[ Home] [ Tech] [ จิปาถะ] [ Cactus] Manager Online News
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
8 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
.:: คำสั่ง Unix ที่ใช้เป็นประจำ ::.


.:: คำสั่ง Unix ที่ใช้เป็นประจำ ::.








[Printer Friendly]
ผู้เขียน/โดย : เกริก ภิรมย์โสภา (Krerk Piromsopa)
เขียนเมื่อ/ปรับปรุง : 2004-07-14 21:38:09
มีผู้เยี่ยมชมทั้งสิ้น : 35270

คำสั่ง Unix ที่ใช้เป็นประจำ


Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กับแพร่หลายบนระบบขนาดใหญ่ และในปัจจุบันยังมีระบบปฏิบัติการในลักษณะของ Unix-like เกิดขึ้นมากมาย และ เริ่มเป็นที่นิยมใช้กันมากหลายยิ่งขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเอกสารชุดนี้จึงสรุปคำสั่งบน Unix ที่มักใช้เป็นประจำโดยมีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับ DOS/Windows พร้อมกับอธิบายถึงส่วนขยายเพิ่มเติมของคำสั่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เริ่มหัดใช้Unix ทั่วไป


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Unix ที่ควรทราบ



  1. Unix เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Multi User และ Multi Tasking ซึ่งแตกต่างจาก Window ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Multi Tasking แต่ไม่เป็น Multi Userกล่าวคือ ณ เวลาหนึ่งๆ บนระบบ Unix จะมีผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 1 คนพร้อมกัน ทำให้ Unix มีระบบการจัดการ Permission และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลดีกว่าและซับซ้อนกว่า DOS/Window

  2. ระบบ File System ของ Unix นั้นจะเป็นระบบ Single Root กล่าวคือจะมี Logical Driver เพียง Drive เดียวเท่านั้น และกรณีมี Harddisk หลายตัวหรือหลาย Partition แต่ละ Partition จะถูกกำหนดให้เป็นเพียง Directory ย่อยของระบบ ซึ่งจะต่างกับ DOS/Window ที่เป็นระบบ Multiple Root ที่จะแยก Drive / Parition ตามตัวอักษร เช่น A: , C: เป็นต้น

  3. เนื่องจาก Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาด้วยภาษา C ดังนั้นชื่อต่างๆ บน Unix จึงมีลักษณะเป็น Case-sensitive เช่น กรณีแฟ้มข้อมูลชื่อ MyFile กับ myfile จะเป็นแฟ้มข้อมูลคนละชื่อกัน

  4. ระบบ Permission ของ Unix จะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับเจ้าของ (User หรือ Owner) ระดับกลุ่ม (Group) และ ระดับบุคคลอื่น (Other) โดยในแต่ละระดับจะแบ่งออกเป็นสิทธิในการประมวลผล (execute) การอ่าน (read) และ การเขียน (write) ทั้งรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดูจากคำสั่ง chmod

  5. กรณีที่ผู้ใช้กระทำคำสั่งใดผิดพลาดนั้น บน Unix เราสามารถที่จะ Interrupt เพื่อยกเลิกการทำงานของคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นๆ ได้โดยการกด CTRL + C

  6. มาตรฐานของระบบ Keyboard บนเครื่อง Unix บางเครื่องอาจจะแตกต่างกับมาตรฐาน Keyboard บนเครื่องที่เราใช้อยู่ ดังนั้นในบางกรณี เช่น การ telnet จากเครื่องอื่นเข้าสู่ระบบ Unix เราจึงไม่อาจใช้ Key บางอันตามปกติได้ เช่น backspace ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้เราสามารถใช้ backspace ได้ตามปกติจึงต้องมีการ map key ใหม่ด้วยการเรียกคำสั่ง stty erase [backspace]


คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล


ls



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (ในทำนองเดียวกับdir) มากจากคำว่า list


โครงสร้างคำสั่ง



ls [option]... [file]...



โดย option ที่มักใช้กันใน ls คือ



-l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย


-a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด


-F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้



ตัวอย่าง



ls -l


ls -al


ls -F


ls /usr/bin



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : ls --help และ man ls



cp



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (ในทำนองเดียวกับ copy) มาจากคำว่า copy


โครงสร้างคำสั่ง



cp source target



ตัวอย่าง



cp test.txt test1.bak



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : cp --help และ man cp



mv



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ move) มาจากคำว่า move


โครงสร้างคำสั่ง



mv source target



ตัวอย่าง



mv *.tar /backup


mv test.txt old.txt


mv bin oldbin



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : mv --help และ man mv



rm



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับลบแฟ้มข้อมูล (ในทำนองเดียวกับ del) มาจากคำว่า remove


โครงสร้างคำสั่ง



rm [option]... [file]...



โดย option ที่มักใช้กันใน rm คือ


-r ทำการลบข้อมูลใน directory ย่อยทั่งหมด


-i โปรแกรมจะถามยืนยันก่อนทำการลบ


-f โปรแกรมจะลบข้อมูลทันที โดยไม่ถามยืนยันก่อน


ตัวอย่าง



rm -rf test/


rm test.doc



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : rm --help และ man rm



คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการ Directory / Folder


pwd



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory


โครงสร้างคำสั่ง / ตัวอย่าง



pwd




cd



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยน directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับ cd) มาจากคำว่า change directory


โครงสร้างคำสั่ง



cd directory



โดย directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้


ตัวอย่าง



cd /usr


cd ~ (เป็นการเข้าสู่ home directory)


cd - (เป็นการยกเลิกคำสั่ง cd ครั้งก่อน)


cd .. (เป็นการออกจาก directory 1 ชั้น



ข้อควรระวัง : คำสั่ง cd บน UNIX จะต้องมีเว้นวรรคเสมอ



mkdir



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory


โครงสร้างคำสั่ง



mkdir [option]... [file]...



โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ



-m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม)


-p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ


directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้



ตัวอย่าง



mkdir /home


mkdir -p -m755 ~/local/bin



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : mkdir --help และ man mkdir



rmdir



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory


โครงสร้างคำสั่ง



rmdir [option]... [file]...



โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ



-p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ


directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้



ตัวอย่าง



rmdir /home


mkdir -p /home/local/data



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : rmdir --help และ man rmdir



คำสั่งเกี่ยวกับการค้นหาแฟ้มข้อมูล และ Permission


file



บนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล
แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก
Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ


โครงสร้างคำสั่ง



file [option]... file



ตัวอย่าง



file /bin/sh


file report.doc



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : file --help และ man file



find



เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับค้นหาแฟ้มข้อมูล


โครงสร้างคำสั่ง



find [path].. expression



ลักษณะของ expression เช่น



-name [pattern] เพื่อใช้หาชื่อ file ตาม pattern
ที่ระบุ


-perm [+-] mode เพื่อใช้หา file ตาม mode ที่ต้องการ


-user NAME หา file ที่เป็นของ user ชื่อ NAME


-group NAME หา file ที่เป็นของ group ชื่อ NAME



ตัวอย่าง



find -name *.doc


find /usr -perm +111 (หาแฟ้มที่มี Permission อย่างน้อยเป็น
111)



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : file --help และ man file



chown



ใช้สำหรับเปลี่ยนเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory


โครงสร้างคำสั่ง



chown [option]... owner[:group] file หรือ


chown [option]... :group file



โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ



-R เปลี่ยน Permission ของทุกๆ แฟ้มย่อยใน Directory



ตัวอย่าง



chown krerk:users /home/krerk


chown nobody data.txt



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : chown --help และ man chown



chgrp



ใช้สำหรับเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory


โครงสร้างคำสั่ง



chgrp [option]... group file



โดย option ที่มักใช้กันใน chgrp คือ



-R เปลี่ยน Permission ของทุกๆ แฟ้มย่อยใน Directory



ตัวอย่าง



chgrp users /home/krerk


chown nobody data.txt



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : chgrp --help และ man chgrp



chmod



ใช้สำหรับเปลี่ยนเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory


โครงสร้างคำสั่ง



chmod [option]... mode[mode] file หรือ


chmod [option]... octalmode file



โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ



-R เปลี่ยน Permission ของทุกๆ แฟ้มย่อยใน Directory



และการอ้างอิง mode จะใช้ตัวอักษร u g o a + - r w x
X s t u g o โดย



u หมายถึง User ผู้เป็นเจ้าของแฟ้ม


g หมายถึง Group ผู้เป็นเจ้าของแฟ้ม


o หมายถึง บุคคลอื่นๆ


a หมายถึง ทุกๆ กลุ่ม


r หมายถึง สิทธิในการอ่าน


w หมายถึง สิทธิในการเขียน/แก้ไข


w หมายถึง สิทธิในการ execute หรือ ค้นหา (ในกรณีของ
Directory)


ส่วน s t u g และ o นั้น จะขอกล่าวถึงในเอกสารเรื่อง
Unix Permission ต่อไป



เนื่องจากผลลัพธ์ของคำสั่ง ls -l จะแสดงเป็นลำดับ ดังตัวอย่างต่อไปนี้



$ ls -l krerk.jpg

-rw-r--r-- 1 pok pok 13201 เม.ย. 21 2000 krerk.jpg



ดังนั้น การเขียน Permission อาจจะเขียนได้เป็นเลขฐาน
8 เช่น 644 หมายถึง 110100100 ซึ่งจะตรงกับ rw-r--r- เป็นต้น


ตัวอย่าง



chmod 750 /home/krerk (แก้ไขได้(เขียน)ได้เฉพาะเจ้าของแฟ้ม
และสามารถ execute ได้เฉพาะกลุ่มและเจ้าของเท่านั้น)


chmod 644 data.txt (rw-r--r-- เจ้าของแฟ้ม อ่านและเขียนได้
กลุ่มเจ้าของแฟ้มและบุคคลอื่นๆ อ่านได้ )



(เพื่อประกอบความเข้าใจ ให้ผู้ใช้ลองเปลี่ยน mode และดูผลลัพธ์ด้วย
ls -l)


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : chmod --help และ man chmod



คำสั่งเกี่ยวกับการดู และ แก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูล


cat



ใช้สำหรับดูข้อมูลภายในแฟ้มข้อมูล หรือ Standard Input
และแสดงผลออกมาทาง Standard Output (ในทำนองเดียวกันกับคำสั่ง type)
มาจากคำว่า concatinate


โครงสร้างคำสั่ง



cat [optioin]... [file]



โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ



-n เพื่อทำการแสดงเลขบรรทัด



ตัวอย่าง



cat data.txt


cat file1.txt file2.txt > file3.txt (นำข้อมูลใน
file1.txt และ file2.txt มาต่อกัน แล้วเก็บไว้ใน file3.txt)



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : cat --help และ man cat



more



สืบเนื่องจากคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ
ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ


โครงสร้างคำสั่ง



more file



ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้



= แสดงเลขบรรทัด


q ออกจากโปรแกรม


<space> เลื่อนไปยังหน้าถัดไป


<enter> เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป


h แสดง help



ตัวอย่าง



more data.txt



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man more และ help ของ more



less



less เป็นการพัฒนาคำสั่ง more ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เนื่องจาก more จะไม่สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ less จึงเป็นปรับปรุงและเพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่างให้
more


โครงสร้างคำสั่ง



less file



ตัวอย่าง



less data.txt



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man less และ help ของ less



head



จะแสดงส่วนหัวของแฟ้มข้อมูล ตามจำนวนบรรทัดที่ต้องการ


โครงสร้างคำสั่ง



head [option] file




โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ



-n เพื่อทำการระบุบรรทัดที่ต้องการ (หากไม่ระบุจะเป็น
10 บรรทัด)



ตัวอย่าง



head data.txt


head -n 10 data.txt



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : head --help และ man head



tail



จะแสดงส่วนท้ายของแฟ้มข้อมูล ตามจำนวนบรรทัดที่ต้องการ


โครงสร้างคำสั่ง



tail [option] file



โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ



-n เพื่อทำการระบุบรรทัดที่ต้องการ (หากไม่ระบุจะเป็น
10 บรรทัด)


-c เพื่อระบุจำนวน byte



ตัวอย่าง



tail data.txt


tail -n 10 data.txt



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : tail --help และ man tail



คำสั่งเกี่ยวกับผู้ใช้ และ การสื่อสาร


whoami



ใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง)
login ด้วยชื่ออะไร


โครงสร้างคำสั่ง/ตัวอย่าง



whoami หรือ


who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น)




who



ใช้เพื่อแสดงว่ามีผู้ใช้ใดบ้างที่กำลังทำงานอยู่บนระบบ


โครงสร้างคำสั่ง/ตัวอย่าง



who




finger



ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดของผู้ใช้


โครงสร้างคำสั่ง



finger [user@host] หรือ


finger [@host]



กรณีไม่ระบุชื่อ finger จะแสดงรายละเอียดของ User ที่กำลัง logon อยู่บนเครื่องนั้นๆ
ทั้งหมด ซึ่งหากไม่ระบุ host ด้วย โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน


ตัวอย่าง



finger


finger krerk@vwin.co.th


finger krerk


finger @student.netserv.chula.ac.th



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man finger




talk



ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง
2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้


โครงสร้างคำสั่ง



talk user[@host] [tty]



กรณีไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง
ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ
tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ


ตัวอย่าง



talk krerk@vwin.co.th



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man talk




write



จะใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น


โครงสร้างคำสั่ง



write user [tty]



เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร
ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร
EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก
write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น


ตัวอย่าง



write krerk



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man write



mesg



จะใช้เพื่อควบคุมว่าผู้อื่นมีสิทธิที่จะส่งข้อความ write
ถึงเราหรือไม่


โครงสร้างคำสั่ง



mesg [y | n]




โดย option มีความหมายคือ



y - หมายถึงผู้อื่นมีสิทธิที่จะส่งข้อความถึงเรา


n - หมายถึงผู้อื่นมีไม่สิทธิที่จะส่งข้อความถึงเรา



ตัวอย่าง



mesg y


mesg n



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man mesg



คำสั่งทั่วไป / อื่นๆ


man



เพื่อใช้แสดงรายละเอียดข้อมูลของคำสั่ง หรือ วิธีการใช้แฟ้มข้อมูลต่างๆ
มาจากคำว่า manual


โครงสร้างคำสั่ง



man [section]... manpage




โดย section ต่างๆ ของ manpage คือ



1 จะเป็น User Command


2 จะเป็น System Calls


3 จะเป็น Sub Routines


4 จะเป็น Devices


5 จะเป็น File Format



ตัวอย่าง



man printf


man 1 ls



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man man



tar



ใช่เพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar
จะเก็บทั้งโครงสร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย
หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive


โครงสร้างคำสั่ง



tar [option]... [file]...






โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ



-c ทำการสร้างใหม่ (backup)


-t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้


-v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล


-f ผลลัพธ์ของมาที่ file


-x ทำการ restore



ตัวอย่าง



tar -cvf mybackup.tar /home/*


tar -tf mybackup.tar


tar -xvf mybackup.tar



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : tar --help และ man tar



alias



เพื่อกำหนด macro ให้ใช้คำสั่งได้สะดวกมากขึ้น (แบบเดียวกันกับการกำหนด
macro ด้วย doskey)


โครงสร้างคำสั่ง



alias macroname='command'




ตัวอย่าง



alias ll='ls -F -l'



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man ของ Shell ที่ใช้อยู่



echo



แสดงข้อความออกทาง standard output


โครงสร้างคำสั่ง



echo [option]... msg




โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ



-n ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่



ตัวอย่าง



echo -n "Hello"


echo "Hi.."


free -k



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : man echo



free



แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ


โครงสร้างคำสั่ง



free [-b|-k|-m]




โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ



-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte


-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte


-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte





ตัวอย่าง



free


free -b


free -k



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : free--help และ man free



sort



ใช้เพื่อทำการจัดเรียงข้อมูลในแฟ้มตามลำดับ (ทั้งนี้จะถือว่าข้อมูลแต่ละบรรทัดเป็น
1 record และจะใช้ field แรกเป็น key)


โครงสร้างคำสั่ง



sort [option] file



ตัวอย่าง



sort data.txt



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : sort --help และ man sort



การ Redirection และ Pipe


ทั้ง DOS/Windows และ UNIX ต่างก็มีความสามารถในการ
Redirection และ Pipe ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งประโยชน์ของการ Redirection
และ การ Pipe คือการที่สามารถนำโปรแกรมเล็กๆ หลายโปรแกรมมาช่วยกันทำงานที่ซับซ้อนมายิ่งขึ้นได้


การ Pipe คือการนำผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรมหนึ่ง
ไปเป็นอินพุทของอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่น



ls | sort


เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จาก ls ส่งเป็นอินพุตให้โปรแกรม
sort ทำงานต่อเป็นต้น



การ Redirection คือการเปลี่ยนที่มาของอินพุต และ เอาพุตที่แสดงผลลัพธ์
จาก Keyboard หรือ จอ Monitor เป็นแฟ้มข้อมูล หรือ Device ต่างๆ เช่น



ls >list.txt


เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จาก ls เก็บลงในแฟ้มข้อมูลชื่อ
list.txt เป็นต้น



ทั้งนี้ การ Redirection จะเป็นการสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่เสมอ
ในกรณีที่ต้องการเขียนข้อมูลต่อท้ายอาจทำได้โดยการใช้ >> แทน >
เช่น



ls >list.txt


pwd >> list.txt


ผลลัพธ์จากคำสั่ง pwd จะแสดงต่อท้ายผลลัพธ์จากคำสั่ง
ls ใน list.txt



ในทำนองเดียวกัน เราสามารถใช้ Redirection เพื่อรับข้อมูลจาก
File ได้ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถ Run Program ที่ต้องการ Input แบบ Batch
ได้ (ซึ่งจะกล่าวถึงในการเขียน Shell Script ต่อไป)


ใช้คำสั่ง Unix บน DOS/Windows


ปัจจุบันได้มีผู้ Port โครงสร้างและ Utility
ของ Unix ไปยัง Window หรือ WindowNT ภายใต้ชื่อ Project “Cygwin”
ซึ่งผู้ใช้สามารถทำงานบน Window ได้เหมือนกับการทำงานบน Unix ทุกประการ
ทั้งนี้รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมด้วย ซึ่งในปัจจุบัน Project ดังกล่าวดูแลโดย
RedHat ดังนั้นหากผู้อ่านท่านใดมีความสนใจ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมและ
Download ได้จาก //www.cygwin.com/
หรือ //www.cygnus.com/


นอกจากนี้ยังมีการ Port โปรแกรมต่างๆ ในโครงการของ
GNU ไปยังระบบ DOS ภายใต้ชื่อ DJGPP ซึ่งประกอบไปด้วย Compiler และโปรแกรมต่างๆ
บน Unix โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก //www.gnu.org/


ตารางเปรียบเทียบการใช้คำสั่งระหว่าง DOS
และ UNIX














































































































DOS UNIX หมายเหตุ
ATTRIB +-attrib file chmod mode file ระบบ Permission แตกต่างกัน
BACKUP tar cvf file file การทำงานแตกต่างกัน
CD dir cd dir/ คล้ายคลึงกัน
COPY file1 file2 cp file1 file2 เหมือนกัน
DEL file rm file เหมือนกัน
DELTREE rm -R file เหมือนกัน
DIR ls หรือ ls -al และ du , df dir จะแสดงเนื้อที่ที่ใช้ และ เนื้อที่ที่เหลือด้วย ซึ่ง UNIX ต้องดูด้วย
du และ df แทน
DIR file /S find . -name file บน Unix จะทำงานได้ดีกว่า
DOSKEY name command alias name='command' เป็นการสร้าง macro ในทำนองเดียวกัน
ECHO msg echo "msg" เหมือนกัน
FC file1 file2 diff file1 file2 เหมือนกัน
HELP command man command ทำนองเดียวกัน
MEM free ทำนองเดียวกัน
MD dir หรือ MKDIR dir mkdir dir เหมือนกัน
MORE < file more file หรือ less file less จะทำงานได้ดีกว่า
MOVE file1 file2 mv file1 file2 เหมือนกัน
RD dir หรือ RMDIR dir rmdir dir หรือ rm -d dir เหมือนกัน
RESTORE tar xvf file การทำงานแตกต่างกัน
SORT file sort file เหมือนกัน
TYPE file more file หรือ less file less จะทำงานได้ดีกว่า

เอกสารอ้างอิง



  • R. Thomas, J. Yates, "A USER GUIDE TO THE UNIX
    SYSTEM", OSBORNE/McGRAW-HILL,2nd Edition,1987.

  • G. Gonzato,"From DOS/Windows to Linux HOWTO"

  • Unix man pages Document.




Create Date : 08 กันยายน 2551
Last Update : 8 กันยายน 2551 18:16:54 น. 3 comments
Counter : 1255 Pageviews.

 
copy มาทั้งดุ้นเลยปะเนี้ย


โดย: a-cal IP: 202.28.78.14 วันที่: 8 กันยายน 2551 เวลา:18:39:46 น.  

 
มี credit ข้างบนสุดครับผม ชื่อผู้เขียน


โดย: mengbps01 วันที่: 9 กันยายน 2551 เวลา:13:55:31 น.  

 
กำลังหาอ่านอยู่พอดี จะเอาไปใช้งานใน os x
ขอบคุณหลายๆ


โดย: seneca วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:14:15:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แมวอุณหภูมิห้อง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




loading...

free counters

New Comments
Friends' blogs
[Add แมวอุณหภูมิห้อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.