" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
8 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
024. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 "วันมหาวิปโยค" : ในวันอาทิตย์ ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2554

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 "วันมหาวิปโยค"
ในวันอาทิตย์ ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2554




8963. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม 2516 : 14 October 1973 Memorial.
ในยามบ่ายของ วันอาทิตย์ ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2554






8962. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม 2516 : 14 October 1973 Memorial.
"วันมหาวิปโยค"






8964. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม 2516 : 14 October 1973 Memorial.
"วันมหาวิปโยค"






8965. 24 มิถุนา ก่อเกิดประชาธิปไตย

24 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2475 เป็นเพียง "วันหนึ่ง" ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ข้อความในหมุดดังกล่าวมีดังนี้

"ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง
คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"

รัฐบาลไทยสมัยนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้กระทำพิธีฝังรากหมุดนี้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เวลา 14.30 น




8966. ส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม 2516
"วันมหาวิปโยค"






8967. ส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม 2516
"วันมหาวิปโยค"






8968. ส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม 2516
"วันมหาวิปโยค"







8969. ส่วนหนึ่งของคำจารึกที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
"วันมหาวิปโยค"

มนุษย์ต้องมีเสรีภาพ
ดุจตะวันเปล่งปลาบประกายฉาย
ความเป็นคนมั่นคงไม่คลอนคลาย
เสรีภาพไม่ตายไปจากคน

มิใช่เสรีตามอำนาจกิเลส
เป็นเสรีปฏิเสธความฉ้อฉล
เป็นเสรีที่จะผละกิเลสตน
เป็นเสรีที่จะพ้นความต่ำทราม

ต้องต่อสู้เพื่อมีเสรีภาพ
ดุจพิราบแห่งฟ้ากล้าฝ่าข้าม
วีรภาพแห่งประชาสง่างาม
ศักดิ์ศรีความเป็นคนในตัวตน

เราต้องเชิดชูเสรีภาพ
ร่วมกำจัดความบาปและความชั่ว
พ้นจากความพินาศพ้นหวาดกลัว
พ้นมืดมัวสู่เสรีที่แท้จริง





8970. ส่วนหนึ่งของคำจารึกที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
"วันมหาวิปโยค"

ขอร้องเถิดเพื่อนรัก ถ้าแหลมหลักจงเล็งแล
อย่าเห็นแค่ร่างแห แห่งถ้อยคำแล้วจำยอม

เป็นคนต้องค้นคิด เมื่อเป็นมิตรอย่าเมามอม
ไม้ดอกที่เด็ดดอม ใช่ดมได้ทุกดอกดวง

ซึ่งคนเต็มคุณค่า เพราะหาญกล้าเข้าฝ่าปวง
ความเลวทะลวงล่วง มิอาลัยสิ่งใดเลย





8971. ส่วนหนึ่งของคำจารึกที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
"วันมหาวิปโยค"


"การมีชีวิตอยู่เพียงเพื่ออยู่รอด
ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย
เพียงแต่ปรับตัวเข้ากับคนอื่นเรื่อยไปก็อยู่ได้
แต่คนที่ยึดมั่น เชื่อมั่น และยึดในหลักการนั้น
หายากและทำยาก
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า
การทำยากจะทำไม่ได้




8972. ส่วนหนึ่งของคำจารึกที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
"วันมหาวิปโยค"


ลูกบอกว่าลูกรู้
จึงสู้แบบอหิงสา
แม่กับพ่อก็รอมา
หลายเพลาหลายเพล
ดอกโสนบานเช้า
โอ้ดอกคัดเค้าบานเย็น
ออกพรรษามาตระเวน
ที่อนุสาวรีย์ทูน
ไม่มีร่างเจ้าขุนทอง
มีแต่รัฐธรรมนูญ
แม่กะพ่อก็อาดูร
แต่ภูมิใจลูกชายเอย




8973. ส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม 2516
"วันมหาวิปโยค"




8974. ธงชัยวีรชน

ธงชัยวีรชน

เปิดโลกเสรีภาพมาฉาบฝัน
ปลุกชนชั้นทุกชีวีที่หลับไหล
มาทวงสิทธิอิสระอธิปไตย
เพื่อนำชัยสู่มหาประชาชน

ธงสะบัดพริ้วเด่นเป็นสง่า
สิบสี่ตุลาร้อนแรงทุกแห่งหน
ประกาศก้องเกริกไกรในมณฑล
คือธงชัยวีรชนคนตุลา

ภาพสะท้อนฝังติดจิตสำนึก
เผด็จศึกเผด็จการอย่างหาญกล้า
วันล้มล้างทรราชล้มอาชญา
คือวันที่ปวงประชาประสบชัย

เพราะฉะนั้นวันนี้จึงมีสิทธิ
ทุกชีวิตมีเสรีมีเป้าหมาย
วันที่ฟ้าสีทองผ่องอำไพ
ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

วีรชน




8975. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 "วันมหาวิปโยค"
ในวันอาทิตย์ ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2554




8976. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 "วันมหาวิปโยค"
ในวันอาทิตย์ ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2554




8977. ๑๔ ตุลา วันประชาธิปไตย





8978. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
"วันมหาวิปโยค"
ในวันอาทิตย์ ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2554




8979. อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

-----------------------------------------------------------------------------
ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Click:อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี





สถูปวีรชน 14 ตุลา

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ในวันที่ 14 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ตั้งอยู่เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนิน บริเวณสี่แยกคอกวัว สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2544





แผ่นป้ายจารึกชื่อผู้เสียชีวิต

สถานที่

สถานที่ที่ใช้สร้างอนุสรณ์สถานเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ภายในอนุสรณ์สถานมีพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด สำนักงาน ห้องประชุม ลานกิจกรรม สวนสาธารณะ และประติมากรรมต่าง ๆ

หนึ่งในประติมากรรมที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ คือ สถูปวีรชน 14 ตุลา เป็นรูปกรวยคว่ำ สูง 14 เมตร จารึกรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด 72 คนและบทกวีของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ รูปกรวยคว่าเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณการมนุษย์ ส่วนปลายยอดกรวยที่ดูเหมือนยังสร้างไม่เสร็จแทนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพที่ยังต้องดำเนินต่อไป




นิทรรศการ เหตุการณ์ 14 ตุลา จัดแสดงที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา


ประวัติการก่อสร้าง

การก่อสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีประวัติอันยาวนาน เริ่มตั้งแต่มีการเสนอให้มีการสร้างอนุสาวรีย์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14-16 ตุลาคม 2516 ผ่านคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2517 แต่กว่าที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาจะปรากฏเป็นรูปธรรมดังที่เห็น หนทางก็เต็มไปด้วยอุปสรรคนานับประการ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2544 อนุสรณ์สถานแห่งนี้จึงจะสามารถสร้างได้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ก็ด้วยแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องจากขบวนการนิสิตนักศึกษา อดีตนักศึกษาในสมัย 14 ตุลา นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย

งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้มาจากเงินบริจาคของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และในโอกาสครบรอบ 28 ปี 14 ตุลา รวมกับเงินบริจาคของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กรุงเทพมหานคร และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีมูลนิธิ 14 ตุลา เป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจัดสร้าง และร่วมดำเนินกิจการของอนุสรณ์สถานฯ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า

อนุสรณ์สถาน14 ตุลา จะต้องเป็นสถานที่จัดกิจกรรมสาธารณะที่มีความหลากหลายทั้งรูปแบบและเนื้อหา ตลอดจนเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อกระตุ้นความสนใจและให้การศึกษาทางการเมืองแก่เยาวชนคนหนุ่มสาว อันจะนำไปสู่การสร้างหรือเพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยในประเทศไทย





ทางเข้าอนุสรณ์สถาน

หมายเหตุ Moonfleet : ปัจจุบันบริเวณด้านหน้ามีผู้ประกอบการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือ หวย ตั้งโต๊ะจำหน่ายจำนวนมากพอสมควร




ทางเข้า ระบุเลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนิน




ประติมากรรมที่ตั้งอยู่ทางเข้า





ภูมิทัศน์ภายในอนุสรณ์สภาน

-----------------------------------------------------------------------------

ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
เหตุการณ์ 14 ตุลา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Click:เหตุการณ์ 14 ตุลา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






จำนวนผู้ชุมนุมเมื่อมองจากมุมสูงที่ถนนราชดำเนิน




นักศึกษาช่างกลรวมตัวกำลังเดินเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร




การจลาจล




การปราบผู้ชุมนุมโดยทหาร




การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย





พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงมีพระราชดำรัส ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 19.30 น.วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม
พ.ศ.2516





สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขณะทรงมีพระราชดำรัส ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 23.30 น. วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516


-----------------------------------------------------------------------------




Moonfleet ได้มาเยือนอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม 2516
: 14 October 1973 Memorial.
ในยามบ่ายของ วันอาทิตย์ ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2554




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


Create Date : 08 มกราคม 2554
Last Update : 8 มกราคม 2554 11:14:24 น. 2 comments
Counter : 7560 Pageviews.

 


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 มกราคม 2554 เวลา:15:12:10 น.  

 
เป็นเรื่องราวที่น่ารันทด สลดใจมากนะครับ เพราะคนไทยไร้ความสามัคคี ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งไดก็ไร้ผล


โดย: mrkopiko IP: 61.90.78.99 วันที่: 30 มิถุนายน 2554 เวลา:9:33:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.