°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°

::บทที่ 10 พฤติกรรมของสัตว์ (behavior):: อัพ 15% เจ้าคร๊า






พฤติกรรมของสัตว์

พฤติกรรม (behavior) พฤติกรรมเป็นปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตตอบโต้ต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ พฤติกรรมเป็นผลจากการทำงานร่วมกันระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม พันธุกรรมจะเป็นผู้กำหนดระดับและขอบเขต ของการเจริญของส่วนต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อพฤติกรรม เช่น ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทที่เจริญซับซ้อนมากก็ย่อมมีพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนไปด้วย ส่วนสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในธรรมชาติ เป็นแบบแผนของการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่จึงเรียกการรับตัวนี้ว่า การปรับตัวทางด้านพฤติกรรม (behavioral adaptation) ซึ่งจะควบคู่ไปกับการปรับตัวทางด้านอื่นๆ ด้วยผลของการปรับตัว ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งที่อยู่ได้ดียิ่งขึ้น

การศึกษาพฤติกรรม
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกที่ได้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ ได้แก่ เพอร์นัว (F.A.V. Pernau) ปีพ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) โดยรายงานว่า สัตว์มีพฤติกรรมทั้งที่เป็นสัญชาตญาณและการเรียนรู้ ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) ได้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์และคนโดยการเปรียบเทียบทางด้านวิวัฒนาการ ต่อมา สพัลดิง (D.A. Spalding) ปี พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) ได้ศึกษาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแต่กำเนิดในนกนางแอ่น
ในช่วงปี พ.ศ. 2473 – 2493 (ค.ศ. 1930 - 1950) นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาพฤติกรรมอย่างมีระบบมากขึ้น โดยคาร์ล ฟอน ฟริสซ์ (Karl Von Frisch) ได้ศึกษาการสื่อสารและหาอาหารของผึ้ง คอนราด ลอเรนซ์ (Konrad Lorenz) ได้ศึกษาพฤติกรรมการฝังใจของห่านแคนาดา และนิโก ทินเบอร์เกน (Niko Tinbergen) ได้ศึกษาพฤติกรรมของปลาสติกเกิลแบค (stickleback fish) และนกนางนวลหลายชนิดผลงานของนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ท่านนี้ ก่อให้เกิดวิทยาศาสตร์สาขาใหม่คือ สาขาพฤติกรรมศาสตร์ (ethology) และในปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ท่านนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบลร่วมกัน ในสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ ทำให้การศึกษาพฤติกรรม โดยอาศัยกลไกทางสรีรวิทยาของสัตว์นั้นๆ ในปัจจุบันการศึกษาพฤติกรรมสัตว์ หรือพฤติกรรมศาสตร์ จะอาศัยความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ 2 สาขา คือ
1. การศึกษาทางสรีรวิทยา (physiological approach) โดยอธิบายพฤติกรรมในรูปแบบของลไกทางสรีรวิทยาของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกล้ามเนื้อ
2. การศึกษาทางจิตวิทยา (psychological approach) โดยการศึกษาถึงผลของปัจจัยต่างๆ รอบตัวทั้งภายในและภายนอกร่างกายสัตว์ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาและแสดงออกของพฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้
นักพฤติกรรมศาสตร์ (ethologist) คือ บุคคลที่ศึกษาทางด้านพฤติกรรม เพื่อหาสาเหตุของการเกิดพฤติกรรม การพัฒนาของพฤติกรรมรวมไปถึงการวิวัฒนาการของพฤติกรรมว่ามีความเป็นมาอย่างไร พันธุกรรมเกี่ยวข้องย่างไร

การศึกษาพฤติกรรมมีวิธีการดังนี้







รูปที่ 10-1 การศึกษาในสภาพธรรมชาติของนกนางนวล


1. การสำรวจในธรรมชาติ ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีการติดตามเฝ้าดู รวมไปถึงการติดอุปกรณ์สื่อสารไปกับตัวสัตว์ เพื่อที่จะได้ติดตามดูพฤติกรรมได้อย่างใกล้ชิด มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ โดยไม่ให้สัตว์รู้
2. การศึกษาในห้องทดลอง เป็นการศึกษาสัตว์ในห้องทดลองอาจใช้วิธีการเฝ้าดู โดยไม่ให้สัตว์เห็นแล้วจดพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันของสัตว์ในห้องทดลอง การศึกษาสรีรวิทยา เช่น ระบบประสาทโดยดูว่าระบบประสาทส่วนใดควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนไหน การฉีดฮอร์โมนบางชนิดให้กับสัตว์เพื่อดูพฤติกรรมของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เป็นต้น







รูปที่ 10-2 การศึกษาในห้องทดลอง



10.1 กลไกการเกิดพฤติกรรม

การเกิดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตจะต้องมีสิ่งมากระตุ้น (stimulus) แล้วสิ่งมีชีวิตนั้นตอบสนอง (respond) ต่อสิ่งกระตุ้น ซึ่งจะออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การวิ่ง การร้องไห้ การกินอาหาร การสืบพันธุ์ เป็นต้น สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. สิ่งเร้าภายนอก (external stimuli) คือสิ่งเร้าที่อยู่นอกตัวผู้แสดงพฤติกรรม เช่น อาหาร แสงสว่าง ความร้อน น้ำ สารเคมี เสียง แรงดึงดูดของโลก
2. สิ่งเร้าภายใน (internal stimuli) เป็นสิ่งเร้าที่อยู่ภายในตัวของผู้ที่แสดงพฤติกรรมเอง เช่น ความกระหาย ความหิว ความต้องการทางเพศ สิ่งเร้าเหล่านี้ เป็นผลจากการทำงานของระบบประสาทและระบบฮอร์โมน
ระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อ จะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรม โดยที่ระบบประสาท ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึก แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองหรือไขสันหลังเพื่อตอบสนองต่อไป ซึ่งเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้





รูปที่ 10-3 ไดอะแกรม แสดงการเกิดพฤติกรรม


ในสิ่งมีชีวิตขั้นต่ำ เช่น พวกโพรทิสต์ จะมีระบบประสาทที่ไม่ได้พัฒนาไปมากนัก เช่น มีเส้นใยประสานงาน (co – ordinating fibre) เท่านั้น ดังนั้น พฤติกรรมที่เกิดก็เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ ด้วย เช่น การเคลื่อนที่แบบไม่มีทิศทางของพารามีเซียม







รูปที่ 10 – 4 การตอบสนองของดอกไม้ทะเลเมื่อใช้วัตถุกระตุ้น

ในพวกซีเลนเทอเรต ระบบประสาทพัฒนาไปบ้าง แต่ก็ไม่มากโดยระบบประสาท เป็นข่ายใยประสาท (nerve net) ทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสประสาท จึงไม่มีทิศทางแน่นอน พฤติกรรมก็เป็นแบบง่ายๆ เช่นเดียวกับพวกโพรทิสต์ ส่วนในส่งมีชีวิตชั้นสูง มีระบบประสาทที่พัฒนาไปมากทั้งในส่วนของอวัยวะรับความรู้สึกและอวัยวะตอบสนอง ดังนั้น พฤติกรรมจึงมีความสลับซับซ้อนว่าพวกแรกมาก สัตว์ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นย่างเดียวกัน อาจแสดงพฤติกรรมเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะของสัตว์ในขณะนั้นๆ เช่น อายุ เพศ ความเจริญของระบบประสาทและกล้ามเนื้อรวมไปถึงมูลเหตุจูงใจด้วยว่ามากน้อยขนาดไหน อวัยวะรับความรู้สึกแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
(1) รับความรู้สึกจากภายนอก (exteroceptor) โดยรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น ตารับแสง หูรับเสียง จมูกรับกลิ่น ผิวหนังรับอุณหภูมิ เป็นต้น
(2) รับความรู้สึกจากภายใน (interoceptor) โดยรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายใน เช่น ความรู้สึกกระหาย ความรู้สึกหิว ความรู้สึกต้องการทางเพศ
(3) รับการกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก (propioceptor) พวกนี้ช่วยทำให้เราทราบตำแหน่งของร่างกายว่าอยู่อย่างใด ได้แก่ อวัยวะที่ทำหน้าที่ทรงตัวในหู รวมทั้ง ตัวรับความรู้สึกที่อยู่ในกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อด้วย
สำหรับหน่วยตอบสนองนั้นก็เป็นหน่วยที่แสดงออกขงพฤติกรรม ซึ่งระดับความเจริญและพัฒนาของระบบตอบสนองก็จะสัมพันธ์กับหน่วยรับความรู้สึก และระบบประสาทส่วนกลาง กล้ามเนื้อเป็นหน่วยตอบสนองในสัตว์ทั่วๆ ไป ส่วนในพวกโพรทิสต์ ไม่มีกล้ามเนื้อ แต่ก็อาศัยอวัยวะอื่นทำหน้าที่แทน เช่น ซีเลีย แฟลเจลลา หรือการไหลเวียนของโพรโทพลาซึมในพวกอะมีบา (moebiod movement) การตอบสนองมักจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและการเคลื่อนที่เสมอ
ในการแสดงพฤติกรรมของสัตว์ต้องมีสิ่งเร้ามากระตุ้น สัตว์จะแสดงพฤติกรรมเมื่อมีเหตุจูงใจ (motivation) ให้แสดงพฤติกรรมนั้น ๆ เหตุจูงใจคือ ความพร้อมในร่างกายสัตว์ เช่น ความหิว ความกระหาย ความต้องการทางเพศ เหตุจูงใจจะทำงานร่วมกับปัจจัยภายในร่างกายของสัตว์อีกหลายประการ เช่น สุขภาพ ระดับฮอร์โมน ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่สัตว์ได้รับ เหตุจูงใจตามปกติต้องสูงพอประมาณ เช่น ร่างกายขาดน้ำเนื่องจาเสียเหงื่อมากจะมีผลไปกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ให้เกิดการกระหายน้ำในขณะเดียวันสมองก็สั่งการไปหน่วยปฏิบัติการ (effector) ให้เดินหาน้ำละเมื่อพบน้ำก็จะดื่มทันที ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมคือ น้ำ และความพร้อมของร่างกายสัตว์ทำให้สัตว์ปลดปล่อยพฤติกรรมออกมาได้ คือ พฤติกรรมการดื่มน้ำและเรียกตัวกระตุ้นนี้ว่า ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (releasing stimulus) ส่วนกระแสประสาทที่ไวต่ตัวกระตุ้นปลดปล่อยนี้เรียกว่า กลไกการปลดปล่อยพฤติกรรม (releasing mechanism) โดยทั่วไปเหตุจูงใจและตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะเป็นปฏิภาคผกผันกัน คือ ถ้าเหตุจูงใจสูงสัตว์จะแสดงพฤติกรรมได้โดยตัวกระตุ้นปลดปล่อยไม่ต้องสูงมากนัก ในทางตรงกันข้ามถ้าเหตุจูงใจต่ำ ตัวกระตุ้นปลดปล่อยต้องสูงมากจึงจะแสดงพฤติกรรมได้ เช่น
สัตว์อิ่ม (เหตุจูงใจต่ำ) เมื่อนำอาหารธรรมดา (ตัวกระตุ้นปลดปล่อยต่ำ) มาให้สัตว์กินสัตว์ไม่แสดงพฤติกรรมกินอาหาร แต่ถ้าเป็นอาหารชนิดพิเศษ (ตัวกระตุ้นปลดปล่อยสูง) สัตว์แสดงพฤติกรรมการกินอาหารได้
สัตว์หิว (เหตุจูงใจสูง) เมื่อนำอาหารธรรมดา (ตัวกระตุ้นปลดปล่อยต่ำ) มาให้สัตว์กินสัตว์ก็สามารถแสดงพฤติกรรมการกินอาหารได้






บรรณานุกรม



ประสงค์ & จิตเกษม หลำสะอาด.คู่มือ ชีววิทยา เล่ม 3(2544).โรงพิมพ์ เพิ่มทรัพย์ การพิมพ์.




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2550
15 comments
Last Update : 11 ตุลาคม 2550 12:01:40 น.
Counter : 7567 Pageviews.

 

เพิ่งเข้ามาอ่านครับ
คงจะต้องตามอ่านบทแรกๆ
ขอบคึณครับ
อ่านไม่ไคร่เห็นเลย

 

โดย: ลุงกฤช IP: 203.113.67.71 3 ตุลาคม 2550 20:12:43 น.  

 

ดีจังเป็นเนื้อหาที่กำลังเรียนพอดีเลยค่ะ แต่ถ้ามีรูปภาพประกอบคงจะดีกลัวนี้นะค่ะ

 

โดย: เด็กอุดร IP: 203.172.214.237 15 พฤศจิกายน 2550 12:39:12 น.  

 

น่ารักมมากกกกกกกกกก

 

โดย: ทารา IP: 202.28.77.31 4 ธันวาคม 2550 13:00:24 น.  

 

ได้สาระดีดีมากมายเลย thanks

 

โดย: คนสวย IP: 202.149.25.241 23 กรกฎาคม 2551 23:17:01 น.  

 

ดีจัง


ป๊อป


เฟิร์น


เจน


อุ้ม


minnie-ok@hotmail.com

 

โดย: 8'l;p IP: 117.47.64.219 25 กรกฎาคม 2551 19:03:28 น.  

 

เราอยากได้
การเครื่อนที่เข้าหาและหนีแสง
การเครื่อยที่เข้าหาความชื้น
อุณหภูมิที่ส่งผลต่อสัตว์
การจับคู่ผสมพันธ์
และอื่นๆ
อ่ะ
มีป่ะเราจะเอาไปส่งครู
หาไม่ได้เลยอ่ะ

 

โดย: เด็ก สระบุรี IP: 222.123.166.175 9 สิงหาคม 2551 17:36:20 น.  

 

หนังสือนี้พิมพ์ พศ ไหนคะ

 

โดย: ตอบด่วนนะคะ IP: 119.42.77.149 8 มีนาคม 2552 10:12:25 น.  

 

น่ารักจังเลย

 

โดย: แหม่ม IP: 58.147.57.32 14 มิถุนายน 2552 11:33:38 น.  

 

งง งง งง ..............................

 

โดย: มิวผู้หวังดี IP: 118.173.35.26 5 กรกฎาคม 2552 16:27:22 น.  

 

น่าร๊าก...............

 

โดย: ฟีลา IP: 118.173.207.131 5 สิงหาคม 2552 20:59:28 น.  

 

ชีวะนี่ง่ายแต่ต้องจำ

 

โดย: บีบี้ IP: 125.27.247.248 20 มกราคม 2553 22:16:00 น.  

 

คนหลายใจ ชื่อว่าก้อง

 

โดย: ... IP: 125.27.247.248 20 มกราคม 2553 22:18:36 น.  

 

คิดว่าหล่อเหรอจะอวกบ้าชะมัด

 

โดย: 555+++++++++++++ IP: 125.27.247.248 20 มกราคม 2553 22:19:34 น.  

 

น่าจะเปลี่ยนแบร็คกราวใหม่ดูแล้วลายตามากเยย แต่เนื้อหาดีแล้ว อืม น่าจาเน้นตรงที่เป็นหัวข้อด้วยจะดีมาก

 

โดย: ผู้หวังดี IP: 58.9.92.90 2 กันยายน 2553 19:37:00 น.  

 

ดีจังมีความรู้มากขึ้น จากการอ่านค่ะ

 

โดย: nana IP: 27.55.108.88 8 ตุลาคม 2557 18:30:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว




เราจักภูมิใจ...ในชีวิต

ถ้าโกรธกับเพื่อน.....มองคนไม่มีใครรัก
ถ้าเรียนหนักๆ.....มองคนอดเรียนหนังสือ
ถ้างานลำบาก.....มองคนอดแสดงฝีมือ
ถ้าเหนื่อยงั้นหรือ.....มองคนที่ตายหมดลม
ถ้าขี้เกียจนัก.....มองคนไม่มีโอกาส
ถ้างานผิดพลาด.....มองคนไม่เคยฝึกฝน
ถ้ากายพิการ.....มองคนไม่เคยอดทน
ถ้างานรีบรน.....มองคนไม่มีเวลา
ถ้าตังค์ไม่มี.....มองคนขอทานข้างถนน
ถ้าหนี้สินล้น.....มองคนแย่งกินกับหมา
ถ้าข้าวไม่ดี.....มองคนไม่มีที่นา
ถ้าใจอ่อนล้า.....มองคนไม่รู้จักรัก
ถ้าชีวิตแย่.....จงมองคนแย่ยิ่งกว่า
อย่ามองแต่ฟ้า.....ที่สูงเกินตาประจักษ์
ความสุขข้างล่าง.....มีได้ไม่ยากเย็นนัก
เมื่อรู้แล้วจัก.....ภาคภูมิชีวิตแห่งตน

Location :
นครสวรรค์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





When I miss you,I just close my eyes::ยามใดที่ฉันคิดถึงเธอ ฉันจะเจอเธอได้เพียงหลับตา

°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°




Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
3 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.