รถตู้ วินรถตู้ เวลารถตู้ รถโดยสาร รถตู้โดยสาร รถตู้ กรุงเทพ ตารางเวลา คิวรถตู้ หมดกี่โมง จอดที่ไหน วินอยู่ไหน อนุสาวรีย์ชัย รังสิต ฟิวเจอร์ปาร์ค กี่ชั่วโมง เบอร์โทร ตารางรถตู้ หมอชิต เอกมัย นครชัยทัวร์ ท่ารถตู้ บางนา 2564 2565 2566 เที่ยวแรก เที่ยวสุดท้าย รถตู้โดยสาร เวลารถตู้ อนุสาวรีย์ หมอชิต2 หมอชิตใหม่ สนามบิน สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ขนส่ง บขส ท่ารถตู้ 2022 2021 เวลาเดินรถตู้ รถนครชัย รถมินิบัส เวลาเดินรถมินิบัส ใบเวลา จุดขายตั่ว
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 กรกฏาคม 2561
 
All Blogs
 
วงการ eSports ไทย ทำยังไงถึงจะไม่ ‘GG’ : คุยกับทีมผู้เล่น RoV ชาวไทยฝีมือไกลระดับโลก



  • บทสัมภาษณ์บางส่วน คัดมาตั้งแต่การสัมภาษณ์ก่อนที่ทั้งสองทีมจะเดินทางไปแข่งที่ประเทศเวียดนาม และบทสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่ทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จะบรรจุให้ eSports กลายเป็นกีฬา

The MATTER : หลังจากได้รับตำแหน่งแชมป์ ความรู้สึกที่มีต่อการเล่นเกมของพวกคุณเปลี่ยนไปไหม

Cherie : ผมรู้สึกขอบคุณเกม เพราะมันทำให้เราได้รับชื่อเสียง ได้รับรางวัล ได้มีโอกาสที่ชีวิตหนึ่งไม่รู้จะเกิดขึ้นอีกไหม จะมีสักกี่ครั้งคนเราไปคว้าแชมป์ในต่างประเทศ

Miffy : ถ้าในเรื่องของความสนุก ก็คงจะไม่แตกต่างจากก่อนได้แชมป์มากมายนัก แต่เรื่องของความสุข มันมีความสุขมากขึ้นเยอะเลยค่ะ การได้รับการยอมรับจากผู้เล่นในเกมด้วย มีคนเข้ามาขอเทคนิคในการเล่นว่าเล่นยังไงให้เก่งๆ เยอะมาก

The MATTER : อะไรที่ผู้เล่นไทยได้เปรียบหรือแตกต่างจากชาติอื่นในการแข่งขันครั้งนี้

Cherie : สิ่งที่ผู้เล่นไทยได้เปรียบ เป็นแรงเชียร์ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กสองแสนกว่าคน และคุณภาพของผู้เล่นไทยด้วยครับ

Miffy : กองเชียร์ของเราสำคัญมากนะคะ เพราะในเวลานั้นเราเสียเปรียบเจ้าภาพ ซึ่งก็คือเวียดนามที่คนเชียร์ถึงขอบสนามเยอะมาก แต่เราก็ได้แรงเชียร์จากคนในประเทศไทย ส่งแรงเชียร์ผ่าน stream ทางเฟซบุ๊กหรือแพลตฟอร์มอื่นๆ เยอะมาก! เกือบสองแสนคน คอยให้กำลังใจและเชื่อว่าเราจะพาประเทศไทยไปสู่อันดับหนึ่งของการแข่งขันครั้งนี้ได้

The MATTER : เห็นอะไรบ้างในการจัดงานชิงแชมป์ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เพิ่งจะมีการจัดอีเวนต์ใหญ่ของ DOTA ไปไม่นาน

Cherie : เป็นงานที่ใหญ่มาก กองเชียร์เขาเชียร์กันมันมาก สนุกมาก และตอนเราขับรถไปพอใกล้ๆ ถึง ตลอดทางจะมีการโปรโมตว่ามีแข่งขันรายการนี้

Miffy : เห็นว่าการแข่งขัน eSports ในต่างประเทศมีคนให้ความสนใจเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน ผู้ชมก็มีแทบทุกวัย วัยรุ่นไปจนถึงวัยกลางคนก็มี และที่สำคัญ เราไม่เคยเห็นคนไทยจำนวนเกือบสองแสนช่วยกันส่งกำลังใจเชียร์ทีม eSports ของประเทศไทยในรอบชิงมากขนาดนี้มาก่อน

The MATTER : ทีม Monori Bacon มีเคล็ดลับอะไรในการสร้างทีมให้ประสพความสำเร็จ

Cherie : ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการสื่อสารความสามัคคี และเราอยู่กันเหมือนครอบครัวมีความมีระเบียบวินัยในการซ้อม

Miffy : มันควรเริ่มต้นจากการดูผู้เล่นจากฝีมือ ต่อมาคือดูว่าเขาสามารถรับฟังความเห็นของคนในทีมได้รึเปล่า ลองมาเล่นด้วยกันว่าลักษณะนิสัยเข้ากันได้ไหม และสุดท้ายที่ทำให้เราเชื่อใจกันมากขนาดนี้เพราะเราอยู่กันเหมือนครอบครัว ถ้าทำผิด ตักเตือนได้ ไม่ผิดใจกัน พูดกันตรงๆ มากกว่าจะอ้อมค้อม

สิ่งที่ผู้เล่นไทยได้เปรียบ เป็นแรงเชียร์ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กสองแสนกว่าคน และคุณภาพของผู้เล่นไทยด้วยครับ

The MATTER : คุณมีการเปลี่ยนชื่อทีมหลายครั้ง เพราะอะไร เกี่ยวกับการรวมทีมหรือการได้สปอนเซอร์ไหม

Miffy : เริ่มแรกเลยคือ ทีมเราใช้ชื่อว่า Bacontime  ค่ะ เพราะว่าเรามักจะนัดเจอกับคนในทีมเพื่อพูดคุย วางแผนที่ร้านปิ้งย่าง หมูกระทะ เสียส่วนใหญ่ จนเราได้เริ่มเข้าแข่งขันทัวร์แรกโดยใช้ชื่อ Bacontime เราก็ได้เป็นแชมป์ของทัวร์นั้น หลังจากนั้นก็ไปติดต่อขอสปอนเซอร์กับ 1st E-sport  ลงแข่งทัวร์ที่ 2 โดยใช้ชื่อ 1st Bacon ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ก็มี Monori ติดต่อมาเพื่อให้การสนับสนุนทีม ซึ่งเขาเป็นใคร ผลิตภัณฑ์อะไรยังบอกตอนนี้ไม่ได้เพราะเขายังไม่เปิดตัว แต่เข้ามาสนับสนุนเรื่องของค่าใช้จ่ายในการไปแข่งขัน เราจึงเปลี่ยนไปใช้ Monori Bacon ในการลงแข่งทัวร์ล่าสุดที่เวียดนาม

The MATTER : มีการค่อนขอดว่า RoV แข่งอยู่กันแค่ไม่กี่ประเทศ (3 ประเทศ) ทีนี้แผนการของทีมจะทำยังไงต่อเพื่อไปให้ได้ไกลกว่านี้

Cherie : ผมคิดว่าในอนาคตต้องมีประเทศอื่นเพิ่มขึ้นมาแน่ๆ ทีมเราก็คงจะฝึกซ้อมอย่างงี้ไปเรื่อยๆ ก่อน

Miffy : จริงๆ เกม RoV พึ่งเปิดในประเทศไทยได้ไม่นานมาก และกำลังจะเปิดให้บริการในอีกหลายประเทศ เช่น เกาหลี อินโดนีเซีย อเมริกา คาดว่าในอนาคต จะมีการจัดการแข่งขันระดับ world championship แน่นอน ส่วนทีมของเราก็ยังจะคงพัฒนาต่อไป ปรับตัวตามแพทช์ของเกมที่เปลี่ยนแปลงไป มีวินัยในการฝึกซ้อม และหาข้อผิดพลาดของทีมเพื่อนำไปแก้ไข

The MATTER : คนส่วนใหญ่จะรู้จักเกมแนว MOBA จาก League of Legend หรือ DOTA ที่เล่นบนคอมพิวเตอร์ แต่ RoV กลับเป็น MOBA ที่ต้องเล่นบนสมาร์ทโฟน มันแตกต่างกันยังไงบ้าง

Coupe : มันเร็วกว่าน่ะครับ ด้วยความเร็วของรูปแบบเกม

Lazio : สำหรับผม ที่จริงมันก็แทบจะไม่ต่างกันนะครับ คือทั้งบน PC หรือโทรศัพท์ก็ใช้ผู้เล่น 5 คนเหมือนกัน ใช้ความร่วมมือกัน แค่ในโทรศัพท์มันเร็วกว่า อาจจบเกมได้ภายใน 5-10 นาที ถ้าแผนดีก็จะจบได้ไว ซึ่งคล้ายกับใน PC แต่บน PC อาจใช้เวลา 15-20 นาทีในการจบ

Miffy : พอเกมเร็วก็เหมือนกับว่ามันทำให้เราใช้สมองมากขึ้น ต้องคิดมากกว่าเดิม สื่อสารกันเร็วมากขึ้นกว่าเดิม

Cherie : โดยส่วนตัวคิดว่ามันไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่ เพราะว่าเล่นเกมมาเยอะ

Minori Bacon

The MATTER : สมาร์ทโฟนดูเป็นพื้นที่ที่ไม่น่าจะจริงจังได้ ดูคล้ายเกมแบบ ‘อดิเรก’ มากกว่า มันจะสามารถเอาจริงเอาจังได้แค่ไหน

Cherie : มันก็มีได้อยู่นะครับ เพราะว่า RoV ก็คนสนใจกันเยอะ เข้าถึงได้หลากหลายช่วงอายุ อย่างเพื่อนแม่ผมก็เล่น

Coupe : มีเพื่อนที่เล่น DOTA ด้วยกันพูดว่า “เรามาถึงจุดที่ต้องแข่ง MOBA ผ่านมือถือแล้วหรอ” แต่จริงๆ มันก็เกมเหมือนกัน ก็ MOBA เหมือนกัน ก็เป็นผู้เล่น 5 คน มันก็เหมือนปกตินะ สุดท้ายพอกระแสมันดังขึ้น ความคิดก็เปลี่ยน

The MATTER : ดูจากอายุ พวกคุณแทบทุกคนน่าจะทันตั้งแต่ยุคแรกของเกมออนไลน์อย่าง Ragnarok Online เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรของมันบ้างในวงการแข่งขันเกม

Coupe : การแข่งขันมันค่อนข้างสูง แล้วก็เงินรางวัลก็มีมากขึ้น แต่ถ้าเทียบกับต่างประเทศ ก็ยังนับว่าไม่สูง

The MATTER : ก่อนหน้านี้คุณเคยออกไปแข่งในสนามต่างประเทศบ้างไหม อะไรบ้างที่ชาติไทยยังไม่มี แล้วสิ่งนั้นจำเป็นแค่ไหน

Coupe : เคยครับ เป็นรายการระดับโลก แต่จัดที่ไทยนี่แหละเพราะเป็นโซน South East Asia และเป็นเกมอื่นด้วย คือ Heroes of the Storm ของค่าย Blizzard Entertainment ความแตกต่างระหว่างเรากับผู้เข้าแข่งขันชาติอื่น ที่ต่างชัดมากเลยคือการยอมรับจากทางภาครัฐ เพราะมันจะทำให้คนเล่นเกมไม่ถูกมองเป็นแค่คนเล่นเกม ติดเกม หรือจะมองแค่ว่า “ได้แชมป์แล้วยังไง สุดท้ายก็ต้องกลับมาทำงานประจำ มาหาเงินอยู่ดี เล่นเกมมันไม่รอดหรอก” ซึ่งแตกต่างจากหลายประเทศที่สามารถเล่นเกมเพื่อเลี้ยงชีวิตได้ อย่างประเทศเกาหลีใต้ เขาเล่นเกมเป็นอาชีพได้ตั้งแต่อายุ 14-15 ปี ยาวไปจนถึงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นก็ยังเป็นโค้ช หรืออยู่ในวงการเกมได้อยู่ดี มีรายได้เพียงพอ ชาติเราไม่สามารถทำได้

ความแตกต่างระหว่างเรากับผู้เข้าแข่งขันชาติอื่น ที่ต่างชัดมากเลยคือการยอมรับจากทางภาครัฐ เพราะมันจะทำให้คนเล่นเกมไม่ถูกมองเป็นแค่คนเล่นเกม ติดเกม

The MATTER : การเล่นเกมนี่มันสนุกอย่างเดียวไม่พอไช่ไหม แล้วเริ่มรู้สึกแบบนั้นตั้งแต่เมื่อไหร่

Cherie : สำหรับผม สนุกอย่างเดียวไม่พอครับ ราว 6 ปีที่แล้ว เพราะตอนนั้นเราคิดว่าต้องจริงจังกับชีวิตมากขึ้น ไม่เหมือนช่วงมัธยมที่เล่นสนุกไปวันๆ มีพ่อแม่คอยให้เงิน แต่พอโตมาเราก็ต้องหางาน หาเงินมาใช้ ต้องนู่นนี่นั่น ดังนั้นเมื่อการเล่นเกมมันเป็นการใช้เวลาของเราไป มันก็ต้องมีอะไรมากกว่าคำว่าสนุก เพราะเราอยากได้เกมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่การเล่นไปวันๆ เหมือนเอาชีวิตไปทิ้ง ไม่ได้ผลตอบแทนอะไร มันก็เปล่าประโยชน์

Lazio: เกมมันไปได้มากกว่านั้น มันสามารถเลี้ยงดูเราได้ เป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถหารายได้จากมันได้เหมือนกัน

The MATTER : ต้องเล่นเก่งขนาดไหนถึงพ้นคำว่า ‘เด็กติดเกม’ เพราะอย่างนักกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอส เขาก็ต้องใช้เวลากับการเตะบอลการซ้อมเยอะ ก็ติดเหมือนกันนี่นา อะไรคือเส้นแบ่งว่าเราเป็นโปรกับเราแค่เล่นเกมเยอะ

Lazio : ติดเกมหรือไม่ติด มันอาจต้องดูกันที่เป้าหมาย ถ้าเล่นสนุกไปวันๆ ก็อาจบอกได้ว่าติดเกม แต่ถ้ามีเป้าหมายคือการแข่งขัน ก็คือติดเกมเพราะมีเป้าหมาย มันต่างกันนะ

The MATTER : ถ้าแค่อยากเล่นเกมเก่งเฉยๆ นี่มันติดเกมไหม

Lazio: ก็อาจอยู่ในหมวดติดได้เหมือนกัน ต่างนิดนึงตรงที่ว่าอยากเก่งแล้วแบ่งวลาได้ดีไหม ถ้าเก่งจริงแต่เล่นเกมทั้งวันก็คือติดแหละ เสียเวลา เสียเงิน เสียความรับผิดชอบไป

The MATTER : ถ้าสนุกอย่างเดียวไม่พอ ทุกวันนี้ยังต้องการอะไรอีก

Cherie : อยากให้สังคมยอมรับ และเรื่องรายได้

ทีม Black Forest

The MATTER : มันเกิดได้จริงเหรอ กับประเทศที่ตอนนี้กลุ่มที่พอจะบอกได้ว่า ‘เล่นเกมเป็นอาชีพ’ ซึ่งมีเพียงหยิบมือ และยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าค่าตอบแทนที่ได้มันเกินค่าแรงขึ้นต่ำหรือยัง

Coupe : ยังไม่เกิน

Cherie : ส่วนใหญ่ก็จะได้ตอนที่แข่ง ซึ่งก็คิดเป็นรายการแยกออกไป เฉลี่ยก็ 2-3 เดือนครั้งนึง

The MATTER : ไม่รู้สึกถอดใจหรือ

Cherie: ไม่ถอดใจนะ แต่รู้สึกอิจฉาต่างประเทศมากกว่า ว่าทำไมเราไม่เกิดในประเทศที่เขาสนับสนุนหว่า

Coupe: ใช่ รู้สึกคล้ายกันว่าเกิดผิดประเทศ คนที่เล่นมาระดับหนึ่งคงคิดยังงี้ทุกคน คือเราไม่น่าอยู่ที่นี่เลย

The MATTER : แสดงว่าคุณมั่นใจในฝีมือของตัวเอง

Lazio : ก็ระดับนึงนะ (หัวเราะ)

The MATTER : ช่วงนี้เราจะเห็นว่ามีข่าวเกี่ยวกับ eSports อยู่บ่อยๆ หรืออย่างการเข้ามาของบริษัท Garena ดูเป็นสัญญาณหนึ่ง อินเทอร์เน็ตเองก็พัฒนาขึ้น คอมพิวเตอร์ก็ทันสมัยขึ้น พวกคุณก็เป็นผู้เล่นที่พูดได้ว่าอยู่ในระดับสูง ได้เป็นตัวแทนประเทศไปแข่งในเวทีระดับทวีป วางแผนชีวิตกับ eSports ยังไง

Miffy : เราคงมองไปสู่ประเทศต่างๆ ตราบใดที่ยังมีทัวร์ก็จะแข่งไปเรื่อยๆ เล่นต่อไปเรื่อยๆ

Coupe : ใช่ ก็คงจะหาทางเข้าไปสู่ Professional League ต่อไป

ผมมองว่าประเทศไทยเริ่มช้าไป ตอนนี้ในทีมผมเด็กสุดคืออายุ 18 ปี เก่งระดับเคยเป็นอันดับหนึ่งของเซิร์ฟเวอร์ แต่ผมคิดว่าก็ยังเริ่มช้าไปอยู่ดี มันควรจะเริ่มสัก 16 ปี อย่างที่บอกว่าในประเทศเกาหลี อายุ 14-15 เขาก็เป็นโปร

The MATTER : วัยมีผลต่อการเล่นเกมไหม

Coupe : มีนะครับ อายุมากขึ้นความดุดันในการเล่นอาจน้อยลง แต่มีความรอบคอบมากขึ้น

The MATTER : ก็แสดงว่าดีน่ะสิ

Coupe : ไม่ทุกอย่าง เพราะอายุเยอะขึ้นก็ทำให้เราช้าลง อย่างผมเริ่มเล่น HoN ตอนอายุ 18 ปี ช่วงนั้นทีมต่างประเทศเราสามารถสู้ได้หมดเลยนะ แต่ตอนนี้ผ่านมา 9 ปีแล้วมันก็เริ่มไม่ไหวแล้ว ในความคิดผม อายุสัก 30-32 ก็น่าจะสุดๆ แล้วสำหรับร่างกายกับการเล่นเกม อย่างรุ่นพี่บางคนที่เคยเก่งมาก เป็นผู้เล่นระดับท็อปเลยในสมัยนึง พอหลังจากอายุ 30 เขาก็ไม่ได้เก่งเหมือนตอนนั้นอีกแล้ว

The MATTER : ถึงจะแย่แต่ก็ดูว่าสถานการณ์ eSports ในประเทศไทยดูเหมือนจะดีขึ้น เด็กที่เกิดยุคนี้ก็น่าจะมีความหวังขึ้นไหม

Coupe : ผมมองว่าประเทศไทยเริ่มช้าไป ตอนนี้ในทีมผมเด็กสุดคืออายุ 18 ปี เก่งระดับเคยเป็นอันดับหนึ่งของเซิร์ฟเวอร์ แต่ผมคิดว่าก็ยังเริ่มช้าไปอยู่ดี มันควรจะเริ่มสัก 16 ปี อย่างที่บอกว่าในประเทศเกาหลี อายุ 14-15 เขาก็เป็นโปร หรือถ้าไม่ ก็ต้องเริ่มเล่นอย่างมีเป้าหมาย แต่เด็กอายุ 14 บ้านเรายังเล่นแบบเด็กร้านเกมอยู่เลย เล่นไปวันๆ ไม่มีเป้าหมาย เปิดไมโครโฟนด่ากันอย่างเดียว (หัวเราะ)

The MATTER : ว่ากันว่า eSports ไทยไม่ค่อยเกิดก็เพราะวินัยของตัวผู้เล่นเอง แพ้หน่อยก็ฝ่อ ไม่เข้ารอบก็เลิก คุณเถียงไหม

Cherie : จิตใจไม่เข้มแข็งนี่จริงมาก เพราะอย่างทีมแข่ง ถ้าเกิดแข่งแล้วได้อันดับไม่ดี ก็มักจะมีปัญหาทีมแตก ไม่สู้ต่อ เลิกเล่น เกิดขึ้นเยอะมากในหลายเกม แต่ส่วนตัวผมคิดว่าเขาคงไม่ได้สนิทกันด้วย คุยกันนิดหน่อยก็แตกกัน แล้วก็เปลี่ยนทีมไปเรื่อย

Lazio : มันเป็นภาพรวมที่คนอื่นอาจจะเห็น แต่อย่าลืมว่ามันก็มีอีกด้าน คนที่แพ้แต่ยังมีไฟ ซ้อมหนักเพื่อชัยชนะมันก็มี แต่ไม่มีใครไปเจาะจงมองด้านนั้น สื่อตีแผ่แค่เด็กติดเกม อะไรก็โทษเกมไปหมด ก็ไม่แปลกที่จะมีแต่ภาพลบออกไป

Coupe : คนเตะบอลทั้งประเทศ แต่ติดทีมชาติกี่คน

Lazio : ใช่ มันก็คล้ายวงการกีฬา อย่างฟุตบอล ตอนที่ยังไม่มีไทยลีก คนก็มีคำถามว่าเตะบอลไปเพื่ออะไร เพื่อติดทีมชาติเหรอ แต่พอมีไทยลีกขึ้นมา คนก็มีเป้าหมายขึ้นว่าเขาเตะบอลเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพ มีที่ทางสำหรับสิ่งที่เขารักและทำได้ดี และเขารู้แล้วว่าเขาเตะบอลไปเพื่ออะไร จากจุดที่เคยเล็กมากมันก็กลายเป็นกว้างขึ้น ตอนนี้ eSports ยังเป็นจุดเล็กๆ อยู่ แต่ทำไมมันจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าในอนาคตมันจะใหญ่ขึ้น ไม่แน่ว่ามันอาจจะใหญ่กว่าฟุตบอล ค่าตัวนักกีฬาอาจมากกว่านักบอลก็ได้นะ

ทีม Minori Bacon

The MATTER : ผู้ใหญ่ชอบมองว่าเกมเป็นเรื่องของเด็ก คุณคิดว่ายังไงกัน

Lazio : ผมมองว่ามันก็เป็นเรื่องของทั้งคู่นะ

Coupe : ผมคิดว่าผู้ใหญ่ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย อย่างบางครอบครัว เด็กมีความสามารถแต่ครอบครัวกลับไม่สนับสนุน เพราะค่านิยมคนไทยคือ ลูกต้องเป็นหมอ กำหนดให้ลูกต้องเลือกไปทางนั้น เพราะรู้ว่าลูกเล่นไปสักวันก็ต้องออกไปทำงานอื่นๆ อยู่ดี เกมไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งที่จริงเราก็โทษพ่อแม่เหล่านี้ไม่ได้ เขาก็ต้องห่วงลูก แต่ถ้ามันเป็นอาชีพได้ เขาก็อาจจะโอเคก็ได้นะ ตรงนี้ผู้ใหญ่ในประเทศจึงควรต้องมีการสนับสนุนอย่างชัดเจน

The MATTER : อยากให้ผู้ใหญ่สนับสนุนอย่างชัดเจนในรูปแบบไหน

Coupe : ต้องให้เหมือนกีฬาประเภทอื่น ที่ได้รับเงินเดือน มีสวัสดิการ สนับสนุนงบให้ไปแข่งในต่างประเทศ มีงบประมาณต่างๆ ให้

Lazio : ผมว่าผู้ใหญ่ต้องเลิกโทษเกมก่อน ไม่ใช่ว่าเกิดอะไรไม่ดีมาก็พุ่งตรงมาทางนี้ อยากให้ลองดูที่ตัวของคนเล่น มองถึงความตั้งใจและความอิน เพราะไอ้การที่มองนี่มันก็ทำให้เด็กๆ เสียโอกาสไปแบบรุ่นต่อรุ่น ยิ่งเริ่มช้าก็ยิ่งพลาดโอกาส ตอนนี้ลาวบรรจุ eSports เป็นกีฬาไปแล้ว เวียดนามก็มีโปรหลายคนที่ถูกส่งไปต่างประเทศ ขณะที่คนไทยยังมีน้อยมากอยู่เลย ทั้งที่คนไทยก็เล่นเกมเก่งกันมาก แต่เพราะไม่มีจุดหมาย ก็เลยทำให้เล่นไปวันๆ ไม่มีอะไรมารองรับ ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่มีระบบสโมสร ไม่มีเงินเดือน ไม่มีสปอนเซอร์ ถึงจะพัฒนาตัวเองไปขนาดไหนมันก็ยังไม่มี

The MATTER : ทุกวันนี้ที่เอกชนสนับสนุนอยู่นั้น ถือว่าเพียงพอหรือยัง

Coupe : ไม่เลย ส่วนหนึ่งที่เอกชนยังไม่มาสนับสนุน ก็เพราะภาครัฐยังไม่สนับสนุนด้วยนี่แหละ

Lazio : ถ้าภาครัฐยอมรับ สามารถบรรจุ eSports ให้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งได้จริง เอกชนก็จะให้ความสนใจ ทุกคนก็จะเริ่มสนใจว่ามันเป็นกีฬาแล้ว ก็น่าจะมีอคติน้อยลง

The MATTER : ในโลกของเกมเมอร์ ต้องมีฝีมือขนาดไหนถึงจะเรียกตัวเองว่า Pro-player ได้ เล่นแล้วได้เงินนี่คือโปรหรือยัง

Lazio : ไม่นะครับ ผมคิดว่าต้องเก่งระดับได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เหมือนโปรกอล์ฟ หรือนักกีฬาดังๆ น่ะ

Coupe : อย่างพวกเราเองก็ไม่กล้าเรียกตัวเองว่าโปร เรียกว่า Gamer น่าจะดีกว่า

Cherie : น่าจะต้องได้ไปแข่ง หรือไปร่วมทีมกับต่างประเทศแล้วชนะเขา อย่าง Mickie (ผู้เล่นเกม Overwatch ชาวไทยคนแรก ที่ได้ร่วมทีม Envyus สโมสร eSports ชื่อดังในสหรัฐฯ) ได้รับการยอมรับ อยู่ในระดับโลก เป็นที่รู้จักในหลายประเทศ

The MATTER : ผู้ใหญ่พลาดอะไรบ้างที่ไม่สนับสนุน eSports

Cherie : ผมว่าพวกเขาใช้ประโยชน์จากพวกผมได้เยอะนะ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ก็ใช้ได้ โทรศัพท์มือถือก็ใช้ได้ ในแง่มาร์เกตติ้งมันยังสามารถตีตลาดอะไรได้เยอะ เราเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากเลยนะ

Coupe : การสนับสนุนของพวกเขามันจะลดปัญหาที่พวกเขากลัวได้นะ อย่างเรื่องเด็กมีปัญหา ถ้าเราเปิดให้เล่นอย่างจริงจัง มีการเทรน ซ้อมอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แถมยังเข้าถึงประชาชนกลุ่มเด็กได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะเกมมันคุยกับเด็กได้ง่ายกว่าอยู่แล้ว

Lazio : เราพลาดที่เรารู้แน่ๆ ว่ามีผู้เล่นเก่งๆ อยู่ แต่เขาไม่ปรากฏตัวออกมาเพราะไม่มีที่ทางให้กับเข


Create Date : 05 กรกฎาคม 2561
Last Update : 5 กรกฎาคม 2561 18:21:23 น. 0 comments
Counter : 707 Pageviews.

สมาชิกหมายเลข 4421365
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Flag Counter
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 4421365's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.