ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศร่ำรวยแย่ลงหลังจากผ่านมาสามทศวรรษ
แองเจิล กูเรีย เลขานุการทั่วไปแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประเทศสมาชิกในรอบสามทศวรรษพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ ( Gini Coefficient )ใน 17 ประเทศจากทั้งหมด 22 ประเทศเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 10 จากเดิมที่อยู่ที่ 0.22 ในปี 1985 เป็น 0.32 ในปี 2008 โดยที่ ชิลี เม็กซิโก ตุรกี และสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงที่สุด ส่วนสหราชอาณาจักรครองแชมป์ประเทศที่ระดับความเหลื่อมล้ำเติบโตเร็วที่สุด

สาเหตุที่ประเทศต่างๆในกลุ่ม OECD เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ขึ้นนั้น จากการศึกษาพบว่ามาจาก 4 ปัจจัยได้แก่ ระดับการเติบโตของระดับรายได้ในกลุ่มร้อยละ 10 แรกของลูกจ้างรวยที่สุดที่สูงกว่ากลุ่มร้อยละ 10 แรกของลูกจ้างที่จนที่สุดอย่างมาก การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ให้แรงงานที่มีระดับรายได้สูงมีชั่วโมงทำงานสูงกว่าแรงงานที่มีระดับรายได้ต่ำ การแต่งงานกันเองของกลุ่มคนรวย และนโยบายเกี่ยวกับการกระจายรายได้ของรัฐบาลที่แย่ลงเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์ (Globalization) กลับพบว่าไม่มีผลต่อการเกิดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มประเทศ OECD แต่อย่างใด

นอกจากนี้ในรายงานดังกล่าวยังพบว่าความแตกต่างทางด้านรายได้ของกลุ่มร้อยละ 10 แรกของคนจนที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มร้อยละ 10 แรกของกลุ่มคนรวยที่สุดทั่วโลกพบว่าห่างกันถึง 9 เท่าอีกด้วย

ที่มา: MEconomics.net



Create Date : 08 ธันวาคม 2554
Last Update : 8 ธันวาคม 2554 17:13:42 น.
Counter : 402 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Momotoy
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ธันวาคม 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
12
13
14
17
19
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog