คนไม่รู้จักมองกันในแง่ดีไม่รู้จักให้อภัยกันแล้ว ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นสุข ถ้าไม่รู้จักปรุงแต่งจิตก็จะมีแต่ความวุ่นวายมีแต่ความทุกข์  ธรรมะนั้นเปรียบเหมือนกับแว่นตาถ้าใส่แว่นสีชมพูก็มองโลกเป็นสีชมพู ใส่แว่นสีแดงก็มองเป็นสีแดง ถ้ามีกิเลสมาปรุงแต่งจิตก็เหมือนใส่แว่นสีดำเราก็จะมองเป็นสีดำ
 
            เราสามารถใช้ธรรมะมาปรุงแต่งจิตในชีวิตประจำวันได้ไม่ยาก เช่น ธรรมะสั้นๆ แค่สามคำที่ไม่ต้องท่องยาวๆ คือ รู้จักพอคือสันโดษ รู้จักให้คือทาน รู้จักปล่อยวางคือจาคะ แล้วนำมาเป็นแว่นใส่สำหรับมองโลก เราควรจะรู้จักพอเวลาที่เรารับและควรจะรู้จักให้และถ้าไม่ถูกใจก็ปล่อยวางเสีย จิตของเราก็จะเบิกบานแจ่มใสทำงานสำเร็จ เราต้องรู้จักพอใจกับความสุขเล็กๆ น้อยๆ รู้จักที่จะให้ รู้จักปล่อยวาง รู้ว่าเมื่อไรควรจะให้ เมื่อไรควรจะปล่อยวาง คำว่า “ พอ ให้  ปล่อยวาง ” เมื่อนำมาปรุงแต่งจิตใจและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันก็จะมีความสุข เช่น คนไทยมีลักษณะที่ดีอยู่อย่างหนึ่ง คือ นิสัยลืมง่าย ที่จริงนิสัยลืมง่ายมีที่มาจากคำว่าไม่เป็นไร วิเคราะห์กันแล้วระหว่างชาวพุทธ ชาวคริสต์ ชาวอิสลาม ชาวพุทธจะปล่อยวางได้เร็วเพราะเรามีคำสอนเรื่องอนิจจัง เราปลูกฝังในเรื่องของการไม่ยึดมั่น เรื่องความไม่เที่ยง เมื่อตายจากกันไปก็ให้ปล่อยวางจะสุขหรือทุกข์ก็อยู่ที่ใจ
 
          การใช้ธรรมะนั้นเราต้องใช้ให้ครบเครื่อง ถ้าทำงานก็เป็นอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ พอใจกับงานนั้น วิริยะคือความพากเพียร จิตตะคือจดจ่อ ซึ่งไม่ได้บอกว่าให้ลืมง่ายเลย เมื่อเจอปัญหาก็ใช้ปัญญาสอบสวนคือวิมังสา อยู่ที่ว่าในสถานการณ์ไหนจะใช้ธรรมะอะไรมาประกอบ เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุข ต้องเลือกเอาว่าเราทำงานประเภทใดอยู่กับหน้าที่ไหนและควรจะนำธรรมะอะไรมาประกอบจิตใจถึงจะได้อยู่อย่างมีความสุข ถ้าหากว่าอยู่ในช่วงสูญเสียเราก็ต้องปล่อยวาง ถ้าจะแสวงหาความสำเร็จต้องปฏิบัติอย่างพระมหาชนก ซึ่งพระมหาชนกนั้นรู้จักปรุงแต่งจิตในภาวะวิกฤติ รู้จักที่จะตั้งสติ “เมื่อสติมาปัญญาก็เกิด สติเตลิดมักเกิดปัญหา” นี่คือวิธีคิด เราจะต้องตั้งสติให้คิดจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ ดังคำที่ว่า “เกิดเป็นคนต้องพยายามร่ำไป เกิดเป็นคนควรหวังอย่ายั้งหยุด มิรู้สุดสิ้นหวังตั้งมาดหมาย หวังไว้เถิดหวังยั่งยืนมิครืนคลาย ปราชญ์ทั้งหลายสมหวังเพราะตั้งใจ”  ถ้าคนเรามัวแต่งอมืองอเท้าก็เรียกว่าทำดีไม่ถึงดี ทำงานเกือบจะได้ผลสำเร็จอยู่แล้วแต่กลับหยุดไปกระทันหัน เรียกว่าไม่ถึงจุดที่ความดีจะให้ผลทำไปก็เสียเปล่า ถ้าทำแล้วก็ทำให้ถึงจุดที่สำเร็จ เรียกว่า “วายเมเถวปุเรโส” คือเกิดเป็นคนต้องพยายามร่ำไปจนกว่าจะได้สิ่งที่ปรารถนา ต้องมีการปลุกใจตัวเองด้วยคติธรรมแล้วแต่ว่าเรามีอะไรอยู่ในใจ ถ้าเป็นเรื่องของการปล่อยวางก็ใช้คติธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องของความพยายามก็ใช้คติธรรมอีกอย่างหนึ่ง ต้องปรุงจิตให้เป็นไปในทิศทางแห่งความดีเพื่อทำงานให้สำเร็จหรือเพื่อดับทุกข์ก็แล้วแต่ อยู่ที่ว่าเราจะอยู่ไปวันๆ หนึ่งแล้วปล่อยให้ความคิดพาไปหรือว่าเราจะเป็นผู้ลิขิตความคิดของเราไปในทิศทางที่พึงประสงค์อยู่ที่เราเป็นผู้เลือก
 
           ท่านพุทธทาสภิกขุสอนว่า “เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนดีที่มีอยู่ เป็นประโยชน์แก่โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยวมองหาสหายเอ๋ย เหมือนมองหาหนวดเต่าตายเปล่าเอย ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง” และเวลามีความทุกข์หรือเวลามีปัญหาขึ้นมาเราต้องทำจิตให้ว่างและทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง จิตว่างไม่ได้หมายความว่าไม่ได้คิดอะไร แต่ว่าไม่เรียกร้องผลตอบแทน คือต้องทุ่มให้เต็มที่ “ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น” ลักษณะอย่างนี้หมายความว่า ทำดีต้องได้ดี กฎแห่งกรรมเป็นผู้นำผลให้เราไม่ใช่เราไปเรียกร้อง ต้องทำงานให้เต็มที่แล้วผลมันจะออกมาเอง ...


 
..............................................


ขอขอบคุณที่มาจาก : พระธรรมโฆษาจารย์
อฺธิการบดี มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย


https://web.krisdika.go.th/data/serve/tha/acknowledge/acknowledge_1/acknowledge1_19.htm

 




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2563
28 comments
Last Update : 13 มิถุนายน 2563 14:31:05 น.
Counter : 1097 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณSleepless Sea, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณThe Kop Civil, คุณหอมกร, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณtoor36, คุณTurtle Came to See Me, คุณอุ้มสี, คุณmultiple, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณธนูคือลุงแอ็ด, คุณทนายอ้วน, คุณกะว่าก๋า, คุณเนินน้ำ, คุณโน้ตตัวดำ, คุณSai Eeuu, คุณnewyorknurse, คุณkae+aoe, คุณวลีลักษณา, คุณญามี่, คุณtuk-tuk@korat, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณmcayenne94, คุณSakormaree, คุณSweet_pills, คุณlife for eat and travel, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณNoppamas Bee, คุณดอยสะเก็ด

 

สาธุค่ะ
เรื่องปรุงจิตให้คิดกุศลนี่
ยังงัยก็ต้องพยายามทำ
ขอบคุณนะคะ

 

โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า 13 มิถุนายน 2563 14:52:21 น.  

 

สาธุค่ะ

 

โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน 13 มิถุนายน 2563 15:16:44 น.  

 

สวัสดีครับ

สาธุครับ
ขอบคุณที่แวะไปนะครับ

 

โดย: Sleepless Sea 13 มิถุนายน 2563 15:28:30 น.  

 

ขอบคุณธรรมะดี ๆ นะคะ
สาธุค่ะ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 13 มิถุนายน 2563 16:53:20 น.  

 

สวัสดี จ้ะ น้องเอ็ม

สาธุ จ้ะ น้องเอ็ม ขอบใจที่สรรหาธรรมะดี ๆ
มาฝาก จ้ะ เรื่องจิต เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้ามีจิต
ใฝ่กุศล เสมอ ความทุกข์ ก็ย่างก้าวมาหาเรา
ไม่ได้แน่นอน จ้ะ

โหวดหมวด ข้อคิดและธรรมะ

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 13 มิถุนายน 2563 19:05:00 น.  

 

สาธุครับ

 

โดย: The Kop Civil 13 มิถุนายน 2563 21:58:29 น.  

 

**mp5** Dharma Blog ดู Blog
แวะมาอนุโมทนาบุญวันพระเหมือนเคยจ้า

 

โดย: หอมกร 13 มิถุนายน 2563 22:16:47 น.  

 

อนุโมทนาบุญครับ รับวันพระเลย

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 13 มิถุนายน 2563 23:39:33 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สมาชิกหมายเลข 4149951 Sports Blog ดู Blog
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: Turtle Came to See Me 13 มิถุนายน 2563 23:42:57 น.  

 

สาธุ อนุโมทามิ

 

โดย: อุ้มสี 13 มิถุนายน 2563 23:45:40 น.  

 

สาธุ

 

โดย: ดู (สมาชิกหมายเลข 5937387 ) 14 มิถุนายน 2563 8:05:16 น.  

 

เรื่องจิตใจนี่ คงต้องฝึกฝนกันนานเลยนะครับ
บางคนใช้เวลาไม่นานก็ทำได้ บางคน ค่อนชีวิตยังทำไม่ได้ แต่เรื่องที่ดีแบบนี้ ก็ต้องหมั่นฝึกฝน พยายามต่อไปนะครับ

ปล. บล็อกใหม่ อ.เต๊ะ มาแน่ครับ อาจจะเดือนหน้า
ถ้าไม่ติดขัดอะไร ขอบคุณที่คอยติดตามนะครับคุณพี่

 

โดย: multiple 14 มิถุนายน 2563 15:46:20 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: ธนูคือลุงแอ็ด 14 มิถุนายน 2563 15:51:34 น.  

 

ยังไปไม่ถึงขั้นนั้นเลยครับ ตอนนี้แค่รักษาอารมณ์ให้นิ่งๆก่อน อิอิ

 

โดย: ทนายอ้วน 14 มิถุนายน 2563 16:16:34 น.  

 

โหวตธรรมะครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 14 มิถุนายน 2563 17:28:33 น.  

 

การปรุงจิตคงต้องฝึกฝนและปฏิบัตินะคะ

 

โดย: เนินน้ำ 14 มิถุนายน 2563 19:13:55 น.  

 

🙏

 

โดย: โน้ตตัวดำ 14 มิถุนายน 2563 21:27:31 น.  

 

ปล่อยวางนี่ยากนะคะ และไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ เราก็ทำไม่ได้ทุกเรื่องค่ะ ยากจริงๆ

 

โดย: Sai Eeuu 14 มิถุนายน 2563 23:18:31 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 15 มิถุนายน 2563 7:02:55 น.  

 

ส่งกำลังใจค่ะ

 

โดย: วลีลักษณา 15 มิถุนายน 2563 9:31:07 น.  

 

มาชวนไปแอ่ววัดเมืองแป้อีกที่ครับ

 

โดย: ทนายอ้วน 15 มิถุนายน 2563 20:49:35 น.  

 

สวัสดียามเช้าค่ะ

 

โดย: kae+aoe 16 มิถุนายน 2563 8:08:10 น.  

 

ขอบคุณที่เอามาฝากกันค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 16 มิถุนายน 2563 16:59:19 น.  

 

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ
อ่านเจอเรือฝึกตายก่อนตายดีมากๆ
ตอนนี้พยายามฝึกค่ะ ทุกสิ่งล้วนอนิจจัง
อารมณ์สำคัญสุด ต้องรู้เท่าทันให้ได้ค่ะ

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 17 มิถุนายน 2563 19:04:13 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปทักทายที่บล๊อกนะคะ

 

โดย: VELEZ 17 มิถุนายน 2563 19:34:30 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณ **mp5**
ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆ นะคะ
ทั้งสุขและทุกข์ที่อยู่ภายในใจ คงเป็นเรื่องที่ทุกคน...ต้องพบเจอในชีวิต ...การได้รับรู้เเละสัมผัส จะเกิดขึ้นเเค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพื่อสอนให้เข้าใจคำว่า "ปล่อยวาง" เป็นสิ่งที่ดี


ปล.ขอบคุณที่เเวะไปเยี่ยมนะคะ

 

โดย: Sakormaree 21 มิถุนายน 2563 0:05:48 น.  

 

"พอ ให้ ปล่อยวาง"



สาธุค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 21 มิถุนายน 2563 9:05:56 น.  

 

แวะมาโหวตค่ะ สาธุ

 

โดย: life for eat and travel 22 มิถุนายน 2563 13:09:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


**mp5**
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 88 คน [?]




สวัสดีครับ

ขอส่งความสุขให้กับทุกคน




New Comments
Friends' blogs
[Add **mp5**'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.