Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
19 พฤษภาคม 2565
 
All Blogs
 

กิจกรรม Photo Walk ภายใต้ โครงการ “ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” (2)

ต่อค่ะ ด้วยว่ากิจกรรมใช้เวลาแค่ครึ่งวัน เดินไปถ่ายรูปไป ใครใคร่ฟังวิทยากรก็ฟัง ใครใคร่ถ่ายรูปก็ถ่าย
บล็อกนี้เป็นตอนจบ แต่ในระยะทางจริง หลังจากแยกย้ายกันแล้ว เราเดินเล่นต่ออีกหน่อย



09.43 น. วันที่ 10 เมษายน 2565 หอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร



ฝั่งตรงข้ามวัดบวรนิเวศ



ไม่ได้แวะเข้าพระอุโบสถวัดบวรค่ะ วันนี้มีกิจของสงฆ์ภายใน



ทวารบาลรูปเซี่ยวกาง (เสี้ยวกาง)





แม่ค้าขายพวงมาลัย หน้าวัดบวร



อาคารบริเวณถนนสิบสามห้าง



เกาะกลางถนนเป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก





ถนนสิบสามห้างเป็นวงเวียนที่เป็นจุดบรรจบกันของถนนตะนาว, ถนนรามบุตรี, ถนนตานี และถนนบวรนิเวศน์ ที่ผ่านหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร





มุมมองจากนอกกำแพงวัด



ตึกวรพรต  อาคารก่ออิฐถือปูนด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร อาคารหลังนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2475
มีลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ยาว 8.7 เมตร กว้าง 3.88 เมตร ราคา 1,900 บาท ด้วยทุนทรัพย์ของพระวรพรตบำรุง (ฟื้น พูลสุข) จึงตั้งชื่อว่า "วรพรต"



ตึกแถวบริเวณถนนตะนาวช่วงบางลำพู  อาคารเป็นตึก 2 ชั้น หลังคามุมกระเบื้องว่าวมีขอบสัน หลังคาอาคารชั้นล่างเปลี่ยนจากสภาพเดิม
แต่ข้างหน้ายังคงเป็นบานประตูไม้แบบบานเฟี้ยมและเคยมีชายคาปูคลุมทางเดิน ชั้นบนยังคงสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง 



แต่ละคูหามีบานหน้าต่าง 2 ช่อง เป็นบานไม้แบบลูกฟักกระดานดุน ช่องแสงเหนือขอบบนของหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลาย
หน้าต่างแต่ละบานมีกันสาดติดไม้ฉลุลายที่ปลายมีเสาหลอกปูนปั้นทรงสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสา เซาะร่องตามแนวนอนคั่นแต่ละคูหา



ถนนรามบุตรี



ช่วงกลางวันก็จะเงียบ ๆ หน่อย





เห็นว่ายังใช้งานได้อยู่ค่ะ





ป้ายชื่อถนน...เหมือนซอยมากกว่าเนาะ


 

Route ที่ โพ้นทะเลอพยพ คบหาสมาคม A

RPST : PHOTO WALK วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2565 (รอบเช้า)

เวลา 08.00-11.00 พบกันที่หอศิลป์ราชดำเนิน

ถนนข้าวสาร

วัดบวร

บางลำพู



เดี๋ยวเราไปวัดชนะสงครามกันต่อค่ะ



ตรงนี้มีร่มหน่อย พักร้อน วิทยากรก็เล่าเรื่องไปด้วยค่ะ







10.11 น.



พระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ผู้ทรงสถาปนาวัดชนะสงคราม ประดิษฐานอยู่ในศาลด้านหน้าพระอุโบสถ




 

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า ‘วัดกลางนา’ เพราะในอดีตรอบ ๆ วัดเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งอาราม และเปลี่ยนชื่อวัดเป็น ‘วัดตองปุ’

ซึ่งเหตุที่ตั้งชื่อวัดนี้ว่าวัดตองปุนั้นมี 2 กระแส กระแสแรกกล่าวว่า ชื่อตองปุมีที่มาจาก ‘หมู่บ้านตองปุ’ หมู่บ้านของชาวมอญในหงสาวดีที่ต่อมาคนเหล่านี้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณวัด แต่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่ามาจากชื่อ ‘วัดตองปุ’ วัดพระรามัญในสมัยอยุธยา ซึ่งมาจากการที่รัชกาลที่ 1 ทรงตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญสำหรับพระนคร โดยให้พระสงฆ์ฝ่ายรามัญมาอยู่ที่วัดนี้นั่นเอง

แต่ไม่ว่าที่มาจากที่ใด ต่อมาหลังจากทำสงครามชนะพม่า 3 ครั้ง นับแต่สงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328 สงครามท่าดินแดงและสามสบ พ.ศ. 2329 และสงครามป่าซาง นครลำปาง พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดแห่งนี้ใหม่เป็น ‘วัดไชยชนะสงคราม’ แต่ภายหลังตัดเหลือเพียง ‘วัดชนะสงคราม’ และใช้มาจนถึงปัจจุบัน 

คำว่า ‘ตองปุ’ แปลว่า ที่รวมพลทหารไปออกรบ

วัดชนะสงครามแห่งนี้ต่อมาได้รับการทำนุบำรุงกันมาเรื่อย ๆ ในทุกรัชกาล ทั้งจากเจ้านายฝ่ายวังหน้าเอง เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ โปรดให้รื้อพระที่นั่งพิมานดุสิตาและให้นำไม้มาสร้างกุฏิที่วัดแห่งนี้ หรือเจ้านายฝ่ายวังหลวงอย่าง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ก่อสร้างที่บรรจุอัฐิที่เฉลียงท้ายพระอุโบสถวัดชนะสงคราม โดยกั้นผนังระหว่างเสาท้ายพระอุโบสถ ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดนี้ได้เป็นอย่างดี   https://readthecloud.co/chanasongkhram-temple/
 



หน้าบันเจาะเป็นช่องหน้าต่าง บานหน้าต่างเป็นลายเทพพนมเหนือบานหน้าต่างเป็นลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ลวดลายพื้นหน้าบันแตกต่างกันคือ หน้าบันด้านหน้าลายพื้นเป็นลายเทพพนม ส่วนหน้าบันด้านหลังลายพื้นเป็นลายก้านแย่งใบเทศ ประดับกระจกสีปิดทอง วัดส่วนใหญ่ กรอบจะมีนาคสะดุ้ง ทำให้กรอบหน้าบันมีความคดโค้ง แต่ของที่นี่ทำเพียงรวยระกา ตัดนาคสะดุ้งออก จึงกลายเป็นกรอบที่ยาวลงมาไม่คดโค้งคล้ายหน้าจั่วบ้านทั่ว ๆ ไป ซึ่งนี่ถือเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมสกุลช่างวังหน้าที่พบได้ตามวัดหรือวังที่สร้างโดยเจ้านายฝ่ายวังหน้า



งานสกุลช่างวังหน้าสวยงามกว่าสกุลช่างวังหลวง



คันทวยรองรับชายคา



ภายในพระอุโบสถ











พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ” หรือชาวบ้านเรียกขานว่า “หลวงพ่อปู่” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 3.50 เมตร





เบื้องหลังพระประธานมีประภามณฑลโพธิพฤกษ์และภาพจินตนาการ เหนือพระประธาน มีฉัตร 7 ชั้นกางกั้น อันหมายถึงพระสัปตปฎลเศวตฉัตรของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล



โดยรอบพระประธานมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 15 องค์ แต่ละองค์หน้าตักกว้าง 0.95 เมตร สูง 1.20 เมตร และหลังพระประธานมีรูปปั้นพระมหากัจจายนะ 1 องค์















สมัยรัชกาลที่ 6 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้พระราชทานอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิที่เฉลียงท้ายพระอุโบสถวัดชนะสงคราม 


 

บริเวณนี้มีการทำเฉลียงกั้นห้องทำเป็นคูหาบรรจุอัฐิเจ้านายฝ่ายวังหน้า โดยแบ่งเป็นออกเป็น 5 กรอบ แต่ละกรอบจะมีช่องทรง 6 เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิโดยมีชื่อของเจ้านายฝ่ายวังหน้าแต่ละพระองค์อยู่

เช่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์เป็นเพียงพระองค์เดียวที่ช่องบรรจุพระบรมอัฐิของท่านแยกออกมาต่างหากไม่ได้อยู่ในกรอบ แต่อยู่ระหว่างกรอบที่ 3 และ 4 และมีกรอบเป็นของพระองค์เอง

หรือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่องของท่านจะอยู่ในกรอบที่ 2 ในช่องของท่านเขียนว่า ‘พระองค์เจ้าชายฤกษ์ (สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์)’ หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ช่องของท่านจะอยู่ในกรอบที่ 5 ในช่องท่านเขียนว่า ‘พระองค์เจ้าชายรัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ’



ช่องบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว













อีกอย่างที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมสกุลช่างวังหน้า คือ ใบเสมา ตามปกติแล้ว ใบเสมาจะตั้งอยู่บนฐานหรือในซุ้มล้อมรอบพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ใบเสมาของที่นี่ก็อยู่ทั้ง 8 ทิศเหมือนกัน และมีใบเสมาบนฐานตั้งอยู่ข้างหน้าพระอุโบสถด้วย แต่มีเพียงแค่ใบเดียวเท่านั้น ในขณะที่ใบเสมาใบอื่น ๆ อยู่บนผนังเลย โดยข้างนอกจะอยู่ที่มุมทั้งสี่ ส่วนด้านในจะอยู่ที่ด้านทั้งสี่ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์และความไม่เหมือนใครของงานสถาปัตยกรรมสกุลช่างวังหน้า







ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นเป็นลายกนกประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ







จุดธูปไหว้พระด้านนอกพระอุโบสถค่ะ



พระเจดีย์ทรงกลมอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ





รอยพระพุทธบาท สร้างใหม่ ปี พ.ศ. 2545







เจดีย์พระบรมธาตุ ศิลปะรัตนโกสินทร์ มี 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นหอระฆังและหอกลอง ชั้นที่สองเป็นหอพระพุทธรูป และชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ



ทางเข้าวัด และลานจอดรถด้านหลัง



เพิ่งเคยเดินออกมาทางนี้ค่ะ



กุฏิวัดชนะสงคราม









มองกลับไปทางเจดีย์พระบรมธาตุ





ใกล้ทางออกเล็ก ๆ ที่จะทะลุไปซอยวัดชนะสงคราม มีต้นโพธิ์อายุ 200 ปี









พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย



แถวนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเยอะ (ถ้าเป็นช่วงก่อนโควิด-19 คงคึกคักเนาะ)



บ้านพระอาทิตย์



หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา



สิ้นสุดกิจกรรมตรงจุดนี้ ในเวลา 11.00 น. 




 

Create Date : 19 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 19 พฤษภาคม 2565 15:48:48 น.
Counter : 1079 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณทนายอ้วน, คุณเริงฤดีนะ, คุณปัญญา Dh, คุณtoor36, คุณThe Kop Civil, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณกะว่าก๋า, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณร่มไม้เย็น, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณกิ่งฟ้า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณtanjira, คุณหอมกร, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณkatoy, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณTui Laksi, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณKavanich96


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.