Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2560
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 สิงหาคม 2560
 
All Blogs
 

โยเดีย ที่คิด(ไม่)ถึง : นาฏศิลป์และดนตรี (15 ก.ค. 60)



ในบรรดาชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั้น มีเหล่าศิลปินทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์รวมอยู่ด้วย ในเมียนมาจะยกย่องการรำของโยเดียว่างดงามอ่อนหวาน ราชสำนักจึงให้มีการสอนดนตรีและรำโยเดียขึ้น รวมทั้งการแสดงโขนโยเดียที่มีผู้นำไปสอนและสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เมืองพยาปง เมืองที่อยู่ปลายสุดของแม่น้ำอิรวดี

ติดตามชมโยเดีย ที่คิด(ไม่)ถึง ทุกวันเสาร์ เวลา 21.10-22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง //www.thaipbs.or.th/live
-------------------------------------------------------

ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่

Website : //www.thaipbs.or.th
Facebook : //www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : //www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : //www.instagram.com/ThaiPBS
Google Plus : //www.thaipbs.or.th/GooglePlus
LINE : @ThaiPBS









 

Create Date : 06 สิงหาคม 2560
1 comments
Last Update : 6 สิงหาคม 2560 14:13:51 น.
Counter : 1877 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSai Eeuu, คุณnewyorknurse

 


Anant Narkkong

หลายคนสนใจไถ่ถามว่า สุภาพสตรีฝรั่งที่พูดเรื่องเพลงโยเดียและโขนโยเดียในสารคดี Thai PBS "โยเดียที่คิด(ไม่)ถึง" ออกอากาศคืนวันที่ 15 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา เล่าเรื่องเป็นภาษาไทยอย่างฉะฉาน พร้อมเล่นเปียโนเปรียบเทียบเพลงไทยกับเพลงพม่า คือใคร?

ขออนุญาตแนะนำ อาจารย์คิด ยัง Kit Young นักเปียโนอเมริกันผู้มีหัวใจรักวัฒนธรรมไทย-พม่าอย่างลึกซึ้ง เป็นบุตรสาวของอดีตเอกอัครราชฑูตอเมริกันประจำประเทศไทย เติบโตในประเทศไทย เรียนรู้ภาษาไทยเป็นอย่างดี เรียนดนตรีไทยกับครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล (ซอ) คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ (ระนาดเอก) และเรียนเปียโนคลาสสิคพร้อมกันไปด้วย จนกระทั่งวัยรุ่น มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวพม่า เกิดความสนใจวิธีการบรรเลงซันดายา (พม่าเรียกเปียโนว่า sandaya) ซึ่งมีวิธีการบรรเลงที่แปลกออกไปจากระบบเปียโนคลาสสิคที่เคยรู้จัก เสน่ห์ของซันดายาทำให้เธอหันมาศึกษาวัฒนธรรมพม่าอย่างจริงจัง ทั้งภาษาและดนตรี ได้เป็นศิษย์ครูนักประพันธ์เพลงพม่าผู้ยิ่งใหญ่ คีตา ลูลิน อูโกโก Gita Lulin U KoKo ตั้งแต่ปี 1987 และในขณะเดียวกัน ก็ยังศึกษาดนตรีตะวันตกอย่างลึกซึ้ง

ในโลกดนตรีตะวันตก เธอเป็นศิษย์วิชาเปียโนของ Lional Nowak, Patricia Zander, Theodore Lettvin, Robert Helps เรียนวิชาประพันธ์เพลงกับ Henry Brant และ Vivain Fine เธอจบปริญญาตรีการแสดงเปียโนและการประพันธ์เพลงจาก Bennington College ปริญญาโทจาก New England Conservatory และปริญญาเอกทางดนตรีจาก University of Michigan และ Peabody Conservatory ความสามารถทางเปียโนและการประพันธ์เพลงร่วมสมัยของเธออยู่ในระดับดีมาก นนอกจากจะเคยเป็นสมาชิกของ Detroit Contemporary Music Ensemble และ Boston’s innovative Composers in Red Sneakers ในช่วงวัยรุ่นแล้ว ก็ยังเคยชนะเลิศการแข่งขัน 1984 NACUSA Contemporary Music Awards ที่ the Arnold Schoenberg Institute in Los Angeles อีกด้วย รวมทั้งการนำผลงานการประพันธ์เพลงใหม่ๆของคีตกวีร่วมสมัยที่สร้างสรรค์งานให้เธอ อาทิ Karl Husa, Richard Becker, Joan Tower, Lionel Nowak, Ge Gan Ru, Jarrad Powell, Somtow Sucharitkul, Robert Helps, Vivian Fine ออกเผยแพร่ผ่านการแสดงเปียโนด้วยตนเอง

อาจารย์คิด ยังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทยและพม่า เคยเป็นอาจารย์ดนตรีที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และวิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ ในขณะเดียวกันก็หันไปทำกิจกรรมดนตรีร่วมสมัยกับเพื่อนๆชาวไทยและพม่า เคยร่วมกับอาจารย์นพ โสตถิพันธ์ จัดเทศกาลดนตรีและบันทึกเพลงเปียโน-ไวโอลินร่วมกัน ทำละครและศิลปการแสดงสมัยใหม่ร่วมกับมานูเอล ลุดเกนฮอสท์ บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธุ์ พิเชษฐ์ กลั่นชื่น รัศมี เผ่าเหลืองทอง เป็นต้น และในฝั่งพม่า ก็ทำกิจกรรมดนตรีชุมชนอย่างจริงจังจนในที่สุดได้ลงทุนลงแรงกายใจเปิดสำนักดนตรีคีตมิตรGitameit Music Center ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษนอกเหนือกำกับของรัฐบาลที่สร้างบรรยากาศใหม่ของดนตรีพม่าและสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เติบโตมาเป็นความหวังของสังคมพม่าเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้กับคนรุ่นใหม่ ได้เรียนต่อในมหาวิทยาลัยทั้งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา และยังหาทุนสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆของคีตมิตรมาโดยตลอดจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะการทำให้ดนตรีพม่าเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกาอย่างมากทั้งในฝั่งตะวันออกที่นิวยอร์คและตะวันตกที่ซานฟรานซิสโก นำดนตรีโบราณของพม่าไปเผยแพร่ และพัฒนาวงขับร้องประสานเสียง a capella ของคีตมิตรที่กลายเป็นหนึ่งในงานสร้างสรรค์ใหม่ที่น่าภูมิใจ ศิษย์ดนตรีพม่าของอาจารย์หลายคนเติบโตเป็นเสาหลักยุคใหม่ของสังคม อาทิ U Moe Naing, Nay Win Htun, Ne Myo Aung, Parami Choon ฯลฯ รวมทั้งเชื่อมโยงให้ครูเพลงพม่าโบราณได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้ให้คนหนุ่มสาวได้ซึมซับถึงมรดกของเผ่าพันธ์ตน

นอกจากการใช้ชีวิตที่เมืองไทยและพม่ายาวนานกว่า 20 ปี อาจารย์คิดยังก็เคยไปพำนักอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นเวลา 3 ปี เคยร่วมงานกับ Wu Na นักกู่ฉินยอดเยี่ยม ฟื้นฟูดนตรีประวัติศาสตร์ จัดการแสดงดนตรีร่วมสมัยในปักกิ่ง และมีผลงานประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์จีน Harold Pinter’s “Betrayal”กำกับโดยหลี่เจียงจุน ฉายในเทศกาล Fringe China ครั้งที่ 3 ในปี 2010 และเป็นสมาชิกของ Beijing New Music Ensemble อีกด้วย

ปัจจุบัน อาจารย์คิด ยัง พำนักอยู่ที่วอชิงตัน ดีซี ทำงานทั้งการสอนดนตรีหลายแห่ง เช่น University of Richmond, University of Maryland Baltimore Camp, ประพันธ์เพลงละครเวที แปลเอกสารพม่าหลายเรื่อง มีงานเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย-พม่า โดยการบรรยายในวาระการประชุมวิชาการนานาชาติหลายแห่งของโลก รวมทั้งการตระเวนแสดงซันดายาเพลงพม่าโบราณให้ผู้ชมรู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมดนตรีพม่าที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นอาจารย์พิเศษรับเชิญในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ Hong Kong Baptist University, College of William and Mary, The Siam Society, The College Music Society, Thailand Composers Festival, Burma Studies Conference, De Kalb, Illinois, Bennington College, Bennington, Vermont. Yong Siu Toh Conservatory Singapore, Mahidol University, Silaprakorn University, Princess Galyanivadana Music Institute

เดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา สารคดี "โยเดียที่คิด(ไม่)ถึง" ได้รับความกรุณาจากอาจารย์คิด ยัง ในการแนะนำพื้นที่และวาระการแสดงโขนของชุมชนพยาโปง ช่วยประสานงานกับลูกศิษย์ของท่านที่มาช่วยงานเบื้องหลังหลายด้าน ที่สำคัญคืออาจารย์ยังเดินทางไกลจากวอชิงตันมาสมทบกับทีมงานเพื่อชมโขนด้วยกัน และให้สัมภาษณ์ความรู้เปรียบเทียบที่มีข้อมูลเป็นประโยชน์มากมาย

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 6 สิงหาคม 2560 14:13:26 น.  


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.