<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
22 มกราคม 2555
 
 
เตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ปีมะโรง

ปี เก่าผ่านไป ปีใหม่กำลังจะมา เชื่อว่าตอนนี้หลายๆ คนคงกำลังสาละวนอยู่กับการหาสถานที่ท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว หลังจากที่ต้องเหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งปีกับการทำงานกอบกู้และฟื้นฟูบ้านหลัง น้ำท่วม ซึ่งก็ขอให้ทุกคนเดินทางโดยปลอดภัยและสนุกสนานกับครอบครัวในวันพักผ่อน แต่ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพควบคู่กันไปด้วย

เนื่องจากสภาพอากาศทุกวันนี้ มีความแปรปรวนมาก ย้อนกลับไปนึกถึงปี 2554 นับเป็นปีที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อาจเป็นเพราะเห็นว่ามีโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases) เกิดขึ้นมากมาย จากรายงานสถานการณ์โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในรอบ 50 ปี จากทั่วโลก พบว่า สัตว์เป็นพาหะนำโรค 70% เนื่องจากการวิจัยพบเชื้อโรคในสัตว์พัฒนากลายพันธุ์สามารถติดสู่มนุษย์ได้ รวมทั้งเชื้อโรคแพร่กระจายข้ามประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยพื้นที่เสี่ยงในการเกิดโรคคือพื้นที่ที่อยู่ในพิกัดเส้นรุ้งระดับล่าง* โรคอุบัติใหม่ ที่ไทยเสี่ยง

แนวโน้มโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความเสี่ยงสำหรับประเทศไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

1. โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่พบในประเทศไทย อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1) 2009, โรคไข้หวัดนก จากเชื้อสายพันธุ์ เอช5เอ็น1 (H5N1), โรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อ EV71 (Enterovirus 71) และโรคลีเจียนเนลโลซิส (Legionellosis)

2. โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจแพร่มาจากต่างประเทศ เช่น ไข้สมองอักเสบนิปาห์ (Nipah Encephalitis), ไข้สมองอักเสบเวสต์ไนล์ (Westnile Encephalitis), โรคสมองฝ่อแบบใหม่ (variant-Creutzfelt-Jacob disease : vCJD) ที่เกิดจากโรคสมองฝ่อในวัวหรือโรควัวบ้า (Bovine Spongiform Encephalophathy : BSE or Mad cow Ddisease), ไข้เลือดออกอิโบลา (Ebola Haemorrhagic Fever), ไข้เลือดออกมาร์บวร์ก (Marburg Haemorrhagic Fever) ,โรคฝีดาษลิง (Monkeypox), โรคแอนแทรกซ์, ไข้ทรพิษ และกาฬโรค เป็นต้น และ

3. โรคติดต่ออุบัติซ้ำที่พบในประเทศ เช่น โรคไข้กาฬหลังแอ่นจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจเข้ามากับแรงงานต่างด้าว และโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส

"สพญ.ดาริกา กิ่งเนตร" ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค บอกว่า การค้นพบโรคติดเชื้อใหม่ๆ และโรคติดต่อมาจากสัตว์ที่ไม่เคยพบมาก่อน สาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและพฤติกรรมมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อโรค การใช้ยาไม่ถูกต้องทำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม รวมทั้งผลจากการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของสัตว์นำโรคและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้โรคอุบัติใหม่ส่วนใหญ่มีธรรมชาติที่ซับซ้อนยากต่อการ จัดการ * ระวังสัตว์ ตัวการโรค

หากยังจำข่าวการเสียชีวิตของชาวจีน 3 คน จากเมืองชิงไห่ ประเทศจีนกันได้ ซึ่งเขาเสียชีวิตจากกาฬโรคปอด ช่วงแรก ผู้เชี่ยวชาญฟันธงว่า หนู คือตัวการสำคัญ รัฐบาลจีนจึงออกคำสั่งตรวจพื้นที่ 3.5 พันตารางกิโลเมตร พร้อมทั้งกักตัวชาวเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น 1 หมื่นคน ผ่านไปได้ไม่กี่วันเจ้าหน้าที่จากศูนย์ควบคุมโรคระบาดของจีนออกมาเปิดเผยข้อ เท็จจริงว่า ต้นตอของโรคนี้ไม่ได้มาจากหนู แต่มาจากตัว "มาร์ม็อต" (Marmot) หรือสัตว์ตระกูลฟันแทะ รูปร่างหน้าตาเหมือนกระรอกแต่ตัวใหญ่กว่า ที่มีเชื้อแบคทีเรียชื่อ "เยอร์ซิเนีย เพสทิส" (Yersinia pestis) ที่เป็นสาเหตุของกาฬโรคปอดนั่นเอง

ส่วนโรคชิคุนกุนยา และ โรคไข้เหลือง มียุงเป็นตัวแพร่เชื้อ แม้จะไม่ร้ายแรงแต่เริ่มพบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นทุกปี ส่วนโรคที่มีต้นตอมาจากสัตว์ปีกคือ โรคไข้หวัดนก และ โรคซาร์ส สำหรับโรคลิชมาเนียกับโรคทูลารีเมีย เกิดจากแมลง พบผู้ป่วยเพียงไม่กี่ราย ด้านโรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่ พบในคนอังกฤษที่กินอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของวัวที่เป็นโรควัวบ้า และยังไม่เคยพบโรคนี้ในประเทศไทย มีเพียงโรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคมือเท้าปาก และโรคเมลิออยโดซิสเท่านั้นที่เกิดจากเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อม

ซึ่ง สัตว์ที่ถูกเฝ้าระวังว่าจะเป็นตัวแพร่เชื้อโรคให้คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มสัตว์ที่นำเชื้อโรคมาสู่คนโดยตรงกับกลุ่มสัตว์ที่เป็นตัวเชื่อม หรือตัวกลางในการนำโรคจากที่ต่างๆ มาสู่คน เช่น พยาธิ หมัด ยุง แมลงวัน ฯลฯ ทุกวันนี้ไม่มีใครบอกได้ว่าโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คนจะเกิดเมื่อไรจะรู้ ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วและมีการบันทึกตัวอย่างผู้ป่วยกับเชื้อโรคที่ค้นพบ

กลุ่ม สัตว์ประเภทอันตรายที่สุดเป็น สัตว์เลี้ยง ที่มนุษย์ชอบเข้าไปคลุกคลี กอดจูบ ลูบคลำ เช่น หมา แมว กระต่าย หรือไก่ และหมูในฟาร์ม ที่ต้องอาศัยคนให้น้ำให้อาหารอย่างใกล้ชิด นอกจากหมัดหรือยุงที่กัดสัตว์เลี้ยงแล้วมากัดเจ้าของปล่อยเชื้อโรคให้แล้ว บางครั้งในฉี่หรือในขี้ของมันจะมีเชื้อโรคติดมาด้วย เมื่อมนุษย์สัมผัสก็ติดเชื้อโรคเข้าไป บางโรคทำให้ป่วยหนัก บางโรคแค่ทำให้ท้องเสีย ส่วนสัตว์ในฟาร์มสิ่งที่ต้องระวังคือการผสมพันธุ์ระหว่างเชื้อโรคคนกับเชื้อ โรคสัตว์ เหมือนไข้หวัดนกที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอีกเมื่อไหร่

แม้ว่า วันนี้เราจะยังไม่สามารถควบคุมการเกิดโรคได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่มนุษย์ป้องกันตัวเองได้คือทำร่างกายให้แข็งแรง ดูแลตนเองให้ดี และวิธีการหนึ่งที่ทุกคนจะสามารถช่วยลดการเกิดโรคอุบัติใหม่ก็คือ การไม่ทำลายสมดุลธรรมชาติ สิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้...


Create Date : 22 มกราคม 2555
Last Update : 22 มกราคม 2555 18:14:10 น. 0 comments
Counter : 598 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

moopanda23
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เฟอร์รารี่, ฝนตกอีกแล้ว, jtriton มั่งมีศรีสุข สงกรานต์ปีนี้ ร่ำวรวยเงินทอง เพลินวาน ความดีไม่มีขาย ความว่างเปล่า ความรู้ทั่วไป กิจกรรมน่าสนใจ น่าดูมาก น่ากิ๊น น่ากิน เซมากูเตะ เรื่องน่ารู้ ล่าสุด บล็อกเก่า เรื่องน่ารู้ ชาบู
[Add moopanda23's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com