Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
15 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

หัวใจแห่งโยคะ ... 2




หัวใจ แห่งโยคะ : ค้นหาท่วงท่าและมรรคาเฉพาะตัว
ผู้เขียน ที.เค.วี. เทสิกาจารย์
ผู้แปล ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์


เล่มนี้วางแผงมานานมากแล้ว ซื้อมาอ่านไปรอบแรก คราวนั้นเมื่อฝึกฝนโยคะใหม่ใหม่, หนนี้นำมาอ่านอีกรอบ ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้อะไรได้มากขึ้น ชัดเจนขึ้น กระนั้นก็ยังเหลืออีกมากมายที่ต้องศึกษา... คัดลอกส่วนที่โดนโดนมาเก็บไว้ อาจไม่ใช่เนื้อหาสำคัญหรือใช่ อันนี้ไม่ทราบ แต่ว่ามันโดนใจและคิดว่าสำคัญ...อย่างน้อยสำหรับผมเอง พอได้กลับมาอ่าน มาทวน หวังว่าเวลาจะไม่เสียเปล่า คงเก็บอะไรได้เพิ่มขึ้น...





บทที่ 1 โยคะ : แนวคิดและความหมาย

การลงมือฝึกโยคะจริงๆ จะนำแต่ละคนไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
การก้าวไปบนวิถีของโยคะนั้น ไม่จำเป็นที่เราจะต้องมีความคิดที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับพระเจ้า

สิ่งจำเป็นในการฝึกโยคะมีเพียงแค่ ขอให้เรากระทำและจดจ่อกับการการทำของเรา

หนังสือหรือชั้นเรียนโยคะมักทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าจะต้องมีข้อปฏิบัติก่อนที่จะศึกษาโยคะ...
ข้อปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมก็ต่อเมื่อมันเริ่มจากภายในตัวเราและมันอาจเป็นผลของการฝึกโยคะ
แต่จะไม่น่าชื่นชมถ้าเป็นการเรียกร้องจากภายนอก

ยกตัวอย่างเช่น คนที่สูบบุหรี่หลายคนเลิกสูบบุหรี่หลังจากเริ่มฝึกโยคะ ผลจากการฝึกโยคะทำให้พวกเขาไม่ต้องการสูบบุหรี่อีกต่อไป พวกเขาไม่ได้เลิกสูบบุหรี่เพื่อที่จะฝึกโยคะ

เราเริ่มต้นจากจุดที่เราเป็นและอย่างที่เราเป็น แล้วอะไรจะเกิดก็เกิด


บทที่ 3 หลักของการฝึกอาสนะ

ในการฝึก เราจดจ่อกับร่างกาย ลมหายใจ และจิตใจ

จุดมุ่งหมายของโยคะอยู่ที่การหลอมรวมการกระทำของทั้งสามอย่างเข้าด้วยกัน
ส่วนใหญ่แล้วคนจะมองว่าโยคะคือการฝึกฝนทางร่างกาย
พวกเขาไม่ค่อยสังเกตว่าเขาหายใจอย่างไร เขารู้สึกถึงลมหายใจอย่างไร และเขาประสานการการหายใจของเขากับการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างไร
พวกเขามองเพียงแค่ความยืดหยุ่นและความอ่อนตัวเท่านั้น
บางคนอาจจะอยากรู้ว่าเขาสามารถฝึกอาสนะได้กี่ท่า หรือสามารถค้างในท่ายืนด้วยศีรษะได้นานกี่นาที

สิ่งสำคัญยิ่งกว่ารูปลักษณ์ภายนอกเหล่านี้อยู่ที่ว่า เรารู้สึกถึงท่วงท่าและลมหายใจอย่างไร

อาสนะคืออะไร? คำว่า อาสนะ แปลว่า “ท่วงท่า”
โยคสูตรของปตัญชลีอธิบายว่าอาสนะมีคุณลักษณะสำคัญ 2 อย่างคือ สถิร และ สุขะ

สถิระ คือความมั่นคงและตื่นตัว ส่วนสุขะ หมายถึงความสามารถที่จะอยู่ในท่วงท่าหนึ่งๆ ได้อย่างสบาย
ในขณะฝึกท่าใดก็ตาม ควรจะให้มีคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้อย่างเท่าเทียมกัน และคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้ ควรจะมีอยู่ในช่วงเวลาที่ยาวนานพอสมควร ถ้าปราศจากคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้ถือว่าไม่มีอาสนะ

...เริ่มต้นจากที่เราเป็น

การฝึกท่วงท่าต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้เราค่อยๆ เริ่มมีความมั่นคง ตื่นตัว และเหนือสิ่งอื่นใดคือเข้าถึงความสบายได้มากขึ้น

ถ้าเราต้องการทำให้หลักการฝึกอาสนะนี้กลายเป็นจริง เราจะต้องยอมรับตัวเราอย่างที่เราเป็น
ถ้าเราเป็นคนหลังตึงเราจะต้องยอมรับความจริงตรงนี้
อาจเป็นไปได้ว่าเรามีร่างกายที่ยืดหยุ่นมากแต่กลับมีลมหายใจที่สั้น
หรือลมหายใจของเราอาจจะเป็นปรกติแต่ร่างกายกลับมีปัญหาบางอย่าง
หรือเราอาจรู้สึกสบายในการฝึกอาสนะหนึ่งๆ ในขณะที่จิตใจไปอยู่ที่อื่นโดยสิ้นเชิง นี่ก็ไม่ใช่อาสนะเหมือนกัน

เราจะค้นพบคุณสมบัติที่จำเป็นต่ออาสนะได้ก็ต่อเมื่อ เราตระหนักในจุดเริ่มต้นของเราและเรียนรู้ที่จะยอมรับมัน


การประสานลมหายใจกับการเคลื่อนไหว

โยคะเป็นการฝึกที่ใช้การหายใจ พอๆ กับที่ใช้ร่างกาย
คุณภาพของการหายใจของเรามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกข้างในของเรา

การสำรวจสภาพของร่างกาย ณ ขณะหนึ่งๆ ทำได้โดยการเคลื่อนไหวแขน ขา ลำตัว เช่นเราแนะนำให้กลุ่มคนที่เริ่มฝึกโยคะยกแขนขึ้นและลดแขนลง จากนั้นถามว่า “การเคลื่อนไหวแขนทำให้หลังยืดขึ้นเป็นหลัก หรือส่วนอื่นของร่างกายถูกยืดขึ้นมากกว่า” บางคนจะบอกว่าการเคลื่อนไหวทำให้หลังยืดขึ้น บางคนจะสังเกตว่าไหล่จะถูกยืดขึ้นมากกว่า

เหตุผลที่แต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่าง เนื่องจากการเคลื่อนไหวหลักๆ บางอย่างมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันในแต่ละคน
คนที่หลังตึงจะพบว่าแรงทั้งหมดที่ใช้ในการเริ่มต้นยกแขนมาจากไหล่
ในขณะที่คนที่ยืดหยุ่นกว่าจะสังเกตว่า การเคลื่อนไหวจะเริ่มจากสะบักส่วนที่ใกล้กับกระดูกสันหลัง

การสังเกตร่างกายด้วยวิธีนี้เป็นขั้นแรกในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความเคยชินในการเคลื่อนไหวและท่าทางที่ไม่สบายหรือไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุของความตึงและในที่สุดจะไปขัดขวางการไหลเวียนของพลังชีวิตในร่างกาย

ตามปรกติเรามักไม่ค่อยมีสติอยู่กับลมหายใจ มันเป็นกระบวนการที่เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ และเราทำมันโดยไม่ต้องใช้ความตั้งใจหรือกำลัง

การหายใจและการเคลื่อนไหวจะประสานสัมพันธ์กันได้ จิตใจขอเราต้องเฝ้าตามการประสานนั้นอย่างตั้งใจ เมื่อเราทำเช่นนี้ การหายใจเข้าและหายใจออก จะไม่เป็นไปโดยอัตโนมัติอีกต่อไป แต่จะเป็นกระบวนการที่มีสติ

การค้นพบการประสานกันอย่างเป็นธรรมชาติระหว่างลมหายใจกับการเคลื่อนไหวเป็นแง่มุมที่สำคัญที่สุดของการฝึกอาสนะ


การหายใจซึ่งถูกควบคุมอย่างตั้งใจจะสนับสนุนและส่งเสริมประสานกันอย่างเป็นธรรมชาติระหว่างลมหายใจกับการเคลื่อนไหว
ตัวอย่างเช่น เวลาทีเราหายใจออกอย่างเป็นธรรมชาติ กระดูกซี่โครงจะยุบลงในขณะที่กระบังลมยกขึ้น และส่วนหน้าของท้องจะหดเข้าไปหากระดูกสันหลัง
การเคลื่อนไหวอย่างเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการก้มตัว คือกระดูซี่โครงยุบลงและท้องจะหดเข้าหากระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะเน้นการหายใจตามธรรมชาติ เราจะหายใจออกในทุกท่วงท่าที่มีการเคลื่อนไหวแบบก้มตัวมาข้างหน้าเป็นหลัก

ในท่าที่แอ่นตัวไปข้างหลัง การเคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครงทำให้หน้าอกยกขึ้นและทำให้กระดูกสันหลังแอ่นไปข้างหลัง โดยการตั้งใจให้การแอ่นตัวไปข้างหลังประสานกับการหายใจเข้า จะทำให้การเคลื่อนไหวง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
(ตรงกันข้ามกับท่าก้มตัวมาข้างหน้า ซึ่งจะทำเฉพาะในขณะหายใจออกเท่านั้น ท่าแอ่นตัวไปข้างหลังบางท่าเรามีอิสระที่จะหายใจออกหรือเข้าก็ได้)

การบิดตัวก็เชื่อมโยงอย่างมากกับแบบแผนการหายใจเช่นเดียวกัน ในขณะที่กระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงบิดตัว ช่องว่างระหว่างกระดูกจะลดลงและบริเวณช่องท้องจะถูกกดเล็กน้อย ในขณะเดียวกันกระบังลมจะยกขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเราประสานการบิดตัวในช่วงแรกเข้ากับการหายใจออก เท่ากับเรากำลังปฏิบัติตามแบบแผนการหายใจอย่างเป็นธรรมชาติ

กฎเกณฑ์ในการประสานการหายใจและการเคลื่อนไหวที่จริงแล้วเป็นเรื่องง่าย
เมื่อใดที่เราหดร่างกายลงให้หายใจออก และเมื่อเราขยายร่างกายออกให้หายใจเข้า
มีข้อยกเว้นในกรณีที่เราต้องการให้เกิดผลบางอย่างในการฝึกอาสนะโดยการสลับวิธีหายใจตามธรรมชาติ

...เราไม่ควรเพียงแค่หายใจเข้าออกโดยไม่ใส่ใจ แต่ต้องให้การหายใจเป็นตัวเริ่มต้นการเคลื่อนไหว
ความยาวของลมหายใจจะเป็นตัวกำหนดความเร็วของการเคลื่อนไหว
ในไม่ช้าการเชื่อมโยงระหว่างลมหายใจและการเคลื่อนไหวจะค่อนข้างเป็นธรรมชาติไปเอง

การสูญเสียความใส่ใจจดจ่อ จะทำให้การฝึกของเรากลายเป็นกลไก ซึ่งเท่ากับว่าเราไม่ได้กำลังฝึกโยคะอีกต่อไป


ลมหายใจคือปัญญาของร่างกาย

ไม่ว่าเราจะทำอาสนะได้สวยงามเพียงใดหรือร่างกายของเรายืดหยุ่นแค่ไหน ถ้าเราไม่สามารถประสานร่างกาย ลมหายใจ และจิตใจเข้าด้วยกันได้ เราไม่อาจกล่าวอ้างว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นเป็นโยคะได้

ถึงที่สุดแล้วโยคะคืออะไรหรือ?
มันคืออะไรบางอย่างที่เรารู้สึกอยู่ภายใน ลึกลงไปในตัวเรา
โยคะไม่ใช่ประสบการณ์ภายนอก
โยคะสอนให้เราพยายามใส่ใจทุกอย่างที่เรากระทำ
โยคะแตกต่างจากการเต้นรำหรือการแสดง ในโยคะเราไม่ได้สร้างหรือทำอะไรบางอย่างให้คนดู

ในการทำอาสนะต่างๆ เราสังเกตสิ่งที่เรากำลังทำและสังเกตว่าเราทำมันอย่างไร เราทำเพื่อตัวเราเองเท่านั้น... ถ้าเราไม่ใส่ใจกับตัวเราขณะที่ฝึก เราไม่อาจเรียกมันว่าโยคะได้




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
4 comments
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 15:48:31 น.
Counter : 1497 Pageviews.

 

เจิมหรือเปล่าอ่ะก๊าบบบ
อิอิ เดี๋ยวรู้เนอะ

 

โดย: nulaw.m 15 กุมภาพันธ์ 2553 20:51:21 น.  

 

555 ได้เจิมด้วย

เดี๋ยวต้องมาก็อปออกไปขยายอ่าน หุหุ กำลัง
เจ็บตาอ่ะ อ่านตัวเล็กเยอะๆไม่ไหว

เข้าเน็ตโคดยาก คงได้นานๆมาที

 

โดย: nulaw.m 15 กุมภาพันธ์ 2553 20:56:11 น.  

 

5555 ไมนิ่ง พูดแบบเดียวกะเฮียก๋าเลย

ยังไม่กลับครับ ตั้งใจจะกลับพุธ 24 กินๆนอนๆ
ซะให้พุงอืด กระเป๋าแห้งแล้วค่อยกลับไปทำงาน

 

โดย: nulaw.m 15 กุมภาพันธ์ 2553 22:12:51 น.  

 

ขอบคุณมากๆครับ

 

โดย: Aunty 29 พฤษภาคม 2559 8:21:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Mining 74
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




แม้โลกเสมือน ทว่า...ใจนั้นอาจจริง
มาร่วมรินน้ำใจ ใส่จอกแห่งมิตรภาพ
และร่วมวงสนทนากันเถิด...มาเถอะ
ลิงจอม ทะเล้น
หัวหอม จอมซ่า
กระต่ายจอม กวน
X
X
X

Moon Days   (Open)

(no practice / rest days)

June 12
NEW (sat)

June 26
FULL (sat)

July 11
NEW (sun)

July 26
FULL (mon)

Friends' blogs
[Add Mining 74's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.