ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ด Thailand Aquatic Pets เว็บบล็อคสำหรับ คนรักสัตว์น้ำ ( และ สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ) ประเทศไทยจ้า
 
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
28 พฤศจิกายน 2557

สายพันธุ์ปลาน่าสนใจ : ปลาหมอ Blue Moorii Cichlid หรือ ปลาหมอ Blue Dolphin ( บลู ดอลฟิน )




  ปลาหมอที่บางคนก็ว่าน่ารัก บางคนก็ว่าหน้าตา ดูพิลึกกึกกืออยู่พอสมควร หัวโหนก

ปากเจ่อๆ  แต่ก็เป็นปลาหมอที่หลายๆคนคุ้นเคยกันดีนะครับ เพราะมีจำหน่ายอยู่ในตลาดบ้านเรา

อยู่เป็นระยะๆ กับ กับเจ้าปลาหมอโลมาสีน้ำเงิน หรือ Blue Dolphin เนี่ยล่ะนะครับ

  ปลาหมอชนิดนี้ เป็นปลาหมอที่เมื่อเติบใหญ่เต็มที่แล้ว มีขนาดใหญ่ไม่เบาเลย คือที่ประมาณ

10 นิ้วได้เลยทีเดียว อาหารในธรรมชาติ เขาก็สามารถหากินได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพวก

สิ่งมีชีวิตในน้ำขนาดเล็กต่างๆ ก็สามารถที่จะกินได้อย่างหลากหลาย  โดยจะชอบมาก ที่ได้กินพวก

สัตว์มีเปลือกขนาดเล็กๆในน้ำนั่นแหล่ะครับ โดยธรรมชาติ ปลาชนิดนี้ จะหากินอยู่ตามพื้นน้ำ พื้น

ทรายนั่นแหล่ะครับ

  ปลาหมอ บลู ดอลฟิน เป็นปลาหมอที่ค่อนข้างจะสุภาพกับเพื่อนๆ ต่างสายพันธุ์ และ ปลาชนิดอื่นๆ

ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แต่จะดุร้ายก้าวร้าว กับ พวกเดียวกัน โดยเฉพาะตัวผู้ด้วยกันนี่ ไม่ค่อยมีใคร

ยอมใครเท่าไหร่  ผู้เลี้ยงต้องระวังในจุดนี้ด้วยครับ  

  การจัดเตรียมตู้เลี้ยง สำหรับปลาชนิดนี้นั้น เนื่องจากเป็นปลาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้ตู้เลี้ยง

อาจจะต้องมีขนาดใหญ่ซักหน่อย ประดับประดาด้วย ที่หลบซ่อน หรือ ก้อนหิน ก้อนกรวดหยาบๆ 

ได้ตามชอบใจ ระบบกรองถ้าได้กรองนอกหน่อยก็จะดีเป็นอย่างยิ่งครับ  เพราะเป็นปลาตัวใหญ่ กิน

เก่ง อึ๊เก่ง พอสมควรเลยล่ะครับเจ้านี่

  อาหาร อย่างที่แจ้งให้ทราบ ก่อนหน้านี้ ปลาหมอชนิดนี้ ไม่ค่อยเลือกกินครับ ส่วนใหญ่ กินง่าย

อาหารแผ่น ( คุณภาพดี ) , อาหารแข่แข็ง , อาหารสด รับประทานได้ทั้งหมด  โดยผู้เลี้ยงอาจจะ

ให้วันละ 3 - 4 มื้อ เป็นมื้อที่แต่ละครั้งไม่มาก ปลาสามารถกินอาหารได้หมด ใน 3 - 5 นาทีครับ

  การจำแนกเพศของปลาหมอชนิดนี้นั้น จำแนกได้ค่อนข้างยาก เพราะไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ หรือ ตัวเมีย

พอโตๆ หน่อย หัวก็จะนูนๆ ออกมาใกล้เคียงกันครับ ในขณะที่ญาติๆ ของมัน ในชนิดอื่นนั้น มักจะ

เป็น ปลาตัวผู้ที่ จะมีหัวโหนกเห็นได้เด่นชัดมากกว่า ดังนั้น ถ้าเราต้องการจะเพาะพันธุ์ปลาหมอชนิด

นี้นั้น  อาจจะต้องทำการเลี้ยงรวมเอาไว้เป็นฝูงๆ ตั้งแต่ ลูกเล็กๆ หรือ ขนาดวัยรุ่น แล้วแอบดู

พฤติกรรมอีกทีตอนโตครับ ว่า ปลาตัวใหน มีพฤติกรรมเป็นตัวผู้ เริ่มสร้างรัง เริ่มกวาดต้อน 

เกี้ยวพาราสีตัวเมีย ก็ตัวนั้นแหล่ะครับ ตัวผุ้แน่นอน ถ้าทำแบบเดียวกันทั้งหมด ก็ตัวผู้เยอะ

ตัวเมียไม่มี ก็เท่านั้นแหล่ะครับ................. ( เหรอ ) ช่วงนี้ตัวผู้จะมีสีสัน สดใส ขึ้นมานิดหนึ่ง

ถ้าเห็นตัวใหนที่มีจุดสีสดๆ ขึ้น ก็นั่นแหล่ะครับตัวผู้ ( เพิ่มความชัวร์ ขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ) 

    หลังจากปลาได้มีการขุดรัง วางไข่ เรียบร้อยแล้ว ไข่ปลาจะฟักออกมาเป็นปลาวัยอ่อน ซึ่ง

แม่ปลาจะดูแล โดยการอมลูกปลาเอาไว้ในปาก ตอนกลางคืน หรือ ตอนที่แม่ปลาคิดว่ามีอันตราย

และ จะปล่อยลูกปลาออกมาหากินบ้างเป็นบางช่วง  ผู้เลี้ยงไม่ต้องตกใจนะครับ  ซึ่งจะใช้เวลาราวๆ

เดือน สองเดือน ที่ลูกปลาจะเริ่มโตมากขึ้น และเตรียมแยกย้ายกันออกหากินต่อไปครับ ส่วนอาหาร

ของลูกปลา ก็เหมือนปลาเต็มวัย แต่ถ้าเป็นอะไรที่เล็กๆ เช่นลูกไรเกิดใหม่ ลูกปลา ก็จะกินได้ง่าย

หน่อยครับ.












Create Date : 28 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2557 13:04:31 น. 0 comments
Counter : 3679 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เหมียวกุ่ย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




ยินดีต้อนรับพี่ๆน้องๆทุกท่านเข้าเยี่ยมชม เว็บบล็อคแห่งนี้ หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในการชมบล็อคของกระผมนะครับ










View My Stats
New Comments
[Add เหมียวกุ่ย's blog to your web]