Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
16 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
เลิกบุหรี่......

วันที่ 31 พฤษภาคม
"วันงดสูบบุหรี่โลก"


คำขวัญโดย องค์การอนามัยโลก
" Tobacco Health Warning "


คำขวัญโดย กระทรวงสาธารณสุข
" บุหรี่มีพิษ ร่วมคิดเตือนภัย "



วิธีการเลิกบุหรี่

ทำไมคนเราถึงติดบุหรี่ง่าย ?

ที่เป็นเช่นนั้น เพราะในบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งมีฤทธิ์เสพติดสูงมาก และมีผลโดยตรงต่อระบบประสาท – สมอง เมื่อสูบบุหรี่ ระบบประสาทส่วนกลางจะได้รับสารนิโคตินอย่างรวดเร็ว ซึ่งใช้เวลาเพียง 6 วินาทีเท่านั้น เร็วกว่าการฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นเสียอีก และเนื่องจากสมองและระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินอย่างรวดเร็วและง่าย ฤทธิ์เสพติดของบุหรี่ทำให้เกิดความพึงพอใจ และจะอยากบุหรี่เมื่อระดับนิโคตินในเลือดต่ำลง การสูบบุหรี่โดยส่วนหนึ่งเกิดจากความเคยชิน จึงทำให้ยากต่อการ ละ เลิก แต่ก็ไม่อยากเกินไปหากเราชนะจิตใจตนเองได้

ผู้ที่ติดบุหรี่

ส่วนใหญ่ถึง 90% ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จในเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี ด้วยตนเอง และไม่ต้องใช้ยา หรือ สารนิโคตินแทนบุหรี่ การใช้สารนิโคตินทดแทน ไม่ได้หมายความว่าจะเลิกบุหรี่ได้ทุกคน แต่ความตั้งใจจริง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเบี่ยงเบนความสนใจขณะอยากบุหรี่ จะสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้

วิธีเลิกบุหรี่
ที่ผู้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ คือ

1) เตรียมตัว เตรียมใจ ตัดสินใจแน่วแน่ว่าต้องเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง

2) กำหนดวัน “ปลอดบุหรี่” ของตนเอง เช่น วันสำคัญทางศาสนา วันเกิดของคนในครอบครัว ไม่ควรเลือกช่วงเวลาที่งานเครียด เมื่อถึงวันที่กำหนดแล้วว่า “วันปลอดบุหรี่”ให้หยุดเลย

3) ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก

4) แจ้งคนรอบข้างทั้งในครอบครัว เพื่อนสนิท และที่ทำงาน เพื่อให้เป็นกำลังใจ เป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ

5) ให้ลดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป ไม่ควรนั่งโต๊ะอาหารนาน เพราะอาจจะอยากบุหรี่หลังอาหาร ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรด จะชะล้างนิโคตินออกไป

6) ในช่วงแรกที่อดบุหรี่ จะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูบลมหายใจ เข้า – ออก ลึกๆ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดความอยาก หรืออาจอาบน้ำ ถ้าเป็นไปได้

7) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ลดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการควบคุมน้ำหนักได้ทางหนึ่ง

8) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ

9) ฝึกปฏิเสธ ซ้อมพูดกับตัวเอง เพื่อนฝูง
“ไม่ครับ” “ผมไม่สูบครับ”
“นายแน่มาก ที่เลิกสูบบุหรี่ได้”


อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่และวิธีแก้ไข

1) หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่อีกจนแทนไม่อาจควบคุมได้ เพราะร่างกายจะติดนิโคติน ซึ่งเป็นสาเหตุ ให้คุณอยากบุหรี่

การแก้ไข
• ดื่มน้ำมากที่สุด ดื่มบ่อยๆ เพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปเร็วที่สุด
• อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัว จะทำให้ผ่อนคลายได้ดี

2) ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด

การแก้ไข
• นอนหลับ หรือผ่อนคลายอิริยาบถในห้องเงียบๆ ฟังเพลงเบาๆ
• พักร้อน หรือลางานครึ่งวันเพื่อพักผ่อน

3) โกรธ ขุ่นเคืองง่าย

การแก้ไข
• อดทนกับอารมณ์ของตนเอง บอกคนข้างเคียงทราบและขอร้องให้อดทนเข้าใจคุณ
• แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่น เต้นรำ เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย

4) หมดแรง ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ

การแก้ไข
• หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่น ออกกำลังกาย เต้นรำ
• พักผ่อนด้วยวิธีการนอน หรือออกไปสูดอากาศในธรรมชาติ
• ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ


อาการทางกายเหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพื่อปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ
อย่าตกใจ อาการจะเป็นเพียงชั่วคราวประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น

1 มวน ทำลายชีวิต คิดสักนิดก่อนลองบุหรี่

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข






Create Date : 16 พฤษภาคม 2554
Last Update : 16 พฤษภาคม 2554 18:38:42 น. 0 comments
Counter : 154 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

modyy2011
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




>»-(¯`v´¯)-» "โสด" ไม่ใช่สถานะ...แต่เป็นคำอธิบายถึง --> คนที่เข้มแข็ง + สามารถอยู่คนเดียวได้โดย "ไม่ต้องพึ่งใคร"´·.>>--»

[ กดเบาๆนะจ๊ะ ]


สวัสดีค่ะ...ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมบล็อกค่ะ
*
*
*
*
Friends' blogs
[Add modyy2011's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.