http://twitter.com/merveillesxx และ http://www.facebook.com/merpage
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2547
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 ธันวาคม 2547
 
All Blogs
 

วิกฤตเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2540

วิกฤตเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2540
โดย merveillesxx

หมายเหตุ: เขียนขึ้นเมื่อ ก.ย. 2547 เพื่อทำส่งวิชา ศ.330 เศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิกฤตเศรษฐกิจ แบ่งเป็นสามประเภท ได้แก่ วิกฤตค่าเงิน วิกฤตธนาคาร และวิกฤตหนี้ระหว่างประเทศ

วิกฤตการณ์ค่าเงิน (Currency Crisis)
เป็นวิกฤตการณ์ที่ประเทศถูกโจมตีค่าเงินจากนักเก็งกำไรค่าเงินทำให้ประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ต้องลดค่าเงินลง เป็นเหตุให้ธนาคารกลางต้องพยายามตรึงค่าเงินและต้องเสียทุนสำรองระหว่างประเทศ และต้องใช้นโยบายปรับอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้อยู่ในระดับสูง เพื่อป้องกันเงินทุนไหลออกและป้องกันการถูกโจมตีค่าเงิน เช่น วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี 2540

วิกฤตการณ์ธนาคาร (ฺBanking Crisis)
เป็นวิกฤตการณ์ที่ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรง หรือไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงให้ความช่วยเหลือ หรือเข้าไปยึดกิจการมาดำเนินการเอง

วิกฤตหนี้ระหว่างประเทศ (International debt Crisis)
เป็นวิกฤตการณ์ที่ประเทศไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ไม่ว่าเป็นหนี้ภาครัฐหรือเอกชน

เศรษฐกิจไทยปี 2535-2538
1. เศรษฐกิจขยายตัวสูง ทั้งด้านอุตสาหกรรม คมนาคมขนส่ง ก่อสร้าง และการเงิน-การธนาคาร
2. ช่วงนั้นรัฐบาลมีเป้าหมายจะพัฒนาประเทศเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Nics) (แต่ในที่สุดไม่สามารถทำได้เพราะวิกฤตปี 2540)
3. มีการเปิดเสรีทางการเงินระหว่างประเทศ (IBF: International Banking Facilities)

เศรษฐกิจไทยปี 2539
ปี 2539 เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลก

เศรษฐกิจไทยปี 2540
ปี 2540 เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการเงินการคลัง

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540
1. เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ คือระบบกลไกเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด
2. เกิดจากปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐศาสตร์

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์
1. การหดตัวของการส่งออกและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลในระดับสูง
ซึ่งในปี 2539 การส่งออกของประเทศไทยขยายตัวไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับปี 2537 และปี 2538 ซึ่งขยายตัว 23 % และ 21% ตามลำดับ การส่งออกที่ไม่ขยายตัวในปี 2539 ทำให้มีผลกระทบต่ออุปสงค์มวลรวม ส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยา และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ในเรื่องปัญหาสภาพคล่องของทุนสำรองระหว่างประเทศและค่าเงิน เพราะประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และมีขนาดของการขาดดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้นำไปสู่การโจมตีค่าเงินและเกิดวิกฤตสถาบันการเงินในที่สุด

2. การลงทุนเกินควร ซึ่งเป็นรากฐานของฟองสบู่
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีการลงทุนมากเกินไปได้แก่ การเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้ธุรกิจและสถาบันการเงิน สามารถกู้ยืมเงินจากต่างประเทศได้ ทำให้มีการขยายการลงทุนมากเกินไป อีกประการหนึ่ง เกิดจากการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ และ ตราสารทางการเงินต่าง ๆ มีราคาสูงขึ้นก่อให้เกิดอุปสงค์เพื่อเก็งกำไร และทำให้มีการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าสนองตอบอุปสงค์เพื่อเก็งกำไร

3. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ ในช่วงปี 2530-2539
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานสนามกอล์ฟ สวนเกษตร เติบโตอย่างมาก ในปี 2540 เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลอนุญาตให้มีธุรกรรมวิเทศธนกิจ (Bangkok Intrnational Banking Facilities : BIBF) ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกต่ำกว่าในประเทศมาก จึงทำให้ผู้ประกอบการหันไประดมทุนจากต่างประเทศพร้อมกับระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โหมการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ และจากการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์และที่ดินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงก่อให้เกิดอุปสงค์เพื่อเก็งกำไร และดึงดูดให้ผู้ประกอบการสมัครเล่นหันมาทำธุรกิจประเภทนี้อย่างกว้างขวาง ซึ่งกล่าวได้ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคที่เกิดภาวะฟองสบู่

4. ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 อีกสาเหตุหนึ่งคือ การผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในส่วนที่รับผิดชอบโดยธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และปล่อยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี โดยขาดการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ ผลดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ คือ ช่วยให้มีการควบคุมเสถียรภาพด้านราคา แต่มีผลเสียต่อดุลบัญชีเดินสะพัด กล่าวคือ การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ในขณะที่ระดับเงินเฟ้อในประเทศปรับตัวสูงขึ้น เท่ากับว่ารัฐบาลช่วยให้ราคาสินค้านำเข้าได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าในประเทศ ทำให้ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินในการควบคุมปริมาณเงินด้อยลง กล่าวคือ ตั้งแต่ประเทศไทยเปิด BIBF ในปี 2536 มีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศจำนวนมาก ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย พยายามดูดซับปริมาณเงินที่มากเกินไป โดยการขายพันธบัตรการดำเนินนโยบายเช่นนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่สูงอยู่แล้ว ไม่ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยให้มีการนำเงินทุนเข้ามามากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดขบวนการเศรษฐกิจฟองสบู่ในที่สุด

5. ค่าเงินบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องนำเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 24,000 ล้านดอลลาร์ มาใช้เพื่อปกป้องเงินบาท (ทุนสำรองที่นำมาใช้ปกป้องค่าเงินบาทปี 2540 เท่ากับ 2/3 ของทุนสำรองที่ประเทศมีอยู่) และรัฐบาลต้องขอกู้เงินจาก IMF จำนวน 17,200 ล้านดอลลาร์เพื่อชดเชยทุนสำรองฯ
วิกฤตนี้ยังเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกด้วย จนได้รับชื่อว่า “ต้มยำกุ้งดีซีส”

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์
1. พฤติกรรมของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน
1.1 การจัดหาแหล่งเงินทุนและการบริหารสินเชื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพ
นับตั้งแต่รัฐบาลอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนทำธุรกรรม BIBF (วิเทศธนกิจ) แต่แทนที่สถาบันการเงินจะระดมเงินทุนจากเงินฝากภายในประเทศ กลับนิยมกู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศ เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในต่างประเทศอยูในระดับต่ำและต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก รวมทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนพฤติกรรมของสถาบันการเงินดังกล่าวทำให้สัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่อง และเกิดความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบกับสถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อกระจุกตัวอยู่ในตลาดที่มีสภาพฟองสบู่ในระดับสูง คือ ตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น จึงมีผลกระทบต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงิน รวมทั้งนำไปสู่การสะสมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินในที่สุด
1.2 พฤติกรรมของผู้บริหารสถาบันการเงินที่มีการบริหารงานในลักษณะที่คอร์รัปชั่น
โดยการช่วยเหลือญาติพี่น้องหรือนักการเมืองด้วยการให้สินเชื่อในกลุ่ม ผู้บริหาร ญาติ ธุรกิจในเครือมากเกินไป หรือให้สินเชื่อในโครงการที่มีผลตอบแทนต่ำ การตกแต่งบัญชี หรือการสร้างลูกหนี้ปลอม

2. พฤติกรรมการระดมทุนของธุรกิจ เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดพลาดในการระดมทุน
คือมีการกู้มาก จากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูง ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ธุรกิจยังได้นำเงินกู้มาลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว ธุรกิจบางธุรกิจ เช่น อสังหาริมทรัพย์กู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนเป็นสกุลภายในประเทศ โดยไม่มีการประกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเชื่อมั่นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยึดมั่นกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทอยู่ในสภาพความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะเมื่อการส่งออกหดตัว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเจ้าหนี้ต่างประเทศลดลง จึงทำให้ธุรกิจล้มละลายนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด

3. ธนาคารแห่งประเทศไทยบกพร่องในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
การเปิดเสรีทางการเงินโดยให้สถาบันการเงินสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ง่าย ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีระบบการตรวจสอบสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4. ประชาชนขาดศรัทธาในรัฐบาล

ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
ผลกระทบโดยรวม
1. เศรษฐกิจประเทศแย่มาก
- คนว่างงานเพิ่ม (ปี 2541 มี 1.13 ล้านคน)
- รายได้ต่อหัวลดลง
2. การพัฒนาประเทศช้ากว่าที่เคยคาดไว้
3. สวัสดิการทางสังคมน้อยลง

ผลกระทบในด้านต่างๆ
1. ด้านเศรษฐกิจ
บริษัทต่างๆไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า จากสาเหตุอำนาจซื้อที่ลดลงของประชาชน และด้วยสาเหตุนี้เองที่ส่งผลลูกโซ่ต่อการผลิตและการซื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ แม้ว่าวิกฤตครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ผลเสียหายที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดคือผลกระทบกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่เป็นแก่นและหัวใจหลักของขบวนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตจากภายใน อันจะส่งผลต่อเนื่องสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

นอกจากปัญหาการล้มละลายหรือการปิดกิจการของภาคธุรกิจทุกขนาดแล้ว ปัญหาหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากจาก วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ.2540 คือ ปัญหาการว่างงานทั้งจากสาเหตุการถูกปลดออกจากการเป็นพนักงานบริษัท และปัญหาการไม่มีตลาดแรงงานรองรับนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ อย่างไรก็ตามในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยังมีธุรกิจบางประเภทที่ได้รับผลดี หรือได้รับผลกระทบน้อยมากจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจการเงินขนาดเล็ก

เมื่อพิจารณาในระดับมหภาคจะพบว่าวิกฤต 2540 ได้ส่งผลต่อภาวการณ์คลังของประเทศ คือ การเก็บภาษีอาการได้น้อยลง ซึ่งได้ส่งผลต่อเนื่องสู่การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้น้อยลงตามไปด้วย

2. ด้านสังคม
ในด้านสังคม เป็นที่ทราบกันดีกว่าหลังจากเกิดปัญหาวิกฤต 2540 คนไทยโดยเฉพาะระดับกลางและระดับล่างมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงเป็นอย่างมาก เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง จำนวนคนจนมีสูงขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้มีมากขึ้น ตลอดจนปัญหาด้านการศึกษาและปัญหาด้านสาธารณสุขก็ได้มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

3. ด้านการเกษตร
- ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อย แต่จะได้ผลกระทบจากภาวะธรรมชาติ และราคาพืชผลมากกว่า
- ได้เปรียบเพราะเงินบาทอ่อนตัว ราคาผลผลิตเกษตรไทยเลยดูถูกลง ทำให้ส่งออกได้มากขึ้น
- ชนบทที่ไปทำงานนอกภาคเกษตร กลับมาทำเกษตรมากขึ้น
- แต่การพัฒนาเกษตรยังมีปัญหาด้านงบประมาณ ราคาปุ๋ยจากต่างประเทศสูงขึ้น ปรากฏการณ์เอลนิโญ และปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

4. เหมืองแร่
- การผลิตแร่เชื้อเพลิง เช่น ก๊าซธรรมชาติ ขยายตัว
- การผลิตยิปซั่ม หินปูน ลิกไนต์ ที่ใช้ในการก่อสร้างลดลงอย่างมาก

5. ด้านอุตสาหกรรม
- วัตถุดิบและดอกเบี้ยจากต่างประทศราคาแพง (ค่าเงินบาทลด)
- ทั้งอุตสาหกรรมภายในและส่งออกชะลอตัวหมด โดยเฉพาะด้านยานยนต์ และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดยาสูบ (เกิดจากเพิ่มภาษีสรรพสามิต)
- ด้านสิ่งทอขยายตัวน้อย เพราะอยู่ในช่วงปรับการผลิตมาเป็นเครื่องจักรที่มีราคาสูง
- ค่าแรงแพงกว่าประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินโดเนเซีย เวียดนาม

6. การก่อสร้าง - ลดลงอย่างมาก
7. การค้า - ลดลงอย่างมาก
8. ด้านบริการ - การท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศไทยจำนวนมาก

แนวทางของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปี 2541
1. รัฐเพิ่มงบประมาณขาดดุล
2. เร่งอุปสงค์ โดยเพิ่มสินเชื่อมากขึ้น
3. เปิดและจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น
- ให้สัญชาติไทยแก่ผู้เข้ามาลงทุน
- ปรับกฎหมายถือที่ดินของคนต่างด้าว
- ออก พรบ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
- ผ่อนปรนด้านภาษี
4. เร่งอุปทานโดยเพิ่มการผลิต โดยเฉพาะด้านเกษตร อุสาหกรรมขนาดเล็ก-ขนาดกลาง (SMEs) และการท่องเที่ยว
5. สร้างงาน – ด้านบริการและก่อสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ
6. เพิ่มการส่งออก และลดการนำเข้า
7. แก้ไขสภาพคล่องของสถาบันการเงิน
8. มีการจัดตั้งบริษัท TAMC (บริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ) เพื่อแก้ปัญหา NPL
ปี 2541 ดุลการค้าไทยเริ่มเกินดุล เพราะการชะลอตัวด้านการสั่งเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคแบบฟุ่มเฟือย

แนวทางของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปี 2542
1. แก้ไขระบบการเงิน – แก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เช่น ประมูลขายสินทรัพย์ของลูกหนี้ธนาคาร
2. ใช้มาตรการการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ
3. เน้นความสำคัญของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น
4. ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้เป็นแบบครบวงจร
5. เพิ่มบทบาทของเอกชนมากขึ้น
6. แก้ไขปัญหาว่างงาน

สถานการณ์ปัจจุบัน
- รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ดำเนินการบริหารประเทศด้วยระบบ “บูรณาการ”, “พัฒนาเศรษฐกิจไทยแบบยั่งยืน” และ “แปลงทรัพย์สินเป็นทุน”
- ภายหลังอุบัติการณ์เดือนกันยายน 2544 ฝ่ายทุกขทรรศน์ (Pessimists) ที่มองเห็นความยืดเยื้อของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ก่อนเดือนกันยายน 2544 วงวิชาการเศรษฐศาสตร์ถกเถียงกันว่า ระบบเศรษฐกิจอเมริกันเผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจแล้วหรือยัง แต่เมื่อ World Trade Center ถูกถล่ม นักเศรษฐศาสตร์พากันมีสมานฉันท์ในการให้คำทำนายในทิศทางเดียวกันว่า ระบบเศรษฐกิจอเมริกันและระบบเศรษฐกิจโลก (รวมถึงประเทศไทย) มิอาจหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน วิวาทะประเด็นเดียวที่มีอยู่ก็คือ ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นครั้งนี้ยืดเยื้อยาวนานเพียงใด
- กลุ่มสุขทรรศน์ (Optimists) เชื่อว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างช้าที่สุดในช่วงปลายปี 2545 ระบบเศรษฐกิจอเมริกันจะสามารถฟื้นตัวได้ ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลอเมริกันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบขยายตัว (Expansionary Macroeconomic Policy) ทั้งนโยบายการคลัง (ด้วยการอัดฉีดรายจ่ายรัฐบาลและการลดภาษีอากร) และนโยบายการเงิน (ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย) กล่าวโดยสรุปก็คือ การฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจอเมริกันจะเป็นไปดุจอักษร V และช่วยฉุดระบบเศรษฐกิจโลกให้พ้นจากภาวะถดถอยด้วย
- 25 สิงหาคม 2547 คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ14วันหรืออาร์/พี นับว่าเป็นวันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งสำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทยเพราะเป็นการส่งสัญญาณออกมาว่าหลังจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่เรียกกันว่า “ต้มยำกุ้งดีซีส” รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมานาน บัดนี้ประเทศไทยเริ่มจะเข้าสู่ยุค “ดอกเบี้ยขาขึ้น” แล้ว

เอกสารอ้างอิง
1. เอกสารประกอบการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องเศรษฐกิจไทยปี 2535-2542 โดย กิตติวุฒิ เจริญศิริวัฒน์
2. //www.mis.nu.ac.th/nec/index.php
3. //www.nesdb.go.th/news/yearend/YearEnd46/data/data03_1.doc
4. //www.thaisnews.com/report_detail.php?reportid=2115
5. //se-ed.net/thaiarticles/2001_11_22.html
6. //yalor.riy.ac.th/~pwasana/data/crisis.html




 

Create Date : 29 ธันวาคม 2547
40 comments
Last Update : 29 ธันวาคม 2547 23:08:16 น.
Counter : 13278 Pageviews.

 

เนื้อหาการเอนท์ชั้นดีของกิ๊ก แหะๆๆ

 

โดย: กิ๊ก (+KikKle+ ) 2 2548 11:04:35 น.  

 

cool !

 

โดย: wor เองจ้า IP: 210.246.163.130 4 มกราคม 2548 10:17:48 น.  

 

เปิดช้าไป ถ้าเปิดเร็วกว่านี้จะบอกคุณในเรื่องลึกๆ กว่านี้

 

โดย: รi IP: 124.120.150.242 3 มกราคม 2550 23:04:56 น.  

 

ขอบคุณบล๊อกนี้ของคุณต่อมาก
เป็นแนวทางในการตอบข้อสอบวิชา Po360
ได้ดีจริงๆ

 

โดย: Ngoher singhadang'57 IP: 203.153.170.19 22 สิงหาคม 2550 13:26:18 น.  

 

ขอบมากมัมเป็นประโยชน์กับฉันมาก

 

โดย: kratai IP: 202.28.35.1 24 กันยายน 2550 9:19:11 น.  

 

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล...ขอบคุณครับ

 

โดย: ssr IP: 222.123.61.62 5 ตุลาคม 2550 2:10:08 น.  

 

ยอด

 

โดย: น้ำฝน IP: 203.154.67.148 12 ธันวาคม 2550 8:57:34 น.  

 

ขอบคุณมากๆ ที่เนบทความดีๆมานำเสนอ

 

โดย: thank you IP: 61.19.144.194 18 ธันวาคม 2550 13:54:09 น.  

 

ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับความรู้ดีๆ

 

โดย: ขอบคุณค่ะ IP: 124.121.67.97 7 มกราคม 2551 19:17:05 น.  

 

กำลังหาไปสอบพอดีเลยละ
ขอบคุณมากนะครับ

 

โดย: brillient IP: 118.172.21.105 11 มกราคม 2551 2:54:01 น.  

 

zZZzzz^;^ ขอบคุงก๊าบ

 

โดย: P.A บ้านเด็จ IP: 58.9.185.52 2 มีนาคม 2551 18:07:51 น.  

 

ได้ข้อมูลทำการบ้านพอดีเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะ

 

โดย: อั้ม IP: 125.26.85.103 14 มิถุนายน 2551 20:40:18 น.  

 

อยากได้ข้อมูลวิกฤตเศรษฐกิจปี2551 จังค่ะ
ช่วยหน่อยนะค่ะ แต่นี้เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยค่ะ

 

โดย: โม IP: 222.123.213.229 17 มิถุนายน 2551 12:23:49 น.  

 

ขอบคุณมากๆเลย

เรากำลังทำรายงานเรื่องนี้พอดี ขอบคุณมากๆค่ะ

 

โดย: orange IP: 125.27.30.17 23 มิถุนายน 2551 9:30:29 น.  

 

ขอบคุณมากครับ กำลังทรายงานเรื่องนี้อยู่ครับ

 

โดย: tek IP: 202.91.19.204 1 สิงหาคม 2551 17:27:29 น.  

 

ขอบคุณค่ะ กำลังทำรายงานเรื่องนี้อยู่พอดีเลย

 

โดย: jam IP: 222.123.32.108 10 สิงหาคม 2551 18:54:21 น.  

 

ขอบคุณมากๆค่ะ

 

โดย: พีพี IP: 125.26.88.65 24 สิงหาคม 2551 14:01:48 น.  

 

ขอบคุณมาก ๆเลยค่ะกำลังทำรายงานเรื่องวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ พอดี

 

โดย: bb IP: 203.158.207.31 25 สิงหาคม 2551 11:18:58 น.  

 

ขอบคุณมากๆๆๆ นะคะ มีประโยชน์มากเลยกำลังอยากได้ข้อมูลเพื่อทำ thesis อยู่พอดี

 

โดย: maylody IP: 58.137.173.163 16 กันยายน 2551 16:40:54 น.  

 

อยากได้สรุปเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ 40-51

 

โดย: lll IP: 118.172.139.17 14 พฤศจิกายน 2551 6:35:43 น.  

 

อยากได้ข้อมูลทั้งหมดในรูปเล่มรายงานได้ไหม
กำลังทำรายงานเรื่องนี้อยู่พอดี
จะเอามาเป็นข้อมูล แต่ถ้าไม่ได้จะหาข้อมูลได้จากที่ไหนอีก
ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะ

 

โดย: a IP: 125.25.95.235 7 มกราคม 2552 17:47:12 น.  

 

อ่านแล้วงงช่วยอธิบายให้ชัดเจนด้วย

 

โดย: ty IP: 118.173.94.216 16 เมษายน 2552 16:45:38 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: ns IP: 125.27.30.144 24 มิถุนายน 2552 21:01:36 น.  

 

ออกสอบพอดีเลย

 

โดย: nanagi IP: 61.7.170.47 19 กันยายน 2552 22:49:56 น.  

 

ขอบคุณ

 

โดย: แมวมอง IP: 115.67.9.33 6 ธันวาคม 2552 21:33:07 น.  

 

*-*ขอบคุณนะค่ะ

 

โดย: อ้อแอ้ IP: 192.168.100.45, 58.147.122.221 24 ธันวาคม 2552 0:59:55 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: ทานตะวัน IP: 222.123.221.171 27 เมษายน 2553 14:47:19 น.  

 

ขอบคุณมาก ข้อมูลดีมากมากจะเอาไปสอบ
วิชาการเงินธุรกิจ

 

โดย: แจน IP: 112.142.173.246 31 กรกฎาคม 2553 2:16:01 น.  

 


ข้อมูลสุดยอกจริง ๆ ค่ะ

 

โดย: เตยหอม IP: 125.27.229.174 25 พฤษภาคม 2554 19:42:07 น.  

 

ขอบคุณข้อมูลชุดนี้มาก ขอบคุณอ่ะ

 

โดย: เก่ง IP: 110.169.196.233 19 มิถุนายน 2554 18:38:34 น.  

 

ขอบคุณมากนะคะสำหรับ ข้อมูล ขอบคุณคะ

 

โดย: เบียร์ IP: 49.228.34.212 11 กรกฎาคม 2554 22:27:42 น.  

 

ขอบคุนมากค่ะ กำลังจะสอบแต่อยากเสริมตรงที่ว่า เกิดจากในช่วงยุคนั้นเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรม มาเป็นอุตสาหกรรมด้วยใช่ไหมค่ะ เลยทำให้ประเทศไทยเกิดวิกฤตินี้ขึ้นมา

 

โดย: กวางเจา IP: 223.205.82.113 31 กรกฎาคม 2554 21:05:13 น.  

 

ขอบคุณมากๆๆเลยขอรับ

 

โดย: ชายผู้มากับฝน IP: 27.130.129.172 21 กันยายน 2554 5:57:41 น.  

 

ขอบคุณมากๆๆๆ

 

โดย: ติกอิอิ IP: 171.4.230.180 15 พฤศจิกายน 2554 8:31:09 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: ชุติมา IP: 182.53.205.153 15 สิงหาคม 2555 18:19:11 น.  

 

บทความดี มีความกระชับ ครับ

 

โดย: แอ้ ภูเก็ต IP: 27.55.4.83 1 กันยายน 2555 22:55:28 น.  

 

ขอบคุณนะคะ

 

โดย: จิ๊บ IP: 110.49.234.15 5 กันยายน 2555 21:27:07 น.  

 

ขอบคุณนะคะ

 

โดย: จิ๊บ IP: 110.49.234.15 5 กันยายน 2555 21:27:07 น.  

 

ขอบคุณนะคะที่ให้สิ่งดีๆ

 

โดย: mepoo IP: 101.109.198.217 3 พฤศจิกายน 2555 15:20:18 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ ตอนนี้กำลังหาข้อมูลเอาไปแปลเป็นภาษาจีนเพื่อส่งงานอาจารย์อยู่

 

โดย: K.C. IP: 171.4.116.93 28 ธันวาคม 2555 11:06:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


merveillesxx
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




สำส่อนทางการดูหนัง ฟังเพลงและเสพวรรณกรรม
New Comments
Friends' blogs
[Add merveillesxx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.