°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°

กายวิภาคกระดูกสันหลัง

กายวิภาคกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง ( Vertebral Column ) กระดูกสันหลังคล้ายเป็นแกนของร่างกาย เพราะทุก ๆ ส่วนของร่างกายต้องอาศัยส่วนนี้เป็นหลัก เพราะฉะนั้น Vertebral Column จึงมีหน้าที่
1. ช่วยยึดจับศีรษะ ลำตัว แขน ขา ไว้
2. ช่วยกระจายน้ำหนักลงไปให้กับขาส่วนล่าง เช่น กระดูกสันหลังตอนคอรับน้ำหนักของศีรษะ ตอนอกก็รับน้ำหนักของ organs ต่าง ๆ ที่อยู่ส่วนบน และของ upper extremities ส่วนตอนเอวเป็นตอนที่สำคัญในการรับน้ำหนัก และเคลื่อนไหวมาก
3. ช่วยป้องกัน spinal cord และ spinal nerve ซึ่งอยู่ภายใน Vertebral Column นี้

กระดูกสันหลังในผู้ใหญ่มี 26 ท่อน ในเด็กมี 33 ท่อน คิดเฉลี่ยประมาณ 28 นิ้ว หรือ 71 เซนติเมตร กระดูกสันหลังเหล่านี้จำแนกออกเป็นตอน ๆ ดังนี้

ของผู้ใหญ่ – ของเด็ก
- กระดูกสันหลังส่วนคอ ( Cervical ) 7 7
- กระดูกสันหลังส่วนอก ( Thoracic ) 12 12
- กระดูกสันหลังส่วนเอว ( Lumbar ) 5 5
- กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ( Sacrum ) 1 5
- กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ ( Coccyx ) 1 4
รวม 26 33
โดยกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ( Sacrum ) และก้นกบ ( Coccyx ) จะเชื่อมติดกันขณะที่กระดูกสันหลังส่วนอื่น ๆ มี Intervertebral disc รองรับ
กระดูกสันหลัง ตอนคอ ตอนอก และตอนเอวเป็นกระดูกสันหลังที่แท้ ( True หรือ Movable vertebrae ) เพราะมันแยกออกจกกันเป็นท่อน ๆ และเคลื่อนไหวได้ตลอดชีวิต ส่วนกระดูกสันหลังตอนก้น และตอนก้นกบนั้นเป็นกระดูกสันหลังไม่แท้ ( False หรือ Fixed vertebrae ) โดยกระดูกสันหลังตอนก้น และตอนก้นกบนี้ ในผู้ใหญ่จะรวมติดกันเป็น 2 ตอน คือกระดูก Sacral vertebrae 5 อัน นั้นรวมกันเป็นอันเดียว และกระดูก Coccygeal vertebrae 4 อัน รวมกันเป็นอันเดียวเหมือนกัน ( เมื่ออายุประมาณ 25 ปี )



























ภาพที่ 1 แสดงส่วนประกอบของกระดูกสันหลัง
ที่มา : ยงยุทธ สิริปการ. ภาวะการอักเสบจากการติดเชื้อกระดูกและข้อ. 2544.




ลักษณะทั่วไปของกระดูกสันหลัง ( Structures of Vertebrae ) กระดูกสันหลังทั้ง 26 ท่อนนี้ เป็นกระดูกชนิดรูปแปลก และท่อนหนึ่ง ๆ มีรูปร่างและขนาดต่างกันมีส่วนประกอบส่วนใหญ่ที่คล้ายกัน 2 ส่วน คือ
1. บอดีย์ ( Body ) คือส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่รับน้ำหนักและมีหมอนรองกระดูก
( Intervertebral Disc ) เชื่อมระหว่าง บอดีย์ของกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น
2. อาร์ช ( Arch ) Vertebral arch หรือ Neural arch คือส่วนหลัง บางที Vertebral arch ไม่ติดกันเหลือเป็นช่องเนื่องจากการเจริญไม่ดี ทำให้ spinal cord ยื่นออกมาเป็นก้อนที่ข้างหลังเด็ก โดยมากตรงบริเวณกระดูกสันหลังตอนเอวกับก้นต่อกัน แต่อาจเป็นที่ตอนคอก็ได้ การที่เป็นเช่นนี้เรียกว่า Spina bifida
เมื่อส่วนของ Body กับ Vertebral arch มาบรรจบกันเกิดเป็นช่องหรือรูใหญ่เรียกว่า Vertebra foramen หรือ Spinal foramen สำหรับเป็นช่องให้ Spinal cord ผ่านไป ถ้า foramen เหล่านี้ มาต่อกันเข้าหลาย ๆ อัน เกิดเป็น Vertebral canal
กระดูกสันหลังท่อนหนึ่ง ๆ มี 7 แง่ คือ
1. Spinous process มี 1 แง่ คือแง่ที่ยื่นไปข้างหลัง
2. Transverse process มี 2 แง่ คือแง่ที่ยื่นไปข้าง ๆ ของกระดูกสันหลังข้างละ 1 แง่
3. Articular process มี 4 แง่ คือแง่ที่ยื่นไปข้างบน 2 แง่ เรียกว่า Superior articular process และอีก 2 แง่ยื่นลงไปข้างล่างเรียกว่า Inferior articular process สำหรับติดต่อกับกระดูกสันหลังท่อนที่อยู่ข้างบนและที่อยู่ข้างล่าง











ภาพที่ 2 แสดงส่วนประกอบของกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นในแนวด้านข้าง, ด้านล่างและด้านบน
ที่มา : วรภา สุวรรณจินดา และอังกาบ ปราการรัตน์. ตำราวิสัญญีวิทยา.2534.211
ข้อกระดูกสันหลังประกอบด้านหน้าเป็น intervertebral dics เป็นข้อประเภท synchondrondrosis ทางด้านหลังที่ facets ต่อกันเป็น synovial joint ระหว่าง lamina ของ spine แต่ละอันจะมี ligamentum flavum ยึดอยู่ และมี interspinous ligament ยึดระหว่าง spinous process ของกระดูกสันหลังที่ติดกันมี supraspinous ligament ยึดระหว่าง spinous process ตั้งแต่ฐานกะโหลกศีรษะส่วนท้ายทอยลงไปถึงกระดูก sacrum
ด้านหน้า body ของกระดูกสันหลังมี anterior longitudinal ligament ยึดอยู่ตลอดตั้งแต่ศีรษะลงไปถึง sacrum ป้องกันไม่ให้มี Hyperextension ด้านหลัง body ของกระดูกสันหลัง มี posterior longitudinal ligament ยึดตลอดตั้งแต่กะโหลกศีรษะไปถึงส่วนล่างของกระดูก sacrum เอ็นเหล่านี้ช่วยยึดให้กระดูกสันหลังแข็งแรง ให้ทรงตัวสถานะอยู่ได้
กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นมีรูปลักษณะแตกต่างกันเพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหว จำเพาะของสันหลังส่วนนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นกับ articular facet ผิวข้อ facet ของกระดูกคอชิ้นบน ๆ จำทำมุม 90 องศา กับแนวดิ่ง จึงทำให้คอบิดหมุนในแนวราบได้มาก ส่วนกระดูกคอชิ้นล่าง ๆ ผิวข้อ facet จะค่อย ๆ ลาดเอียงลงไปด้านหลังมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่จะทำมุมประมาณ 45-50 องศา จึงทำให้คอส่วนนี้มี flexion และ extension ได้มาก

กระดูกสันหลังตอนคอ ( Cervical vertebrae ) มี 7 ท่อน มีรูปลักษณะ คือ
1. ส่วน Body เล็ก แต่มี Vertebral arch ใหญ่
2. Spinous process สั้น ปลายแยกออกเป็น 2 แฉก นอกจาก Cervical vertebra ท่อนที่ 7 ที่มี Spinous process ยาว และปลายทู่ไม่แยกออกเป็น 2 แฉก อย่างท่อนอื่น ๆ (สำหรับให้ Ligamentum nuchae ยึดอยู่ )
3. ที่โคนของ Transverse process มีรูเรียกว่า Transverse foramen สำหรับให้ vertebral artery ผ่านไป







ภาพที่ 3 กระดูกสันหลังตอนคอ มองทางด้านบน
ที่มา : สนั่น สุขวัจน์.กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา.2535.100
1. กระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 1 เรียกว่า Atlas มีรูปลักษณะคล้ายวงแหวน ไม่มี Body และประกอบด้วย Anterior และ Posterior arch และ Lateral masses อยู่ 2 ข้าง ซึ่งมีพื้นบนมีรอยติดต่อกับ Condyle ของกระดูกท้ายทอย ทำให้ก้มศีรษะและเงยไปข้างหลังได้ ที่พื้นล่างมีรอยต่อกับกระดูกตอนคอท่อนที่ 2








ภาพที่ 4 กระดูกสันหลังตอนคอ ท่อนที่ 1 ชื่อ Atlas
ที่มา : สนั่น สุขวัจน์.กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา.2535.100

2. กระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 2 เรียกว่า Axis หรือ Epitropheus กระดูกนี้แปลกโดยที่พื้นบนของ Body มีเดือย เรียกว่า Odentoid process เดือยนี้สวมอยู่ในกระดูก Atlas ทำให้ศีรษะหมุนไปข้าง ๆ ได้ เป็นกระดูกที่แข็งแรงที่สุดในจำพวกของกระดูกสันหลังตอนคอ











ภาพที่ 5 กระดูกสันหลังตอนคอ ท่อนที่ 2 ชื่อ Atlas หรือ Epitropheus
ที่มา : สนั่น สุขวัจน์.กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา.2535.101

กระดูกสันหลังตอนอก ( Thoracic vertebrae ) มี 12 ท่อนกระดูกพวกนี้มีรูปลักษณะคือ Body ใหญ่แข็งแรงกว่าตอนคอมีรูปสามเหลี่ยมคล้ายหัวใจ และที่ข้าง ๆ ของ Body มีรอยสำหรับติดต่อกับหัวกระดูกซี่โครง ส่วน Arch นั้นเล็ก Transverse process หนาใหญ่ แข็งแรง และไม่มีรู ข้างหน้าของแง่นี้มีรอยต่อกับ Tubercle ของกระดูกซี่โครง Spinous process ยาวแหลมชี้ลงข้างล่างซ้อนกันอย่างเกล็ดปลาแต่ไม่แยกออกเป็น 2 แฉก
กระดูกสันหลังตอนอกจะมี rib ยื่นออกทางด้านข้างและต่อกับ Costal cartilage ซึ่งเชื่อกับ Sternum มีทั้งหมด 9-10 คู่ ส่วน rib ช่วงล่าง ๆ คือระดับ T 10-11-12 จะยื่นออกไปลอย ๆ เป็นที่ยึดจับของกล้ามเนื้อ ผิวข้อ Facet ของกระดูกสันหลังส่วนนี้จะเอียงลงมาจนเกือบอยู่ในแนวดิ่งคือทำมุม ประมาณ 60 องศา จึงบิดหมุนได้มากกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่น ๆ การหมุนของแต่ละคู่จะทำได้ 3-5 องศา แต่ทำ Flexion และ Extension ได้น้อย
กระดูกสันหลังตอนอกท่อนที่ 6 มองทางด้านบน
1. spinal foramen
2. lamina
3. spinous process
4. transverse process
5. superior articular
6. facet for tubercle of rib












ภาพที่ 6 กระดูกสันหลังตอนอก มองทางด้านบน
ที่มา : สนั่น สุขวัจน์.กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา.2535.101
กระดูกสันหลังตอนเอว ( Lumbar vertebral ) มี 5 ท่อน เป็นท่อนที่ใหญ่ที่สุดในจำพวกกระดูกสันหลัง ส่วน Body นั้นใหญ่ และหนากว่ากระดูกตอนอก Tranverse process ยาวเรียวไม่มีรอยต่อกับกระดูกซี่โครงไม่มีรู Spinous process ใหญ่ สั้นไม่แหลม Spinal foramen มีรูปสาม-เลี่ยม
กระดูกสันหลังตอนเอวท่อนที่ 2 มองทางด้านบน
P = pedicle
L = lamine








ภาพที่ 7 กระดูกสันหลังตอนเอวท่อนที่ 2 มองทางด้านบน
ที่มา : สนั่น สุขวัจน์.กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา.2535.100

กระดูกสันสันหลังตอนก้น ( Sacral vertebrae ) ในเด็กแยกเป็น 5 ท่อน แต่ในผู้ใหญ่ติดต่อกันเป็นแผ่นเดียว มีรูปสามเหลี่ยม ส่วนล่างโค้งไปข้างหน้า มีรูหลายรูอยู่ 2 ข้างของกระดูกนี้ เรียกว่า Sacral foramina สำหรับให้ Nerve ทอดผ่านไป ตั้งประกอบอยู่เป็นเบื้องหลังของอุ้งเชิงกราน ( Pelvic cavity )

กระดูกก้นกบ ( Coccygeal vertebrae ) เป็นกระดูกชิ้นเล็ก ๆ 4 ชิ้น แยกกันอยู่ในเด็ก ๆ แต่ในผู้ใหญ่อาจรวมติดกันเป็นแผ่นเดียว กระดูกนี้เป็นปลายสุดของกระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกสันหลัง ( Intervestebral disc ) เป็น Fibrocartilage ที่อยู่ระหว่าง Body ของกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่กันสะเทือนและช่วยการเคลื่อนไหวของสันหลัง dics ประกอบด้วย Nucleus pulposus ลักษณะคล้ายวุ้นตรงกลางล้อมรอบด้วย annulus fibrosus มีลักษณะเป็นเส้นเอ็นมีความเหนียวยืดหยุ่น เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวในแนว Flexion, Extension, Laterlal bending และ Rotation เกิดได้คล่องตัว

ไขสันหลังและเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง
ไขสันหลังเป็นส่วนต่อจากส่วนสมอง ซึ่งออกจากกะโหลกศีรษะบริเวณ foramen magnum ยาวลงมาจนถึงขอบล่างของกระดูก Lumbar vertebra อันที่ 1 บริเวณส่วนปลายของ Spinal cord เรียกว่า Cocus medullaris ตลอดความยาวของ Spinal cord จะมี nerve root ออกมาเป็นคู่ ๆ ตามระดับของกระดูก vertebra ซึ่งประกอบด้วย Cervical root 8 คู่ Thoracic 12 คู่ Lumbar 5 คู่ Sacral 5 คู่ โดยส่วนปลายของ Spinal nerve root นี้มีลักษณะคล้ายแส้ม้า เรียก cauda equina อยู่ที่บริเวณกระดูก Lumbar อันที่ 2 ลงมาจนถึงบริเวณกระดูก Sacrum
เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลังระดับคอจะไปเลี้ยงแขน กล้ามเนื้อหัวใจและหน้าอก ถ้าเป็นเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลังระดับเอวจะไปเลี้ยงขา ระบบขับถ่ายและระบบทางเดินปัสสาวะ
หน้าที่ของไขสันหลัง
1. เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของ Spinal reflex action ของลำตัวและแขนขา Reflex action นี้ การกระทำบางอย่างเร็วมาก เช่น เวลาฝุ่นพัดเข้ามาตาเราจะหลับตา reflex action จะช่วยป้องกันร่างกาย
2. สำหรับติดต่อระหว่างสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งหมดโดยใช้ไขสันหลังรับความรู้สึก จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วส่งไปที่สมองและจากสมองก็ส่งความรู้สึกกลับมาให้ไขสันหลัง เพื่อส่งไปให้อวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้น
3. สำหรับควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ที่มีประสาทไขสันหลังไปสู่หน้าที่เรียกว่า tropic function

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกระดูกสันหลัง ( Spinal artery )
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมี 3 เส้น คือ ด้านหน้ามี Anterior artery 1 เส้น ซึ่งมาจาก Vertebral artery ทั้ง 2 ข้าง ด้านหลังมี Posteral laterial artery ข้างละเส้น ซึ่งมาจากแขนงเส้นเลือดตามรากประสาท ( Redicular artery branch )
หลอดเลือดเหล่านี้ได้รับเลือดหล่อเลี้ยงจากหลอดเลือดแดง ของกระดูกสันหลัง (Vertebral arteries) ข้างบน และมีหลอดเลือดเล็ก ๆ แผ่ขยายไปสม่ำเสมอในหลาย ๆ ระดับของกระดูกสันหลัง ระหว่างกระดูกสันหลังระดับอกที่ 4 ถึงที่ 6 จะมีหลอดเลือดเส้นเล็ก ๆ และไม่ต่อเนื่องกันอยู่อันหมายถึงเป็นพื้นที่อันตรายที่อาจเกิด “ภาวะขาดเลือดมาเลี้ยง” ได้








 

Create Date : 30 กันยายน 2550
2 comments
Last Update : 3 ตุลาคม 2550 13:59:10 น.
Counter : 14486 Pageviews.

 

วันนี้มาวิชาการเชียว

 

โดย: กองพันทหารราบ 30 กันยายน 2550 15:44:51 น.  

 

คนที่ขี้เกียจนี่มีกระดูกสันหลังกี่ปล้องครับ.....อยากรู้จัง....เขาได้รับฉายาว่า..."สันหลังยาวน่ะ"

 

โดย: cm-2500 30 กันยายน 2550 23:49:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว




เราจักภูมิใจ...ในชีวิต

ถ้าโกรธกับเพื่อน.....มองคนไม่มีใครรัก
ถ้าเรียนหนักๆ.....มองคนอดเรียนหนังสือ
ถ้างานลำบาก.....มองคนอดแสดงฝีมือ
ถ้าเหนื่อยงั้นหรือ.....มองคนที่ตายหมดลม
ถ้าขี้เกียจนัก.....มองคนไม่มีโอกาส
ถ้างานผิดพลาด.....มองคนไม่เคยฝึกฝน
ถ้ากายพิการ.....มองคนไม่เคยอดทน
ถ้างานรีบรน.....มองคนไม่มีเวลา
ถ้าตังค์ไม่มี.....มองคนขอทานข้างถนน
ถ้าหนี้สินล้น.....มองคนแย่งกินกับหมา
ถ้าข้าวไม่ดี.....มองคนไม่มีที่นา
ถ้าใจอ่อนล้า.....มองคนไม่รู้จักรัก
ถ้าชีวิตแย่.....จงมองคนแย่ยิ่งกว่า
อย่ามองแต่ฟ้า.....ที่สูงเกินตาประจักษ์
ความสุขข้างล่าง.....มีได้ไม่ยากเย็นนัก
เมื่อรู้แล้วจัก.....ภาคภูมิชีวิตแห่งตน

Location :
นครสวรรค์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





When I miss you,I just close my eyes::ยามใดที่ฉันคิดถึงเธอ ฉันจะเจอเธอได้เพียงหลับตา

°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°




Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.