Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
29 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
เป็นไปได้หรือนี่ ที่จะปลูกปาล์มเพื่อไบโอดีเซลในภาคเหนือ

คงไม่มีใครคิดว่าปาล์ม น้ำมันจะมีคนเอาไปปลูกที่อื่น ที่ไม่ใช่ภาคใต้ เกือบ 40 ปีหลังจากที่ได้มีความคิดริเริ่มที่นำปาล์มน้ำมัน จากมาเลเซียมาปลูกที่ภาคใต้ ในจังหวัดสงขลา และกระบี่ ไม่มีใครที่จะ “แหกกฎ คิดนอกกรอบ” นำไปปลูกสูงกว่า จังหวัดชุมพรขึ้นมา เฒ่าแก่มาเลเซียก็ขู่เอาๆว่าปลูกแล้วจะเป็นพันธุ์ ดูใบ อะไรทำนองนั้น เรื่องนี้ก็จะคุ้นๆกับเรื่องของการปลูกยางพาราที่ปลูกกันที่เฉพาะภาคใต้ มาหลายสิบปีมานี้ จนกระทั่งมีคนแหกคอก ลองไปปลูกที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน เมื่อ สิบกว่าปีมาแล้ว ปรากฏว่าผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ทั้งๆที่สมัยโน้น คิดว่าจะปลูกยางไว้เอาไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ เท่านั้น เดี๋ยวนี้ละเป็นยังไง เราพบเห็นยางพาราเกือบทั่วประเทศ โดยเฉาพาะในภาคเหนือ และ อีสาน มีการปลูก การกรีด การขายกันทั่วไป มีตลาดรับซิ้อยางที่ ภาคอีสาน ซึ่งก็ใหญ่โตไม่แพ้ในภาคใต้ที่ หาดใหญ่ เรื่องยางพาราที่มีการปลูก นอกพื้นที่ภาคใต้นั้น ในเมืองจีน ที่ สิบสองปันนา หรือที่เรียกว่า เชียงรุ้ง นั้น เขาปลูกยางพารามาเกือบ 60 ปีที่แล้ว และก็กรีดยางพารามาตลอด ที่นั่น มีศูนย์วิจัยยางพาราแห่งประเทศจีน มีนักวิชาการยางพาราหลายคทำงานกันอย่างต่อเนื่อง จนมีเทคโนโลยี มีพันธุ์ยางที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลกของเขา
ปาล์มน้ำมันก็คล้ายยางพารา ปลูกในพื้นที่โซนเดียวกัน มาเลเซียปลูกยาง ปลูกปาล์มมาก แต่ปัจจุบันเขาเล่นปาล์มน้ำมันกันเป็นส่วนใหญ่ มีคนคิดว่าน่าลองไปปลูกที่ภาคอื่นที่ไม่ใช่ภาคใต้ มีหน่วยกล้าตาย หรือ เกษตรกรที่ชอบเสี่ยง ได้ทดลองปลูกที่ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ เมื่อ6-7 ปีที่แล้ว โดยได้ทดลอง “แอบปลูก” กัน เพราะกลัวบ้านใกล้เรือนเคียงจะหัวเราะเยาะเอา ต้องรอตั้ง 3-4 ปี จนกว่าจะได้ลูก ผลการลองปลูกที่ผ่านมาก็พอจะเป็นไปได้ เพราะมีการออกทะลายปาล์มให้เก็บเกี่ยวได้ เมื่อมีคนเห็น นักวิชาการเข้าไปดู ก็ตกใจว่าเป็นไปได้อยู่เหมือนกันที่จะปลูกปาล์มที่ภาคอื่น อีกทั้งกระแส พลังงานทดแทน มาแรง จึงได้มีการให้ความสนใจกันอย่างแพร่หลาย ทาง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน จึงได้ให้ทุนแก่ ศูรย์วิจัยพลังงานชีวมวล ม.เชียงใหม่ ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกปาล์มในภาคเหนือ ภายใต้โครงการ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิต พลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ” ขึ้น ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ผลการวิจัยจนถึงปี 2553 เป็นที่น่าพอใจและเห็น ความเป็นไปได้เหมือนกัน

การให้ผลผลิตเบื้องต้น
โดยปกติ ปาล์มน้ำมันจะเริ่มออกทะลายให้เก็บเกี่ยวได้ หลังจากปลูกลงในแปลง 3-4 ปี หรือประมาณ 36 เดือนเป็นต้นไป นั่นหมายความว่าตั้งแต่เมล็ดงอกออกมาก็จะใช้เวลา 4-5 ปี เพราะปาล์มน้ำมัน ถูกเลี้ยงในถุงพลาสติก ในแปลงเพาะ 1 ปี จึงทำการย้ายปลูกลงในสวน การดูแลรักษาในช่วง 3 ปีแรกเป็นอย่างดี ตามหลักวิชาการก็จะได้ผลผลิตตามอายุ ถ้าไม่สมบูรณ์ก็จะได้ผลผลิตช้าออกไป
ปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกกันทั่วไป เป็นพันธุ์ตามหลักการพันธุศาสตร์ ก็คือ พันเทเนอร่า ซึ่งมีส่วนของกะลา หนาปานกลาง ส่วนของเส้นใย หนา ให้น้ำมันมาก เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ผลิตโดยกรมวิชาการและบริษัทเอกชนต่างๆ การออกดอก ก็จะมีทั้งช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย อยู่คนละช่อ อยู่ในต้นเดียวกัน ถ้าต้นไหนมีช่อดอกตัวเมียในรอบปีมากก็ถือว่าให้ผลผลิตสูง การช่อดอกนั้น จะออกในซอกทางใบเกือบทุกทางใบ แล้วแต่ว่าจะป็นช่อดอกตัวผู้ หรือตัวเมีย เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกันให้ดีก่อน การออกช่อดอกปาล์มน้ำมันนั้น จะเป็นรอบๆ โดยที่จะมีการออกดอก วนซ้าย หรือ วนขวา ออกดอกเป็นตัวเมียติดต่อกัน แล้วก็มีการออกดอกตัวผู้ติดๆกัน ไม่ใช่ออกดอกตัวผู้ตัวเมียสลับกัน
ผลการวิจัยของโครงการ ก็พอจะเห็นว่า ในปีแรกของการให้ผลผลิตอย่างเป็นทางการนั้น ต้นปาล์มที่ปลูกทั้ง 4 สายพันธุ์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน เป็นที่น่าพอใจ มีรอบของการออกช่อดอดกตัวเมียติดต่อกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ คล้ายกับปาล์มที่ปลูกในแหล่งเดิมภาคใต้ พอถึงปีที่ 2 ของการให้ผลผลิตก็ยังให้ผลดีเช่นกัน โดยบางพันธุ์อาจให้ผลผลิตถึง 2 ตันกว่า ไม่แพ้ภาคให้ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน ก็มีสูงเช่นกัน พูดตรงๆก็คือเป็นที่น่าพอใจ
การทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมันของโครงการ“การศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืช น้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขต ภาคเหนือ” นี้มีการปลูกทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน แล้วยังมีการทดสอบร่วมกับเกษตรกรในจังหวัดเชียงรายอีกด้วย โดยที่มีการทดสอบเรื่องของสายพันธุ์ การจัดการน้ำ การให้ปุ๋ย การจัดการวัชพืช ซึ่งมีทั้งการปลูกในที่ลุ่ม และที่ดอน พบว่าปาล์มที่ปลูกในที่ลุ่ม น้ำใต้ดินสูง มีการให้น้ำบางช่วงในฤดูแล้ง จะให้ผลดีว่าปาล์มที่ปลูกในที่ดอน คือจะมีการเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ที่น่าสังเกตก็คือ ปาล์มน้ำมันที่ปลูกทั้งสภาพที่ลุ่ม และที่ดอน มีการออกทางใบน้อยในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถึงเดือน พฤษภาคม การให้น้ำมีส่วนช่วยได้บ้าง การให้น้ำที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือการให้แบบน้ำราด อาทิตย์ละครั้ง ในช่วงแล้ง ส่วนในหน้าฝนไม่จำเป็นต้องให้
การจัดการดูแลรอบโคนนั้น น่าจะมีการกำจัดวัชพืชเป็นอย่างดี โดยการใช้สารเคมี ไกลโฟเสท ฉีดพ่นไม่ให่สัมผัสกับใบหรือต้นปาล์ม ปีละ 1- 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหาร หรือปุ๋ยที่ใส่ลงไป
ผิวดินรอบโคนนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรมีการคลุมด้วยวัสดุ หรือเศษเหลือการเกษตร หรือ ตาข่ายดำซึ่งก็ทนกว่าพวกวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่วนที่ว่างระหว่างแถวนั้น อาจการปลูกพืชแซม พวกพืชล้มลุก เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด กระเจี๊ยบแดง และถั่วเขียว หรือบางสภาพก็อาจปลูกสับปะรดก็ได้ ข้อสำคัญก็คือพืชแซมที่ปลูกนั้นต้องห่างจากต้นปาล์มน้ำมันพอสมควร และปลูกในช่วง 3 ปี แรกที่ต้นปาล์มยังเล็กอยู่ พืชแซมที่ปลูกต้องมีตลาดรองรับก็จะช่วยให้มีรายได้ในระยะที่ปาล์มยังไม่ให้ ผลผลิต
การจัดระเบียบปาล์มในภาคเหนือ
ถ้าจะมีการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือกันจริงๆนั้น ต้องพิจารณาหลายอย่าง ไม่ใช่นึกจะปลูกก็ปลูก ปลูกแล้วออกดอกออกผลหรือเปล่าก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว ของใครของมัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ สายพันธุ์ ความสมบูรณ์ของดิน สภาพแวดล้อมทางลมฟ้าอากาศ การจัดการน้ำ ปุ๋ย วัชพืช ศัตรูพืช แรงงาน และเงินทุน องค์ประกอบเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องนำมาคิด บวก ลบ คูณ หาร ให้ดี ที่สำคัญที่สุดก็คือ ปลูกแล้วจะไปขายหรือส่งโรงงานที่ไหน ผลปาล์มน้ำมันนั้น ตามทฤษฎี ต้องส่งโรงงานสะกัดน้ำมันปาล์มภายในเวลา 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะเกิดกรดที่ไม่พรึงประสงค์ ที่ทำให้น้ำมันมีคุณภาพต่ำที่เรียกว่า “กรดไขมันอิสระ” นั่นแหละ ในพื้นที่ปลูกของเกษตรกรนั้นก็ต้องอยู่ใกล้โรงงาน หรืออย่างน้อยก็ไม่ควรไกลมากนัก เพราะนอกจากจะใช้เวลานานแล้ว ยังต้องเสียขนส่งอีกด้วย ถ้าเทียบกันตัวต่อตัว การปลูกปาล์มในแหล่งเดิม ได้เปรียบมาก เพราะอยู่ใกล้โรงสะกัดน้ำมัน ขนส่งได้เร็วกว่า ต้นทุนถูกกว่า
การรวมกลุ่มกันปลูก เป็นสิ่งที่ทำให้ความเป็นไปได้ โดยอาจต้องร่วมมือร่วมใจกันปลูก ในเนื้อที่ 5,000 ไร่ ขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอต้องการสร้างโรงงานสะกัดน้ำมันปาล์ม ขนาดเล็ก 1 โรง การรวมกลุ่มกันปลูก นี้จะมีศักยภาพในการจัดการได้ดี โดยที่จะใช้กลุ่มในการเป็นพันธมิตรตั้งแต่การจัดหาพันธุ์ การหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน การจัดหาปัจจัยการผลิต พวกปุ๋ยและสารเคมี
กลุ่มหรือเครือข่ายการปลูกปาล์มน้ำมันที่ปรากฎขึ้นแล้วในภาคเหนือก็คือมีการ จัดตั้งเป็นสหกรณ์ปาล์มน้ำมันล้านนา ที่มีเกษตรกรจังหวัดเชียงรายเป็นแกนนำ เริ่มมีการปลูกกันมาตั้งแต่ ปี 48 ปัจจุบันมีอยู่ ประมาณ 4,000 ไร่ ซึ่งก็ให้ผลผลิตได้แล้ว ผลผลิตที่ได้ก็ส่งขายที่ โรงงาน จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีระยะทางไกล ค่าขนส่งก็ตก กิโลกรัม ละ 1 บาท แสดงว่าเกษตรกรที่เชียงรายขายได้เงินน้อยกว่าราคาตลาด 1 บาท ตลอดกาล
ปัจจุบันได้มีการตั้งโรงงานขนาดเล็กที่อ.แม่สาย โดยทำการรับซื้อปาล์มน้ำมันตามราคาตลาด ซึ่งเกษตรกรในระแวกนั้นก็นำผลผลิตมาส่ง โรงงานก็ทำการตีทะลาย ให้ผลปาล์มแยกออกมา แล้วนำไปอบด้วยฟืน แบบอบลำไยในกระบะ การหีบก็หีบทั้งลูก ทั้งเปลือกนอกและเมล็ดใน ได้น้ำมันออกมามีคุณภาพปานกลาง-ดี
การทำโรงงานปาล์มน้ำมันนี้ ทางโครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจาก พืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ” จะได้มีการสร้างและติดตั้งในภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงใหม่ ในไม่ช้านี้ โรงงานสะกัดน้ำมันปาล์มของโครงการเป็นการพัฒนามากว่า 5 ปี ซึ่งเป็นโรงงานทั้งโรง ที่มีการทำทั้งระบบ ตั้งแต่การตีทะลาย แยกลูกปาล์ม อบ แยกเปลือก กระเทาะเมล็ด และหีบ เป็นโรงงานครบวงจร ซึ่งเป็นโรงงานแรกในโลกที่กระบวนการหีบ “แบบหีบแห้ง” ไม่มีน้ำเสีย ต้นทุนต่ำ และที่สัญก็คือเป็นโรงงานที่เหมาะแก่ชุมชน โดยที่ชุมชนขนาด 5,000 ไร่ขึ้นไปสามารถสร้างได้ 1 โรง มีขนาดการหีบ 5 ตันต่อชั่วโมง
การปลูก การสะกัดน้ำมัน และการแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนนี้ เกษตรกรจะทำได้ ต้องมีการรวมกลุ๋ม หมายความว่าการปลูกในสวน ก็เป็นการลงทุนทำของใครของมัน ใหญ่เล็ก ก็อยู่ที่ความเหมาะสมของใครของมัน ส่วนโรงงานสะกัน้ำมัน และโรงงานไบโอดีเซล ต้องเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือเรียกว่าเป็นหุ้นส่วนเดียวกัน ซึ่งก็จะเป็นการตั้งราคากันเอง กำไรก็แบ่งกัน ขายและใช้กันเองบางส่วน ซึ่งสมาชิกก็คือผู้ปลูกเป็นหลัก ส่วนการลงทุนบางส่วนจะเป็นของพวกที่ไม่มีสวนปาล์มแต่ต้องการลงทุนโรงงานสะ กัด และโรงงานไบโอดีเซล การจัดระบียบแบบนี้ จะยั่งยืน เพราะเกษตรกรจะมีความเป็นเจ้าของโรงงาน การเก็บเกี่ยวผลผลิตก็ต้องมีคุณภาพ เพราะมีการควบคุมตรวจเช็คกันเอง ไม่เหมือนกับการปลูกในภาคใต้ที่ เกษตรกรชาวสวนตัดส่งโรงงานโดยตรง หรือลานเท ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดกรณีพิพากกันอยู่บ่อยๆ หรือที่พูดง่ายๆก็คือ การโทษกันไปกันมา เช่นการตัดไว้ก้านยาว การตัดดิบตัดสุก เป็นต้น จนทำให้กรมการค้าภายในต้องเป็นคนกลาง ตั้งมาตรฐาน คำแนะนำเกษตกรชาวสวนกัน
การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือเพื่อการผลิตไบโอดีเซลนั้น มีรายละเอียดอีกมากมาย ข้อสรุป ยังคงเป็นเฉพาะบางเรื่อง การที่เกษตรกรสนใจปลูกแล้วถามเพื่อให้ได้คำตอบว่าปลูกได้หรือไม่ได้ คงยังไม่สามารถตอบได้ เพราะมีตัวแปรหลายอย่าง โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิสัยใจคอของปาล์มน้ำมันอย่างแท้จริง ความรู้เรื่องปาล์มน้ำมันที่จะปลูกในภาคเหนือ ยังมีอีกมาก หลายอย่างที่ยังไม่รู้ โครงการวิจัย “การศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจาก พืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ” จึงได้ทำการศึกษาต่อไป โดยจะได้ทำการศึกษาอย่างละเอียด เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุมากขึ้น ผลงานวิจัยที่ผ่านมาก็ได้ทะยอยเผยแพร่สู่เกษตรกร และประชาชนที่สนใจเป็นระยะๆ ในรูปแบบของWebsite หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และที่สำคัญก็คือการเข้าชมศึกษาในแปลงวิจัย ตัวจริงเสียงจริงที่ เชียงใหม่ และ ลำพูน เกษตกรสนใจมีคำถาม อยากเข้าศึกษาจากขิงจริงติดต่อโดยตรงที่





Create Date : 29 กันยายน 2553
Last Update : 29 กันยายน 2553 15:35:54 น. 0 comments
Counter : 291 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moneyriche6
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add moneyriche6's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.