TEACH THAI FOR FOREIGNERS BY EXPERIENCED TEACHER (LINGUIST) รับสอนภาษาไทยสำหรับต่างชาติ สอนพิเศษภาษาอังกฤษ โดย ครู ภาษาศาสตร์

 
สิงหาคม 2550
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
7 สิงหาคม 2550
 

การเล่านิทานเด็ก

ความหมายของการเล่านิทาน
การเล่านิทาน หมายถึง
1. การเล่านิทานมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอน ให้แนวคิด แฝงคติเตือนใจ มุ่งให้ปฏิบัติ
2. การเดินเรื่องโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามความเข้าใจของคนปัจจุบัน
3. การเดินเรื่องโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามความเข้าใจของคนปัจจุบัน
4. นิทานที่นำมาเล่ามักเป็นเรื่องสืบต่อกันมา แต่อาจมีเรื่องที่เข้าคุณสมบัติ
5. นิทานที่นักศึกษาปัจจุบันผู้มีความรู้ความเข้าใจเด็กปฐมวัย ได้แต่งเรื่องนิทานขึ้นได้อย่างเหมาะสม เพื่อเสริมสร้างและเพิ่มพูนประสบการณ์ช่วยให้เด็กปรับตัว และเตรียมรับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน

ความหมายของการสื่อการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
สื่อการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ครูนำมาเป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ทัศนคติและค่านิยมที่เหมาะสมสำหรับเด็กมาใช้เล่านิทาน เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวและเตรียมรับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
สื่อการเล่านิทานสามารถสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบและวิธีการ เด็กๆ โปรดปรานการฟังนิทานเป็นทุนอยู่แล้ว สื่อการเล่านิทานยังสามารถช่วยดึงดูดเรียกร้องความสนใจเด็กๆ ได้เป็นพิเศษเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนั้นสื่อการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัยยังครอบคลุมวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ครูควรส่งเสริมให้เด็กๆ ใช้เพื่อเล่านิทานให้เพื่อนๆ ชมและฟังบ้าง เนื่องด้วยเด็กมีจินตนาการและมโนภาพสูงมากอยู่แล้ว เด็กสามารถจะช่วยกันใช้สื่อเล่านิทานใหม่ๆ แปลกๆ ขึ้นเองบางโอกาส ครูควรส่งเสริม สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาให้เด็กแสดงบทบาทสมมุติเลียนแบบเรื่องราวในนิทานที่เคยชมและฟังไปแล้ว

ความสำคัญของการสื่อการเล่านิทานสำหรับปฐมวัย
สื่อการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อปฐมวัยดังนี้
1. ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่เด็ก ดังตัวอย่างการเล่านิทานเรื่อง “หนูน้อยเสื้อ
แดง” ครูอาจจัดหาและเลือกสื่อได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพนิทานกระดาษกระจกเป็นสามมิติการเชิดหุ่น การัดภาพบนแผ่นป้ายแม่เหล็กตะแกรงเป็นต้น สื่อที่ครูนำมาใช้สามารถทำให้เด็กมองเห็นเหมือนมีชีวิตหรือทำให้เคลื่อนไหวได้ จึงช่วยสร้างเสริมให้เด็กเกิดความเข้าใจได้ดี
2. ช่วยเรียกร้องความสนใจของเด็ก ดังตัวอย่างสื่อนิทานเรื่องหนูน้อยเสื้อแดง เด็กๆ
จะสนใจที่ได้เห็นตัวละครในเรื่องเคลื่อนไหวด้านท่าทางท่วงทีที่สมบทบาทต่อเนื่องกัน ไปตามลำดับของเนื้อเรื่องโดยตลอด
3. ช่วยให้เด็กสนุกเพลิดเพลิน จากตัวอย่างสื่อดังกล่าว ย่อมให้เด็กมีอารมณ์ร่วม
ติดตามเรื่องราวของนิทานด้วยความสนุกสนาน
4. เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวและเตรียมที่จะรับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน

หลักการจัดหาและเลือกสื่อที่เล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูปฐมวัยจำเป็นต้องเข้าใจการจัดหาและเลือกสื่อเพื่อเล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็ก ปฐมวัยโดยยึดหลักดังนี้
1. ประหยัด ได้แก่ การเข้าใจจัดหาและเลือกวัสดุราคาเยา ควรพิจารณาวัสดุที่มีอยู่ใน
ท้องถิ่น หรือวัสดุเหลือใช้ผลิตขึ้นเป็นสื่อเพื่อเล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็ก แต่อาจจำเป็นต้องซื้อวัสดุบางอย่างมาช่วยในการผลิต ก็ควรเข้าใจเลือกซื้อวัสดุราคาเยาที่มีคุณภาพใช้ได้ทัดเทียมกัน เช่น แทนที่จะซื้อกาวลาเทกซ์หรือกาวน้ำ อาจเลือกใช้แป้งเปียกซึ่งกวนด้วยน้ำแกว่งสารส้มป้องกตัวแมลงสาปกัดกินสื่อที่ผลิตแล้ว นอกจากนั้น สารส้มยังช่วยรักษาแป้งเปียกเก็บไว้ใช้ได้นานไม่บูดเน่าง่าย แม้ว่าจะจัดหาและเลือกใช้วัสดุได้เปล่าก็ตาม ครูปฐมวัยที่พร้อมด้วยคุณลักษณะและพฤติกรรมย่อมจะใช้วัสดุเหล่านั้นอย่างประหยัดด้วย
นอกจากการประหยัดวัสดุ ควรพิจารณาวิธีผลิตเพื่อประหยัดทั้งแรงงานและเวลาเช่น เลือกภาพแมวหรือสนุขที่มีรูปร่าง ท่าทาง และขนาดพอเหมาะได้ตามต้องการ หากตัดภาพออกจากหนังสือก็จะเป็นการทำลาย หรือใช้วิธีวาดภาพตามแบบ ระบายสี แล้วตัดภาพนั้นไปใช้ ต้องใช้แรงงานและเวลามากพอสมควร แต่ถ้าใช้วิธีวาดภาพได้แล้ว นำภาพไปเลือกตัดจากหนังสือพิมพ์ภาพสีที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะส่วนที่มีสีตรงตามที่ต้องการ ก็จะได้ภาพโดยไม่ต้องระบายสีเป็นวิธีประหยัดทั้งวัสดุ แรงงาน และเวลาได้ดีกว่า อาจใช้สีตกแต่งบ้างเล็กน้อย
2. ประโยชน์ เมื่อได้สื่อที่ต้องการดังกล่าวแล้ว นับได้ว่าสามารถใช้เป็นสื่อได้ประโยชน์
ตรงตามวัสดุประสงค์และเนื้อหา สามารถใช้ประโยชน์โดยเลือกประกอบการเล่านิทานเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย
3. ประสิทธิภาพ สื่อที่ใช้ต้องมีคุณภาพแข็งแรงทนทานและปลอดภัยสำหรับเด็ก
สามารถช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่องและนิทานได้ตรงวัตถุประสงค์และเนื้อหาของเรื่อง



วิธีการจัดหาและเลือกสื่อเพื่อเล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูปฐมวัยควรพิจารณาว่าจะมีวิธีการใดบ้างที่จะช่วยให้เกิดการจัดหาสื่อเพื่อเล่าเรื่องและนิทานได้ง่าย และการเลือกสื่อจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องขนาด รูปลักษณะ และสีของสื่อชวนให้เด็กสนใจวัตถุประสงค์ และเนื้อหาของเรื่องที่จะสอน โดยยึดหลักการประหยัด ได้ประโยชน์มีประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่องและนิทานแก่เด็ก ดังนี้
1. การสำรวจสื่อที่มีอยู่ในสถานศึกษา มีสื่อใดบ้างที่เหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่จะสอน ย่อมจะช่วยประหยัดแรงงาน เวลา และวัสดุหรือนำวัสดุที่มีอยู่ผลิตเป็นสื่อก็ได้
2. การไต่ถาม หากไม่มีสื่อตามข้อ 1 อาจไต่ถามเด็กในชั้นเรียน เช่น เราต้องการดอกชบาสีแดง ดอกลั่นทมสีเหลืองและอันชันสีน้ำเงินมาใช้เรียน ที่บ้านใครมีดอกไม้ตามที่ครูพูดถึงบ้าง ครูอาจจะได้ดอกไม้ตามที่ต้องการก็ได้ แต่สำหรับเด็กปฐมวัย ครูไม่ควรจะมั่นใจนักควรไต่ถามพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กซึ่งมารับเด็กเพื่อให้มั่นใจ เมื่อปรากฏว่าไม่มีสิ่งเหล่านี้ที่บ้านของเด็กผู้ปกครองเด็กอาจช่วยจัดหามาให้ก็ได้ หรืออาจจะไต่ถามเพื่อนครูในสถานศึกษาก็ได้ แม้แต่คนงาน ภารโรงก็อาจช่วยจัดหาให้ได้
3. การยืม สื่อที่ต้องการใช้บางประเภทหายากและมีราคาสูง จำเป็นต้องไต่ถามสำรวจแหล่งอื่นเพื่อขอยืม เช่น เครื่องฉายสไลด์และสไลด์นิทาน หรือภาพยนตร์นิทานการ์ตูน อาจขอยืมเครื่องฉายสไลด์หรือเครื่องฉายภาพยนตร์จากสถานบันใกล้เคียง ส่วนสไลด์หรือฟิล์มภาพยนตร์หรือแผ่นโลหะบันทึกภาพสำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์ใช้แทนฟิล์มภาพยนตร์อาจยืมได้จากสำนักข่าวสารอเมริกัน เลขที่125 ถนนสาธรใต้ กทม. หรือสาขาที่เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา หรือห้องสมุด เอ ยู เอ. เลขที่ 179 ถนนราชดำริ กทม. หรือสำนักงานบริติชคาวน์ซิล เลขที่ 428 ซอย 2 สยามสแคว์ กทม. เป็นต้น
4. การทำ สื่อที่ต้องการใช้บางประเภทจำเป็นต้องจัดทำขึ้นเอง เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่จะใช้สอน ครูปฐมวัยควรยึดหลักประหยัด ประโยชน์ และประสิทธิภาพในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่องและนิทาน
5. การซื้อ สื่อบางประเภทจำเป็นต้องซื้อ ควรสำรวจแหล่งที่จำหน่ายและสืบราคาเพื่อเลือกซื้อสื่อได้ตรงตามวัตถุประสงค์ หากเป็นการเลือกซื่ออย่างราคาเยา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูว่าสมควรซื้อหรือไม่ เช่น เศษกระดาษสี เศษกระดาษแข็ง เศษกระดาษเส้น เศษผ้า เป็นต้น จากโงพิมพ์หรือโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมักจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ราคาเยา หากครูไม่จำเป็นต้องนำมาเก็บไว้มากๆ ต้องการเพียงส่วนหนึ่งพอใช้สอย ก็อาจได้เปล่าจากโรงพิมพ์หรือโรงงานก็ได้ หากครูปฐมวัยมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อนำเศษวัสดุเหล่านั้นมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาแก่เด็กๆ
การจัดหาและเลือกซื้อสื่อราคาแพงนั้น จะมีได้สำหรับสถานศึกษาที่พอจะซื้อได้ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการเล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจะใช้สื่อประเภทนี้ประเภทเดียวเพื่อใช้สอนแทนครู เด็กต้องการให้ครูเป็นผู้เล่าเรื่องและนิทานโดยได้เห็นสื่อแปลกๆ ใหม่ๆมากกว่า ส่วนสื่อราคาแพงนั้นจะนำมาใช้เพียงบางโอกาสเท่านั้น

ตัวอย่างสื่อเพื่อเล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
1. สื่อครูปฐมวัยอาจจัดหาและเลือกเพื่อเล่าเรื่องสำหรับด็กปฐมวัย ได้แก่
1. สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
(1) สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เข่นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ กลางวัน กลางคืน ลม ผมฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ดิน หิน กรวด ทราย เป็นต้น
(2) สัตว์ เช่น แมว หมา เป็ด ไก่ กุ้ง หอย ปู ปลา กบ นก หนอน ผีเสื้อ หมู วัว ควาย เป็นต้น
(3) พืช เช่น ดอกไม้ ผัก ผลไม้ ต้นไม้ เป็นต้น
(4) บุคคลสำคัญ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นต้น
(5) สถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงพยาบาล ที่ทำการไปรษณีย์ พิพิธภัณฑ์ แหล่งสวยงามทางธรรมชาติ เป็นต้น
(6) วันสำคัญ เช่น วันปิยมหาราช วันเฉลิมพระเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันเข้าพรรษา วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
(7) ข่าวและเหตุการณ์ เช่น บริจาคของช่วยเหลือผู้ถูกน้ำท่วม ไฟไหม้ และบริจาคสิ่งของช่วยทหาร ตำรวจชายแดน เป็นต้น
2. วัสดุเหลือใช้ ที่อาจนำมาผลิตขึ้นได้เอง ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งขนาดต่างๆ เศษกระดาษแก้ว กระดาษสีต่างๆ กระดาษปกหนังสือพิมพ์ภาพสีที่ไม่ใช้แล้ว ถุงกระดาษ เศษเชือก เศษผ้า กระป๋องต่างๆ ฝาจุกขวดต่างๆ ขวดและตลับพลาสติก แกนหลอดด้ายขนาดต่างๆ หลอดม้วนฟิล์มถ่ายรูปและภาพยนตร์ หลอดพลาสติกสำหรับดูดน้ำหวาน ไม้ก้านธูป กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกหอย เปลือกไข่ เปลือกข้าวโพด ฟางข้าว เป็นต้น
วัสดุเหลือใช้ต่างๆ เหล่านี้ ครูปฐมวัยควรจะรวบรวมไว้เป็นประเภทๆ ให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบเรียบร้อย เก็บไว้ในที่เหมาะที่ควร มิให้มองดูรกรุงรังภายในห้องเรียนของเด็กสะดวกแก่การหยิบใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ อย่างไรก็ตาม ลำพังตัวครูผู้เดียวก็อาจรวบรวมได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ครูปฐมวัยควรถือโอกาสในวันประชุมผู้ปกครองเด็กก่อนเปิดภาคเรียนต้นปีการศึกษา โดยขอความร่วมมือให้ช่วยรวบรวมวัสดุเหลือใช้หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช้แล้วแต่ชวนดูและปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อครูผลิตใช้เป็นสื่อการสอนและเด็กใช้เล่นประดิษฐ์เศษวัสดุให้เป็นของเล่นของใช้ตามใจชอบ ครูปฐมวัยควรจัดหากล่องขนาดใหญ่เตรียมไว้รองรับเศษวัสดุ ณ ศาลาใกล้ประตูทางเข้าสถานศึกษา จึงจะสะดวกแก่ผู้ปกครองเด็กเมื่อมาส่งบุตรตอนเช้า ครูจะได้เศษวัสดุแปลกๆ จำนวนมาก ชวนให้คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์สื่อการสอนอย่างพอใจ
3. ภาพแผ่น ภาพที่มีขนาดใหญ่พอเหมาะที่เด็กจะเห็นได้ชัดเจน สีสวย อาจเป็นภาพแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นต่อเนื่องกันก็ได้ ภาพชนิดแผ่นเดียว เช่นภาพครอบครัวสัตว์ ได้แก่ ไก่ หมา แมว หรือภาพผลไม้ที่เราชอบหรือภาพแผนภูมิทำนองแผนภูมิต่อเนื่อง
4. ภาพกระดาษกระดก อาจใช้วิธีวาดภาพชนิดแผ่นเดียวหรือหลายแผ่น หรือใช้วิธีพับกระดาษก็ได้ สามารถทำให้ภาพกระดกตั้งได้ด้วยกรรมวิธีการผลิต
5. แผ่นป้าย เป็นวัสดุราบ ทำด้วยไม้อัด กระดาษชานอ้อย กระดาษแข็ง ผ้าสำลีและผ้าด้ายดิบหรือผ้าใบ อาจผลิตเป็นแบบตั้งโต๊ะ แบบแขวนหรือติดข้างฝา แบบตั้งขา และแบบม้วนได้ สามารถใช้ติดของจริง หุ่นจำลอง วางภาพ หรือเขียนด้วยชอล์ก แสดงเรื่องราวสื่อความที่ต้องการ
6. หุ่นจำลอง อาจผลิตได้จากดินเหนียว ดินน้ำมัน การพับกระดาษ การขยำกระดาษ เศษผ้า ปูนพาสเตอร์ ยางพารา ไม้ ให้เป็นหุ่นคน สัตว์ พืช หรืออาจซื้อหุ่นจำลองตัวสัตว์ พลาสติก ยางพารา ขนาดประมาณ 2 นิ้ว ราคาเยา ทนทานได้ตามประสงค์
7. หุ่นเชิดประเภทต่างๆ อาจผลิตได้จากกระดาษ ผ้า ไม้ ปูนพาสเตอร์ ยางพารา ให้เป็นหุ่นคนหรือสัตว์
8. การเล่าเรื่องประกอบกิจกรรมเข้าจังหวะ แทนที่ครูปฐมวัยจะเล่าเรื่องโดยใช้สื่อประเภทต่างๆ ดังกล่าว ครูอาจใช้ตัวเล็กพร้อมตัวครูเป็นสื่อ โดยครูใช้เครื่องเล่นเคาะจังหวะที่ผลิตขึ้นเองคล้ายรำมะนา ด้วยวิธีนำกระป๋องใส่ขนมปังที่ไม่ใช้แล้ว เลือกชนิดที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กตามต้องการ ค้านข้างของกระป๋องเจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละช่องยาวประมาณ 2 นิ้ว กว้าง 1.30 ซม. ทุบฝาน้ำอัดลมให้แบน เจาะรูตรงกลางฝาน้ำอัดลม ตัดลวดยาวเส้นละประมาณ 2 นิ้ว ร้อยฝาน้ำอัดลมอยู่ภายในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเส้นลวดให้ติดแน่นเกี่ยวไว้ที่ก้นกระป๋องและที่ปากกระป๋อง ขึงเส้นลวดที่ร้อยฝาน้ำอัดลมช่องละสองฝาทุกช่อง เมื่อเขย่ากระป๋องผาน้ำอัดลมจะกระทบกัน อาจเขย่าให้เป็นจังหวะ เดิน วิ่ง บิน ฯลฯ เขย่าให้เป็นเสียงกราวหรือรัวเพื่อเตรียมตัว หรือใช้ฝ่ามือตบที่ก้นกระป๋องให้เป็นจังหวะหยุด ด้วยวิธีนี้ครูจะเล่าเรื่องประกอบกิจกรรมเข้าจังหวะ โดยทั้งครูและเด็กแสดงบทบาทสมมุติไปพร้อมๆ กันด้วยการท่าทางตามจังหวะและเรื่องเล่าที่ครูเล่า เช่น ครูเล่าเรื่อง “เราชมสวนเก็บดอกไม้บูชาพระ” เด็กจะสนุกสนานเพลิดเพลิน ครูเริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องว่า “ก่อนเราจะไปสวนเพื่อเก็บดอกไม้บูชาพระ เราต้องเตรียมตระกล้าเพื่อไปใส่ดอกไม้” ครูเขย่ารำมะนาจังหวะเดินให้เด็กเดินไปสมมติหยิบตะกร้าตามจังหวะ “ขณะเดินไปในสวน เราเห็นผีเสื้อบินไปมา แล้วดมดอกไม้ตามจังหวะที่ครูให้ “ขณะนั้นแลเห็นตัวหนอนไต่ตามต้นไม้” ให้เด็กนั่งยองๆ เอามือทั้งสองเกาะเอวกัน แล้วเดินไปตามจังหวะ “แลเห็นนกบินถลาไปมา”
ให้เด็กลุกยืนขึ้น บินถลาท่านก “นกมองไปทางซ้าย มองไปทางขวา มองไปข้างหน้า มองไปข้างหลัง” ให้เด็กทำท่าทางมองไปตามจังหวะที่ครูให้ “นกหันหน้ามาคุยกัน” ให้เด็กทำท่าทางนกหันมาคุยกัน “นกร้องเพลง” ให้เด็กทำท่านกร้องเพลง “นกบินไปเกาะกิ่งไม้อีกกิ่งหนึ่ง” ให้เด็กทำท่านกหันไปเกาะกิ่งไม้อีกกิ่งหนึ่ง “นกเห็นตัวนอน” ให้เด็กทำท่าเกาะเอวกันเป็นตัวหนอน “นกบินลงมากินตัวหนอน” ให้เด็กแสดงท่านกบินลงมากินตัวหนอน “เด็กกำลังก้มลงเก็บดอกไม้” ให้เด็กทำท่าเก็บก้มตัวลงเก็บดอกไม้ นับให้เก็บดอกไม้ทีละหนึ่งดอก ใส่ตะกร้าตามจังหวะ แต่งเรื่องไปเรื่อยจนถึงตอนที่เด็กต้องนอนพักผ่อน พื้นห้องของสถานศึกษาปฐมวัยจำเป็นต้องสะอาด ครูต้องทราบด้วยว่า เมื่อไหร่เด็กเหนื่อยแล้วและควรได้พักผ่อน

2. สื่อที่เด็กๆ ใช้เล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง
1. ผลงานของเด็กเอง ได้แก่ ภาพวาดรูประบายสีด้วยดินสอสีเทียน ภาพวาดรูประบายสีด้วยสีน้ำพู่กัน ภาพการฉีกหรือตัดกระดาษทาเยงเปียกแปะบนกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง การม้วนและพับด้วยกระดาษเส้นให้มีรูปร่างลักษณะต่างๆ ผลงานการปั้นดินเหนียวหรือดินน้ำมันหรือแป้งเล่นน้ำขนม ผลงานการวาดภาพด้วยกาวน้ำโรยทรายสี ผลงานการประดิษฐ์ด้วยเศษเศษวัสดุ ผลงาน
การเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อก เป็นต้น
2. ให้เด็กนำของเล่นที่ชอบมาจากบ้าน เล่าเรื่องพร้อมแสดงวิธีเล่นประกอบการเล่าเรื่องด้วย โดยให้เพื่อนๆเป็นผู้ฟัง หรือของเล่นใดก็ได้ที่ไม่ต้องซื้อแต่ใช้เล่นได้ หรือเด็กจะประดิษฐ์ของเล่นด้วยวัสดุหรือของใช้ใดๆ ก็มาจากบ้านเพื่อเล่าให้เพื่อนๆฟังครูควรติดต่อกับผู้ปกครองเด็กให้ทราบวิธีการให้การศึกษาแก่เด็กจึงได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเด็ก ครูจะต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสิ่งของที่เด็กนำมา เก็บรักษาไว้ให้หลังจากเล่าเรื่องแล้ว และคืนให้เด็กนำกลับไปบ้านด้วย ด้วยวิธีนี้ ครูอาจช่วยแนะนำเด็กในการเลือกซื้อของเล่น ไม่เล่นของเล่นที่อาจจะทำให้เกิดอันตราย
3. ครูอาจนำหุ่นจำลองหรือภาพแผ่นใหญ่ ที่สวยงามชัดเจนมาใช้เป็นสื่อให้เด็กเล่าเรื่องได้แก่หุ่นสัตว์ต่างๆ ให้เด็กเล่าเรื่องสิ่งที่เห็นชื่ออะไร รูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร เสียงร้องอย่างไร มันชอบกินอะไร มันชอบอยู่ที่ไหน มีประโยชน์อย่างไร หรือประเภทสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เด็กเล่าเรื่องสิ่งที่เห็นนี้มีรูปร่างลักษณะอย่างไร มีประโยชน์ใช้สอยได้อย่างไร เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ หรือดูภาพและเรื่องเล่าเรื่องเกี่ยวกับฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน
4. ครูอาจให้เด็กเล่าเรื่องด้วยวิธีเล่นเกม เปรียบเทียบลักษณะด้วยการสัมผัส โดยให้เด็กสองกลุ่มเลือกผู้แทนออกมากลุ่มละหนึ่งคน หากเด็กยังไม่พร้อม ครูอาจช่วยเหลือเด็กเองให้แข่งขันกัน ผู้แทนของกลุ่มใดเล่าเรื่องและบอกได้ถูกต้อง ถ้าเด็กยังสนใจ ควรเปลี่ยนเด็กให้มาแข่งขันต่อไป อาจเปลี่ยนสิ่งของอื่นเพื่อให้เด็กสัมผัสก็ได้
ให้เด็กเอามือล้วงลงไปในกล่องที่มีผ้าปิดอยู่ตลอกเวลา โดยไม่บอกว่ามีอะไรอยู่ข้างในแล้วใช้มือสัมผัสของที่เหมือนกันกับ 1 ใน 4 ของของที่วางให้ดูเปรียบเทียบนอกกล่อง เมื่อแน่ใจแล้ว ให้เล่าเรื่องบอกลักษณะของของที่ได้สัมผัสนั้น แล้วให้บอกว่าของที่อยู่ในกล่องนั้นคืออะไร โดยชี้ของที่เหมือนกันซึ่งวางอยู่ข้างนอก แล้วจึงให้หยิบของที่เล่าเรื่องออกมาให้ดูด้วย
ในการเล่นเกมแข่งขันของเด็กสองกลุ่มนี้ ครูอาจตกลงกับเด็ก กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มดาวสีแดง และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มดาวสีเหลือง ถ้าผู้แทนกลุ่มใดตอบได้ถูกต้อง กลุ่มนั้นจะได้ดาวติดที่กลุ่มบนแผ่นป้าย 1 ดวง แข่งขันกัน 3 ครั้ง กลุ่มใดจะได้ดาวมากกว่ากัน ให้เด็กๆ ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน
โดยสรุป ตัวอย่างสื่อที่ครูอาจจัดหาและเลือกเพื่อเล่าเรื่องสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก วัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตขึ้น ภาพแผ่น ภาพกระดาษกระดก แผ่นป้าย หุ่นจำลอง หุ่นเชิด การเล่าเรื่องประกอบกิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นต้น

สื่อที่ครูปฐมวัยอาจจัดหาและเลือกเพื่อเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. กระดานชอล์ก ครูปฐมวัยสมควรและจำเป็นที่จะต้องฝึกการเขียนภาพบนกระดานชอล์กเพื่อให้ได้ภาพอย่างรวดเร็ว จะช่วยเรียกร้องความสนใจของเด็ก เด็กๆจะตื่นเต้นเป็นอันมากเพียงครูจะศึกษาวิธีเขียนภาพลายเส้น หรือวิธีเขียนการ์ตูนง่ายๆ ก็จะสามารถเขียนภาพต่างๆ เพื่อเล่านิทานบนกระดานชอล์ก ผลพลอยได้ของเด็กๆ ก็คือ เด็กๆ ได้แนวคิดเชิงการเขียนภาพด้วย
2. ภาพแผ่นและภาพพลิก มีลักษณะเป็นภาพบนแผ่นกระดาษแข็งแผ่นใหญ่ ขนาดประมาณ 12 x 12 นิ้ว เหมาะพอที่เด็กๆ จะเห็นได้ชัดเจน มีภาพตามเนื้อเรื่องของนิทานตามลำดับ อาจประกอบด้วยแผ่นภาพหลายแผ่น แต่ไม่ควรมากกว่า 10 แผ่น เช่นเดียวกับหนังสือภาพนิทานสำหรับเด็กหนึ่ง หรือครูอาจผลิตภาพเฉพาะตอนสำคัญๆ เพียง 5 ภาพโดยใช้วิธีเล่าเรื่องคั่นระหว่างภาพด้วยก็ได้
3. ภาพกระดาษกระดก ครูอาจจะใช้วิธีวาดภาพ หรือพับกระดาษแทนภาพให้เป็นเรื่องราวของนิทาน สามารถทำให้ภาพกระดกตั้งเป็นภาพ 3 มิติ ด้วยกรรมวิธีการผลิต เด็กๆ จะตื่นเต้นชอบใจกับการฟังนิทานแบบแปลกๆ บ้าง
4. เครื่องฉายภาพหมุน เครื่องฉายภาพหมุนเป็นวิธีการหนึ่งนำมาเป็นสื่อเพื่อเล่านิทานได้ดี เด็กๆ รู้สึกว่าเขากำลังชมภาพยนตร์หรือโทรทัศน์
5. แผ่นป้ายแม่เหล็กตะแกรง ครูอาจจะใช้แผ่นป้ายแม่เหล็กตะแกรงเล่านิทานได้ดีชนิดหนึ่ง แผ่นป้ายแม่เหล็กตะแกรงเป็นวัสดุราคาถูก ทำขึ้นใช้เองได้ ครูปฐมวัยอาจนำมาใช้เล่านิทานให้เด็กชมและฟัง
6. หุ่นจำลอง วิธีการจัดหาและเลือกหุ่นจำลองประเภทต่างๆ
7. หุ่นเชิดประเภทต่างๆ ปัจจุบันหุ่นมีบทบาทใช้เป็นสื่อเข้ามาในวงการศึกษา ครูปฐมวัยควรผลิตหุ่นได้เองจากกระดาษหรือผ้าก็ได้ งานประดิษฐ์หุ่นเหมาะสำหรับสถานศึกษาเนื่องด้วยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษใดๆ และค่าของวัสดุก็เพียงเล็กน้อย
8. การทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก

สื่อเด็กปฐมวัยที่อาจใช้เพื่อเล่านิทาน
เด็กปฐมวัยชอบเล่นแสดงการเชิดหุ่นด้วยตนเอง ครูควรส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเด็กคิดเรื่องเอง และใช้หุ่นเล่านิทานให้เพื่อนฟัง เด็กๆยิ่งเพิ่มความสนใจและสนุกมากถ้าเขาได้เป็นผู้ที่สามารถแสดงออกด้วยตนเอง
ครูอาจเสนอให้เด็กๆ ชวนกันเล่านิทานต่อเนื่องกันคนละตอน ครูอาจจะช่วยนำโดยขึ้นต้นเรื่องนิทานให้เป็นตัวอย่าง เพื่อโอกาสต่อไปเด็กๆ จะได้เริ่มต้นเล่าเรื่องกันเองได้ เด็กจะช่วยกันนึกเล่านิทานให้ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันด้วยจินตนาการและมโนภาพของเขาเอง หรือครูอาจจะร่วมช่วยเล่านิทานกับเด็กๆ ด้วยบางโอกาส เด็กๆด้วยบางโอกาส เด็กๆ จะสนุกสนานเพลิดเพลิน ทั้งยังเป็นการช่วยฝึกทักษะทางภาษา ทั้งการฟังและการพูดของเด็กๆด้วย สำหรับบทบาทของครู หลังจากฟังนิทานของเด็กๆ จบแล้ว ควรตั้งคำถามและข้อเสนอแนะหลายๆ แนวให้เด็กๆ ช่วยกันคิดตอบได้ดีอีกด้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ครูควรจะส่งเสริมให้กำลังใจแก่เด็กด้วยการชมเชยในส่วนที่ควรได้รับการชมเชย
โดยสรุปตัวอย่างการจัดหาและเลือกสื่อเพื่อเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย จะช่วยให้ครูมองเห็นสื่อประเภทต่างๆ เพื่อเล่านิทานได้ เช่น กระดานชอล์ก ภาพแผ่น ภาพพลิก ภาพกระดาษกระดก เครื่องฉายภาพหมุน เป็นต้น จะช่วยให้เด็กสนใจและตื่นเต้นต่อการฟังนิทานด้วยสื่อแบบต่างๆ นอกจากครูจะเป็นผู้เล่านิทาน ครูยังพอเห็นแนวส่งเสริมให้เด็กๆ ใช้สื่อเล่านิทานได้ด้วย

หลักการผลิตสื่อเพื่อเล่าและนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูจำเป็นต้องยึดหลักการจัดระบบการผลิตสื่อเพื่อเล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยการกำหนดขั้นตอนการผลิตที่ครอบคลุมการวิเคราะห์เนื้อหาของเรื่องที่เล่า และประกอบด้วยหลักการและวิธีการจัดหาและเลือกสื่อเพื่อเล่าเรื่อง ด้วยการวางแผนกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องที่จะเล่า
2. การพิจารณาเลือกประเภทของสื่อที่เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่องที่จะเล่า
3. การพิจารณาการเลือกและเตรียมวัสดุ
4. การดำเนินการผลิต
5. การทดสอบสื่อที่ผลิต

การผลิตภาพเพื่อเล่าเรื่องและนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยที่มีฝีมือการวาดระบายสี ย่อมสะดวกแก่การผลิตเพื่อเล่าเรื่องและนิทานได้ดี อาจวาดภาพลายเส้นบนกระดานชอล์ก วาดภาพระบายสีใช้กับเครื่องฉายภาพหมุนวาดภาพแผ่นและภาพพลิก วาดภาพกระดาษกระจก วาดภาพระบายสีแล้วตัดเป็นแต่ละตัว แต่ละชิ้น นำชิ้นส่วนเหล่านี้ไปจัดภาพบนแผ่นป้ายผ้าสำลี แผ่นป้ายกระดาษชานอ้อย แผ่นป้ายแม่เหล็กตะแกรง แต่ถ้าหากไม่สันทัด ก็อาจเลือกใช้วิธีอื่น เช่น
1. เลือกตัดภาพ จากหนังสือพิมพ์ภาพสี หนังสือวารสาร กระดาษห่อของขวัญ ฯลฯ โดย
พิจารณาถึงขนาดของภาพตามต้องการ
2. ใช้วิธีลอกภาพตามแบบระบายสี หรือใช้วิธีลอกภาพตามแบบ แต่นำภาพไปเลือกตัด
จากหนังสือพิมพ์ภาพสีที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะส่วนที่มีตามที่ต้องการ ก็จะได้ภาพโดยไม่ต้องระบายสี
3. ใช้วิธีย่อหรือขยายภาพ ได้ตามที่ต้องการ ระบายสีหรือเลือกตัดกระดาษจากหนังสือพิมพ์ภาพสี
4. ใช้วิธีพับกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้เป็นภาพหุ่นจำลองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ภาพสีหรือปฏิทินภาพสีที่ไม่ใช้แล้ว
5. ใช้วิธีพับกระดาษรูปวงกลม ควรใช้ตุ๊ดตู่ตอกกระดาษสีเป็นรูปวงกลมขนาดต่างๆ นำมาประกอบกับภาพคน สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ด้วยการใช้กระดาษรูปวงกลมทั้งแผ่นบ้างพับให้เป็นครึ่งวงกลม หรือรูปอื่นๆ ก็ได้ตามต้องการ นำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบเป็นภาพใช้แป้งเปียกช่วยติดเล็กน้อยเพื่อให้ได้ลักษณะภาพที่ต้องการ
6. ใช้ศิลปะการฉีกกระดาษให้เป็นภาพก็ได้ หรือฉีกกระดาษสีมาปะปนภาพให้เติมโดยไม่ต้องระบายสี
7. การผลิตภาพกระดากระดก มีวิธีผลิตได้ ดังนี้
1. ภาพกระดาษกระดกจากการวาดภาพระบายสี
(1) ใช้กระดาวาดเขียนและกระดาษแข็งอย่างละหนึ่งแผ่น ขนาด 8x12 นิ้วทบสองกระดาษทั้งสองแผ่น
(2) วาดภาพระบายสีบนกระดาษวาดเขียนให้สวยงาม
(3) ใช้คัดเตอร์กรีดกระดาษตามแนวขอบริมภาพคน สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องการให้ภาพนั้นกระดกตั้งได้เฉพาะด้านบนและด้านข้างทั้งสองของภาพ
(4) เมื่อได้ภาพกระดกตั้งเป็นที่พอใจแล้ว คว่ำภาพลง ทากาวรอบริมขอบกระดาษ ผนึกติดกับกระดาษแข็ง ให้รอยสันทบอยู่ตรงกัน ใช้กระดาษเทปกาวย่นหุ้มขอบภาพให้เรียบร้อย ตั้งแผ่นภาพให้เป็นมุมฉาก ภาพจะกระดกตั้งได้สวยงามเป็นภาพสามมิติ เมื่อเลิกใช้พับกระดาษเข้าหากัน จะเก็บภาพไว้ข้างในอย่างปลอดภัย
2. ภาพกระดาษกระดกจากการพับกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
หากใช้วิธีพับกระดารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้ภาพหุ่นจำลองกระดกตั้งได้ มีวิธีผลิตดังนี้
(1) ใช้กระดาษวาดเขียน ขนาด 8x18 นิ้ว และกระดาษแข็ง ขนาด 8x15 นิ้ว
อย่างละหนึ่งแผ่น พับริมกระดาษด้านยาวด้านใดด้านหนึ่งของกระดาษวาดเขียนขนาด 3 นิ้ว แล้วจึงพับกระดาษที่เหลือทบสองเช่นเดียวกันทั้งสองแผ่น
(2) ตั้งกระดาษมุมฉาก แล้วคลี่กระดาษที่พับขนาด 3 นิ้ว ให้ตรงด้วย ลองกะตั้ง
หุ่นกระดาษที่พับไว้แล้ว กำหนดตำแหน่งที่ตั้งภาพให้เหมาะก่อน แล้วระบายสีพื้นให้เข้ากับเรื่องราวที่จะใช้เล่าเรื่องหรือเล่านิทาน
(3) นำหุ่นกระดาษที่พับไว้แล้ว ทากาวติดเฉพาะส่วนปลายขาของคนหรือสัตว์ลง
บนกระดาษวาดเขียนที่กำหนดตำแหน่งไว้แล้ว
(4) ใช้คัตเตอร์กรีดกระดาษข้างหลังหุ่นกระดาษตรงที่ติดขาของคนและสัตว์เป็น
รูปครึ่งวงกลม หรือตามแต่ลักษณะของพื้นราบที่ระบายสีไว้ จะช่วยให้ภาพตั้งได้
(5) ถ้าติดหุ่นกระดาษตรงรอยพับ
(6) ผนึกกระดาษแข็งเช่นเดียวกัน ตั้งแผ่นกระดาษให้เป็นมุมฉาก แล้วคลี่กระดาษ
วาดเขียนที่พับไว้ 3 นิ้ว ให้ขนานราบ ภาพจะกระดกตั้งได้สวยงาม เมื่อเลิกใช้แล้วพับกระดาษวาดเขียนส่วน 3 นิ้วนั้นก่อน แล้วจึงพับกระดาษส่วนใหญ่เข้าหากัน จะเก็บภาพไว้ข้างในได้อย่างปลอดภัย
8. การผลิตภาพพลิกเพื่อเล่าเรื่องและนิทาน ใช้กระดาษแข็งขนาด 12x12 นิ้ว วาดภาพ ระบายสี หรือวิธีพับ ตัด ฉีก เป็นภาพสี หรือวิธีลอกภาพก็ได้ ตกแต่งภาพบนกระดาษแข้ง อาจประกอบด้วยแผ่นภาพไม่ควรเกิน 10 แผ่น ครูอาจผลิตภาพเฉพาะตอนสำคัญเพียง 5 แผ่น ก็ได้ โดยวิธีเล่าเรื่องคั่นระหว่างภาพ เรียงแผ่นภาพตามลำดับ เจาะรูด้วยตาไก่ ร้อยด้วยห่วงทองเหลืองหรือลวดก็ได้ ใช้ไม้สอดเป็นที่แขวนภาพในแท่นที่รองรับ สะดวกแก่การใช้พลิกภาพทีละภาพ



ก. หุ่นนิ้วมือ หุ่นนิ้วมือเป็นหุ่นขนาดเล็ก ใช้หุ่นสวมนิ้วมือได้ตัวละหนึ่งนิ้วอย่างมากก็ใช้สองนิ้ว หุ่นนิ้วมือเคลื่อนไหวแสดงท่าทางได้น้อยมาก ครูมักไม่ใคร่ใช้เชิดหุ่นเล่าเรื่องและนิทาน เนื่องด้วยเด็กไม่ใคร่สนใจเท่าที่ควร แต่เหมาะสำหรับใช้คุยกับเด็กๆ บ้าง หรือพูดบทคำคล้องจองสำหรับใช้เล่นกับนิ้วมือ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นหุ่นประเภทที่เด็กปฐมวัยพอจะสามารถผลิตขึ้นได้เอง เด็กย่อมพอใจผลงานของตน โดยใช้สวมนิ้วมือและเคลื่อนไหวนิ้วมือให้หุ่นกระดุกกระดิก ย่อมเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารกล้ามเนื้อนิ้วมือ นับว่าเป็นวิธีหนึ่งที่มีส่วนช่วยเตรียมความพร้อมในการใช้มือเพื่อไปสู่การเขียนหนังสือ
1. วิธีผลิตหุ่นนิ้วมือด้วยกระดาษ
(1) ใช้เศษกระดาษแข็งจากกล่องกระดาษ บัตรเชิญต่างๆ บัตร ส.ค.ส ที่ไม่ใช้แล้ว เลือกส่วนที่ไม่มีลวดลายหรือพิมพ์ วาดภาพหน้าคนหรือสัตว์ตามใจชอบ
(2) ระบายสีให้สวยงามตามใจชอบ หรือจะใช้กระดาษสีปะแทนก็ได้ ใช้สีเมจิกช่วยตกแต่งหน้าหุ่น
(3) ทำกรวยกระดาษจากกระดาษปกหนังสือพิมพ์ภาพสี หรือปฏิทินภาพที่ไม่ใช้แล้ว ทดลองใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในกรวยไม่ให้คับหรือหลวม กรวยกระดาษยาวประมาณ 3 นิ้ว ทาแป้งเปียกติดกรวยกระดาษให้เรียบร้อย
(4) นำกรวยกระดาษมาแปะติดด้านหลังของหุ่นกระดาษด้วยแป้งเปียก เมื่อแห้งแล้วใช้สวมนิ้วมือเชิดหุ่นเล่นได้
(5) ถ้าต้องการให้หุ่นนิ้วมือสวมเสื้อ ใช้เศษผ้าขนาด 12 x 6 นิ้ว กลับผ้าด้านในออกเย็บต่อด้านกว้างเข้าหากัน แล้วเย็บชายเสื้อหุ่นให้เรียบร้อย ส่วนบนของตัวเสื้อให้พับ ใช้ริมผ้าแล้วเย็บต้นรูด กลับตะเข็บตัวเสื้อด้วยเศษลูกไม้ หรือทำโบว์เล็กๆ ติดก็ได้เพื่อบังรอยต่อจะมองดูสวยงามน่ารัก
(6) หุ่นกระดาษแข็งอีกชนิดหนึ่งซึ่งเจาะรูกลมสองรูเพื่อสอดนิ้วมือ ใช้แทนขาหรือแขนของหุ่นหรือเจาะหนึ่งรูสอดนิ้วแทนงวงช้าง เป็นต้น
2. วิธีผลิตหุ่นนิ้วมือด้วยผ้าชนิดให้หัวหุ่นแยกจากตัว
(1) เย็บหัวหุ่นตามแบบ ตกแต่งหน้าหุ่นด้วยเศษผ้า ไหมพรม ไหม เป็นต้น
(2) เย็บเสื้อหุ่นตามแบบ อาจตกแต่งเสื้อหุ่นได้ตามใจชอบ
(3) นำหัวหุ่นและตัวเสื้อมาต่อกันที่คอหุ่น ควรใช้ปลายนิ้วมือสอดเข้าไปในหัวหุ่นได้ด้วย จึงจะช่วยให้สามารถบังคับหัวหุ่นได้ดียิ่งขึ้น
3. วิธีผลิตหุ่นนิ้วมือด้วยผ้าชนิดหัวหุ่นไม่แยกจากตัว โดยตกแต่งถุงผ้าสวมนิ้วมือด้วยไหม เศษผ้า ลูกปัด ฯลฯ

หุ่นนิ้วกระดาษ
วัสดุที่ใช้
- กระดาษสีชนิดต่างๆ เช่น - ดินสอ
โปสเตอร์ ปกนิตยสาร - กาว
ใบปลิวโฆษณา - กรรไกร
- สีเมจิก

วิธีทำ
1. ตัดกระดาษกรวยสำหรับทำตัวขนาด 2.5 x 3.5 นิ้ว ส่วนคอและฐานให้โค้ง (ตามแบบ) เวลาประกอบเสร็จแล้วหุ่นจะตั้งได้พอดี
2. หน้าหุ่นออกแบบตามลักษณะเด่นของตัวละครนั้นๆ โดยยึดวงกลมเป็นเป็นหลัก ถ้าต้องการหน้าให้นูนขึ้น ให้ตัดกระดาษจากริมเข้าไปหาจุกศูนย์กลาง จับกระดาษให้เกยกันเล็กน้อย แล้วทากาวติด
3. ตกแต่งส่วนอื่นๆ เช่น ตา หู ปาก จมูก ด้วยกระดาสีแล้วใช้ปากกาวาด เน้นส่วนต่างๆ ให้เด่นชัดขึ้น

ประโยชน์
- ใช้ประกอบบทเรื่องต่างๆ
- ใช้ประกอบการเล่านิทาน
- ใช้เล่นประกอบเพลง
- ใช้ฝึกการฟัง พูด คิด และจดจำ




Create Date : 07 สิงหาคม 2550
Last Update : 7 สิงหาคม 2550 20:57:41 น. 17 comments
Counter : 28592 Pageviews.  
 
 
 
 
ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ
 
 

โดย: jj IP: 203.113.45.100 วันที่: 13 สิงหาคม 2550 เวลา:12:18:13 น.  

 
 
 
ดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดดีดีดีดีดีด
 
 

โดย: ดี IP: 222.123.224.165 วันที่: 24 สิงหาคม 2550 เวลา:18:51:51 น.  

 
 
 
ดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดดีดีดีดีดีด
 
 

โดย: ดี IP: 222.123.224.165 วันที่: 24 สิงหาคม 2550 เวลา:18:52:07 น.  

 
 
 
ดีมากๆค่ะ แต่อยากทราบว่าสื่อการเล่านิทานมีศัพท์ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร ถ้าทราบช่วยส่งมาตามอีเมลล์นี้หน่อยนะคะ จะขอบพระคุณมากค่ะ
่jajapk_lek@yahoo.co.th
 
 

โดย: jarunee IP: 58.8.98.203 วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:19:19:05 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากๆค่ะ ได้ประโยชน์เยอะเลย
 
 

โดย: aujunk_01@hotmail.com IP: 125.26.121.164 วันที่: 8 ธันวาคม 2550 เวลา:12:32:04 น.  

 
 
 
ดีจังค่ะขอบคุณมากๆเลยนะคะ
 
 

โดย: ปุ๊กจัง IP: 58.8.225.135 วันที่: 2 มิถุนายน 2551 เวลา:19:06:12 น.  

 
 
 
ห่วยมากที่ใช้เฉพาะสมาชิกไอ้บ้า นิสัยไม่ดี เลว
 
 

โดย: JSHBD IP: 118.172.136.84 วันที่: 9 มกราคม 2552 เวลา:19:53:22 น.  

 
 
 
ห่วยมากที่ใช้เฉพาะสมาชิกไอ้บ้า นิสัยไม่ดี เลว
 
 

โดย: JSHBD IP: 118.172.136.84 วันที่: 9 มกราคม 2552 เวลา:19:54:00 น.  

 
 
 
แฟ้มงาน
 
 

โดย: ฟ้า IP: 118.172.57.57 วันที่: 31 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:04:23 น.  

 
 
 
ดีมีประโยชน์ค่ะและจะนำไปใช้ในศูนย์เด็กเล็กด้วยค่ะ
 
 

โดย: aimon 23 ,06 2009 IP: 117.47.91.178 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:8:40:37 น.  

 
 
 
ห่วยมาก
 
 

โดย: ผู้ไม่ประสงค์ ออกนาม IP: 203.172.222.195 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2552 เวลา:16:39:27 น.  

 
 
 
ได้ทั้งประโยชน์และเกร็ดความรู้เพิ่มเติมทั้งเทคนิควิธีการและวิธีปฎิบัติ หากครูได้อ่านและนำไปใช้ประโยชน์กับนักเรียนจะเป็นการดีที่สุดค่ะ..
 
 

โดย: อ.ไซเคาะส์ IP: 118.175.252.19 วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:15:14:22 น.  

 
 
 
อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติมจะนำมาใช้กับเด็กๆค่ะ
 
 

โดย: kuben IP: 115.67.49.238 วันที่: 15 มีนาคม 2553 เวลา:9:15:48 น.  

 
 
 
ดีดีดีดีดีดี
 
 

โดย: ..... IP: 27.130.56.252 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:16:25 น.  

 
 
 
สวัสดีทุกท่านค่ะ
ทางเราอยากได้ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย
บริษัทTengYaจำกัดตั้งอยู่ที่เมืองหวู่ฮั่นในประเทศจีนเป็นมือชีพR&Dและการผลิตกระดานอินเตอร์แอ็คทีฟไวท์บอร์ด เครื่องฉายภาพสไลด์ อุปกรณ์โรงเรียนเป็นต้น

บริษัทเรากำลังเผยแพร่สินค้าใหม่(กระดานอินเตอร์แอ็คทีฟ)ในตลาดประเทศไทย กำลังหาตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย

กระดานอินเตอร์แอ็คทีฟไวท์บอร์ด : 18,000~30,000 บาท/ชุด
เครื่องฉายภาพสไลด์ : 9,500 บาท/เครื่อง
กระดานดนตรีอีเล็คตรอน: 20,000 บาท/แผ่น
โต๊ะเก้าอี้สำหรับโรงเรียน: 500 ~1,000 บาท /ชุด
โต๊ะวาดภาพ:1,800 บาท/ตัว
กระดานดำ: 2,500 บาท/แผ่น
โต๊ะเก้าอี้เรียนแบบการ์ตูน: 600 บาท /ชุด
เก้าอี้การฝึกอบรม: 750 บาท/ตัว
...เป็นต้น
สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

บริษัทTengYaจำกัด
เว็บไซต์(ภาษาไทย): //stridetop.com/th/
ที่อยู่: ตึกใหญ่Fuhua,เลขที่20ถนนLuoyu,เขตHongshan,เมืองWuhan มณฑล Hubei ในประเทศจีน
แผนกการค้าระหว่างประเทศ : RuyueWang / คุณส้ม
โทร:+86-15002742735
แฟกซ์:+86-027-51854328
MSN: w391r688y2185@hotmail.com
อีเมล: ruyue35@yahoo.cn
Skype number: cherry39161
QQ: 397721266
 
 

โดย: RuyueWang IP: 222.42.75.98 วันที่: 11 มีนาคม 2554 เวลา:12:50:25 น.  

 
 
 
บริษัทTengYaจำกัดตั้งอยู่ที่เมืองหวู่ฮั่นในประเทศจีนเป็นมือชีพR&DและการผลิตจอLCDระบบสัมผัสขนาดใหญ่ กระดานอินเตอร์แอ็คทีฟไวท์บอร์ด เครื่องฉายภาพสไลด์ อุปกรณ์โรงเรียนเป็นต้น
TYจอLCDระบบสัมผัสขนาดใหญ่ใช้เทคโนโลยีสัมผัสและจอLCDเทคโนโลยีและไวท์บอร์ดเทคโนโลยีมาประกอบการเป็นผลิตภัณฑ์ไฮเทค
จอLCDระบบสัมผัสขนาดใหญ่ใช้จอของSamsungLCD จอสัมผัสมีความเร็วอย่างสูง สามารถทำให้นิ้วมือสัมผัสกับจักษุสัมผัสสบายมากขึ้นด้วย ที่กรอบใช้เหล็กสเตนเลสและวัสดุอลูมิเนียมและวัสดุอื่นๆ รูปร่างสวยงาม การออกแบบปลอดภัยและเชื่อถือได้   
จอLCDระบบสัมผัสขนาดใหญ่ใช้งานกว้างใหญ่ เช่นการเรียนการสอนและการอบรมและการประชุมและการสาธิตและการศึกษาทางไกลและวงการอื่นๆ
ขนาดจอ:55นิ้ว/60นิ้ว/65นิ้ว
ยี่ห้อ:LGเหรือSAMSUNG/Sharp/(AUO)
สนับสนุนไฟล์:MPEG1,MPEG2,MPEG4,H264,RM,RMVB,MOV,MJPEG
ขาตั้ง:พลาสติค/โลหะ
น้ำหนักสุทธิ:60kg/70kg/80kg
ราคา:55นิ้ว:110,000.00บาท/ชุด 60นิ้ว:145,000.00บาท/ชุด 65นิ้ว:175,000.00บาท/ชุด
สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

บริษัทTengYaจำกัด
เว็บไซต์(ภาษาไทย): //stridetop.com/th/ ที่อยู่: ตึกใหญ่Fuhua,เลขที่20ถนนLuoyu,เขตHongshan,เมืองWuhan มณฑล Hubei ในประเทศจีน แผนกการค้าระหว่างประเทศ : RuyueWang / คุณส้ม โทร:+86-15002742735 แฟกซ์:+86-027-51854328 MSN: w391r688y2185@hotmail.com อีเมล: ruyue35@yahoo.cn Skype number: cherry39161 QQ: 397721266
 
 

โดย: ruyuewang IP: 122.82.9.71 วันที่: 1 กรกฎาคม 2554 เวลา:17:44:28 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ^^

Furniture Black Friday 2011
 
 

โดย: birdfriday วันที่: 10 ตุลาคม 2554 เวลา:18:25:28 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

linguistics
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Monsawan Saksing

MONSAWAN SAKSING

linguistics.swu@hotmail.com

LINGUISTICS SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY

---

---

---


Natasha Bedingfield Lyrics
Soulmate Lyrics
[Add linguistics's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com