อันเนื่องมาจากถึงลูกถึงคนเมื่อคืนนี้ ว่าด้วยยา Haldol
ขออนุญาตไม่เล่า เรื่องนะครับ ว่าเป็นไงมาไง ลองหาอ่านเอาตามหนังสือพิมพ์ได้
เกี่ยวกับเรื่องพันตำรวจโท ท่านนั้นน่ะ

เรื่องที่สะดุดใจผมมีอยู่บางประเด็น เท่าที่ฟังแล้วผมรู้สึกตะหงิดๆ ใจอยู่หลายประเด็น

1. หมอไม่รู้ และไม่เชื่อว่าเป็นพาร์กินสัน
อันนี้ฟันธงครับ เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากอาการแสดงมันจำเพาะมาก หมอทุกคนมองปุ๊บรู้ได้ทันที
ตอนเรียน ผมต้องไปเดินเก็บประวัติการใช้ยาตามวอร์ด ขนาดไม่ได้เรียนหมอ ผมยังดูออกเลย มีเรอะ หมอจะดูไม่ออก

2. ประเด็นเรื่องเอดส์
ในฐานะที่ขายยาเอดส์มาก่อน คลุกคลีกับบุคลากรที่ทำงานด้านนี้ (แถวๆ จังหวัดนั้นเสียด้วย)
อันนี้ก็ไม่เชื่อครับ บุคลากรสาธารณสุขไม่มีสิทธิ์ประกาศกับคนอื่น หรือแม้แต่เจ้าตัวเองว่าเป็นเอดส์
มันเป็นเรื่องต้องห้ามชนิดคอขาดบาดตาย
คนที่บอกกับผู้ติดเชื้อ คือแพทย์ และพยาบาลที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้น
และจำเป็นต้องมีการเตรียมคนไข้ก่อน อย่างน้อยก็ต้องมาเจอ และผ่านการคุย 2-3 เดือนนั่นแหละครับ
และศัพท์ที่หมอ พยาบาล เภสัชฯ จะคุยกันเอง ในกรณีที่รู้ว่าเป็นผู้ติดเชื้อ ก็ไม่ใช่คำว่า "เป็นเอดส์" ครับ
เค้ามีคำเรียกที่รู้กันเอง ชนิดคุยกันข้างๆ เตียง คนไข้ก็ไม่รู้เรื่อง

3. หมอไม่รู้ว่ายาอะไร
อันนี้น่าจะจริง อย่าว่าแต่หมอเลย เภสัชฯ ที่เรียนเรื่องยาโดยตรง เรียนการจำแนกเม็ดยา (drug identification)
ทำงานคลุกคลีกับยาวันละสิบชั่วโมง ก็ไม่รู้ครับ
ยาแต่ละชนิด ผลิตจากคนละโรงงานก็มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน
ถ้ายายี่ห้อนั้นไม่มีใช้ในโรงพยาบาล หรือหน้าตาผิดไปจากพิมพ์นิยม (ซึ่งปกติจะเลียนแบบยาออริจินัลจากต่างประเทศ)
ไม่ว่าจะเป็นใครไม่มีทางรู้หรอก

4. เรื่องการไม่ลงบันทึกการใช้ยา OPD-Card เวลาไม่ตรง
การที่คนไข้มาในห้องฉุกเฉิน ในหลายโรงพยาบาล จะเริ่มการรักษาไปก่อนครับ โดยไม่รอใบประวัติ
(ก็มันชื่อ "ห้องฉุกเฉิน" น่ะ) พอรักษาแล้ว ค่อยมาเขียนใบประวัติ
อันนี้เลยไม่แปลกใจที่เวลาไม่ตรง
แต่ถ้าเป็นห้องตรวจปกติ โรงพยาบาลรัฐต้องรอใบประวัติก่อน (แต่โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง ก็ไม่ต้องรออีกนั่นแหละ)
ส่วนไม่มีประวัติการฉีด Haldol อันนี้ขึ้นอยู่กับบางโรงพยาบาล
เพราะเมื่อตัดคนไข้จากคนไข้นอก ไปเป็นคนไข้นอนโรงพยาบาล บันทึกการใช้อาจจะไปอยู่ใน IPD แทน OPD

5. เครื่องหมายบวกใน OPD-Card
ไม่ได้แปลว่ามีเลือดบวกเอดส์ครับ แต่แปลว่าตรวจพบอาการนั้นๆ เช่น
GI bleed + แปลว่า พบอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร
Dyspepsia, GI bleed - แปลว่า มีอาการอักเสบในทางเดินอาหาร แต่ตรวจไม่พบเลือดออก
(อันนี้ไม่ค่อยเห็น Dyspepsia + แฮะ และก็นิยมใช้คำว่า Non GI Bleed มากกว่าเครื่องหมายลบ)
Parkinson's + ตรวจพบอาการของพาร์กินสัน (ไม่ได้บอกว่าป่วยเป็นพาร์กินสัน แต่บอกว่าตรวจพบอาการนี้
ซึ่งยาบางชนิด หรือความผิดปกติของสมอง ก็ทำให้เกิดอาการนี้ได้ โดยไม่ต้องเป็นโรคพาร์กินสัน)

6. ผ้าปูเตียงสีดำ
ผมทำงานผู้แทนยามา 7 ปี เดินขายยาให้โรงพยาบาลมาค่อนประเทศ
ไม่เคยเห็นแม้แต่โรงพยาบาลเดียวที่ใช้สีดำ ไม่ว่าจะเป็นผ้าใบ ผ้าปูเตียง หรือผ้าพลาสติก


ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมไม่รู้ครับ เพราะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ แล้วก็นอกเหนือความรู้ ความสามารถที่จะไปพิสูจน์ได้

แต่พอรู้เรื่อง Haloperidol อยู่บ้าง เลยอยากจะเอามาแชร์ เพราะมันน่าจะใช้อธิบายอะไรได้หลายอย่าง
(ดูข้อมูลยาประกอบจากที่นี่ครับ //www.mentalhealth.com/drug/p30-h02.html)

1. Haloperidol ห้ามใช้กับโรคพาร์กินสันไม่ใช่เหรอ
ในข้อห้ามใช้เค้าว่าอย่างนี้ครับ ...Parkinson's syndrome, except in the case of dyskinesias due to levodopa treatment..
ถอดความเป็นภาษาคน ก็คือ ห้ามใช้จริง แต่อาการประมาณคนไข้ในข่าวนี้ ให้ใช้ได้ เพื่อรักษาอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ จากยาลีโวโดปา (ที่ใช้รักษาพาร์กินสัน)

อาการ Parkinson's attact ของคนไข้นี้เป็นไปได้ว่าเกิดจากโรคกำเริบ และเป็นแบบผสมจากผลของยารักษาโรคปนเข้ามา
(สำนวนหนังจีนต้องบอกว่า ธาตุไฟ กับธาตุน้ำ เข้าแทรกพร้อมกัน)
ซึ่งโคเจนติน ยารักษาธาตุไฟ เอ้ย! อาการพาร์กินสันกำเริบ ที่ฉีดเข็มไปแรก รักษาได้เฉพาะพาร์กินสัน
อาการสั่นผิดปกติ ต้องเสริมด้วยฮาโลเพอริดอล เพื่อรักษาอาการจากโดปามีน (ที่เป็นยากินรักษาพาร์กินสันของเดิมอยู่)

2. มีผลข้างเคียงที่น่าสนใจของ Haloperidol อยู่อันหนึ่งครับ
ลองดูในหัวข้อ Behavioral ผลข้างเคียงของยา ที่เข้ากันได้กับคนไข้คนนี้คือ
ทำให้วิตกกังวล, exacerbation of psychotic symptoms, including hallucinations
ผมว่าหมอใช้คำสุภาพมากเลย คือใช้คำว่าเคลิ้ม

ซึ่งถ้าแปลตรงๆ คือ (ฤทธิ์ของยาจะ) "ทำให้เกิดอาการของโรคจิตเฉียบพลันรุนแรง รวมถึงประสาทหลอน"

แปลให้เป็นภาษาชาวบ้านคือ "ยานี้ ทำให้เป็นบ้าชั่วคราว"
(อาการ "บ้า" ที่ว่านี้คือ กระบวนการคิด ความเชื่อ และการใช้เหตุผล ผิดไปจากคนปกติ ได้เห็น ได้ยิน ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง)

พอลองเอามาจับคู่กับคำให้การ เป็นอันน่าเชื่อได้ว่า ฤทธิ์ของยาที่ใช้รักษา
ทำให้คนไข้เห็น และได้ยิน ในสิ่งแปลกๆ อย่างเช่น หมอพูดอย่างนั้น อย่างนี้ บุคลากรในโรงพยาบาลพูดนั่นพูดนี่ เตียงสีดำ ฯลฯ

คนไข้ ได้ยิน และได้เห็น "จริง" ครับ
แต่สิ่งที่ได้ยิน และได้เห็น น่ะ "ไม่จริง"

มันก็เลยกลายเป็นเรื่องเศร้า ทั้งหมอ และทั้งคนไข้อย่างนี้แหละครับ



Create Date : 30 สิงหาคม 2548
Last Update : 13 กันยายน 2548 8:17:58 น.
Counter : 3984 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Photographer, photo educator, writer and more.......

อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution.


Website
http://mister-gray.bloggang.com
https://twitter.com/nickdhapana
http://500px.com/NickDhapana
https://plus.google.com/+NickDhapana
http://nickdhapana.tumblr.com
http://instagram.com/nickdhapana
https://www.facebook.com/dhapana/about


Skype & Email
cmosmyp@gmail.com


Line
nickdhapana


My Project's Page

Public Telephone
https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject

They didn't say that.
https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600

Exposure to the RIGHT
https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951

Thailand Perspective Project
https://www.facebook.com/ThailandPerspective

Dead on Arrival
https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961
สิงหาคม 2548

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
12
13
14
15
16
17
18
19
20
27
28
29
31
 
 
All Blog