http://twitter.com/merveillesxx และ http://www.facebook.com/merpage
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
สรุป : สัมมนาเรื่อง “กองทุนหมู่บ้าน : สร้างรายได้หรือก่อหนี้”

เรียบเรียงโดย merveillesxx


บล็อกนี้จะเป็นการสรุปประเด็นจากการสัมมนาเรื่อง “กองทุนหมู่บ้าน : สร้างรายได้หรือก่อหนี้” ที่จัดขึ้นเมื่อ 31 ก.ค. 2549 ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทาลัยธรรมศาสตร์

หัวข้อนี้มีผู้ร่วมอภิปราย 3 ท่าน ได้แก่ ดร.สมชัย จิตสุชน, ดร.วิชัย ดุรงค์พันธ์, ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ และมี ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย เป็นผู้ดำเนินรายการ

เนื่องจากเป็นการสรุปจากบทบันทึกการบรรยาย จึงเป็นเนื้อหาเพียงคร่าวๆ และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้





ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เกริ่นนำ

-- การสัมมนาในครั้งนี้เป็นเรื่องแรกของซีรี่การอภิปรายเรื่อง “ประชานิยม” (จะจัดขึ้นทุกวันจันทร์ที่คณะเศรษฐศาสตร์) โดยมีวัตถุประสงค์ถึงเรื่อง โครงการประชานิยมกับการปฏิรูป

-- พ.ศ. 2544 ถือเป็นจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจการเมืองไทย : นโยบายเศรษฐกิจมีผลโดยตรงต่อการเลือกตั้ง ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น

-- การเลือกตั้ง 2548 : ทุกพรรคเล่นเกมประชานิยม
พรรคไทยรักไทย - SML
พรรคมหาชน - รัฐสวัสดิการ

-- ข้อกังวลของนักวิชาการคือ เรื่องนัยยะต่อเศรษฐกิจมหภาคของไทย เพราะโครงการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินมาก (ผลต่อการกระจายรายได้)

-- ในการอภิปรายนี้เราจะเน้นดู หลักการ-วิธีการ, ข้อดี-ข้อเสีย ของกองทุนหมู่บ้าน เพื่อตอบคำถามว่ามันควรจะดำรงอยู่ต่อไปหรือไม่ และถ้าอยู่ ควรมีการปฏิรูปอย่างไร โดยเฉพาะด้านกฎเกณฑ์





ดร.สมชัย จิตสุชน
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

นโยบายประชานิยม

-- นโยบายประชานิยม
1. ทำให้ประชาชนนิยม
2. นิยมอย่างรวดเร็ว
3. เป็นเรื่องของการเมืองนิยม

-- ลักษณะของประชานิยม : ใช้งบจำนานมาก, ทำให้ประชาชนเสพติดเป็นระยะๆ โดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้ง, จะมีปัญหาเมื่องบประมาณหมด, มีผลเสียระยะยาว เช่น เรื่องวินัยของประชาชน

-- ประเทศที่ใช้ประชานิยมได้ผล : ประเทศที่การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำสูง (คนรวยเยอะ คนจนเยอะ ชนชั้นกลางน้อย - ลักษณะเป็นคอคอดเหมือนนาฬิกาทราย)

-- ผลเสียของประชานิยมตกกับชนชั้นกลาง เพราะภาษีถูกใช้ไปกับนโยบายประชานิยม ดังนั้นประเทศที่การกระจายรายได้ไม่เหลื่อมล้ำ นโยบายประชานิยมจะใช้ไม่ได้ผล เพราะชนชั้นกลางที่มีมากจะ protect ในจุดนี้

-- ความตื่นตัวของรากหญ้า
พรรคไทยรักไทยใช้นโยบายประชานิยมได้จังหวะเหมาะสม เพราะ

1. เป็นช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ คนที่ว่างงานหรือลำบากอยู่จึงตื่นตัวกับนโยบายของไทยรักไทย (รัฐบาลก่อนๆ ไม่ค่อยสนใจรากหญ้า เน้นแก้โครงสร้างเศรษฐกิจ)

2. ประเทศไทยตอนนั้นมีทรัพยากรส่วนเกินมาก : รัฐบาลไทยรักไทยเอาตรงนี้มาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ


กองทุนหมู่บ้าน

-- กองทุนหมู่บ้าน ไม่ใช่ นโยบายแก้ปัญหาความยากจน

-- ข้อมูลของ TDRI : ทำการสำรวจ 13 จังหวัด, กระจายทั้ง 4 ภาค, ลงลึก จ.เพชรบุรี 10,000 ครัวเรือน (2547-2548)

69% ลงทะเบียนเป็นสมาชิก (กองทุนหมู่บ้าน ต้องเป็นสมาชิกก่อน ถึงจะกู้ได้)

46% ของสมาชิกทำการขอกู้

* 99% ได้อนุมัติเงินกู้ (และได้เงินเกือบเต็มจำนวนที่ขอไป)

-- ดอกเบี้ยเงินกู้ 6% ต่อปี : ถือว่าไม่แพง ถูกกว่าเงินกู้นอกระบบ, ธกส. เงื่อนไขก็ง่ายกว่า

-- การพิจารณาเรื่องกู้ไปแล้วใช้เงินเหมาะสม : ถึงเขาจะเอาเงินไปซื้อมือถือ เราก็บอกในทันทีไม่ได้ว่าเขาใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เพราะเขาอาจจะตั้งใจกู้เพื่อไปซื้อมือถืออยู่แล้ว (ยังไม่มีงานวิจัยที่เจาะลึกถึงขนาดนั้น)

-- ดังนั้นเราจะพิจารณาด้านนี้มากกว่า คือ ถ้ากองทุนหมู่บ้านสร้างรายได้หรือก่อให้เกิดอาชีพ ชาวบ้านต้องทำอย่างน้อย 2 อย่าง

1. กิจกรรมที่ทำอยู่เดิมน่าจะขนายใหญ่ขึ้น (expand business) : สำรวจข้อมูลตรงนี้ พบว่ามี significant (นัยยะสำคัญ) แต่ในแง่ magnitude ถือว่าต่ำ (เพียง 6-8%)

2. เริ่มธุรกิจใหม่ (new business) : สำรวจแล้วพบน้อยมาก ข้อมูลไม่ significant
ดังนั้นจากทั้งสองข้อ สรุปได้ว่ากองทุนหมู่บ้านช่วยได้บางส่วน แต่ไม่คุ้มค่าด้าน policy planning

-- การดูว่ากองทุนหมู่บ้านจะยั่งยืนหรือไม่ : พิจารณาว่าชาวบ้านเอาเงินมาใช้คืนได้หรือไม่

-- ข้อมูลที่สำรวจได้ สอดคล้องกับที่รัฐบาลบอก คือ 95% ใช้คืน แต่เป็นการใช้คืนโดยการกู้เงินจากแหล่งอื่นมาใช้ (เช่น เงินกู้นอกระบบ) เรียกว่า การผลัดผ้าขาวม้า (การกู้เงินซ้ำซ้อน) ซึ่งพบว่า 70% กู้มากกว่า 1 ครั้ง และที่จริงอาจจะมากว่านี้ เพราะชาวบ้านบางคนอาจไม่ยอมตอบตามความเป็นจริง

-- Risk Analysis
เกือบ 100% ที่กู้กองทุนหมู่บ้านจะมีหนี้อยู่แล้ว
1. คุ้นเคยกับการเป็นหนี้
2. มีแหล่งเงินกู้แหล่งอื่น
สองพวกนี้จะได้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้าน ส่วนพวกที่ไม่เคยกู้ ไม่มีหนี้ กู้แล้วจะไม่ค่อยได้ประโยชน์

-- ผลทางเศรษฐกิจ
ถ้าแบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม
1. กู้ได้ทั้ง 2 ปี (2545 / 2547)
2. กู้ได้ปีเดียว
3. ไม่กู้

ในกลุ่มที่ 1 และ 2 พบว่ามีกลุ่มที่รายได้เพิ่มขึ้น 60% และมีกลุ่มที่รายได้ลดลง 40% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมาก แสดงว่าการกู้จากกองทุนหมู่บ้านไม่ช่วยทำให้ performance ด้าน “รายได้ที่เพิ่มขึ้น” ของกลุ่ม 1, 2 ดีกว่ากลุ่ม 3 ที่ไม่กู้เงิน

-- ถ้านำข้อมูลไป run regression จะพบว่าเงินจากกองทุนหมู่บ้านไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง (ปัจจัยอื่นน่าจะมีผลมากกว่า)





ดร.วิชัย ดุรงค์พันธ์
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

-- คำถามที่ว่ากองทุนหมู่บ้านสร้างรายได้หรือก่อหนี้นั้น เป็นประเด็นที่ถามกันมานานแล้ว โดยจากการสำรวจ 3 ปี ก็ยังคงได้คำตอบเหมือนเดิม เช่น เรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่มีนัยยะชัดเจน

-- รัฐบาลชอบอ้างว่ากองทุนหมู่บ้านแก้ปัญหาความยากจนได้ แต่เราพบว่ารายได้นั้นไม่ได้เพิ่ม แล้วยังมีข้อสงสัยต่ออีกว่ากองทุนหมู่บ้านจะทำให้ชาวบ้านเสียวินัยหรือไม่


ขบวนการทำงานของกองทุนหมู่บ้าน

-- 76,000 หมู่บ้าน, ใช้เงินทั้งหมดแสนล้าน, แต่ละรายกู้ได้ 20,000-50,000 บาท

-- การจัดตั้งกองทุน
บัญชี 1 : เปิดบัญชีแรกเข้ากองทุน
บัญชี 2 : บัญชีออมทรัพย์ของกองทุน
บัญชี 3 : คนที่มีพฤติกรรมดี จะกู้ได้มากขึ้น
(1 และ 2 เป็นบัญชีหลัก / 3 เป็นบัญชีเสริม)

-- คณะกรรมการมี 15 คน เป็นผู้หญิงกึ่งหนึ่ง (ไปถ่วงไม่ให้การปล่อยกู้เร็วเกินไป - ผู้ชายนิสัยใจร้อน)

-- ขั้นตอนพิจารณา : ประวัติ เครดิตของผู้กู้, ผู้ค้ำประกัน, ความสามารถชำระคืน, เงินทุนที่มีอยู่เดิม

-- พฤติกรรมของผู้กู้ : มีเท่าไรก็ไม่พอ (ได้คืบจะเอาศอก)

-- คำถาม

1. เงินกู้น้อยไปหรือเปล่า : ไม่ ถ้าผู้กู้ไม่มีเงินแหล่งอื่น

2. ระยะเวลาชำระคืน : เป็นข้อหัวที่ถกเถียงกันมา 2-3 ปีแล้ว, อาจขึ้นกับคณะกรรมการ, มีงานศึกษาว่าควรให้เวลากับคนจนหน่อย เพื่อความน่าจะเป็นที่จะเกิด NPL จะได้ลดลง

-- กองทุนหมู่บ้าน = Micro Credit System ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ใช้เงินจำนวนมาก, มีคนเกี่ยวข้องมาก ประมาณ 15 ล้านคน) คำถามก็คือ มันมีประสิทธิภาพหรือไม่

-- คำถามคลาสสิก : กองทุนหมู่บ้านช่วยให้รายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่

ตอบ : มันก็ต้องเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ถ้าเดิมเขาไม่มีเงิน แต่เราต้องดูค่าเป็น Net นั่นคือ ดูรายจ่ายของเขาด้วย (ดูว่ารายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากเงินออมที่เพิ่มขึ้น หรือจากการกู้เงินมา)


ความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้าน

-- ความเข้มแข็ง : ต้องมีการประชุมมากขึ้น, สมาชิกรับรู้ข่าวสาร มีส่วนร่วม, ส่งเสริมการคืนเงินกู้ที่ตรงเวลา, ส่งเสริมการออมในชุมชน

-- ประเด็น
1. การออมในชุมชน (บัญชี 2) ควรมากกว่าบัญชีบุคคล
2. การก่อหนี้ของบุคคลจะไปลดประสิทธิภาพของกองทุน
3. การเติบโตของกองทุน
4. ความโปร่งใสของกองทุน, ความเข้าใจของสมาชิกเป็นเรื่องสำคัญ


จากกองทุนหมู่บ้านสู่ธนาคารหมู่บ้าน (Village Fund – Village Bank)

-- พรบ. 2547 บอกว่าภายใน 3 ปี กองทุนหมู่บ้านจะต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นนิติบุคคล (VF เป็น VB) คำถามก็คือ เราพร้อมแล้วหรือ

-- การจะเป็นนิติบุคคลต้อง
1. แสดงบัญชี
2. แสดง standard ของทุน (เช่น มีการจัด rating AAA, AA, A)
3. มีบันทึกการประชุม, มติที่ประชุม
4. แสดงงบดุล, ผลกำไร (คำถาม: แล้วถ้าไม่ได้กำไรใน 3 ปีนี้ จะทำยังไง)
5. มี strategic planning (คำถาม: แล้วชาวบ้านจะเขียน plan ได้หรือ)
6. มีสถานที่ตั้ง

-- ถ้ามีการควบรวมกันระหว่าง VF เพื่อให้เป็น VB ก็มีเรื่องน่าเป็นห่วง เพราะมีความแตกต่างในลักษณะการทำงานของ 2 กองทุน อันมาจากกฎที่สร้างด้วย culture ที่ต่างกัน (ในกองทุนนั้นๆ จะรู้ว่าใครมีโอกาสจะเบี้ยวหนี้มาก, ตัดสินด้วยการรู้จักกัน-internal judgment) การรวมกันอาจทำให้เกิด correlation failure ดังนั้นการแปรสภาพให้เป็นนิติบุคคลควรทำให้สอดคล้องกับกองทุนเดิมที่มีอยู่แล้ว

-- กรณีศึกษา : การทำ M&A (Merger & Acquisition) ของพวกบริษัทมีน้อยรายมากที่จะสำเร็จ ขนาดพวกบริษัทซึ่งเป็น professional ยังทำไม่ได้ แล้วชาวบ้านจะทำได้หรือ

-- ตอนนี้มี 3 ธนาคารที่ทำเรื่อง Village Bank คือ
1. ธนาคารออมสิน (เยอะสุด - จะทำ 100 แห่ง ภายในปี 2549)
2. ธกส.
3. ธนาคารกรุงไทย

-- ธนาคารออมสินเหมือนเป็นพี่เลี้ยงให้พวกชาวบ้านในการตั้ง VB ทำให้เกิดคำถามว่า VB นั้นอาจจะต้องพึ่งธนาคารออมสินไปตลอด (ทำอะไรเองไม่เป็น) ซึ่งขัดกับวัตกุประสงค์ที่จะตั้ง VB ขึ้นมาเพื่อความยั่งยืน (นอกจากนั้นยังสำรวจพบว่าชาวบ้านไม่ให้ความสนใจเรื่อง VB นัก เพราะมีคนมาทำให้อยู่แล้ว)

-- ที่จริงแล้ว ธกส. น่าจะเป็นพี่เลี้ยงได้ดีที่สุดเพราะมีประสบการณ์ทำงานกับพวกรากหญ้ามานาน แต่กลายเป็นว่าพวกชาวบ้านไม่ค่อยอยากยุ่งด้วย เพราะ ธกส. เป็นเจ้าหนี้ของชาวบ้าน (เป็นงั้นไป)

-- ชาวบ้านจะกู้เงินจาก
อันดับ 1 : ธกส.
อันดับ 2 : นอกระบบ
(ตอนนี้กองทุนหมู่บ้านอาจแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 2 แล้ว)

-- กองทุนหมู่บ้านอาจมีข้อดี คือให้ชาวบ้านเรียนรู้การตัดสินใจด้วยตัวเอง แต่คำถามคือนี่เป็น “การบังคับให้เรียนรู้” (force learning) หรือเปล่า


ประเด็นส่งท้าย

1. เมื่อ VF กลายเป็น VB แล้ว ควรคำนึงถึงการขยายความหลากหลายในการบริหารจัดการ เช่น การหาเงินเพิ่มเติม การให้อีกชุมชนกู้ (เป็นนายทุน) เพื่อให้ net profit เป็นบวก

2. ความพร้อมของการ VF เป็น VB (ทั้งด้านบุคลากรและการพึ่งพิงธนาคารพี่เลี้ยง)
ความพร้อมของ VB ที่จะ handle ความใหญ่ของกองทุน
คำถาม : VB จะถูกฟ้องล้มละลายได้หรือไม่ (ทั่วไปแล้วนิติบุคคลถูกฟ้องได้)

3. ดัชนีที่ใช้ชี้จัดความพร้อมใน 3 ปีนี้ เช่น ระบบบัญชี (เรายังไม่มีระบบบัญชีที่ดีพอ)





ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

กองทุนหมู่บ้านกับทุนทางสังคม

-- กองทุนหมู่บ้านมีการกระจายผลอย่างรวดเร็ว ทันที และรุนแรง
ข้อมูลปี 2547 : 25% กู้กองทุนเป็นหลัก ทำให้เป็นแหล่งเงินกู้อันดับ 2 (แซงหน้าหนี้นอกระบบ) ส่วนอันดับ 1 ยังคงเป็น ธกส. ที่มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านร่วม 40 ปี

-- คำถามที่ว่ากองทุนหมู่บ้านนั้นดีหรือไม่ดีนั้นไม่สามารถฟันธงตอบลงไปได้ เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามันมีทั้งข้อดีและไม่ดี โดยแต่ละจังหวัดมี performance ที่ต่างกันมาก

-- คำถาม: การโยนเงินเข้าไป 1 ล้านบาท ให้หมู่บ้าน 7 หมื่นแห่ง อะไรคือปัจจัยทำให้เกิดความแตกต่างด้านบริหาร, จัดการ

-- กองทุนหมู่บ้านมีลักษณะของ collective action : เลือกคณะกรรมการ 15 คน แล้วจัดตั้งกฎขึ้นมาเอง แล้วก็ปล่อยเงินกู้ --> ถือเป็น experimental economic ที่มหัศจรรย์มาก (ให้ชาวบ้านจัดการกันเอง)

-- จริงๆ แล้ว idea นี้ก็ไม่ได้ใหม่ เมื่อปี 2541 ก็มี SIF (Social Invest Fund) คือให้ชุมชนทำเรื่องขอกู้ ซึ่งผลที่ได้ก็คล้ายกองทุนหมู่บ้าน บางชุมชนทำได้ดี บางชุมชนก็ไม่ดี

-- ดี / ไม่ดี เราต้องดูความ happy ของคนในหมู่บ้าน แต่เราต้องดู “ความยั่งยืน” ด้วย หมายถึง generation ถัดๆ ไป (รุ่นลูกหลาน)

-- ปัจจัยอะไรทางสังคมจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของกองทุน

-- หลายปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น ภัยแล้ง, อัตราดอกเบี้ย, ลักษณะโครงสร้าง อาชีพ, ความสัมพันธ์ทางสังคม, การเลือกคณะกรรมการที่ดี, การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

-- ในการวัดทางเศรษฐศาสตร์ เราจะวัดที่ social capital (สิ่งเราลงทุนไปแล้วได้ผลตอบแทนในวันข้างหน้า) โดยในที่นี้จะเน้นที่ด้าน social network และทำการศึกษาดัชนี (index) 3 ตัว ดังนี้

1. ระดับการศึกษา

2. การบริจาคเงิน

- ถ้ามีการบริจาคเงิน ถือเป็นการร่วมกิจกรรมทางสังคม ครอบครัวมักจะจ่ายหนี้คืนให้กับกองทุน

- แต่ครัวเรือนที่บริจาคเยอะ กลับชอบจ่ายคืนช้า (มีอำนาจต่อรองในการทำอะไรที่ไม่ดี)

3. ความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือน

- ชาวบ้านที่ไม่ค่อยย้ายถิ่นฐาน จะมีความสัมพันธ์ในชุมชนนั้นๆ และมีอัตรา late payment ต่ำ

- การใช้โทรศัพท์ ถ้าใช้ landline กองทุนยั่งยืน

- ถ้าใช้มือถือ ไม่ค่อยยั่งยืน (มักเป็นคนกลุ่มอายุไม่มาก มีความสัมพันธ์กับสังคมน้อย)

-- จาก index ทั้งสาม เราสามารถพิจารณาทุนทางสังคมกับความยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านได้ แต่ทั้งนี้อาจได้คำตอบที่หลากหลาย ก็ต้องพัฒนาการศึกษาต่อไป

-- philosophy ของ VF คือ ให้ชุมชนนั้นมีการแบ่ง resource กันเองได้ ดังนั้นหากชุมชนอ่อนแอ VF ก็จะไปไม่รอด

-- ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนอ่อนแอ
1. การเล่นพรรคเล่นพวก (ในคณะกรรมการ)
2. องค์ความรู้ที่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะระบบบัญชี
3. สมาชิกที่เข้าใจเรื่องกองทุนหมู่บ้าน หรือปฏิเสธที่จะเข้าใจ

-- คำถาม : แล้วควรทำอย่างไร จึงจะทำให้เกิดความยั่งยืน

1. การทำ Report ที่ถูกต้อง : อาจใช้วิธี random external audit (การขู่ว่าจะมีการตรวจสอบอยู่เป็นระยะ) โดยมีกรณีศึกษาว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลมาแล้วในประเทศอินโดนีเซีย (เนื่องจากมีเกาะเยอะ เลยต้องขู่ว่าจะสุ่มตรวจ) ทำให้การคอร์รัปชั่นลดลง

2. การตรวจสอบจากภายใน : ให้สมาชิก, คนในหมู่บ้านช่วยกันตรวจสอบ (นี่ถือเป็นลักษณะเฉพาะของ VF) ซึ่งจะช่วยลด cost ได้ เพราะพวกชาวบ้านรู้จักกัน / อาสาสมัครหมู่บ้านควรเข้ามาช่วยตรงนี้

3. กรณีของแอฟริกา : หน่วยงานกลางจะ list ผลการดำเนินของทุกหมู่บ้าน ทุกคนสามารถดูได้

-- หากกองทุนหมู่บ้านมีการขยายตัวแล้ว (เช่น VF เป็น VB) สิ่งที่ต้องมี คือ

1. ข้อบังคับพื้นฐาน (ต้องมี แต่ไม่เข้มข้นเท่า bank)

2. การรายงานผล : ถ้าใช้ indicator หลายตัว อาจ cost สูง ควรเลือกตัวสำคัญ

3. องค์กรที่เข้ามาตรวจสอบ : มีความเข้าใจ, ศักยภาพในการตรวจสอบ





Create Date : 06 สิงหาคม 2549
Last Update : 27 สิงหาคม 2549 22:50:59 น. 7 comments
Counter : 3777 Pageviews.

 
ขอบคุณมากนะค่ะ จะได้เอาไปศึกษาต่อ เพื่อจะช่วยพัฒนาชุมชนค่ะ


โดย: เด็กดี IP: 222.123.170.99 วันที่: 20 ตุลาคม 2550 เวลา:20:38:52 น.  

 
คนที่เป็นกรรมการไม่ได้อยากเป็น
มันเป็นการยัดเยียดลงมาจากข้างบน โดยที่ข้างล่างไม่มีความพร้อม
คนที่ออกกฎเคยมารับรู้ปัญหาที่แท้จริงไหม
คนที่วิจารณ์ วิจัย สัมนาคือใคร
ทฤษฎี กับ ปฏิบัติ มันคนละเรื่อง


เบื่อ.........


โดย: กรรมการคนหนึ่ง IP: 222.123.90.245 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2550 เวลา:14:18:25 น.  

 
เห็นด้วยทฤษฎี กับ ปฎิบัติ แตกต่างกัน


โดย: nattakang IP: 161.200.255.162 วันที่: 28 พฤษภาคม 2551 เวลา:3:54:54 น.  

 
ใครเห็นเป็นอย่างไม่รู้ แต่บ้านหนองกลาง มีแต่ดีขื้นตั้งแต่มีกองทุนหมู่บ้าน

ใครรู้บ้างว่ากองทุนหมู่บ้านที่เป็นนิติบุคลแล้วซื้อที่ดินแล้วทำนิติกรรม ใครเป็นคนเซ็นรับโอน ใครรู้บอกที
( ถามมาหลายที่แล้ว)


โดย: กองทุนบ้านหนองกลาง IP: 118.175.155.236 วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:42:07 น.  

 
ตั้งแต่มีกองทุนหมู่บ้าน กรรมการกองทุนและลูกบ้าน เกลียดกันไปแล้ว สาวไส้กันใหญ่เลยขณะนี้


โดย: ชุมชนเมือง IP: 58.147.40.121 วันที่: 20 กันยายน 2551 เวลา:17:58:25 น.  

 
ดี


โดย: นิ IP: 112.143.54.12 วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:40:05 น.  

 
สวัสดีน๊าาา ทักทายจ้า สปาชา sparsha A Moment of Bride เจ้าสาว เสริมจมูก ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก สลายไขมันด้วยความเย็น ลดเซลลูไลท์ Leg Squeezing ผิวเปลือกส้ม FIS หน้าท้องใหญ่ ตัวเล็กแต่มีพุง Body Contouring ลดสัดส่วนทั้งตัว ลดปีกด้านหลัง เนื้อปลิ้นรักแร้ เนื้อปลิ้น Build Muscle สร้างกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหน้าท้อง สลายไขมันหนา สลายไขมัน ลดไขมัน Lock Shape รักษารูปร่าง สลายไขมัน ลดสัดส่วน Oxy Peel ทำความสะอาดหน้า ทำความสะอาดหน้าแบบล้ำลึก ยกกระชับ Ulthera ปรับรูปหน้า ปัญหาผิวหย่อนคล้อย Beauty Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ลดไขมัน ลดเซลลูไลท์ ผิวเปลือกส้ม สลายไขมันสะโพก กระชับผิว Sexy Mama แม่หลังคลอด รอยแตกลาย ปรับรูปร่าง กำจัดขน Hair Removal กำจัดขนถาวร สลายไขมันเหนียงด้วยความเย็น สลายไขมัน สลายไขมันเหนียง IV Drip ฟื้นฟูร่างกาย เสริมภูมิต้านทาน Bye Bye Panda Eye ลดรอยหมองคล้ำใต้ดวงตา ลดริ้วรอยใต้ตา นวดกระชับหน้าอก หน้าอกกระชับ อกหย่อนคล้อย Beauty Breast Lifting Enlarge Beauty Breast นวดอกเล็กให้ใหญ่ หน้าอกเล็ก ยกกระชับหน้า รักแร้ขาว รักแร้ดำ เลเซอร์รักแร้ขาว ผิวใต้วงแขน Love Fit กระชับช่องคลอด เลเซอร์กระชับช่องคลอด แก้ไขปัสสาวะเล็ด Meso Shine ผลักวิตามิน บำรุงผิว สวยด้วยเลือด รักษาผิว หนวดเครา กำจัดขนหนวด กำจัดขน กำจัดขนเครา เลเซอร์ขน เลเซอร์ขนถาวร กำจัดขนถาวร เลเซอร์เครา เลเซอร์หนวด กำจัดขน ยกกระชับ ร้อยไหม Thread Lift การดูดไขมัน ดูดไขมัน ศัลยกรรมตา 2 ชั้น ตา 2 ชั้น ศัลยกรรมตา สปาน้ำนม เพิ่มความชุ่มชื่น แก้ผิวแห้ง นวดผ่อนคลาย การนวดผ่อนคลาย Rest Time Aroma Massage Aroma Massage Acne Body Mist ลดรอยสิว ลดจุดด่างดำ ลดรอยดำ Former Lift ยกกระชับผิว ปรับรูปหน้า ฆ่าเชื้อสิว Acne Clear ปัญหาสิว เลเซอร์รักษาสิว Supreme White Lucent รักษาฝ้า ฝ้า กระ จุดด่างดำ ด็อกเตอร์ไลฟ์ doctorlife ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก เสริมจมูก Cellulysis สลายไขมัน ulthera ยกกระชับ Acne Clear รักแร้ขาวเนียน เลเซอร์กำจัดขนถาวร กำจัดขน ร้อยไหม Freeze V Lift กำจัดไขมันด้วยความเย็น PRP ผิวหน้า PRP ผมบาง ผมร่วง เลเซอร์กระชับช่องคลอด กระชับช่องคลอด Love Fit สลายไขมันด้วยความเย็น Cell Repair ผิวขาวใส ลดสัดส่วน ปรับรูปร่าง Perfect Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ฟิลเลอร์ Filler รักษาหลุมสิว Dual Yellow เลเซอร์หน้าใส Love Fit ปัญหาปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะเล็ด Oxy Bright ทำความสะอาดรูขุมขน Bye Bye Fat ลดไขมัน Luminous แสงสีฟ้า รักษาสิว ฆ่าเชื้อสิว ABO Active 3D Toxin IV Drip เพื่อสุขภาพและความงาม ยกกระชับผิว hifu ให้ใจ สุขภาพ


โดย: สมาชิกหมายเลข 6258618 วันที่: 14 มกราคม 2564 เวลา:9:41:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

merveillesxx
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




สำส่อนทางการดูหนัง ฟังเพลงและเสพวรรณกรรม
New Comments
Friends' blogs
[Add merveillesxx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.