"STOP THINKING ABOUT IT! JUST DO IT"
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
8 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
OB&PED: rotationสะกัดดาวรุ่ง (#3)

     ^_^ อุ๊ย...แอบดีใจนะคะนี่ที่มีคนเข้ามาอ่านบล็อกของเราด้วย ขอบคุณทุก ๆ คนนะคะที่ให้ความสนใจทั้งที่เขียนcommentและก็ไม่ได้comment ส่วนใครที่อ่านแล้วอยากเป็นพยาบาลก็ขออนุโมทนาสาธุด้วย ขอให้ประสบความสำเร็จ ส่วนใครที่เรียนกำลังอยู่แล้วอยากเลิก ก็ขอให้อดทนเข้าไว้นะจ๊ะ จากตอนที่แล้วเราก็ผ่านปีแรกของการเรียนพยาบาลมาได้แบบงง ๆ เทอมต่อมานั้นก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เทอมนี้เราก็ต้องมาเรียนกับ class ที่เข้ามาหลังเรา ๑ ปี แต่หลาย ๆ คนในคลาสใหม่นี้ก็รู้จักคุ้นเคยกันมาเป็นอย่างดี บอกแล้วว่านักเรียนพยาบาลนั้นถ้าดูถ้าจะไม่รอดก็ต้องดร็อปแล้วไปลงใหม่ปีหน้า  เพราะถ้าตกสองครั้งเค้าก็จะเขี่ยออกจาก nursing school


     เทอมนี้ในเมนูเป็น Nursing II กับ Pathophysiologyจ้ะ Nursing II นั้นเป็นแบ่งเป็นสองส่วนคือ OB (obstetric and newborn ก็คือแม่และเด็ก)กับ Ped (pedeatric: เด็ก)  เนื้อหาการเรียนก็ตามนั้นเลยค่ะ ตั้งแต่ก่อนท้องถึงคลอดจนอายุ ๑๘ รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับ women health ด้วย clinical rotationส่วนแรกของเราก็เป็น OB จริง ๆ แล้วเราชอบนะ เพราะมันเป็นเรื่องใกล้ตัว ส่วนนี้ก็จะแบ่งเป็นสามส่วนย่อย ๆ คือ Labor & Delivery, Post Partum, & Newborn ถ้าถามว่าชอบอันไหนที่สุดก็คงจะเป็น newborn เพราะว่าในคนไข้ของเรานั้นตัวเล็ก (ก็เด็กเพิ่งคลอดอ่ะนะ) จัดการง่าย ไม่บ่น ไม่เถียง ไม่เรื่องมาก แล้วอึก็ไม่เหม็น (พูดจริง ๆ)  ห้องคลอดนั้นก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากนั่งรอเวลาไปเรื่อย ๆ แล้วก็หัดดู fetal heart rate monitor ที่ห้องคลอดนี้เราก็ได้เห็นการคลอดทั้งสองแบบคือ Vaginal และ C-section มีแต่คนถามว่าน่ากลัวไหม ไม่น่ากลัวเลยจ้ะแล้วก็ตื่นเต้นช่วยคนไข้เบ่งไปด้วย ยกเว้นแต่จะเป็นคนกลัวเลือด เพราะว่าออกจะสยดสยองอยู่บ้างโดยเฉพาะการคลอดทางช่องคลอด เพราะว่าต้องลุ้นว่ามันจะฉีกหรือเปล่า ดูแล้วก็ได้แต่คิดว่าช่องคลอดนี่จริง ๆ เล็กไปนะ น่าจะใหญ่กว่านี้หน่อยแม่จะได้ไม่ทรมาน ออกมาง่าย ๆ พอเด็กออกมาก็ลุ้นว่าเด็กจะร้องหรือเปล่า พอร้องเราก็ถอนหายใจเฮือก...ประหนึ่งว่าเราเป็นคนคลอดเอง พอเด็กคลอดแล้วเราก็ต้องรอรกคลอด พอรกคลอดออกมาเราก็ต้องตรวจดูว่ารกคลอดออกมาสมบูรณืหรือเปล่า เพราะถ้าหากมีชิ้นส่วนตกค้างก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อภายหลังได้ ถ้าใครถามว่ารกหน้าตาเป็นยังไง เท่าที่จำได้เราก็คงต้องบอกว่าคล้าย ๆ ตับหมู แต่ว่าต้องเละ ๆ หน่อย (ไม่แน่ใจนะ เพราะว่าตอนดูเค้ากวาดลงไปอยู่ในถังที่จะส่งไป labแล้วก็เป็นถุงกลมๆ เหมือนลูกโป่งใส่น้ำที่มันเหี่ยว ๆ แล้ว แล้วก็เต็มไปด้วยเลือดกับน้ำคร่ำ อีกอย่างที่ต้องดูก็คือ สายสะดือ ถ้าใครกำลังเรียนอยู่ล่ะก็จำไว้นะจ๊ะ ว่าสายสะดือมี 2 arteries and 1 vein จำไว้ให้ดี เพราะว่ามันจะต้องเป็นข้อสอบ หรือถูกครูถามแน่ ๆ หรือไม่ก็ใน N-CLEX (อันนี้เจ๊โดนครูถามมาแล้วแล้วก็ตอบไม่ได้ อยากจะไชสะดือตัวเองตายหนีความอายไปให้พ้น ๆ ) อ้อ อีกอันนึงคือส่วนที่สำคัญมากที่เราต้องระวังคนไข้ที่เพิ่งคลอดคือตกเลือด (hemorrhage) นะจ๊ะ 


       ส่วนสุดท้ายของrotationนี้ คือการดูแลผู้ป่ายหลังคลอด ส่วนนี้เราก็ชอบเพราะว่าส่วนมากจะเป็นการสอนคนไข้ เช่นการให้นม การเปลี่ยนผ้าอ้อม รวมทั้งการดูแลตัวเองและลูกหลังคลอด จริง ๆ ในทุก ๆ clinical rotation นั้น เราต้องสอนคนไข้หนึ่งครั้งแบบเป็นงานเป็๋นการและได้คะแนนโดยต้องเตรียมการสอนตามหัวข้อที่ครูให้มา แล้วเราก็โชคดีได้สอนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์หลังจากคลอดลูกค่ะ คนไข้ของเรานั้นเป็นคนเวียดนามพูดภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย เราก็พูดได้นิดหน่อยเหมือนกัน อ้อ แล้วก็ต้องสอนสามีเค้าด้วย โอ๊ย...คุณขา อายมาก มันกระดากนะ คือเราต้องบอกเค้าด้วยว่าท่าไหนที่ควรใช้จะได้ไม่เจ็บมาก (ถ้าใครเรียนอยู่: คนไข้ต้องพัก ๖ อาทิตย์หลังคลอดนะจ๊ะถึงจะกลับไปทำกิจกรรมเข้าจังหวะได้)เราก็อาย คนไข้ก็อาย ก็คนเอเชียอ่ะนะ ให้เราไปบอกเค้าว่า ยูเวลาปั่มปั๊มกันหน่ะ (รอหกอาทิตย์นะ) ให้เมียยูอยู่ข้างบนนะ เค้าจะได้ควบคุมความลึก แล้วก็ค่อย ๆ ทำนะยูเพราะว่าเดี๋ยวจะเจ็บแผล แล้วก็ถ้าไม่ให้ลูกกินนมแม่ก็ห้ามไปยุ่งกับนมนะจ๊ะทั้งพ่อทั้งลูก เพราะว่าจะทำให้มันคัดมากขึ้น  เนื้อหาก็ประมาณนี้แหละจำไม่ค่อยได้แล้ว หลังจากนั้นมาเราก็ไม่อายอีกเลย จะให้พูดอะไรก็บอกมา ถือว่าด้านได้(คะแนน)อายตก


    ส่วน Pediatricนั้น เราไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะว่าเนื้อหาในห้องเรียนนั้นก็เป็นพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุ ใครมันจะไปจำไหวว่าอายุะเท่านี้พูดได้กี่คำ มีความหมายหรือไม่มี เวลาสอบนั้นเราก็ร่อแร่ ๆ เพราะว่าถามอยู่ได้เกี่ยวกับพัฒนาการ ก็รู้ว่ามันสำคัญ แต่ขี้เกียจจำ แต่ว่าเวลาเตรียมตัวสอบ N-CLEX มันก็จะโผล่มาเรื่อย ๆ อย่างเช่นถามว่า คนไข้อายุแปดขวบเป็นโรคหอบหืด ต้องสอนแบบไหนให้เข้ากับพัฒนาการของเด็กอะไรประมาณนี้ เราเองก็ไม่ชอบเด็กป่วยเท่าไหร่ เพราะว่าสงสาร แล้วพ่อแม่ก็เครียดด้วย ส่วนมากก็กลัวว่าเราจะไม่เก่งพอ ไม่ดีพอสำหรับลูกเค้า ไม่อยากให้ดูแลลูกเค้า แต่บางคนก็ดี ที่โรงพยาบาลเด็กนี่เราเห็นเด็กบางคนที่ไม่สบายมาก ๆ แล้วก็ถูกทิ้ง พยาบาลเค้าก็อุ้มมาเล่น มาป้อนนม หรือพาไปเดินเล่น คือเด็กพวกนี้ไม่สบายมาก พ่อแม่ก็คงไม่มีเงินจะมาจ่ายค่าโรงพยาบาลหรือมาดูแล ก็เลยทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลให้รัฐฯดูแลต่อไปจนกว่าจะหาย (ก็จะถูกส่งไปที่ foster careหรือรอคนมาขอไปเลี้ยง แต่ส่วนมากไม่มีใครขอไปเลี้ยงหรอก เพราะว่าการเลี้ยงเด็กป่วยที่นี่แพงมาก แล้วทุกคนก็ต้องทำงาน จ้างคนเลี้ยงอย่างที่เมืองไทยก็ไม่ได้) หรือตายไป  Pediatric clinical rotationนี้ การบ้านเยอะมาก เพราะว่าต้องทำ development card ของคนไข้แต่ละคนที่ได้รับassignมา ก็ต้องไปนั่งดูว่าคนไข้ทำอะไรได้บ้าง ถูกต้องตามพัฒนาการหรือเปล่า  จริง ๆ ต้องบอกว่าเป็น rotatio ที่สนุกน้อยที่สุดของเรา ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจมาตลอดว่าอยากเป็นพยาบาลเด็ก


        อีกวิชานึงที่เราต้องเรียนเทอมนี้คือ pathophysiology เป็นวิชาเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ เป็นวิชาที่เราชอบมากที่สุด สุดท้ายปลายเทอมก็ได้ B มาครองอย่างเต็มภาคภูมิ B นี่หรูแล้วค่ะสำหรับนักเรียนพยาบาล เพราะว่าเกรดบีนี่ต้องได้ ๘๕ % ขึ้นไปนะคะ ส่วน nursing II ก็ได้ C ตามความคาดหมาย เพราะว่าช่วงpediatric เราทำใด้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ยัง ๆ ก็ผ่านไปได้อีกหนึ่งเทอมแล้วจ้ะ เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนนั้นลดลงจาก ๖๐คน จากตอนแรกมาเหลือประมาณ ๔๐ ได้มั้งในเทอมนี้ แล้วเปิดเทอมหน้าก็จะรู้ว่า OB&PED จัดการสะกัดดาวรุ่งไปกี่คน






Free TextEditor


Create Date : 08 ตุลาคม 2551
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 13:21:24 น. 1 comments
Counter : 526 Pageviews.

 
ต้องใจรักด้วยนะคะถึงจะดี


โดย: superss วันที่: 10 ตุลาคม 2551 เวลา:2:22:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MissMo
Location :
Seattle, Washington United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add MissMo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.