Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2559
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
2 พฤศจิกายน 2559
 
All Blogs
 

Tech Support









กษัตริย์แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ


     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัย ใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจังลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัย เพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตรการชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆโดยเฉพาะด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่งทรงสนับสนุน การค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทรงนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในโครงการพัฒนา ซึ่งสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงนำหลักการ และแนวทางเหล่านี้ มาใช้เป็นพื้นฐานสำคัญ ในการดำเนินโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ


- คอมพิวเตอร์เครื่องแรก

     ตามข้อมูลที่ปรากฏม.ล.อัศนี ปราโมช คือผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ชื่อเครื่อง Macintosh Plus  ซึ่งหากนับอายุโดยคร่าว ก็จะพบว่าคอมพิวเตอร์ทรงเกียรติเครื่องนี้มีอายุนับจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี1986 ถึง 30 ปีแล้วจนถึงกาลปัจจุบัน  ข้อมูลชี้ว่าคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ม.ล.อัศนี เลือก Macintosh Plus เพราะความสามารถในการเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ง่ายดายการเรียนรู้และใช้งานไม่ยากแถมยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ด้วย

 ข้อมูลชี้ว่าคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ม.ล.อัศนี เลือก Macintosh Plus เพราะความสามารถในการเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ง่ายดายการเรียนรู้และใช้งานไม่ยากแถมยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ด้วย

 Macintosh Plus ไม่ใช่เครื่องแมคอินทอชเครื่องแรกของแอปเปิล เนื่องจาก Macintosh128K และ 512K คือแมคอินทอชเครื่องแรกที่แอปเปิลวางจำหน่ายช่วงวันที่ 24 มกราคม 1984 โดย Macintosh Plus (จำหน่ายปี 1986) นั้นใช้ระบบปฏิบัติการ System 6.0.4, Finder 6.1.4 มาพร้อมหน่วยความจำสำรองในเครื่อง 1 MB และฮาร์ดไดรฟ์ 30MB เท่านั้น


     MacintoshPlus ในยุคนั้นถูกมองว่าเป็นผู้พลิกวงการพิมพ์ และออกแบบโดยราคาจำหน่ายที่สูงมากในขณะนั้น (ราว 2,495 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 74,850 บาท) ทำให้เครื่องไม่แพร่หลายในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป

     บริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด เป็นผู้นำเข้า Macintosh Plus และเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์แอปเปิลรายแรกในประเทศไทยในช่วง 30 ปีที่แล้วไม่ใช่ไอสตูดิโออย่างทุกวันนี้

    ปัจจุบัน Macintosh Plus ถูกวางจำหน่ายในร้านประมูลออนไลน์ในราคาเริ่มต้นที่ 23.50 ดอลลาร์ (ราว 705 บาท) เท่านั้น

ซึ่งต่อมาได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ IBM PC Compatible และอีกหลายรุ่น ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นตามโลกสมัยใหม่ จุดนี้มีรายงานว่าพระองค์สนพระทัยในเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก บางครั้งจึงทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่างๆ ภายในด้วยพระองค์เอง รวมถึงทรงแก้ไขซอฟต์แวร์ในเครื่องให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เช่น โปรแกรมภาษาไทย CUWRITER (เวิร์ดจุฬา) เป็นต้น




- การออกแบบตัวอักษร

พระองค์ทรงศึกษาโปรเเกรม "Fontastic" เเละพระองค์ทรงได้ประดิษฐ์ฟอนต์ตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงามเพื่อแสดงผลบนจอภาพ คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค์ ฯลฯ ทรงสนพระทัยประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด นอกจากฟอนต์ภาษาไทยเเล้วพระองค์ทรงประดิษฐ์ฟอนต์ภาษาอื่นๆอีกด้วย เช่น ฟอนต์ภาษาสันสกฤต ฟอนต์เทวนาครี หรือ “ภาษาแขก” บนจอภาพ ซึ่งฟอนต์เทวนาครีนี้มีความยากในการออกเเบบที่ยากกว่าฟอนต์อื่นๆมาก เพราะตัวอักษรเทวนาครี  หรือ  ตัวอักษรเเขกนั้นมีรูปเเบบที่ไม่คงตัว เหมือนตัวอักษรภาษาอื่นๆ ที่ทั่วโลกใช้กัน หรือกล่าวคือ  ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งอักษรจะเกิดอักษรใหม่ขึ้นนั้นเอง 

โดยทรงเริ่มศึกษาเมื่อเดือนพฤษภาคม2530 ด้วยพระองค์เองจากพจนานุกรมและตำราภาษาสันสกฤตและและทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีสันสกฤต อย่างสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และท่านองคมนตรี ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัวอักษรที่ทรงสร้างขึ้น มีคำถามว่าเหตุใดพระองค์ท่านจึงทรงสนพระราชหฤทัยในตัวอักษรเทวนาครีหรือภาษาแขกเรื่องนี้มีผู้อธิบายไว้ว่า ในหลวงที่รักของพวกเรานั้นทรงศึกษาข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและลึกซึ้ง การที่ทรงศึกษาตัวอักษรแขกก็เพื่อเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจด้านอักษรศาสตร์และความเข้าใจในหัวข้อธรรมะนั่นเอง เรื่องนี้นับว่าพระองค์มีวิจารณญาณที่ลึกซึ้งยิ่งนักเพราะคำสอนและข้อธรรมะในพุทธศาสนานั้น เดิมทีก็เกิดและเผยแพร่มาจากประเทศอินเดียบรรดาธรรมะที่ลึกซึ้งและยากแก่ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกตีความผันแปรบิดเบือนไปได้ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปถึงภาษาแขกจึงน่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะชัดเจนกระจ่างมากขึ้น



-  บทพระราชนิพนธ์และการประพันธ์บทเพลง

นอกจากจะทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีประเภทต่างๆ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระปรีชาสามารถในการแต่งคำร้อง ทำนองและเรียบเรียงเสียงประสาน เป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh Plus ในการเก็บและพิมพ์โน้ตเพลง   ซึ่งคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้อีกด้วย

เพลงพระราชนิพนธ์แต่ละเพลงนั้น ล้วนแสดงออกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าโดยถ้วนหน้า เช่น เพลงยามเย็น พระราชทานแก่สมาคมปราบวัณโรค เพื่อนำออกแสดงเก็บเงินบำรุงการกุศล เพลงใกล้รุ่ง บรรเลงเป็นปฐมฤกษ์ในงานของ สมาคมเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย เพลงยิ้มสู้ พระราชทานแก่โรงเรียนสอนคนตาบอด เพลงลมหนาว พระราชทานในงานประจำปี ของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ เพลงพรปีใหม่ พระราชทานแก่พสกนิกรเนื่องในวันปีใหม่ เพลงเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย เพลงความฝันอันสูงสุด และเพลงเราสู้ พระราชทานแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ Kinari Suite พระราชทานเพื่อใช้ ประกอบการแสดงบัลเล่ต์ชุดมโนราห์ และมีเพลงประจำสถาบันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ได้แก่ เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ เพลงธรรมศาสตร์ เพลงเกษตรศาสตร์ เพลงธงไชยเฉลิมพล ราชวัลลภ และ  ราชนาวิกโยธิน  บทเพลงพระราชนิพนธ์ มีทั้งสิ้นจำนวน 48 เพลง


บทพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ก็ทรงใช้ในการคำนวณสภาพภูมิประเภทและภูมิอากาศอินเดียผ่านคอมพิวเตอร์รวมทั้งการประพันธ์คำร้องเพลงต่างๆ ก็ทรงพิมพ์ด้วยพระองค์เอง

     “อย่างเขียนโน้ตดนตรีนี่ไม่ได้ใช้โปรแกรมดนตรีนะเขียนขึ้นมาเอง ใช้โปรแกรมธรรมดา คือของโบราณนั่นเอง เสร็จแล้วก็มาเขียนโดยที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมดนตรีสำเร็จรูปมาเขียนโน้ตเหมือนคนอื่น นั่งเขียนเอง…”

     “…อย่างที่ทรงเพลงใหม่ ก็เห็นพิมพ์ในนั้นดูเหมือนจะมี Word processor แต่ว่าใช้เขียนอย่างเขียนโน้ตเพลงรัก เพลงเมนูไข่ ที่เขียนใหม่ ก็ใช้เครื่องนั้นหรือพิมพ์หนังสืออะไร จะมีเรื่องมีราวอะไร ท่านก็ใช้พิมพ์ พิมพ์เองทั้งนั้นไม่ต้องอาศัยเสมียนที่ไหน แล้วก็เขียนเรื่องต่างๆ อย่างพระราชดำรัสตอนวันที่ ธันวา ที่คนมาเฝ้าฯ พอเสร็จแล้ว ท่านก็แปลเป็นภาษาอังกฤษท่านแปลของท่านเอง แล้วพิมพ์ลงในนั้น พิมพ์ไว้ เวลานี้ท่านแต่ง auto-biography อยู่ แต่งถึงไหนก็ไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เคยเห็นของท่านเลยท่านเขียนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์” พระราชดำรัสส่วนหนึ่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ


-  ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์

      ส.ค.ส. พระราชทานเป็นบัตรส่งความสุข ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548)* 

ในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจมาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงานโดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส. 9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสารทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส. 9 ปรุ ส.ค.ส. พระราชทานที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่าง ๆโดยข้อความใน ส.ค.ส. พระราชทาน แต่ละปี จะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมืองเพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อ ๆ มา หนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง

นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทานทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน เป็น ก.ส. 9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ"ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้นจะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ ดังนี้

อ้างถึง

ววชชนนด.ด. ปปปป และตั้งแต่ ส.ค.ส. พระราชทานปี 2549 เป็น ววชชนน ด.ด. ปป เมื่อ ว=วันที่ ช=เวลาเป็นชั่วโมง น=เวลาเป็นนาที ด=เดือน และ ป=ปี


ส.ค.ส. พระราชทานตั้งแต่พ.ศ. 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเป็นภาพสี นอกจากนี้ คำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน ตั้งแต่ปีดังกล่าวเป็นต้นมาจะมีข้อความ "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad, D.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549) และ "Printed at theSuvarnnachad Publishing, C.Brahmaputra, Publisher" (ในส.ค.ส. ปี 2550)


ภาพ ส.ค.ส. พระราชทานปี 2530 ที่ได้จากการปรุแถบโทรพิมพ์



ภาพ ส.ค.ส.พระราชทานปี 2549 เป็น ส.ค.ส. ที่ในหลวงทรงออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์


หมายเหตุ

ในปี พ.ศ.2548 ไม่มี ส.ค.ส.พระราชทาน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิเนื่องจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547   ซึ่งนายขวัญแก้ว วัชโรทัยประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะพระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวันปีใหม่ ซึ่งหลังจากที่พระองค์พระราชทานเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสว่าปีใหม่ปีนี้ไม่มี ส.ค.ส.พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงทำงานอย่างหนักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวใต้ที่ได้รับความเดือดร้อน

นายขวัญแก้วกล่าวอีกว่า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า พระองค์ทรงรู้สึกปลื้มใจที่คนไทยไม่ทิ้งกันเวลาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งการที่คนไทยได้ช่วยเหลือกันครั้งนี้เหมือนเป็นหลักประกันให้พระองค์ว่า เมื่อไรที่พระองค์เดือดร้อนก็จะมีคนมาช่วย สิ่งที่ทุกคนทำผลบุญก็จะส่งให้กับผู้ที่ให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า ทรงปลื้มใจคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือทุกคนไม่รังเกียจว่าเป็นคนชนชาติไหน


ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ 

ข้าพระพุทธเจ้าตัวแทนจากแผนกสารสนเทศคอมพิวเตอร์

บริษัท เวสท์แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2559
0 comments
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 9:14:22 น.
Counter : 1986 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 2436574
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2436574's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.