เหตุผลที่ยานอก ดีกว่ายาไทย
ทำไมมันถึงต่างกัน?
ก็ในเมื่อทั้งยาไทย และยานอก เวลาผลิตออกมา
มันผ่านมาตรฐานเหมือนกัน
มันก็น่าจะมีประสิทธิภาพเท่ากัน

แต่ทำไมเวลาใช้จริง มันให้ผลการรักษาไม่เท่ากันล่ะ

แต่อย่างที่บอกในตอนที่แล้ว มาตรฐานมันมีหลายระดับ
มาตรฐานขึ้นต่ำ และเป็นมาตรฐานหลัก คือมาตรฐานตามตำรายา
หรือภาษาเภสัชกร เรียกว่า "เภสัชตำรับ" (Pharmacopia)
เภสัชตำรับที่ยกมาอ้างอิงบ่อยๆ คือ USP หรือตำรายาของอเมริกา
และ BP ที่เป็นเภสัชตำรับของอังกฤษ

แล้วก็เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ก็คือ
ไม่ค่อยมีเภสัชกรไทยคนไหนใช้ TP
หรือเภสัชตำรับไทย (Thai Pharmacopia)
เห็นเวลาประมูลยาทีไร อ้างแต่ BP, USP กันทั้งนั้น

นอกจากเภสัชตำรับแล้ว การผลิตยาก็ยังต้องอ้างอิงคุณสมบัติเฉพาะต่างๆ
สำหรับยาแต่ละชนิดที่เรียกว่า Monograph และก็ยังต้องอ้างอิง
จากตำรายา ตำราเคมีอื่นๆ อีกหลายเล่ม จำกันไม่หวาดไม่ไหว

ก็นั่นแหละ ที่บอกมาคือมาตรฐานทางวิชาการ
ซึ่ง ห้าม ต่ำกว่ามาตรฐาน
และยาทุกชนิดที่ขายกัน ก็จะผ่านมาตรฐานนี้

ส่วนยาออริจินัล ก็จะมีมาตรฐานของตัวเองอีกต่างหาก
ซึ่งเท่าที่เจอมา มักจะสูง และเข้มงวดกว่ามาตรฐานอื่นๆ


ยกตัวอย่าง

อย่างยาพาราเซตามอล ที่ฉลากระบุไว้ว่า 500 มิลลิกรัม
ความจริงคือไม่ใช่ทุกเม็ดที่มียา 500 มิลลิกรัม
บางเม็ดก็เกิน บางเม็ดก็พอดี บางเม็ดก็ขาดไปหน่อย

ยาโลคอลเมดทั่วๆ ไปแต่ละเม็ดอาจจะมีตัวยาได้หลายระดับ
ตั้งแต่ 475-525 มิลลิกรัม (ตัวเลขสมมุตินะ)
ซึ่งก็อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานทางเภสัชกรรม

ยาพาราดีๆ ก็อาจจะมียา 80% ที่มีตัวยา 485-515 มิลลิกรัม
อีก 20% อยู่เกินช่วงนี้ แต่ก็ยังอยู่ในช่วง 475-525 ตามมาตรฐาน

บางโรงงานที่ผมเคยเห็นมา 90% จะมีตัวยา 495-505 มิลลิกรัม
ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สูงเหลือเชื่อเมื่อเทียบกับตำรายา
ผมเองก็ยังสงสัยเลยว่าทำไมต้องใช้มาตรฐานสูงขนาดนี้

แม้มาตรฐานนี้จะได้ยาที่ตัวยาสม่ำเสมอ แทบจะเท่ากันทุกเม็ด
แต่การควบคุมคุณภาพให้ได้ระดับนี้ มันใช้ต้นทุนสูงมาก
(ไม่อยากบอกเลยว่า ตอนนี้โรงงานนี้ปิดกิจการไปแล้วครับ)

ตัวอย่างนี้คือเหตุผลที่ทำให้ยาออริจินัล "ดี" กว่ายาโลคอลเมด
เพราะมีตัวยาในแต่ละเม็ด ปริมาณสม่ำเสมอ ดีกว่ามาตรฐาน

อีกเหตุผลหนึ่งนอกจากปริมาณยาในเม็ดสม่ำเสมอแล้ว
การปลดปล่อยตัวยาเข้าสู่ร่างกายก็เหมาะสมด้วย



***ชักเริ่มยาวแล้ว ตอนนี้ขอแบ่งเป็น 2 ส่วนครับ***



Create Date : 24 สิงหาคม 2548
Last Update : 1 กันยายน 2548 11:03:55 น.
Counter : 1404 Pageviews.

2 comments
  
ไม่เห็นด้วยครับ

-ยาที่ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน
-มีส่วนน้อยมากที่คุณภาพสู้ยา original ไม่ได้
-และก็มีเหมือนกันที่ยาที่ผลิตในประเทศไทยมีคุณภาพสูงกว่ายา Original

แต่ข้อดีคือ ยาที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาถูกกว่า
ยา Original มากครับ ทำให้ประหยัดเงินของผู้ป่วยและประเทศชาติครับ
โดย: ืnaproxen IP: 203.113.71.102 วันที่: 7 กันยายน 2549 เวลา:14:30:43 น.
  
ไม่ใช่ส่วนใหญ่ครับ "ทั้งหมด" ได้มาตรฐาน

ผมติเรื่องความสม่ำเสมอของตัวยาในแต่ละเม็ด ซึ่งด้อยกว่า
ซึ่งในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องสม่ำเสมอขนาดนั้น อย่างเช่นพาราฯ ที่ยกตัวอย่าง


ป.ล. ยาไทยรุ่นใหม่ที่ขึ้นทะเบียนในช่วงหลัง
มีการทดสอบ Bioequivalent แล้วค้าบ
ว่ามีประสิทธิภาพเทียบเท่ายานอก
โดย: อะธีลาส IP: 124.120.71.38 วันที่: 25 มกราคม 2550 เวลา:23:06:07 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Photographer, photo educator, writer and more.......

อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution.


Website
http://mister-gray.bloggang.com
https://twitter.com/nickdhapana
http://500px.com/NickDhapana
https://plus.google.com/+NickDhapana
http://nickdhapana.tumblr.com
http://instagram.com/nickdhapana
https://www.facebook.com/dhapana/about


Skype & Email
cmosmyp@gmail.com


Line
nickdhapana


My Project's Page

Public Telephone
https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject

They didn't say that.
https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600

Exposure to the RIGHT
https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951

Thailand Perspective Project
https://www.facebook.com/ThailandPerspective

Dead on Arrival
https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961
สิงหาคม 2548

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
12
13
14
15
16
17
18
19
20
27
28
29
31
 
 
All Blog