ไพบูลย์ บุตรขัน ตอน 3 ปรมาจารย์พรานบูรพ์

ในยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงเรียนกว๋องสิว ที่ครูไพบูลย์สอนภาษาไทยอยู่ตั้งแต่จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 ในปี 2481 ต้องปิดกิจการ ครูไพบูลย์จึงย้ายไปทำงานที่โรงไฟฟ้าสามเสน จนกระทั่งกรุงเทพฯ ถูกทิ้งระเบิดหนักมากจนต้องปิดโรงไฟฟ้า ครูไพบูลย์จึงไปทำงานเขียนบทละคร และแต่งเพลงประกอบละครในคณะ ‘แม่แก้ว’ ที่โรงละครพัฒนกรใกล้ๆ และนั่นทำให้ครูไพบูลย์ได้รู้จักกับ จวงจันทร์ จันทร์คณา หรือพรานบูรพ์ เจ้าของละครคณะ ‘จันทโรภาส’

ในยุคนั้น ศิลปะการบันเทิงที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งคือ ละครร้อง และละครเวที จากละครที่ใช้ดนตรีไทย และท่วงทำนองที่เชื่องช้า ใช้ลูกคู่ร้องยืดยาด ไม่ทันใจคนในยุคใหม่ พรานบูรพ์ ได้ประยุกต์เอาดนตรีสากลเข้ามาร่วม เปลี่ยนท่วงทำนอง และแบบแผนการร้องเสียใหม่
กล่าวกันถึงที่สุดแล้ว พรานบูรพ์ คือคนที่ให้กำเนิดเพลงไทยสากล ที่ยืนยงมาจนถึงปัจจุบันนี่เอง ความสามารถที่เราจะรู้จักพรานบูรพ์กันมากอีกด้านหนึ่ง คือการเขียนบทละคร และบทภาพยนต์


ในเรื่องเพลงนั้น ผมขอยกตัวอย่างเพลงที่มีชื่อเสียงของพรานบูรพ์สักเล็กน้อยครับ

จันทร์เจ้าขา เสียงต้นฉบับ โดยประทุม ประทีปเสน(นางเอก) และ มณี แพ่งสุภา(พระเอก)ในภาพยนต์
เวอร์ชั่นนี้เป็นเสียงชรินทร์ นันทนาคร และเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ในพ.ศ. 2502 เป็นการบันทึกเสียงเพลงนี้เป็นครั้งที่ 3




ขวัญของเรียม เสียงของนันทวัน เมฆใหญ่
เวอร์ชั่นนี้ใช้เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์ ‘แผลเก่า’ ทางช่อง 4 บางขุนพรหมปี พ.ศ. 2510
พระเอกคือ กำธร สุวรรณปิยะศิริ




กุหลาบร่วง เพลงประกอบละครเรื่อง ‘บุปผชาตินคร’ ในละครจะร้องโดย ชะอวบ ฟองกระสินทร์
เวอร์ชั่นนี้คือต้นฉบับที่บันทึกลงแผ่นเสียงแผ่นครั่ง สปีด 78 เป็นครั้งแรก เป็นเสียงของ ปทุม ประทีปเสน




--------------------------------------------------------------


ถ้าจะเปรียบเทียบกันให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับยุคนี้ การเข้าไปร่วมงานกับปรมาจารย์อย่างพรานบูรพ์ ก็เหมือนกับการเข้าไปเรียนปริญญาเอกในมหาวิทยาลัย กับศาสตราจารย์รางวัลโนเบลนั่นแหละ

และว่ากันตามจริงแล้ว ในคณะละคร ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับมหาวิทยาลัยจริงๆ สักเท่าไหร่ เพราะคนที่เข้าไปก็จะได้คลุกคลีศึกษาสหวิชา ไม่ว่าจะเป็นการทำฉากละคร เสื้อผ้า แต่งหน้า การเขียนบท การแต่งเพลง การเล่นดนตรี การร้อง เพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล การรำ หรือการแสดง

ความรู้เหล่านี้ เราจะสามารถเห็นเค้าโครงได้เลาๆ ในงานเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลงให้จำเพาะกับบุคลิกนักร้อง การกำกับการร้องให้ได้อารมณ์เหมือนการแสดง การเลือกนักร้องให้ลงตัวกับเพลง หรือในเนื้อร้องที่มีพระเอก นางเอก มีเรื่องราว เหมือนกับบทละคร ความอ่อนตัวและซึมซับเอาศิลปะแขนงต่างๆ เข้ามาผสมในเพลง
เช่นเราจะได้ยินสำเนียง ลิเก ฉ่อย ลำตัด หมอลำ รำวง หรือแม้แต่เพลงบลูส์ หรือดิสโก้ ในเพลงของครูไพบูลย์
และสิ่งที่เป็นจุดเด่นอย่างยิ่ง ไม่ว่าในยุคนั้นหรือในยุคต่อมาคือท่วงทำนองเพลง ที่เพลงนับพันที่แต่งขึ้นมา ไม่มีเพลงที่ทำนองซ้ำกันเลย พอดนตรีขึ้นมา นักร้องไม่มีทางร้องผิดเพลงแน่นอน

เป็นสิ่งที่นักแต่งเพลงลูกทุ่งมือทอง อันดับหนึ่งในวงการ ณ ปัจจุบันนี้ อย่างสลา คุณวุฒิ ก็ยังทำไม่ได้ ไมค์ ภิรมณ์พร ที่ร้องเพลงของครูสลาเป็นสิบๆ เพลง (อาจจะเป็นร้อยมั้ง) เคยให้สัมภาษณ์ว่าถ้าเป็นเพลงที่ไม่ได้ร้องบ่อยๆ ละก็มีร้องผิด สลับเอาเพลงอื่นมาร้องในทำนองอีกเพลงหนึ่งเป็นประจำ เพราะหลายเพลงมีทำนองเพลงคล้ายๆ กัน ดนตรีลายเดียวกัน


เมื่อคณะละครจันทโรภาสไปเดินสาย ครูไพบูลย์ ก็เดินทางไปด้วย ขึ้นเหนือล่องใต้ ไปอีสานทั่วประเทศ
การเดินสายไปกับคณะละคร ทำให้มีเหตุการณ์สำคัญที่สุดในชีวิตของครูไพบูลย์ 2 อย่างเกิดขึ้นในเวลานั้น

อย่างหนึ่งคือครูไพบูลย์ได้รู้จักกับ คำรณ สัมบุณนานนท์ นักร้องหน้าม่านสลับฉาก ที่เป็นนักร้องรับจ้างคณะละครต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่กำลังโด่งดังในเวลานั้น จนกระทั่งได้มีโอกาสแต่งเพลงให้คำรณ และสร้างชื่อให้กับทั้งตัวเองและคำรณ

อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ การเดินสายรอนแรมไปยังที่ต่างๆ ทำให้ครูไพบูลย์ติดโรคเรื้อนจนป่วยหนัก ถึงขั้นพิการ สังคมรังเกียจ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในช่วงต่อมาอย่างรุนแรงทั้งชีวิต
แต่ผลข้างเคียงที่ดี ที่เกิดขึ้นคือ เพลงจำนวนมากที่ครูไพบูลย์แต่งมีที่มาจากเหตุการณ์นี้ โดยเฉพาะเพลงที่คนไทยทุกคนต้องรู้จักเป็นอย่างดี คือเพลง “ค่าน้ำนม”



Create Date : 03 ตุลาคม 2554
Last Update : 3 ตุลาคม 2554 10:33:22 น.
Counter : 1996 Pageviews.

2 comments
  
อ่านตอน 3 กับตอน 4 รวบยอดทีเดียวเลยค่ะ ^_^
โดย: =p o o k p u i= วันที่: 3 ตุลาคม 2554 เวลา:18:59:16 น.
  

แหล่มค่ะ
อุ้มแวะมาอ่านและฟังเพลงต่อค่ะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 3 ตุลาคม 2554 เวลา:22:13:59 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Photographer, photo educator, writer and more.......

อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution.


Website
http://mister-gray.bloggang.com
https://twitter.com/nickdhapana
http://500px.com/NickDhapana
https://plus.google.com/+NickDhapana
http://nickdhapana.tumblr.com
http://instagram.com/nickdhapana
https://www.facebook.com/dhapana/about


Skype & Email
cmosmyp@gmail.com


Line
nickdhapana


My Project's Page

Public Telephone
https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject

They didn't say that.
https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600

Exposure to the RIGHT
https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951

Thailand Perspective Project
https://www.facebook.com/ThailandPerspective

Dead on Arrival
https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961
ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
2
4
6
7
8
9
10
12
13
14
15
20
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog