°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°

::ระบบต่อมไร้ท่อ 2::

5. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์

ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (islets of langerhans) เป็นกลุ่มเซลล์เล็กๆ จำนวนมากที่อยู่กระจัดกระจายระหว่าต่อมสร้างน้ำย่อยภายในตับอ่อน ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ 2 ชนิด เช่น กลุ่มเซลล์ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 คือ บีตาเซลล์ (ß-cell) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ส่วนกลุ่มเซลล์อีกกลุ่มหนึ่งคือ แอลฟาเซลล์ (α-cell) ซึ่งทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน (gucagon)
อินซูลิน เป็นสารจำพวกพอลิเพปไทด์ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 โมเลกุล มีบทบาทเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของกลูโคส ได้แก่
1. เพิ่มอัตราการหายใจของเซลล์โดยการสลายกลูโคสเป็นพลังงาน
2. เพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมัน
3. เพิ่มการเก็บสะสมกลูโคสในรูปของไกลโคเจนในเซลล์ตับ และเซลล์กล้ามเนื้อ
กลูคากอน เป็นสารจำพวกพอลิเพปไทด์ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 29 โมเลกุล ออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของกลูโคส ได้แก่
1. เพิ่มการสลายไกลโคเจนในเซลล์ตับให้เป็นกลูโคส
2. เพิ่มการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโน และกรดไขมัน
อินซูลินและกลูคากอนจะออกฤทธิ์ตรงข้ามกัน โดยอินซูลินจะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลงแต่กลูคากอนจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น การทำงานร่วมกันของอินซูลินและกลูคากอนจะช่วยรักษาระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การหลั่งอินซูลิน และกลูคากอนจะถุกควบคุมโดยระดับกลูโคสในเลือด กล่าวคือ เมื่อระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มมากขึ้น เช่น ภายหลังรับประทานอาหารจะทำให้บีตาเซลล์หลั่งอินซูลินมากขึ้น อินซูลินจะทำให้มีการสลายกลูโคส และมีการเก็บสะสมกลูโคสในรูปของไกลโคเจนมากขึ้น ทำให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลง และเมื่อระดับกลูโคสในเลือดลดลงก็จะยับยั้งการหลั่งอินซูลินจากบีตาเซลล์
ในทางตรงกันข้าม เมื่อระดับกลูโคสในเลือดลดลง เช่น ภายหลังจากอดอาหารเป็นเวลานานจะทำให้แอลฟาเซลล์หลั่งฮอร์โมนกลูคากอนมากขึ้น กลูคากอนจะสลายไกลโคเจนจากตับ และปลดปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นและเมื่อระดับกลูโคสเพิ่มมากขึ้นแล้วแอลฟาเซลล์ก็จะหลั่งกลูคากอนน้อยลง













กลูโคสเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญเพราะเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นในกระบวนการหายใจของเซลล์ ดังนั้นร่างกายจำเป็นต้องรักษาระดับกลูโคสในเลือดให้มีค่าคงที่ เพียงพอต่อเมแทบอลิซึมของเซลล์ต่างๆ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ระดับกลูโคสในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 80-100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร หากมีความผิดปกติของเมแทบอลิซึมของกลูโคสซึ่งทำให้ระดับกลูโคสในเลือดมีค่ามาก หรือน้อยกว่าปกติ จะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย โรคหรือภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของเมแทบอลิซึมของกลูโคสที่พบได้บ่อยคือ โรคเบาหวาน และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) เป็นโรคที่รู้จักกันมานานนับพันปี โดยพบว่าคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีการรั่วไหลของน้ำตาลออกมาในปัสสาวะซึ่งลักษณะของอาการดังกล่าวเป็นที่มาของชื่อโรค กล่าวคือ คำว่า “diabetes” เป็นภาษากรีก แปลว่า กาลักน้ำ (siphon) ซึ่งหมายถึงการรั่วไหลและคำว่า “mellitus” แปลว่า หวานเหมือนน้ำผึ้ง
โรคเบาหวานเป็นผลสืบเนื่องมาจากความผิดปกติในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตรวมทั้งไขมันและโปรตีน ทั้งนี้เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิต และหลั่งอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีปริมาณกลูโคสในเลือดสูง แต่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้นอกจากนั้นโรคเบาหวานยังเกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์เพิ่มระดับกลูโคสในเลือดมากขึ้น ได้แก่ โกรทฮอร์โมน คอร์ติซอล อะดรีนาลีน ไทรอกซิน และกลูคากอน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอย่างอ่อนๆ อาจจะไม่แสดงอาการผิดปกติเลยก็ได้ แต่ก็สามารถตรวจรู้ได้โดยวัดระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ รวมทั้งการทดสอบการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด ภายหลังจากได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย เปรียบเทียบกับในคนปกติดังกราฟในรูปที่ 15-8
ในคนปกติ หลังจากร่างกายได้รับน้ำตาล ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นในระยะแรก แล้วค่อยๆ ลดลงสู่ระดับปกติภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้เนื่องจากมีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเหวาน ภายหลังจากร่างกายได้รับน้ำตาล ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก และใช้เวลานานมาก กว่าจะลดลงสู่ระดับปกติ หรืออาจจะไม่ลดลงเลย












อาการทั่วไปของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ได้แก่
1. ปัสสาวะมาก และปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวัน และกลางคืนเนื่องจากในปัสสาวะมีปริมาณน้ำตาลมาก จึงมีน้ำออสโมซิสออกสู่ทางเดินปัสสาวะมาก
2. ดื่มน้ำมากเนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำไปกับปัสสาวะมาก ทำให้กระหายน้ำบ่อย
3. รับประทานอาหารมากเนื่องจากเซลล์ต่างๆ ของร่างกายต้องการกลูโคส เพราะถึงแม้ว่าจะมีปริมารกลูโคสในเลือดสูงแต่เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้
4. น้ำหนักลดเนื่องจากมีการสลายไขมัน และโปรตีนเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนคาร์โบไฮเดรต นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น
โรคเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. โรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสังเคราะห์อินซูลินได้โรคเบาหวานชนิดนี้มักเป็นในเด็ก มีอาการของโรครุนแรงและเกิดขึ้นในเฉียบพลัน การรักษาทำได้โดยการให้อินซูลินทดแทน โดยการฉีดยาเข้าสู่ร่างกายทุกวัน
2. โรคเบาหวานที่เกิดจากร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินเนื่องจากเซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่มีตัวรับอินซูลิน ทั้งนี้ปริมาณอินซูลินในร่างกายอาจจะมีน้อย มีปกติ หรือมีมากกว่าปกติก็ได้ โรคเบาหวานชนิดนี้มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี มีรูปร่างอ้วน มีอาการของโรคเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมักเกิดโรคแทรกซ้อนซึ่งเป็นผลจากการมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน โรคปลายประสาทอักเสบ โรคไต โรคหลอดเลือด หัวใจขาดเลือด เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้มีอาการไม่รุนแรงอาจรักษาได้ด้วยการลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายให้พอเหมาะ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลางจะรักษาโดยการให้ยารับประทานที่ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ซึ่งออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นบีตาเซลล์ของไอเลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ให้ผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์มากขึ้น เป็นต้น และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องรักษาโดยการให้อินซูลินในรูปยาฉีด

6. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไตแต่ละข้างหนักประมาณ 5 กรัม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอกเรียกว่า อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex) และเนื้อเยื่อชั้นในเรียกว่า อะดรีนัลเมดัลลา (drenal nedulla)
ก. อะดรีนัลคอร์เทกซ์ เป็นเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ของต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนที่ผลิตทั้งหมดเป็นสารสเตอรอยด์ซึ่งสังเคราะห์จากคอเลสเทอรอล แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1. ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ คอร์ติซอล (cortisol)
คอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวต่อภาวะเครียด (stress) เช่น ช็อก ได้รับบาดเจ็บ อากาศหนาวจัด หรือมีภาวะเครียดทางจิตใจ เมื่อร่างกายมีความเครียดจะทำให้ไฮโพทาลามัสหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคโทรฟินรีลิสซิงแฟคเตอร์ (corticotrophin releasing factor : CRF) ออกมา CRF จะกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง ACTH และ ACTH จะกระตุ้นอะดรีนัลคอร์เทกซ์ให้หลั่งคอร์ติซอล
บทบาทที่สำคัญของคอร์ติซอลคือ การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดโดยยับยั้งการทำงานของอินซูลิน และกระตุ้นให้เซลล์ตับเปลี่ยนกรดอะมิโน และกรดไขมันเป็นไกลโคเจนสะสมไว้ แล้วเปลี่ยนเป็นกลูโคสเพื่อส่งเข้าสู่กระแสเลือด นอกจานั้นคอร์ติซอลยังทำหน้าที่ลดปฏิกิริยาการอักเสบของร่างกาย ดังนั้น จึงมีการนำคอร์ติซอลมาใช้เป็นยาเพื่อลดการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ข้ออักเสบจากโรครูห์มาตอยด์ โรคภูมิแพ้ต่างๆ เป็นต้น
2. ฮอร์โมนมิเนอราโลคอร์ติคอยด์ (mineralocorticoid) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุภายในร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญกลุ่มนี้คือ แอลโดสเทอโรน (aldosterone) ซึ่งจะหลั่งออกมามากขึ้นในภาวะที่ร่างกายขาดน้ำหรือความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดต่ำลง โดยทำหน้าที่กระตุ้นท่อไตให้ดูดซึมน้ำ และโซเดียมเข้าสู่กระแสเลือด และขับถ่ายโพแทสเซียมออกสู่ท่อไต นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการรักษาสมดุลของฟอตเฟตในเลือดอีกด้วย ในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งแอสโดสเทอโรนได้ตามปกติ จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และโซเดียมไปกับปัสสาวะมาก เป็นผลให้เลือดมีปริมาณลดลงจนทำให้ช็อก และอาจเสียชีวิตได้
3. ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) อะดรีนัลคอร์เทกซ์สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ทั้งฮอร์โมนเพศชายซึ่งได้แก่ เทสโทสเทอโรน และฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งได้แก่ เอสโทรเจน โดยฮอร์โมนเพศที่สังเคราะห์ ขึ้นส่วนใหญ่คือเทสโทสเทอโรน แต่อย่างไรก็ตามฮอร์โมนเพศที่สังเคราะห์จากอะดรีนัลคอร์เทกซ์จะมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับที่สังเคราะห์จากอวัยวะเพศ ดังนั้นฮอร์โมนเพศที่สังเคราะห์จากอะดรีนัลคอร์เทกซ์จึงมีผลต่อร่างกายน้อยมาก ยกเว้นเทสเทอโรนที่ทำให้เกิดขนที่รักแร้ และหัวเหน่าทั้งในเพศชาย และเพศหยิงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่อย่างไรก็ตามในภาวะผิดปกติที่อะดรีนัลคอร์เทกซ์สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศเพิ่มมากขึ้น จะทำให้เกิดความผิดปกติทางเพศได้ ได้แก่ การเป็นหนุ่มสาวเร้วขึ้น การมีหนวด เครา และขนขึ้นตามร่างกาย การมีอวัยวะเพศใหญ่ขึ้นในเพศชาย และการมีอวัยวะเพศกำกวมในเพศหญิง
หากมีความผิดปกติในการสังเคราะห์ฮอร์โมนของอะดรีนัลคอร์เทกซ์จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น
- โรคคูชชิง (Cushing’s syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์สังเคราะห์ฮอร์โมนมากเกินไป โดยเฉพาะห์ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ คนไข้ที่เป็นโรคคูชชิงจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการสลายโปรตีน มีการสะสมไขมันบริเวณใบหน้า และลำตัวทำให้มีลักษณะใบหน้ากลมเหมือนพระจันทร์ บริเวณต้นคอมีหนอก อาจจะมีความดันเลือดสูงเนื่องจากมีน้ำ และโซเดียมคั่งในร่างกาย ผู้รับประทานยาชุด ยาหม้อ ซึ่งมักมีคอร์ติซอลเป็นส่วนผสม เพื่อลดการอักเสบต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ก็อาจจะทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคคูชชิงได้เช่นกัน
- โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมอะดรีนัลคอร์เทกซ์ถูกทำลายจึงไม่สามารถสังเคราะห์ฮอรืโมนได้ ทำให้เกิดการซูบผอม อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง สีผิวเข้มขึ้น น้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันเลือดต่ำ ร่างกายไม่สามรถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะเสียชีวิตได้
ข. อะดรีนัลเมดัลลา เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อประสาทในระหว่างการเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอ ทำหน้าที่สังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมน 2 ชนิด คือ อะดรีนาลีน และ นอร์อะดรีนาลีน

อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือ เอพิเนฟรีน (epinephrine) มีผลต่อการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายมากมาย ได้แก่ ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง หลอดลมขยายตัว ม่านตาขยาย ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น เส้นเลือดอาร์เทอรีที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อขยายตัว เป็นต้น
นอร์อะดรีนาลีน (noradrenarine) หรือ นอร์เอพิเนฟรีน (norepinephrine) เป็นสารชนิดเดียวกับสารสื่อประสาทที่หลั่งจากปลายประสาทซิมพาเทติก ผลของฮอร์โมนชนิดนี้คล้ายกับอะดรีนาลีน ยกเว้นผลที่มีต่อเส้นเลือด โดยนอร์อะดรีนาลีนจะทำให้เส้นเลือดอาร์เทอรีหดตัว และมีผลต่อเส้นเลือดอาร์เทอรี ที่หล่อเลี้ยงบริเวณ ผิวหนัง ไต และอวัยวะในช่องท้อง
เมื่อร่างกายเผชิญกับภาวะต่างๆ เช่น เมื่อเผชิญหน้ากับสัตว์ร้าย หรือศัตรู ตื่นเต้น ตกใจ โกรธ ฯลฯ ไฮโพทาลามัสจะส่งกระแสประสาทซิมพาเทติกมากระตุ้นอะดรีนัลเมดัลลา ให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน และนอร์อะดรีนาลีน ฮอร์โมนทั้งสองจะทำให้ร่างกายพร้อมที่จะสู้ และตอบสนองต่อภาวะเครียด ต่างๆ เช่น ทำให้สมอง และระบบประสาทตื่นตัวเพื่อสามารถที่จะใช้ความคิด และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อต่างๆ ได้รับออกซิเจน และกลูโคสเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีเรี่ยวแรงมากขึ้น เส้นเลือดในอวัยวะที่ไม่จำเป็น เช่น สมอง หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อ เป็นต้น










7. ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยมีน้ำหนักประมาณ 25 กรัม อยู่ด้านหน้าของหลอดลมคอส่วนบน ส่วนกลางของต่อมจะคอดทำให้ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเป็น 2 พู หากดูด้วยกล้องจุลทรรศ์จะพบว่าเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์ประกอบด้วยฟอลลิเคิล (follicle) จำนวนมาก แต่ละฟอลลิเคิลจะบุด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว เซลล์ที่บุรอบฟอลลิเคิลเรียกว่า ฟอลลิคิวลาร์เซลล์ (follicular cell) รอบๆ ฟอลลิเคิลจะมีเส้นเลือดฝอยหล่อเลี้ยงอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า พาราฟอลลิคิวลาร์เซลล์ (parafollicular cell) หรือ เซลล์ซี (C-cell)
ต่อมไทรอยด์จะผลิต และหลั่งฮอร์โมน 3 ชนิด คือ ไทรอกซิน (thyroxine) ไตรไอโอโดโทโรนีน (triiodothyronine) และแคลซิโทนิน (calcitonin)

ไทรอกซิน และไตรไอโอโดไทโรนีน

ไทรอกซิน และไตรไอโอโดไทโรนีน ผลิตมาจากฟอลลิคิวลาร์เซลล์แล้วเก็บสะสมไว้ในช่องว่างภายในฟอลลิเคิล ไทรอกซิน และไตรไอโอโดไทโรนีนถูกสังเคราะห์จากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) และไอโอดีน โดยไทรอกซินจะมีไอโอดีน 4 อะตอม จึงมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า T4 ส่วนไตรไอโอโดไทโรนีนจะมีไอโอดีน 3 อะตอม จึงมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า T3 ทั้ง T3 และ T4 จะมีผลต่อร่างกายเหมือนกัน โดย T3 มีฤทธิ์มากกว่า T4 ประมาณ 4 เท่า แต่ในภาวะปกติฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ภายในร่างกายส่วนใหญ่จะพบในรูปของ T4
T3 และ T4 ทำหน้าที่กระตุ้นอัตราเมแทบอลิซึมของเซลล์ และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย ทำหน้าที่ร่วมกับโกรทฮอร์โมนในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน นอกจากนั้นยังควบคุมพัฒนาการของเซลล์ (cellular differentiation) ต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการของเซลล์สมอง
ในสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก นอกจากไทรอกซินจะมีหน้าที่กระตุ้นเมแทบอลิซึม และการเจริญเติบโตของร่างกายแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเมแทมอร์โฟซิส (metamorphosis) โดยทำให้ลูกอ๊อดเจริญเปลี่ยนแปลงเป็นกบตัวเต็มวัย ลูกอ๊อดที่ขาดไทรอกซินจะเจริญเติบโตเป็นลูกอ๊อดที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเจริญเปลี่ยนแปลงเป็นกบตัวเต็มวัยได้ และหากลูกอ๊อดได้รับไทรอกซินมากกว่าปกติ จะทำให้ลูกอ๊อดเจริญเปลี่ยนแปลงเป็นกบตัวเต็มวัยก่อนเวลา เกิดเป็นกบตัวเต็มวัยที่มีขนาดเล็ก











ในคนหากมีความผิดปกติในการผลิต และหลั่งไทรอกซินจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่ โรคคอพอก โรคคริทินิซึม โรคมิกซีดีมา โรคคอพอกเป็นพิษ เป็นต้น
โรคคอพอก (goiter) เป็นโรคของต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่กว่าปกติทั้งนี้ปริมาณไทรอกซินในร่างกายอาจอยู่ในระดับปกติ มากกว่าปกติ หรือน้อยกว่าปกติก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมีปริมาณไทรอกซินต่ำกว่าปกติ
โรคคอพอกพบได้มากทางภาคเหนือของประเทศไทย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีนทั้งนี้เนื่องจากไอโอดีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของไทรอกซิน หากร่างกายขาดธาตุไอโอดีน ต่อมไทรอยด์จะไม่สามารถสังเคราะห์ไทรอกซินได้ ทำให้ปริมาณไทรอกซินในเลือดต่ำ ซึ่งจะกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง TSH TSH จะกระตุ้นต่อมไทรอยด์สังเคราะห์ไทรอกซินมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น
ครีทินิซึม (cretinism) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิต และหลั่งไทรอกซินน้อยกว่าปกติตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้ร่างกายมีอัตราเมแทบอลิซึมต่ำ มีการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของสมองน้อยกว่าปกติ โดยแสดงอาการต่างๆ ได้แก่ ดูดนมช้า ซึม เสียงแหบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังหยาบแห้ง ผมบาง ตัวเย็น ท้องผูก เติบโตช้า มีแขน-ขาสั้น มีลักษณะเตี้ยแบบไม่สมส่วน พัฒนาการของร่างกายช้า ปัญญาอ่อน
มิกซีดีมา (myxedema) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิต และหลั่งไทรอกซินน้อยกว่าปกติเมื่อพ้นวัยเด็กแล้ว ทำให้ร่างกายมีอัตราเมแทบอลิซึมต่ำ แต่มีผลต่อการเจริญเติบโตและสติปัญญาน้อยกว่าโรคครีนิซึม โดยจะแสดงอาการต่างๆ ได้แก่ อ่อนเพลีย เฉื่อยชา ผิวหนังหยาบแห้ง ผม และขนคิ้วอาจร่วง ตัวเย็น เสียงแหบ ท้องผูก อาจมีอาการทางสมอง ได้แก่ ความจำเสื่อม ซึมลง เป็นต้น
การรักษาโรคครีทินิซึม และมิกซีดีมา ทำได้โดยรับประทานไทรอกซินทดแทน ซึ่งอาจจะได้มาจากสารสกัดจากต่อมไทรอยด์ หรือใช้ไทรอกซินที่เป็นยาสังเคราะห์
โรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิต และหลั่งไทรอกซินมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายมีเมแทบอลิซึมมากกว่าปกติ ซึ่งจะแสดงอาการผิดปกติต่างๆ ได้แก่ ต่อมไทรอยด์โต ตาโปน หัวใจเต้นเร็ว และแรงขึ้น ความดันโลหิตสูง ตัวอุ่น หิวบ่อย กินเก่งแต่น้ำหนักลดลง มือสั่น หงุดหงิด กระวนกระวาย โมโหง่าย ขาดสมาธิ เป็นต้น
การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษทำได้โดยการให้ยาที่ขัดขวางการสร้างไทรอกซิน ผ่าตัดบางส่วนของต่อมไทรอยด์ออก หรือการให้กินยาไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสีเพื่อทำลายเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์
แคลซิโทนิน ถูกผลิต และหลั่งจากพาราฟอลลิเคิลเซลล์ มีหน้าที่ลดปริมาณแคลเซียมและฟอตเฟตในเลือดซึ่งจะออกฤทธิ์ที่กระดูก และไต โดยเพิ่มการนำแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและลดการสลายของกระดูก นอกจากนั้นจะเพิ่มการขับถ่ายฟอสเฟตของไต แคลซิโทนินจะทำงานร่วมกับต่อมฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์และวิตามินดีในการรักษาสมดุลแคลเซียมและฟอตเฟตในร่างกาย








8. ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์

ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อเล็กๆ ที่ฝังตัวอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ด้านละ 2 ต่อม ทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งเรียกว่า พาราทอร์โมน (parathormone)
พาราทอร์โมน เป็นสารจำพวกเพปไทด์ ประกอบด้วยกรดอะมิโน 84 โมเลกุล ทำหน้าที่ร่วมกับแคลซิโทนิน และวิตามินดีในการรักษาสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย โดยจะออกฤทธิ์ที่ไต กระดูก และลำไส้ ดังนี้
1. เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมกลับจากท่อไตเข้าสู่กระแสเลือดโดยแลกกับฟอตเฟต
2. เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้
3. เพิ่มการสลายกระดูก โดยมีการปลดปล่อยแคลเซียมจากกระดูกออกศุ่กระแสเลือด
ผลจากการทำงานของพาราทอร์โมนจะทำให้ปริมาณแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับฤทธิ์ของแคลซิโทนิน
ในภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะทำให้ปริมาณแคลเซียมในเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดน้อยลง การมีแคลเซียมในเลือดมากจะทำให้มีการสะสมของแคลเซียมในที่ต่าง ๆ เช่น ที่ไต ทำให้เกิดนิ่วในไต และท่อไต นอกจากนั้นการสลายตัวของกระดูกจะทำให้กระดูกบาง และเปราะหักง่าย
ในภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ จะทำให้ปริมาณแคลเซียมในเลือดน้อยลง ซึ่งจะทำให้เกิดตะคริวของกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ กล้ามเนื้อบริเวณกล่องเสียงหดตัวทำให้หายใจลำบาก อาจเกิดอาการชัก และกล้ามเนื้อหัวใจหดเกร็งมากจนหัวใจหยุดเต้น
ในภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะรักษาได้โดยการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกไปบางส่วน ส่วนในภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ จะรักษาได้โดยการให้วิตามินดีซึ่งมีฤทธิ์คล้ายพาราทอร์โมน















9. ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศ

อวัยวะเพศนอกจากจะทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธ์แล้ว ยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศซึ่งทำให้เกิดลักษณะเพศชาย และหญิง
แหล่งที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายคือ อินเตอร์สติเชียลเซลล์ (interstitial cells) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่อยู่ระหว่างหลอดสร้างตัวอสุจิในอัณฑะ โดยเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นประมาณอายุ 10 ปี ไฮโพทาลามัสจะหลั่งโกนาโดโทรฟิน 2 ชนิด คือ FSH และ ICSH
FSH จะกระตุ้นการสร้างสเปิร์ม ส่วน ICSH จะกระตุ้นอินเตอร์สติเชียลให้ผลิตและหลั่งฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า แอนโดรเจน (androgen) ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เทสโทสเทอโรน (testosterone)
เทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดลักษณะเพศชาย ได้แก่ การมีเสียงห้าว นมขึ้นพาน ลูกกระเดือกแหลม มีหนวด เครา ขนที่รักแร้ หน้าแข้ง และบริเวณหัวเหน่า มีกล้ามเนื้อเติบโตแข็งแรง นอกจากนั้นยังมีร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะวัยรุ่น
แหล่งที่ทำหน้าที่ฮอร์โมนเพศหญิงคือ รังไข่ โดยเมื่อเข้าสู่วัยสาวไฮโพทาลามัสจะหลั่งโกนาโดโทรฟินรีลิสซิงฮอร์โมนกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน 2 ชนิด คือ FSH และ LH
FSH จะกระตุ้นการสร้างไข่ซึ่งเจริญเปลี่ยนแปลงอยู่ภายในฟอลลิเคิล ในขณะที่ไข่และฟอลลิเคิลเจริญเติบโตขึ้น เนื้อเยื่อรังไข่ที่อยู่รอบๆ ฟอลลิเคิลนั้นๆ จะผลิต และหลั่งฮอร์โมนเอสโทรเจนออกมา
LH จะหลั่งออกมามากขึ้นในระยะที่ฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่ LH จะทำงานร่วมกับ FSH ทำให้เกิดการตกไข่ โดยทำให้ฟอลลิเคิลที่เจริญเต็มที่แตกออก ปล่อยไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ นอกจากนั้น LH จะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อของฟอลลิเคิลที่แตกแล้วเจริญเปลี่ยนแปลงเป็น คอร์พัสลูเทียม (corpus luteum) ทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอรืโมนเอสโทรเจน และโพรเจสเทอโรน
เอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดลักษณะเพศหญิง ได้แก่ การมีเสียงแหลม สะโพกผาย การมีไขมันสะสมตามร่างกาย นอกจากนั้นยังทำงานร่วมกับโพรเจสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงอีกชนิดหนึ่ง โดยทำให้เตานม และอวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ และเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น
ในเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ และเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงของรังไข่ และเยื่อบุโพรงมดลูกจะเกิดขึ้นเป็นวัฎจักร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 1 รอบ จะกินเวลาประมาณ 28 วัน ดังนั้นจึงเรียกวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ และเยื่อบุโพรงมดลูกว่า ประจำเดือน (menstrual cycle)








10. ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล

ต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นต่อมเล็กๆ มีขนาดประมาณ 4 × 8 มิลลิเมตร อยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างเซรีบรัมซีกซ้าย และขวา หน้าที่ของต่อมไพเนียลยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าต่อมไพเนียลผลิต และหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งเชื่อว่ามีหน้าที่ควบคุมการหลับ อารมณ์ การเข้าสู่วัยหนุ่ม-สาว และการสืบพันธุ์
เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่เป็นสารจำพวกเอมีน การหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินจากต่อมไพเนียลเกี่ยวข้องกับแสง และความสั้น-ยาวของช่วงกลางวัน-กลางคืน กล่าวคือในเวลากลางวัน เมื่อเรตินาในลูกนัยน์ตารับแสงก็จะส่งกระแสประสาทไปยังเซลล์ประสาทซิมพาเทติก เซลล์ประสาทซิมพาเทติกจะส่งกระแสประสาทต่อไปยังต่อมไพเนียลเพื่อยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินจากต่อมไพเนียล และในเวลากลางคืนเมื่อไม่ได้รับแสง ต่อมไพเนียลจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินมากขึ้น ดังนั้นต่อมไพเนียลจะหลั่งเมลาโทนินมากกว่าเวลากลางวัน
เมลาโทนินจะกระตุ้นการนอนหลับในเวลากลางคืน และยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟินรีลิสชิงฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส จากการศึกษาพบว่าในเด็กก่อนวัยรุ่นจะมีปริมาณเมลาโทนินในเลือดสูงมากดังนั้นจึงเชื่อว่าเมลาโทนินทำหน้าที่ควบคุมการเข้าสู่วัยหนุ่มสาว นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเมลาโทนินมีบทบาทเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของสัตว์ เช่น ในฤดูหนาวซึ่งมีช่วงกลางวันสั้น ทำให้ต่อมไพเนียลหลั่งเมลาโทนินมาก เมลาโทนินจะทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศ ทำให้สัตว์ไม่ผสมพันธ์ในฤดูหนาว
นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเมลาโทนินทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับอารมณ์ โดยสังเกตพบว่าบางคนมีอาการซึมเศร้า หดหู่ ในฤดูหนาวซึ่งมีช่วงกลางวันสั้น อาการดังกล่าวสามารถรักษาได้โดยให้รับแสงเพิ่มมากขึ้น
ต่อมไพเนียลของสัตว์มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด เช่น ทัวทารา ที่พบบนเกาะทางตอนใต้ของประเทศนิวซีแลนด์ ไม่ได้ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนแต่เป็นตาที่สาม โดยทำหน้าที่รับแสง และภาพเช่นเดียวกับเรตินา นอกจากนั้นหากให้เมลาโทนินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแก่สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก จะทำให้สีผิวจางลงได้ เนื่องจากเมลาโทนินกระตุ้นการรวมตัวของเมลานินภายในเมลาโนไซต์ของสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก













11. ฮอร์โมนจากต่อมไทมัส และเนื้อเยื่ออื่นๆ ในร่างกาย

ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นพู 2 พู อยู่บริเวณกลางช่องอก ใกล้กับหัวใจทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันแบบใช้เซลล์ (cell-medaited immunity) โดยลิมโฟไซต์ที่สร้างจากไขกระดูกจะต้องมีการเจริญเปลี่ยนแปลงภายในต่อมไทมัสกลายเป็นเซลล์ชนิดที ก่อนที่จะออกสู่กระแสเลือด
ต่อมไทมัสสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ ภายหลังการเกิดเมื่อทารกมีอายุมากขึ้น ต่อมไทมัสจะหมดความสำคัญ และจะฝ่อไปในที่สุด
นอกจากทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันแบบใช้เซลล์แล้ว ต่อมไทมัสยังทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งสังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนที่สำคัญชนิดหนึ่งคือ ไทโมซิน (thymosin) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ ชนิดที ในกระแสเลือดที่ผ่านต่อมไทมัสแล้ว ให้เจริญ และพัฒนาเป็นเซลล์ชนิดทีที่พร้อมจะทำงานได้
นอกจากต่อมไร้ท่อ และอวัยวะที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ดังกล่าวแล้วภายในร่างกายยังมีเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ได้แก่
เยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร เมื่อกระเพาะอาหารยึดขยาย และมีอาหารที่ย่อยบ้างแล้วผ่านมาในกระเพาะอาหาร เยื่อบุชั้นในของกระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนแกสทริน (gastrin) กระตุ้นต่อมน้ำย่อย (gastric gland) ให้หลั่งน้ำย่อยมากขึ้น
เยื่อบุชั้นในของดูโอดีนัม ทำหน้าที่สังเคราะห์ และหลั่งฮอร์ดมนหลายชนิด ได้แก่ ซีคริติน (secretin) และคอลีซิสโตไคนิน (cholecystokinin) กล่าวคือ เมื่ออาหารที่ย่อยบ้างแล้ว และมีสมบัติเป้นกรดจากกระเพาะอาหารผ่านเข้าสู่ดูโอดีนัม จะกระตุ้นเนื้อเยื่อชั้นในของดูโอดีนัมหลั่งฮอร์โมนซีคริติน ซึ่งจะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งโซเดียมไบคาร์บอเนต และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี นอกจากนั้นอาหารจำพวกไขมัน และโปรตีนที่ย่อยบ้างแล้วจากกระเพาะอาหาร เมื่อผ่านเข้าสู่ดูโอดีนัมจะกระตุ้นให้เยื่อบุดูโอดีนัมหลั่งฮอร์โมนคอลีซิสโตไคนินซึ่งจะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งน้ำย่อย และกระตุ้นถุงน้ำดีให้บีบตัวไล่น้ำดีลงสู่ดูโอดีนัม
รก (placenta) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารระหว่างทารกในครรภ์กับแม่ โดยนำสารอาหาร และออกซิเจนจากเลือดแม่แพร่กระจายเข้าสู่เลือดทารกในครรภ์ และนำของเสียจากเมแทบอลิซึมจากเลือดทารกในครรภ์แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดแม่เพื่อขับถ่ายต่อไป นอกจากนั้นรกยังทำหน้าที่สังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (hurman chorionic gonadotrophin : HCG) HCG จะทำหน้าที่กระตุ้นคอร์พัสลูเทียมให้คงอยู่ คอร์พัสลูเทียมจะหลั่งฮอร์โ มนเอสโทรเจน และโพรเจสเทอโรน ซึ่งมีผลย้อนกลับไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของรก และเยื่อบุโพรงมดลูก ทั้งนี้เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนด






บรรณานุกรม


นายแพทย์สุเทพ ดุษฎีวณิชยา. ชีววิทยา.สำนักพิมพ์ยูบุ๊กส์.กรุงเทพฯ : 2546.หน้า 451-473.
ประสงค์ & จิตเกษม หลำสะอาด.ชีววิทยา ม.5 เล่ม 3.โรงพิมพ์ เพิ่มทรัพย์ การพิมพ์. กรุงเทพฯ : 2544.
หน้า158 - 191.






 

Create Date : 30 กันยายน 2550
7 comments
Last Update : 30 กันยายน 2550 14:11:27 น.
Counter : 3432 Pageviews.

 

อยากได้รายละเอียดฮอร์โมนย่อยๆ

 

โดย: นาย IP: 125.26.180.58 27 มกราคม 2551 17:33:13 น.  

 

มาเอาความรู้ไปเยอะเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะ

 

โดย: keng IP: 161.200.255.162 9 กรกฎาคม 2551 0:13:54 น.  

 

ดั้ยความรุเยอะเยยย

ขอบคุงนะค่ะ

 

โดย: MeLoDiiZE" IP: 202.91.18.194 12 สิงหาคม 2551 18:33:40 น.  

 

Thank you naka

 

โดย: sureerat IP: 203.113.118.10 28 พฤศจิกายน 2551 10:35:48 น.  

 

น่ารักดีนะ

 

โดย: ฝ้าย IP: 125.26.77.124 7 กุมภาพันธ์ 2552 15:22:39 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: หนึ่ง IP: 125.26.77.124 7 กุมภาพันธ์ 2552 15:24:02 น.  

 

สวัสดีคับ ขอเป้นด้วยคับขอบคุณมากที่มีเว็บนี้คับยินดีที่ได้รู้จะกคับ แล้วอย่าลืมส่งข้อความมาด้วย รอยอู่คับ บายๆๆๆๆๆ

 

โดย: ซัน IP: 113.53.54.230 9 ธันวาคม 2552 13:11:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว




เราจักภูมิใจ...ในชีวิต

ถ้าโกรธกับเพื่อน.....มองคนไม่มีใครรัก
ถ้าเรียนหนักๆ.....มองคนอดเรียนหนังสือ
ถ้างานลำบาก.....มองคนอดแสดงฝีมือ
ถ้าเหนื่อยงั้นหรือ.....มองคนที่ตายหมดลม
ถ้าขี้เกียจนัก.....มองคนไม่มีโอกาส
ถ้างานผิดพลาด.....มองคนไม่เคยฝึกฝน
ถ้ากายพิการ.....มองคนไม่เคยอดทน
ถ้างานรีบรน.....มองคนไม่มีเวลา
ถ้าตังค์ไม่มี.....มองคนขอทานข้างถนน
ถ้าหนี้สินล้น.....มองคนแย่งกินกับหมา
ถ้าข้าวไม่ดี.....มองคนไม่มีที่นา
ถ้าใจอ่อนล้า.....มองคนไม่รู้จักรัก
ถ้าชีวิตแย่.....จงมองคนแย่ยิ่งกว่า
อย่ามองแต่ฟ้า.....ที่สูงเกินตาประจักษ์
ความสุขข้างล่าง.....มีได้ไม่ยากเย็นนัก
เมื่อรู้แล้วจัก.....ภาคภูมิชีวิตแห่งตน

Location :
นครสวรรค์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





When I miss you,I just close my eyes::ยามใดที่ฉันคิดถึงเธอ ฉันจะเจอเธอได้เพียงหลับตา

°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°




Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.