ดูแลอย่างไร? เมื่อมีผู้ป่วยจิตเวชอยู่ร่วมครอบครัว

ผู้ป่วยจิตเวชจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องที่บ้านอย่างถูกต้อง  อาการทางจิตเวชบางครั้งอาจเกิดขึ้นมากเป็นบางเวลา อาจเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติของโรคที่จะมีการแกว่งของอาการ หรือกลับเป็นซ้ำขึ้นมาเอง บางครั้งความเครียดหรือปัญหาในชีวิต ปัญหาครอบครัว อาจกระตุ้นให้อาการทางจิตเวชกำเริบได้ ความสงบสุขภายในบ้านจึงเป็นผลดีต่อการรักษาอย่างยิ่ง  อย่างไรก็ตาม การกำเริบของโรคทางจิตเวชเกิดขึ้นบ่อยที่สุดจากการขาดยา  ผู้ป่วยมักไม่อยากกินยาเนื่องจากผลข้างเคียงของยา  หรือเข้าใจผิด คิดว่าดีขึ้นแล้วน่าจะหยุดยาได้เอง 

ญาติผู้ป่วยควรดูแลดังนี้

๑. ติดตามดูแล หรือกำกับให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างถูกต้อง ตรงตามที่แพทย์กำหนด  อาจเป็นผู้จัดยาให้เอง  หรือคอยนับเม็ดยาที่เหลือ ควรมีวิธีจูงใจให้ผู้ป่วยร่วมมือกันดีๆมากกว่าการบังคับข่มขู่กัน

๒.พาผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ ตามนัด  ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมมาจริงๆ ญาติควรมาพบแพทย์และเล่าปัญหานี้ให้แพทย์ทราบ

๓.คอยตรวจสอบอาการข้างเคียงของยา  แพทย์ผู้รักษามักจะอธิบายให้ฟังก่อนการสั่งยาครั้งแรกว่าจะมีอาการข้างเคียงอย่างไรบ้าง ถ้าเกิดอาการข้างเคียงควรรีบติดต่อแพทย์ผู้รักษาทันที  อย่าทิ้งไว้เพราะจะทำให้ผู้ป่วยไม่อยากกินยา และไม่อยากรักษาอีกต่อไป

๔. สร้างบรรยากาศที่สงบ  อบอุ่น  มีกิจกรรมที่ดีทำร่วมกัน  มีการสื่อสารที่ดี  บอกความต้องการกัน  และตอบสนองกันอย่างเหมาะสม

๕. ไม่ควรตามใจกันมากจนเกินไป  หรือให้สิทธิพิเศษจนผู้ป่วยทำความเดือดร้อน รำคาญแก่ผู้อื่น

๖. เมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิตผิดปกติ เช่น ระแวง  หูแว่ว  ไม่ควรพยายามอธิบายเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับความจริง  นอกจากจะไม่ได้ผลแล้วยังอาจทำให้ญาติโกรธ  ที่ผู้ป่วยไม่ยอมรับฟังเหตุผล  ควรรับฟังด้วยท่าทีเป็นกลาง  ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย แต่ขอให้ผู้ป่วยพูดถึงสิ่งที่เขาคิด สิ่งที่เขารู้สึกให้มากที่สุด พร้อมกับแสดงความเข้าใจและเห็นใจที่เขาคิดและรู้สึกเช่นนั้น  อาการทางจิตจะดีขึ้นจากการใช้ยา  ดังนั้นต้องรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์โดยเร็ว

๗. จดจำอาการต่างๆที่เกิดขึ้นที่บ้านมาเล่าให้แพทย์ฟัง การดำเนินชีวิตที่บ้านจะแสดงถึงความสำเร็จของการรักษาด้วย และท่านจะเป็นผู้ช่วยแพทย์ที่ดีในเรื่องนี้

๘. จัดการดำเนินชีวิตผู้ป่วยให้สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเวลาอาหาร  เวลานอน เวลาออกกำลังกาย  และเวลากินยา

๙. ควรให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการดำเนินชีวิตตามปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งความรับผิดชอบส่วนตัว  และงานรับผิดชอบส่วนรวม

๑๐.  หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ตอบโต้กันภายในบ้าน  เมื่อมีความขัดแย้งควรนำมาปรึกษาแพทย์


คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142 0-2668-9435

//www.psyclin.co.th/new_page_15.htm




Create Date : 29 มกราคม 2558
Last Update : 12 มีนาคม 2558 12:17:13 น.
Counter : 1164 Pageviews.

4 comments
  
ได้ความรู้มากเลยคะ
โดย: มาริ IP: 49.48.249.91 วันที่: 12 มีนาคม 2558 เวลา:12:19:44 น.
  
ผู้ป่วยโรคนี้นี่ต้องดูแลเป็นพิเศษเลยนะเนี้ย
โดย: nanrita IP: 49.48.241.175 วันที่: 15 มีนาคม 2558 เวลา:22:13:42 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ ได้ประโยชน์มากๆเลย
โดย: ปลาน้อย IP: 27.55.69.40 วันที่: 16 มีนาคม 2558 เวลา:15:26:15 น.
  
จะนำไปปฎิบัติตามนะคะ
โดย: ชมพูนุช IP: 210.86.135.35 วันที่: 18 มีนาคม 2558 เวลา:12:18:23 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ICHIBEZ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มกราคม 2558

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
30
31