space
space
space
 
พฤษภาคม 2564
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
22 พฤษภาคม 2564
space
space
space

ภาวะโรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตจากเชื้อโควิด

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 3 ในไทย นอกจากจะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันสูงแตะหลักพันแล้ว สิ่งที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่งคือ อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น และเมื่อพิจารณาจากโรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคแล้ว ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคโควิดส่วนใหญ่ นอกจากจะมีโรคประจำตัวอย่างความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ พบว่ามีภาวะอ้วนประกอบด้วย

ข้อมูลในปี 2563 ความเสี่ยงของผู้สูงอายุและคนอ้วนกับโควิดว่า ผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น รวมถึงผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย และเมื่อติดเชื้อแล้วทำให้โรคมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาของสหรัฐอเมริกา พบว่า ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการติดเชื้อโควิด-19 เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด ส่วนความอ้วนเป็นสาเหตุอันดับ 3 แต่ในกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 18-49 ปี โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 คือ ผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป โดยเฉพาะคนที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีโอกาสจะป่วยเพิ่มมากขึ้น 2-3 เท่า

ข้อมูลจากประเทศจีน โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 มีโอกาสเสียชีวิต สูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีดัชนีมวลกายไม่ถึง 25 มีโอกาสเสียชีวิตแค่ 12 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วตรวจพบว่ามีไขมันพอกตับด้วยจะยิ่งเพิ่มโอกาสความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น

สังคมที่เร่งรีบเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคดิจิทัล ทั้งพฤติกรรมการบริโภค การดูแลรักษาสุขภาพ การทำงาน คนในวัยทำงานส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับชีวิตบนโต๊ะทำงานมากกว่าสิ่งอื่น แม้แต่การรับประทานอาหาร หลายคนพึ่งพาอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารปรุงพร้อมเสิร์ฟที่มาในรูปแบบเดลิเวอรี รวมไปถึงการขาดความใส่ใจในเรื่องหลักโภชนาการ และรับประทานอาหารไปด้วยในขณะทำงาน

พฤติกรรมดังกล่าวทำให้มนุษย์วัยทำงานขยับตัวน้อยลง ใช้พลังงานที่ได้รับมาน้อยลงและใช้เวลาไปกับการสังสรรค์ ดื่มแอลกอฮอล์ น้อยคนนักที่จะจัดสรรเวลาสำหรับการ ออกกำลังกายสิ่งเหล่านี้เป็นผลให้ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานที่ได้รับในรูปแบบที่เหมาะสม เป็นที่มาของไขมันส่วนเกินที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละนิด อันนำไปสู่ภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง

แน่นอนว่า ในระยะแรกของภาวะอ้วน แม้บางคนจะรู้ตัว ทั้งจากตัวเลขน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ความกระฉับกระเฉงลดลง หรือรอบเอวหนาขึ้นจนไม่สามารถใส่กางเกงหรือกระโปรงตัวเดิมได้ ทว่า ยังไร้การตระหนักรู้ว่า ผลเสียร้ายแรงที่จะตามมาคือ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ในอนาคต


ข้อมูลที่น่าสนใจจากเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันพบคนอ้วนมากกว่า 800 ล้านคน กระจายอยู่ทั่วโลก และข้อมูลจากปี 2557 ถึงปัจจุบันพบว่า คนไทย 19.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 34.1 มีภาวะ "อ้วน" และมีคนไทยรอบเอวเกิน หรือ "อ้วนลงพุง" กว่า 20.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 37.5 ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีภาวะอ้วน มีความเสี่ยง ที่จะเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อน้ำหนักปกติ หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ อธิบายว่า "คนอ้วนเมื่อ ได้รับเชื้อโควิด-19 เชื้อจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย ซึ่งในคนอ้วน เซลล์ไขมันในร่างกาย จะมีตัวรับเชื้อโควิด-19 มากกว่าในปอด นอกจากนี้ ความอ้วนถือเป็นการอักเสบเรื้อรัง หากเกิดการอักเสบเฉียบพลันจาก โควิด-19 หรือปอดอักเสบก็จะรุนแรงกว่าคนอื่น ซึ่งเกี่ยวพันกับการเป็นโรคเบาหวาน ความดัน และหัวใจด้วย"

หากเราใช้วิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ลองหาค่าดัชนีมวลกายของตัวเอง เพื่อที่จะได้รู้ว่า เรามีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะอ้วนหรือไม่ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) เพื่อการวินิจฉัยโรคอ้วนทั้งตัว และวัดเส้นรอบเอวเพื่อการวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง เพราะ BMI คือค่าความหนาของร่างกายใช้เป็นมาตรการในการประเมินภาวะอ้วน ผอม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำนวณได้จากการใช้น้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม และหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งใช้ได้ทั้ง ผู้หญิงและผู้ชาย

ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)

เช่น นายเอ น้ำหนัก 70 กิโลกรัม สูง 1.50 เมตร คำนวณได้ดังนี้
0/ (1.5x1.5)=31.11 ค่า BMI อยู่ที่ 31.11
โดยเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ใช้วัดภาวะอ้วนคือ ค่า BMI ต่ำกว่า 18.5 แสดงว่ามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
ค่า BMI ตั้งแต่ 18.5-24.9 แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ค่า BMI อยู่ที่ 25-29.9 แสดงว่ามีน้ำหนักเกิน
ค่า BMI ตั้งแต่ 30-38.9 แสดงว่าอยู่ในภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และค่า BMI ตั้งแต่ 40 ขึ้นไป แสดงว่าอยู่ในภาวะอ้วนมาก และเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่รุนแรง

นอกจากนี้ การวัดเส้นรอบเอวหรือเส้นรอบพุง (โดยทั่วไปจะวัดรอบเอวตรงระดับสะดือพอดี) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการก่อโรค ผู้ชายต้องมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร และผู้หญิงน้อยกว่า 80 เซนติเมตร หากเส้นรอบเอวใหญ่เกินกว่าค่าดังกล่าวนี้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ สูงขึ้นเช่นกัน

ความสัมพันธ์ของผู้ติดเชื้อโควิดที่มีภาวะอ้วน คงเป็นภาพสะท้อนปัญหาสุขภาพของคนไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และอาจถึงเวลาที่สาธารณสุขจะต้องกลับมารณรงค์พร้อมทั้งสร้างความตระหนักให้คนไทยหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง

สสส.


Create Date : 22 พฤษภาคม 2564
Last Update : 22 พฤษภาคม 2564 19:38:07 น. 0 comments
Counter : 465 Pageviews.

สมาชิกหมายเลข 6438703
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6438703's blog to your web]
space
space
space
space
space