♥ โรค sle ♥

สวัสดีค่ะ มาเขียนถึงโรค SLE ซักหน่อย

ต่ายเป็นโรคนี้มา 20 ปี แล้วค่ะ

เลยต้องมาเขียนไว้ ทั้งๆที่ ไม่อยากเขียนถึงเท่าไร

เพราะต่ายไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีนักของคนป่วยโรคนี้

แต่เพื่อเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆที่เป็นโรคนี้ จะได้ไม่เครียดและกลัว

จนทำให้อาการกำเริบได้

เพราะต่ายเคยเข้าไปอ่านตามเวบ มักมีคำถามว่า

จะอยู่ได้อีกนานมั้ย ประมาณนี้


ต่ายแค่อยากบอกว่า อยู่ได้สิคะ อยู่มานานแล้วกับโรคนี้

อย่าเครียดนะคะ

ทำจิตใจให้เข้มแข็ง สู้ๆค่ะ



สาเหตุของ SLE

สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุเช่นพันธ์กรรม สิ่งแวดล้อมและระบบภูมิคุ้มกัน มักพบโรค SLE ในคู่แผดจากไข่ใบเดียวกัน มากกว่าแผดจากไข่คนละใบ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แสงแดด ความเครียด ยาบางชนิด การติดเชื้อบางชนิด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มโรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากผู้ป่วยสู่คนอื่น ภูมิคุ้มกัน antibodies ของโรค SLE จะทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองเรียก autoantibodies ทำให้เกิดการอักเสบของหลายอวัยวะ เกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ที่อวัยวะนั้น autoantibodiesบางส่วนจับกับสารในร่างกายเกิดเป็น immune complexes ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ


อาการของโรค SLE
ผู้ป่วย SLE แต่ละคนจะมีอาการต่างกัน อาการมีตั้งแต่เป็นมาก บางรายเป็นน้อย อาการที่พบบ่อยได้แก่ อาการทางผิวหนังและอาการปวดข้อ อาการทางผิวหนังได้แก่มีผื่นโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงเรียกว่าแพ้แสงแดด Photosensitivity ผื่นมักจะเกิดมากบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่นผื่นที่หน้าบริเวณโหนกแก้มและจมูกทำให้มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อเรียก butterfly or malar rash นอกจากนั้นยังพบว่ามีอาการผมร่วงด้วย ส่วนอาการทางข้อได้แก่ ปวดข้อ บางครั้งอาจจะมีอาการข้ออักเสบ ข้อบวมและปวด ไข้สูง มีผื่น อาการอื่นที่พบได้แก่ แน่นหน้าอก ผมร่วง ถูกแสงแล้วมีผื่นที่ผิวหนัง ซีด ปลายนิ้วจะมีสีม่วงอ่อน บางรายปวดหัว ซึม ชัก

ผู้ป่วย SLE บางรายอาจมีการอักเสบเพียงระบบเดียว บางรายมีการอักเสบหลายระบบได้แก่

•ร้อยละ 90 จะมีอาการทั่วไป ได้แก่ไข้ อ่อนเพลีย ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ
•ผู้ป่วยร้อยละ 90 จะมีอาการทางกล้ามเนื้อและข้อ จะมีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อที่ปวดมักจะเป็นข้อนิ้วมือ proximal interphalangeal, metacarpophalangeal ข้อมือ ข้อเข่า
•อากทารทางผิวหนังและเยื่อบุ ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะมีแผลที่เพดานปาก แผลจะไม่เจ็บปวด แต่หากมีการติดเชื้อก็อาจจะทำให้เจ็บได้ แผลนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัว ผื่นตามผิวหนังจะมีผื่นแพ้แสงแดดและผื่นที่หน้าดังได้กล่าวมาแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงซึ่งพบได้ร้อยละ 50 ผมจะร่วงช่วงที่โรคกำลังดำเนินงานแต่เมื่อโรคถูกควบคุมผมจะกลับสู่ปกติ นอกจากนั้นก็อาจจะมีอาการทางผิวหนังอื่น เช่น ลมพิษ Raynaud phenomenon
•ไต มีการอักเสบของไต nephritis ทำให้ไตไม่สามารถเก็บไข่ขาวผู้ป่วยจะมีอาการบวม ในรายที่เป็นมากจะมีไตเสื่อมผู้ป่วยจะบวม ความดันโลหิตสูงขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่ไตอักเสบเริ่มต้นจะไม่มีอาการ เราทราบได้จากการตรวจปัสสาวะพบไข่ขาวและเม็ดเลือดขาว
•ระบบประสาท ผู้ป่วย SLE อาจมีอาการปวดศีรษะ ซึม อัมพาต ชัก ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เส้นเลือดมีการอักเสบอาจจะทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
•ระบบไหลเวียน มีการอักเสบของหลอดเลือด vasculitis
•เม็ดเลือด ผู้ป่วยจะมีจำนวณเม็ดเลือดลดลง เม็ดเลือดขาวต่ำลง เกร็ดเลือดต่ำลง ภูมิคุ้มกันทาลเม็ดเลือด
•ระบบหายใจ จะมีเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้า
•หัวใจ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการอักเสบทำให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ myocarditis เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ pericarditis ลิ้นหัวใจอักเสบ endocarditis
•อาการทางตา อาจจะมีตาอักเสบanterior uveitis or iridocyclitisหรือเส้นเลือดไปเลี้ยงตาอุดตันทำให้ตาบอด
•ระบบทางเดินอาหารมีเยื่อบุช่องท้องอักเสบทำให้เกิดอาการปวดท้อง หรือต่อมน้ำเหลืองในท้องรวมท้องลำไส้อักเสบ
การวินิจฉัยโรค SLE

ไม่ง่ายอย่างที่คิดเนื่องจากอาการของโรคซับซ้อนการวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยที่ค่อยข้างละเอียด และแพทย์ต้องระลึกถึงโรคนี้อยู่เสมอ การตรวจร่างกายถ้าพบลักษณะเฉพาะก็สามารถวินิจฉัยได้ นอกจากนั้นแพทย์จะเจาะเลือดเพื่อวินิฉัยดังนี้

1.Antinuclear antibody คือตรวจหาว่ามีภูมิคุ้มกันของร่างกาย antibody ทำลาย nucleus ตัวเองหรือไม่ วิธีการโดยการหยด serum ของผู้ป่วยบนเซลล์ของตับหนู แล้วใช้ antihuman IgG ซึ่งฉาบสารเรืองแสงส่องกล้องจุลทรรศน์เรืองแสงจะพบความผิดปกติได้ ถ้าการตรวจให้ผลบวกแสดงว่าเป็น SLE
2.การตัดชิ้นเนื้อ biopsy ที่ผิวหนังและไตเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันที่เกาะติดอวัยวะดังกล่าว
3.การตรวจหา VDRL ให้ผลบวกหลอก
4.การตรวจ CBC อาจจะพบว่าซีด หรือเม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกร็ดเลือดต่ำ
5.การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวรั่วมากกว่า 0.5กรัม ต่อวันและบางรายอาจจะพบเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะด้วย ผู้ป่วยบางรายต้องมีการเจาะชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจสำหรับวางแผนการรักษา
6.ตรวจพบ LE cell ในเลือด
7.ตรวจ Erythrocyte sedimentation rate (ESR) ถ้ามีการอักเสบมากค่า ESR จะสูงค่าตัวนี้ใช้ติดตามการรักษา
8.เจาะหา Complement levels คือสารเคมีในร่างกายถ้าโรคเป็นมากค่านี้จะต่ำ

การรักษาโรค SLE

หลังจากวินิจฉัยโรคได้แล้วแพทย์จะทำการรักษาซึ่งอาจจะใช้แพทย์เปลืองเนื่องจากต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น แพทย์โรคข้อ rheumatologist แพทย์เชี่ยวชาญผิวหนัง dermatologists แพทย์เชี่ยวชาญโรคไต nephrologists แพทย์เชี่ยวโรคภูมิคุ้มกัน immunologists การรักษาผู้ป่วย SLE ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนเนื่องจากแต่ละคนเจ็บป่วยไม่เหมือนกัน ยาที่แพทย์มักจะเลือกใช้



•Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เป็นยาลดการอักเสบใช้รักษาไข้ ข้ออักเสบ ปวดข้อ ข้อบวม อาจใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ผลข้างเคียงของยาคือ โรคกระเพาะอาหาร ท้องเสีย และบวม

•ยารักษามาลาเรีย มีการนำยารักษามาลาเรียมาใช้รักษา SLE โดยเฉพาะรักษาอากรเพลีย ปวดข้อ ผื่น และปอดอักเสบจาก SLE ได้แก่ยา hydrochloroquine
, chloroquine (Aralen), and quinacrine (Atabrine) ผลข้างเคียงคือแน่นท้อง ตามัวลง
•Steroid อาจเป็นยากิน ยาทา หรือยาฉีดขึ้นกับความรุนแรงของโรค เนื่องจากยามีผลข้างเคียงจึงนิยมใช้ยาให้มีขนาดน้อยที่สุดที่สามารถรักษาคนไข้ ผลข้างเคียงในระยะสั้นได้แก่ เจริญอาหาร บวม ไม่ควรหยุดยากลุ่มนี้ทันทีเพราะจะเกิดอันตราย หากกินยานี้เป็นเวลานานจะเกิดผลข้างเคียงคือ กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้อกระจก ติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยที่ได้ยา steroid ควรได้รับ แคลเซี่ยมและวิตามินดีเสริมเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

•immunosuppressive หากไม่สามารถควบคุมโรคได้แพทย์จะใช้ยากลุ่มนี้เพื่อกดภูมิคุ้มกันได้แก่ยา azathioprine (Imuran) and
cyclophosphamide (Cytoxan) ,methotrexate


เนื่องจากยามีผลข้างเคียงมากดั้งนั้นไม่ควรซื้อยารับประทานเองหรือหยุดยาเองเพราะอาจเกิดผลเสียได้

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย SLE

แม้ว่าอาการของโรค SLE จะมีมากและผลข้างเคียงของยาจะมีมากแต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขได้ หากเรียนรู้ถึงอาการเตือนของการกำเริบของโรค และสามารถรู้ถึงวิธีป้องกันโรค ผู้ป่วยควรไดัรับการตรวจจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด ไม่ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเนื่องจากการรักษาแต่เริ่มแรก จะให้ผลการรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเป็นมากแล้ว

ผู้ป่วย SLE ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเช่น การตรวจเต้านม การตรวจภายใน การตรวจสุขภาพช่องปาก และการฉีดวัคซีน ผู้ป่วยที่รับประทานยา steroid หรือยารักษามาลาเรียควรได้รับการตรวจตาทุกปี


♥.........................................................♥


ส่วนอาการที่ต่ายเป็น ไว้จะมาเขียนเร็วๆนี้นะคะ





Create Date : 26 มีนาคม 2553
Last Update : 26 มีนาคม 2553 19:12:35 น. 4 comments
Counter : 1847 Pageviews.

 
อ่านแล้วเป็นโรคที่ดูน่ากลัวจังเลยน่ะครับ
ยังไงก็ขอให้คุณต่ายดูแลสุขภาพตัวเอง
อย่าให้โรคพวกนี้มาทำให้เราใช้ชีวิตอย่าง
ไม่มีความสุข เป็นกำลังใจให้สู้ครับ
แล้วจะมาอ่านตอนอัพเดทอาการของคุรต่ายน่ะครับ


โดย: Don't try this at home. วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:19:19:46 น.  

 
น่ากลัวมากเลยค่ะ เข้าใจว่าเป็นโรคที่คุณพุ่มพวงเป็นใช่มั้ยคะ
เป็นกำลังใจให้นะคะ






โดย: puy_naka63 วันที่: 28 มีนาคม 2553 เวลา:15:15:33 น.  

 
อือ มาติดตามคุณต่ายนะคะ
ปุ๊กก็เขียน ตอนที่เป็นซีสในรังไข่เหมือนกันคะ ว่างเเวะมาดูนะคะ


โดย: Sea Water วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:15:44:44 น.  

 
เคยเห็นผู้หญิงแถวบ้านเป็นตัวบวมยังกะลูกโป่งนึกว่าจะไม่หายเพราะน่ากลัวมากจากเด็กตัวผอมๆเล่นกีฬาด้วยแต่มาป่วยแม่น้องให้ดื่มสมุนไพรคู่ทานยาหมอตอนนี้หายดีแล้วตอนแรกทานยาหมออย่างเดียวมีแต่แย่ลงๆสนใจแอดมาผมจะไปสอบถามทางแม่น้องให้ได้มีรูปมีข้อมูลก่อนเป็นกับตอนหาย line yizshok


โดย: สมาชิกหมายเลข 2701874 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา:6:07:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moon OF JulY
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]





ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์คือ

การเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"




♥ เริ่มเขียนบล๊อก 12 มีนาคม 2553 ♥





: Users Online
Hit Counter
Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Moon OF JulY's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.