" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 
11 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
024. ว่าด้วย สังโยชน์ ๑๐

5 W + 1 H กับ สังโยชน์ 10

1. สังโยชน์ 10 คือ อะไร ?

สังโยชน์ 10
สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

1. สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)

2. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย

3. สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง

4. กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์

5. พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ

6. รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน

7. อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ

8. มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี

9. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล

10. อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ





ตรวน
n.irons,
fetters,
chains
S. โซ่C. จองจำ



Create Date : 11 กันยายน 2550
Last Update : 6 สิงหาคม 2552 21:32:06 น. 2 comments
Counter : 2136 Pageviews.

 
สังโยชน์ ๑๐

เรื่อง สังโยชน์ ๑๐ ประการ นี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก, สังโยชน์ แปลว่า เครื่องผูก-
เครื่องผูกเครื่องล่าม, เหมือนกับโซ่หรือตรวน หรือ ขื่อ หรือ คา หรืออะไรนี่,
เครื่องล่ามเครื่องผูกเครื่องจำ เรียกว่าสังโยชน์, สิ่งที่มันผูกจิตใจไว้ ให้ติดอยู่ใน
กิเลสในความทุกข์ในวัฏฏะ นี่คือ สังโยชน์ ก็คือ มันผูกให้ติดไว้กับสิ่งที่จะเป็น
ทุกข์, สิ่งที่จะทำให้เกิดทุกข์มันมีสังโยชน์ผูกติดไว้กับสิ่งนั้น. ถ้าตัดสังโยชน์ได้
หมดก็เป็นพระอรหันต์, ถ้าตัดสังโยชน์บางส่วนได้ ก็เป็นพระอริยเจ้าที่ลดๆ รองๆ
ลงมา, ถ้าตัดไม่ได้เลย เป็นปุถุชนเต็มขั้น, ถ้ามันตัดสังโยชน์ไม่ได้เสียเลย มันเป็น
ปุถุชนเต็มที่ นี่คอยฟังดูว่าเรามันเป็นปุถุชนเต็มที่ หรือว่า เรามันละอะไรได้บ้าง


สังโยชน์ข้อที่ ๑ เรียกว่า สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า กายของตน, ความเห็นว่า
กายของตน ทั้งที่ไม่รู้จักว่า กายคืออะไรโดยแท้จริง, แต่มันเกิดความคิดเห็น
อันนี้ได้ว่า กายนี้, กายนี้เท่าที่เด็กทารกนั้นมันจะรู้สึกได้ว่า กาย ๆ นี้นั้นแหละ
ของตน. เด็กที่โตแล้วอย่างนี้ก็ได้, คนหนุ่มคนสาวคนแก่คนเฒ่าก็ได้,ที่เขารู้สึก
ว่า อะไรเป็นกาย- เป็นกาย เอาเป็นของตน นั่นคือ สังโยชน์ข้อแรก.

คำว่า กายๆ นี้ แปลว่า หมู่. คำว่า กายโดยแท้จริงไม่ได้แปลว่า ร่างกาย คำว่า
กาย มันแปลว่าหมู่. แต่โดยเหตุที่ว่า ร่างกายของคนๆ หนึ่ง มันมีของหลาย
อย่างรวมกันเป็นหมู่, เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อะไร ๓๒ อย่าง หลายอย่าง
มันรวมกันเป็นหมู่นี้ ก็เลยเรียกว่า กาย, คำว่า กาย นี้แปลว่า หมู่. ไม่ได้แปลว่า
ร่างกาย. แต่เพราะเหตุที่ร่างกายนั้นประกอบด้วยของหลายอย่างเป็นหมู่ ก็เลย
เรียกว่า ร่างกาย. คำว่า กาย แปลว่าหมู่; เช่น พลกาย นี้แปลว่า หมู่แห่งทหาร,
หมู่แห่งพล หมู่แห่งเสนา นี่พลกาย กายนั้นน่ะ แปลตามเดิมว่า หมู่ กลุ่ม, หมู่
กายแห่งทหารเรียกว่า พลกาย.

เรามีสัญชาตญาณแห่งความยึดถือว่า ตัวตนอยู่ในสันดาน พอมีความรู้สึก
เจริญขึ้น, พอเด็กทารกมันเจริญขึ้นพอที่จะรู้ว่ามีอะไร มันก็ยึดเอาสิ่งนั้นเป็น
กายเป็นตัวกู; เด็กไม่มีความรู้มาแต่ในท้อง เรื่องธรรมะธรรมโมอะไรไม่รู้
ทั้งนั้น; ดังนั้นเด็กนั้นจึงรู้ได้เพียงตามที่สัญชาตญาณมักจะชวนให้รู้ ชวน
ให้รู้สึกชวนให้สำคัญมั่นหมาย. ฉะนั้น เมื่อเด็กโตขึ้นก็มีความรู้สึกประเภท
ตัวตนตัวกูได้เอง, แล้วมันเกิดมาจากผัสสะที่มากระทบของอร่อย ก็รู้สึกว่า
อร่อย, แล้วมันก็มีความรู้สึกเกิดเขยิบต่อไปถึงว่า กูอร่อย, แม้จะไม่ออกเสีย
ว่า กู แม้จะพูดว่ากูไม่เป็น, พูดคำว่า กู มันพูดไม่เป็นก็ตามเถอะ, แต่มันมี
ความรู้สึกในความหมายของกู กูอร่อย กูไม่อร่อย อย่างนี้มันก็เพิ่มมากขึ้นๆ ๆ,
จนอายุมันมากขึ้น ความรู้สึกที่เป็นตัวกูก็เข้มข้นขึ้น เข้มข้นขึ้น, ทีนี้อะไรๆ ที่
มันเนื่องกันอยู่หมดนี้ ทั้งร่างกายนี้มันก็เป็นของกู. ฉะนั้น เด็กจะรู้สึกได้เอง
โดยไม่ต้องมีใครสอนว่าทั้งหมดนี้ของกู, เรียกว่า เป็นความโง่ข้อแรก ความ
โง่ นัมเบอร์หนึ่ง ที่มันจะเกิดขึ้นในความรู้สึกคิดนึกของเด็กนั้น, เรียกว่า
สักกายทิฏฐิ- สักกายทิฏฐิ. ทิฏฐิแปลว่า ความคิดเห็น สักกายะ ว่า กายของกู-
ว่ากายของกู, ความคิดเห็นว่า กายของกู เด็กก็มีความรู้อย่างนี้ตลอดชีวิตแหละ.

นี่อันแรกนี่ มันก็ลำบากสักเท่าไรที่เอาอะไรๆ เป็นของกู, แต่แล้วไม่เป็นได้
มันเป็นไปไม่ได้, มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน, เรียกว่า มันเป็นไปตาม
กฏของธรรมชาติ, ตามกฏของอิทัปปัจจยตา. นี้คนเราก็ต้องเป็นทุกข์เพราะ
ว่าสิ่งเหล่านั้น ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ, ทั้งที่เรารู้สึกว่าของกู ทั้งที่เรา
รู้สึกว่าตัวกู, ตัวกูก็ไม่เป็นไปตามต้องการของกู, ของกูก็ไม่เป็นไปตามที่กู
ต้องการ. นี่คือ ความทุกข์พื้นฐาน ความโง่นัมเบอร์หนึ่ง เรียกว่า สังโยชน์
ทำให้ผูกติดกันอยู่กับความทุกข์, หรือ ผูกติดกันอยู่กับกระแสแห่งความทุกข์
คือ ปฏิจจสมุปบาทแห่งความทุกข์, มีกระแส, มีวง มีห่วง แล้วมันก็ผูกจิต
ให้ติดไว้กับห่วงนั้นแหละ โดยสักกายทิฏฐิความเห็นว่าของกู. ถ้าฟังไม่เข้า
ใจ มันก็จะไม่สนใจ, จะไม่เห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความหมายอะไร. ถ้าฟังออก
แล้วจะสะดุ้ง ว่ามันเป็นเรื่องของเราโดยเฉพาะ ที่ทำให้เราติดอยู่กับความ
ทุกข์ออกมาไม่ได้ เพราะมันมีสิ่งนี้ผูกพันไว้, ผูกพันไว้เหมือนกับล่ามไว้หรือ
เย็บติดเข้าไว้ออกไม่ได้.

ข้อที่ ๑ เรียกว่า สักกายทิฏฐิ เป็นสัญชาตญาณพวกแม่บท ว่ามีตัวตนมีเป็น
ของตน แต่ไม่ต้องเล็งถึงตัวสัญชาตญาณแม่บทก็ได้, เป็นสัญชาตญาณลูก
ที่คลอดออกมาเป็นความเห็นแก่ตน ว่ามีตัวตน แต่ความหมายเดียวกันหมด,
ความหมายว่ามีตัวตนของตนในระดับโง่ที่สุด. ต่อมามันก็มีความรู้สึกว่า ตัว
ตนของตนสูงขึ้นไป ละเอียดยิ่งขึ้นไป, จนเอาธรรมะเป็นตัวตน, จนเอาปรมาตมัน
สิ่งสูงสุดอะไรเป็นตัวตนโน่น มันไม่ยอมขาดออกง่ายๆ แต่นี่โดยพื้นฐานสำหรับ
ปุถุชนทั่วไป ก็มีความรู้สึกว่า ตัวกูหรือของกูนั่นแหละ เป็นเครื่องผูกให้ติดไว้กับ
สายโซ่ของความทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปปาท.


เครื่องผูกข้อที่ ๒ เรียกว่า วิจิกิจฉา ความลังเลไม่แน่ใจว่ามันถูกต้องแล้ว. ที่เขา
จะพูดหรือเขาจะอธิบายกันตามธรรมดา ก็จะว่าความลังเลสงสัย ความอะไรอีก
หลายๆ อย่าง. แต่ขอระบุว่า ความลังเลว่ามันไม่ถูกต้อง. ซึ่งเกิดได้ตามสัญชาต
ญาณ คือเกิดเองนั้น, เราไม่รู้เราก็ลังเลว่า มันจะไม่ถูกต้อง. นี่ถ้าเขาสอนให้รู้ เรา
ก็ลังเลว่าคำสอนนั้นมันไม่ถูกต้อง, ยังผิดอยู่นั่นแหละ คือไม่ถูกต้องอยู่นั่นแหละ.
ไม่มีความแน่ใจเด็ดขาดลงไปว่ามันถูกต้องแล้ว, นั้นตั้งแต่ว่าเรื่องสุขภาพอนามัย
ของเรานี้ เราก็ไม่ได้แน่ใจว่ามันถูกต้องแล้ว; ปลอดภัยแน่แล้ว, มันยังมีสิ่งที่จะ
ต้องเป็นทุกข์ เจ็บไข้ได้ป่วยอะไรซ่อนอยู่ในนั้น, ความปลอดภัยอย่างอื่นๆ ก็
เหมือนกัน มันไม่แน่ใจว่าปลอดภัย: ความปลอดภัยทางการเงิน, ความปลอดภัย
ทางการคุ้มครอง, ความปลอดภัยทางอะไร, กระทั่งว่าสิ่งที่เรากระทำอยู่ทุกวัน
นั้น, เราก็ไม่ได้แน่ใจว่าเราจะทำได้ หรือว่าเราจะทำไม่ได้, มันก็สงสัยอยู่ ว่ามัน
จะถูกต้องหรือไม่? มันจะตัดปัญหาทั้งหลายทั้งปวงได้หรือไม่? แต่ถ้าเราโง่ให้
มากๆ เราจะพูดว่า เงินจะตัดปัญหาทั้งปวงได้, เราก็จะคิดว่าอย่างนั้น, เราก็คิด
แต่จะหาเงิน, แต่ส่วนลึกมันก็ยังสงสัยอยู่ ว่า แม้แต่เงินหรือแม้แต่พระเจ้า มันก็
ยังไม่แน่ว่าจะคุ้มครองได้. นี่เป็นเหตุให้สงสัยในพระพุทธ, สงสัยในพระธรรม,
สงสัยในพระสงฆ์ ว่าจะเป็นที่พึ่งได้จริงหรือไม่? มันสงสัยอย่างนั้น มันก็ดี มัน
ก็มีประโยชน์นะ ถ้าว่าสงสัยไว้ก่อนไม่เชื่อเสียทีเดียว; แต่ถ้ามันยังมีอยู่ ถ้ายังไม่
เชื่ออย่างที่กำลังพูดนี้ ยังไม่อยากจะเชื่อก็ได้, แต่อย่าเอาไปสงสัยให้เป็นทุกข์,
อย่าเอาไปลังเลให้เป็นทุกข์. ขอให้สังเกตดู, สังเกตดู, ฟังดูฟังดู, ถ้าเห็น ถ้าเห็น
ว่ามีเหตุผลคงจะดับทุกข์ได้ ก็ลองปฏิบัติดู; ถ้ามันดับทุกข์ได้แล้วก็เชื่อ, แล้วก็
หมดความลังเล, หมดความสงสัย

เดี๋ยวนี้ เรายังมีหวาดผวาอยู่ในส่วนลึก ที่เรียกว่า subconscious ในส่วนลึก
ที่เราไม่ต้องรู้สึก หรือไม่รู้สึกเรายังมีความหวาดผวาอยู่ในส่วนนั้น ว่ายังไม่
ปลอดภัย ยังมีอันตราย. นี่เรียกว่า วิจิกิจฉา, มันวิจิกิจฉาไปได้หมดแหละ. บางที
จะวิจิกิจฉาว่า พ่อแม่นี้จะรักเราจริงหรือไม่? ก็ดื้อไว้ก่อนดีกว่า เผื่อพ่อแม่ไม่ได้รัก
เราจริง. นี่มันมีได้สารพัดอย่าง ความลังเลไม่แน่ใจลงไปในทุกสิ่ง ที่หวังว่ามันจะ
มีประโยชน์, หรือจะปลอดภัย, มันยังลังเลสงสัย. ฉะนั้น เรามีความหวาดผวาได้
เมื่อไรก็ได้ ถ้ามันแสดงออกมาให้เห็นสักนิดหนึ่ง ว่ามันเป็นอันตรายหรือมันไม่ได้
อย่างที่ตั้งใจไว้. วิจิกิจฉาจึงเป็นสิ่งที่ทรมานใจอยู่ในส่วนลึกใต้สำนึก, มันก็ช่วย
ไม่ได้ เพราะมันมีสัญชาตญาณแห่งตัวกู ที่ยังไม่ไว้ใจ ที่ยังหวาดผวาอยู่ว่าจะไม่
สำเร็จประโยชน์แก่ตัวกู.


ที่นี้ สังโยชน์ที่ ๓ สีลัพพตปรามาส, ตะกี้พูดไปทีแล้ว เรื่องอุปาทาน สีลัพพัตต
ปรามาส เราไม่มีความรู้โดยประจักษ์โดยถูกต้องกับสิ่งนั้นๆ, แล้วเราก็เข้าใจผิด
ต่อสิ่งนั้นๆ, แล้วเราก็ยึดถือไว้อย่างผิดๆ นี่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส เป็นเรื่องของ
ธรรมชาติ อยู่เหมือนกัน ที่จำเป็นจะต้องมีสิ่งนี้; เพราะว่าเรายังเข้าใจไม่ได้, เพราะ
ว่าเรายังเข้าใจไม่ได้. ถ้าเราเข้าใจเรื่องฟ้าร้องฟ้าผ่าไม่ได้, เราก็ต้องคิดเอาเอง
อย่างว่าเป็นอะไร. ถ้าเราคิดได้แต่เพียงว่า มันเป็นเรื่องของรามสูรกับเมฆขลา
มันก็เป็นเรื่องของรามสูรกับเมฆขลาไป, มันเป็นความจริงเพราะเราคิดอย่างนั้น
เพราะเราเชื่ออย่างนั้น. อะไร ๆ อีกมากอย่าง ที่เราไม่เข้าถึงความจริง, แต่เราก็
ยึดถือตามที่มันปรากฏแก่ความรู้สึกของเรา; นี่เรียกว่า เรามันโง่ตลอดเวลา.

ทีนี้มามองดูเฉพาะสิ่งที่เรากำลังต่อสู้ โดยสัญชาตญาณแห่งการต่อสู้, เราคิดว่า
จะต่อสู้ความทุกข์ได้ด้วยเหตุนี้ ด้วยเหตุอย่างนี้ ด้วยพิธีรีตองอย่างนี้, เหมือนใคร
แขวนพระเครื่อง, ถ้าแขวนพระเครื่อง ก็คิดว่า พระเครื่องนี้จะคุ้มครอง, ไม่ได้คิด
ว่า เราจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มันจึงจะคุ้มครอง จึงจะไม่เป็นทุกข์ เราก็มาถือเสียว่า
เพียงแต่เอาพระเครื่องมาแขวนคอ มันก็คุ้มครองได้หมด, ไม่มีความทุกข์. นี่ความ
คิดของเรามันมีเพียงเท่านั้น คือ โง่, แล้วเราก็ไม่อาจจะรู้ว่า พระพุทธเจ้าคือใคร,
แล้วพระพุทธรูปที่เป็นสัญญลักษณ์ของพระพุทธเจ้านั้นคือใคร, ก็เราเอามาแขวน
ไว้เพราะว่ามีคนบอกว่าคุ้มครองได้, คุ้มครองได้; อย่างนี้ ยังเป็น สีลัพพตปรามาส
อยู่. ฉะนั้นตลอดเวลาที่เรายังเป็นปุถุชนอยู่ เราจะต้องมีความคิดนึกอย่างนี้, จะต้อง
รู้สึกอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเขาจึงแขวนพระเครื่องกัน ทั้งบ้านทั้งเมือง, จนกว่าเขาจะ
รู้ว่า พระเครื่องนี้คืออะไร พระพุทธเจ้าคืออะไร, แล้วปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าแล้ว
ดับทุกข์ได้ นั้นแหละมันจึงจะพ้นจากสีลัพพตปรามาส.

เดี๋ยวนี้ก็ได้แต่ว่า เชื่อว่าปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เดช บารมีอะไรของพระพุทธเจ้า ที่ใครเขา
เสกเป่าไว้ในพระเครื่อง เอามาแขวนเข้าแล้วก็จะคุ้มครอง; อย่างนี้มันผิดจากความ
จริง, มันผิดจากเหตุผลแห่งความจริง, อย่างนี้ก็เรียกว่า มันลูบคลำความจริงผิดๆ,
ทำความจริงให้เป็นของไม่จริงเพราะความเข้าใจผิด. นี้ต้องมีกันอยู่ทุกคน; เพราะ
ฉะนั้นจึงต้องเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันไปก่อน. เราจะพูดว่าไสยศาสตร์นี้ต้องเก็บไว้ก่อน,
เก็บไว้ให้คนปัญญาอ่อน ซึ่งมันมีอยู่มากในโลกยังเลิกไม่ได้ ตลอดเวลาที่ยังต้อง
พึ่งไสยศาสตร์อยู่ มันก็ยังเป็นสีลัพพตปรามาสอยู่. นี่เพราะสัญชาตญาณแห่งตัว
ตนมันมีอยู่, แล้วมันรู้เพียงเท่านั้น มันรู้มากกว่านั้นไม่ได้, มันก็คิดอย่างนั้นเพราะ
ความรักตน, เพราะมันรักตน มันอยากให้ตนปลอดภัย นี่คนเราจึงมี สีลัพพต
ปรามาสกันอยู่ทั่วไป, ทำพิธีรีตองต่างๆ นานา; แม้จะเล่าเรียนศึกษากันมาอย่างไร
ก็ยังไม่พ้นที่จะเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีเหตุผล, ไม่เข้าถึงความจริงของสิ่งนั้นๆ
แล้วก็ยอมรับเอาสิ่งนั้นเข้ามาอย่างไม่มีเหตุผล, เพื่อเป็นที่พึ่งบ้าง, เพื่อเป็นเครื่อง
คุ้มครองบ้าง, เพื่อประโยชน์อย่างอื่นบ้าง ก็ตามใจเถอะ.

ถ้าไม่ทำด้วยเหตุผลที่แท้จริงของสิ่งนั้น เอาเข้ามาปฏิบัติอยู่ แล้วก็เป็น
สีลัพพตปรามาส จึงเต็มไปหมดทั้งบ้านทั้งเมือง, ไม่ว่าคนไทยหรือคนฝรั่งหรือ
คนจีนคนแขก เขาก็มีไปตามแบบของเขา, เรียกว่า สีลัพพตปรามาส คือลูบคลำศีล
และวัตร, นี่ใช้ภาษาศาสนาภาษาวัด ศีลคือข้อปฏิบัติในส่วนศีล, วัตรคือ ข้อปฏิบัติ
ที่เป็นวัตรยิ่งขึ้นไป, ไม่รู้เหตุผลตามที่เป็นจริงของสิ่งนั้นๆ แล้วก็จับเอามาถือไว้
ด้วยเหตุผลที่ผิดๆ คือไม่มีเหตุผลเอามาถือไว้ด้วยความโง่ของตนอย่างนั้น
อย่างนั้น, นี้คือ สีลัพพตปรามาส อันนี้ก็ออกมาจากสัญชาตญาณแห่งความมีตัวตน,
ยึดถือตัวตนเป็นหลัก ยึดถือความรู้สึกคิดนึกของตัวตนเป็นหลัก, มันก็เกิดขึ้นมา
อย่างนี้ เรียกว่า นี้ก็มาจากสัญชาตญาณ.

ทีนี้ สังโยชน์ที่ ๔ เรียกว่ากามราคะ คือ ยินดีในสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความ
รักใคร่. นี่เด็กๆ มันก็ทำเป็นอะไรถูกใจ อะไรถูกใจ มันก็ต้องยินดีในสิ่งนั้น, แล้ว
สิ่งที่มาทำให้เกิดความยินดีมีมากขึ้นทุกที มากขึ้นทุกที สูงสุดและรุนแรงยิ่งขึ้น
ทุกที จนถึงระดับสูงสุดของสิ่งที่เรียกว่า กามะ, กามะคือความใคร่ หรือวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ความใคร่, มันก็มีความยินดีอย่างแรงในสิ่งเหล่านั้นเพิ่มขึ้น-เพิ่มขึ้น-
เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ทารกเริ่มรู้สึกต่อเวทนา, รู้จักแยกแยะเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา
มันก็มีความพอใจในส่วนที่เป็นสุขเวทนาที่น่าปรารถนา แล้วที่เป็นการขับกล่อม
เลยความจำเป็นไปเป็นเรื่องของกิเลส, คือว่าเลยสิ่งที่จำเป็นของชีวิต กลายเป็น
เรื่องของกิเลส.

เช่นว่า อาหารอย่างนี้ ทีแรกมันก็กินแต่เพียงเป็นเพียงอาหาร, แต่ทีนี้มันมีการปรุง
ให้เอร็ดอร่อย ให้ยั่วยวนแก่การกิน เลยระดับของอาหาร มันก็กลายเป็นเหยื่อของ
กิเลส, ถ้าเรากินสิ่งที่กินเพียงเป็นอาหาร ไม่มีโทษ, แต่ถ้าเรากินเป็นเครื่องอร่อยแก่
จิตใจแก่กิเลส นี้มันไม่ใช่อาหารแล้ว, มันกลายเป็นกามชนิดหนึ่งแล้ว, เรียกว่า กาม
ได้เหมือนกัน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นกามได้ทั้งนั้น
ถ้ามันถูกใจแก่กิเลส นี่เราก็มีความรู้สึกในสิ่งชนิดนี้มากขึ้นๆ เป็นนิสัย เรียกว่า
กามราคะ ชอบเอร็ดอร่อย ซึ่งเป็นการบำรุงบำเรอในความหมายของกิเลส แทนที่
จะเป็นความจำเป็นแก่ชีวิต.

ฉะนั้น ระวังให้ดี เรื่องรูป เรื่องเสียง เรื่องกลิ่น เรื่องรส เรื่องสัมผัส ผิวหนังอะไร
ก็ตามเหล่านี้ มันควรจะมีอยู่อย่างถูกต้องเท่าที่จำเป็น ที่จะต้องมี; ถ้ามีเลยนั้นก็เป็น
เรื่องของกิเลสคือเป็นกาม ที่เป็นวัตถุ อยู่ข้างนอก เรียกว่า วัตถุกาม, ที่เป็นความ
รู้สึกรุนแรงอยู่ข้างใน เรียกว่า กิเลสกาม. วัตถุกามกับกิเลสกาม รวมกันนั่นแหละ
คือกาม ก็มีความยินดีในสิ่งที่เป็นกาม หรือเป็นปัจจัยแก่กาม มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก
จนใหญ่จนโต มันก็ผูกพันกันไว้ให้ติดกันอยู่กับสิ่งนั้นๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นเหยื่อแก่
กิเลส, ไม่ใช่เป็นอาหารที่จำเป็นแก่ชีวิต.

รู้จักแยกแยะกันให้ดีๆ นะ เหยื่อของกิเลสกับอาหารที่จำเป็นแก่ชีวิตแล้วมันจะเห็น
ได้ง่ายๆ ไม่ยากนัก; ที่มันทำให้อร่อยมากขึ้นไปเกินกว่าจำเป็น นั่นมันจะเป็นเหยื่อ
ของกิเลส, ถ้าเท่าที่จำเป็นแก่ชีวิต ก็ยังคงเป็นอาหารที่จำเป็นแก่ชีวิต ถ้าเป็นเหยื่อ
ของกิเลส แล้วมันก็เป็นเรื่องเข้าไปในขอบเขตของความโง่ ซึ่งจะต้องใช้เงินมาก
จนเงินไม่พอใช้ นั่นเป็นเรื่องของกิเลส เป็นความหลอกลวงของกิเลส ถ้าเราไม่รู้สึก
ตัว เราก็ถลำเข้าไปในขอบเขตของเหยื่อของกิเลสมากขึ้นๆ จนเป็นนิสัย.

จะเห็นได้ง่ายๆ ว่า กินเพื่ออร่อยนั้นแหละ มันจะเพื่อกิเลส, ถ้ากินเพื่ออยู่ได้พอ
สบาย นั่นแหละเป็นกินอาหาร, กินอาหารเพื่อพออยู่ได้ตามสบาย ชีวิตอยู่ได้
ตามสบาย ถ้าเพื่อเอร็ดอร่อยเกินจำเป็น เป็นเรื่องของกิเลส, แล้วมันก็กลายเป็น
เหยื่อของกิเลส. ระวังอย่าได้อยู่ด้วยเหยื่อของกิเลส, อยู่ด้วยอาหารเท่าที่จำเป็น
แก่ชีวิต นี่ว่ากามราคะ ก็หมายความว่า พอใจกำหนัดยินดีในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเอร็ดอร่อยแก่กิเลส ที่เรียกว่า กาม แล้วก็มีกันทุกคน.

มีเรื่องที่จะต้องพิจารณาดู อย่าเพ่อโกรธนะ ว่าสัตว์เดรัจฉานมันไม่เคยกินเพื่อเป็น
เหยื่อของกิเลสนะ; แต่พวกเรานี่มันไปกินเพื่อเป็นเหยื่อของกิเลสแล้วแพงๆ ทั้งนั้น
เลย, เปิดร้านอาหารโต้รุ่งเพื่อเอร็ดอร่อย อิ่มแล้วก็ยังจะกินใช่ไหม? ถ้ามันอร่อยน่ะ
อิ่มแล้วมันก็ยังอยากจะกินอยู่นั่นแหละ สัตว์เดรัจฉานทำไม่เป็นนะ, สัตว์เดรัจฉาน
กินอิ่มแล้วมันก็เลิกกันแหละ. นั่นแหละดูให้ดีๆ ว่าอย่าให้สัตว์เดรัจฉานมันดีกว่าคน
โว้ย, มันไม่ตกไปในเหยื่อของกิเลสมากเหมือนคน. ถ้าถือข้อนี้ได้มันจะประหยัดเงิน
ได้มากนะ มันจะมีความทุกข์น้อยลงกว่านี้มากนะ. นี่สังโยชน์ตัวที่ ๔ เรียกว่า กาม
ราคะ.

ธ-สัญชาต-๑๕/๑๓๙-๑๕๓.ก/๕๕-๗๑

Resource:
//www.buddhadasa.com/dhamanukom/166sungyot1.html


โดย: สังโยชน์ ๑๐ (moonfleet ) วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:14:59:40 น.  

 
สังโยชน์ 10

สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

1.สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)

2.วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย

3.สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง

4.กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์

5.พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ

6.รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน

7.อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ

8.มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี

9.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล

10.อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ

นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง

สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา หรือตามศัพท์ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อารมณ์ขั้นต้นของพระโสดาบัน กับสกิทาคามี ท่านมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย เราต้องคิดว่า ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ร่างกายนี้น่าเกลียดโสโครก ต้องเกลียดจริง ๆ เราไม่ต้องการทั้งร่างกายเรา และร่างกายของคนอื่น หรือวัตถุธาตุใด อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามี และถ้ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอรหันต์

ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับ คือ
อารมณ์ขั้นต้น ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาล ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือมีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต
อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด มีทั้ง อุจจาระ ปัสสวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น พยายามทำอารมณ์ให้ทรงจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด
อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

วิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน สังสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ
เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์

สีลัพพตปรามาส คือ ลูบคลำศีล รักษาศีลไม่จริงจัง อย่างนี้จงอย่ามีในเรา จงปฏิบัติให้ครบถ้วนด้วย 3 ประการ

มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะต้องตาย
ไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมยอมรับปฏิบัติตาม
รักษาศีลครบถ้วนโดยเคร่งครัด

ทำอย่างนี้ได้ ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี
กามฉันทะ คือมีความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เราต้องกำจัดในสิ่งเหล่านี้ ให้รู้ว่าสกปรก โสโครก เราไม่ต้องการ และกำจัด

ปฏิฆะ คือ การกระทบกระทั่งความไม่พอใจออกจากจิต มีความเมตตา กรุณา เข้ามาแทน จิตมีความเบื่อหน่ายในร่างกายเป็นที่สุด ท่านตรัสว่า เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี

รูปราคะ และ อรูปราคะ เป็นการหลงในรูปฌาน และอรูปฌาน เราต้องไม่หลงติด ไม่มัวเมาใน รูปฌาน และอรูปฌาน แต่จะรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่จิตใจ แล้วใช้่ปัญญาพิจารณาขันธ์ 5 ว่ามีแต่ความทุกข์ มีการสลายตัวไปในที่สุด เมื่อขันธ์ 5 ไม่ทรงตัวแบบนี้แล้ว

มานะ การถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา วางอารมณ์แห่งการถือตัวถือตนเสีย มีเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง

ตัดอุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน
การถือตัวถือตน เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราควรวางใจแต่เพียงว่า ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วเกิดนี่มาจากไหน การเกิดมาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เราควรวางใจเป็นกลาง การถือตัวถือตนเป็นปัจจัยของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด ถ้ากำหนดอารมณ์อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะของตนได้

อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ
อุปาทาน ได้แก่ ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด
ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส
ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มีอยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน

ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ความจริงอารมณ์ตอนนี้ก็เข้มแข็งพอ คนที่เป็นอนาคามีแล้ว เป็นผู้มีจิตสะอาด มีอารมณ์ขุ่นมัวบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อารมณ์ใจยังเนื่องอยู่ในอวิชชา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่เข้าถึงสุขที่สุด ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข ก็ควรจะใช้บารมี 10 นำมาประหัตประหารเสีย
อวิชชานี้ ที่ว่า มีฉันทะ กับราคะ นั้น ท่านก็ตรัสว่า ฉันทะ คือมีความพใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์
ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ในใจของท่านต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ ในอุปสามานุสสติกรรมฐาน

Resource:
//www.larnbuddhism.com/grammathan/sangyot.html


โดย: สังโยชน์ 10 (moonfleet ) วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:15:06:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.