นายพัชรพ แน่นกระโทก
9
ที่มา :ThaiPBS 
🥺สวัสดีเพื่อนๆ กันทุกท่านครับ
วันนี้ พี่พัชรพล แน่นกระแน่นกระโทก
หรือ Phatchacaraphon Naenkrathok 
ได้มีโอกาสปรับปรุงและเล่าเรื่อง 
สมุนไพรไทยกันครับ 
อย่างไรก็รบกวนให้น้องไปใช้วิจารณญาณ และการพิจารณาในอ่านครั้งนี้ เพื่อผู้อ่านใช่ประโยชน์จากงานบทความสมุนไพรนี้ให้มันถูกต้องตามหลักฎหมายกำหนด 


..................................................................................
😂พี่ขอแนะ สมุนไพรไทย เชิญไปกันได้เลย 
    😊     พืชสมุนไพรเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานาน และมีการนำมาใช้เป็นเครื่องยา อาหาร เครื่องสำอาง และอื่น ๆ การประกอบอาหารมีการใช้พืชสมุนไพร เครื่องเทศ และผักสวนครัว มาใช้ในชีวิตประจำวันจำนวนหลายชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กะเพรา โหระพา ใบแมงลัก
การปลูกพืชสมุนไพรที่เป็นไม้ล้มลุกหรือผักสวนครัว ทำได้เช่นเดียวกับการปลูกพืชทั่วๆ ไป แต่สิ่งสำคัญคือ สรรพคุณที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีความสำคัญ และมีเทคนิคการใช้ ผู้เขียนหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์พอสมควรต่อผู้อ่านซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ได้ใกล้ชิดกับต้นไม้ใบหญ้า พืชสมุนไพรใกล้ตัวที่จะนำเสนอมีดังนี้
กระเจี๊ยบแดง
289 กระเจี๊ยบแดง มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง) ส้มพอเหมาะ ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) ส้มพอดี (ภาคอีสาน) ส้มตะเลงเครง (ตาก) ใบส้มม่า (ระนอง) ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณ :
- เมล็ด เป็นยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ
- ทั้งต้น เป็นยาฆ่าตัวจี๊ด เตรียมโดยนำมาใส่หม้อต้ม น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งครึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือรับประทานน้ำยาเปล่าๆ จนหมด
- กลีบเลี้ยง ชงกับน้ำรับประทานเพื่อลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด ทำแยม

2. กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น มะเขือทวาย มะเขือมอญ
 สรรพคุณ :
- ผลแห้ง ป่นนำมาชงกับน้ำ กินบำบัดโรคกระเพาะอาหาร มีเพคตินและสารเมือกช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร แก้ไอ บำรุงกำลัง
- ผลอ่อน เป็นยาหล่อลื่น ใช้ในโรคหนองใน
- ดอก ลดไขมันในเลือด ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้กระหายน้ำ

3. กระชาย
กระชาย มีชื่ออื่นๆ เช่น ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) ละแอน (ภาคเหนือ) กะแอน ขิงทราย (แม่ฮ่องสอน) จี๊ปูชีพู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณ :
- เหง้า เป็นยาแก้โรคปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง
- ราก (นมกระชาย) มีรสเผ็ดร้อน ขม มีสรรพคุณคล้ายโสม แก้กามตายด้าน บำรุงความรู้สึกทางเพศ ทำให้กระชุ่มกระชวย โดยใช้นมกระชายตำและหัวดองสุรา
จากการทดลอง พบว่าใช้สารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและแผลในปากได้ดีพอสมควร

4. กระถิน
 กระถิน มีชื่ออื่นๆ เช่น กระถิ่น (ภาคกลาง) บุหงาอินโดนีเซีย (กรุงเทพฯ) กระถินหอม ดอกคำใต้ คำใต้มอนคำ (ภาคเหนือ) มอนคำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ถิน (ภาคใต้) บุหงาเซียม (มลายู-ภาคใต้) บุหงาละสะมะนา (มลายู-ปัตตานี) เกากรึนอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
สรรพคุณ :
- ราก มีรสเฝื่อนฝาด กินเป็นยาอายุวัฒนะ ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ต้มน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้อักเสบ
- ยาง เข้ายาแก้ไอ บรรเทาอาการระคายคอ
- ใบอ่อน ตำพอกแก้แผลเรื้อรัง
- ดอก ชงดื่ม แก้อาหารไม่ย่อย ดองเหล้าดื่ม แก้ปวดท้อง

5. กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่,เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)
 สรรพคุณ :
- ผลดิบ ใช้รักษาอาการท้องเสียและบิด
- ผลสุก เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- หัวปลี เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ โรคโลหิตจาง บำรุงน้ำนม แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด

6. กะเพรา
กะเพรา มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)
สรรพคุณ :
- ใช้ทั้งต้น เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง และคลื่นไส้อาเจียน
 - รากและต้น มีรสเผ็ดร้อน แก้พิษตาซาง แก้ไข้สันนิบาต แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ
- ใบ มีรสเผ็ดร้อน บำรุงไฟธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม ทำให้เรอ แก้จุกเสียด แก้คลื่นไส้อาเจียน น้ำคั้นจากใบกินขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ทาผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน ใบสดหรือแห้ง ชงกับน้ำร้อน ดื่มบำรุงธาตุ ขับลมในเด็กอ่อน
- เมล็ด มีรสเผ็ด กินบำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื้น

7. ขมิ้นชัน
 ขมิ้นชัน มีชื่ออื่นๆ เช่น ขมิ้น (ภาคกลาง, ภาคใต้) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้หมิ้น (ภาคใต้)
สรรพคุณ :
- เหง้าสด เป็นยารักษาโรคเหงือกบวมเป็นหนอง รักษาแผลสด แก้โรคกระเพาะ แก้ไข้คลั่งเพ้อ แก้ไข้เรื้อรัง ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องร่วง แก้บิด พอกแผล แก้เคล็ดขัดยอก ขับผายลม คุมธาตุ หยอดตา แก้ตาบวม ตาแดง ทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ท้องอืดเฟ้อ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- เหง้าแห้ง บดเป็นผงเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด ผสมน้ำ ทาผิว แก้เม็ดผดผื่นคัน สารสกัดจากเหง้าแห้ง ป้องกันออกซิเดชั่น ชะลอความแก่ของผิวหนัง ทำครีมทาผิว

8. ข่า
ข่า มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น กฎุกโรหินี (ภาคกลาง) ข่าตาแดง ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) เสะเออเคย สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณ :
 - เหง้าแก่สดหรือแห้ง มีรสเผ็ดร้อน ขม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้รักษาโรคผิวหนัง (เกลื้อน) แก้โรคบิด แก้ปวดเจ็บเสียดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไฟลวก น้ำร้อนลวก แก้ลมพิษ และโรคลมป่วง แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำกับน้ำมะขามเปียกและเกลือให้สตรีกินหลังคลอดเพื่อขับน้ำคาวปลา
- หน่อ มีรสเผ็ดร้อน หวาน แก้ลมแน่นหน้าอก บำรุงไฟธาตุ
9. ขิง
 ขิง มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณ :
- ราก มีรสหวาน เผ็ดร้อน ขม แก้ลม บำรุงเสียง แก้พรรดึก แก้คอมีเสมหะ เจริญอาหาร
- เหง้า มีรสเผ็ดร้อน ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่มแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
- เหง้าสด ตำคั้นน้ำผสมน้ำมะนาวและเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียดแน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด และเจริญธาตุ
- ต้น มีรสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ท้องร่วง จุกเสียด
- ใบ มีรสเผ็ดร้อน แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ

10. แคบ้าน
แคบ้าน มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)
 สรรพคุณ :
- ราก น้ำคั้นจากรากผสมกับน้ำผึ้ง เป็นยาขับเสมหะ
- เปลือกต้น มีรสฝาด ใช้รักษาท้องเดิน แก้บิด มูกเลือด คุมธาตุ ถ้ากินมากทำให้อาเจียน ใช้เป็นยาฝาดสมานทั้งภายนอกและภายใน ชะล้างบาดแผล
- ใบ มีรสจืดมัน แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัด ถอนพิษไข้ ดับพิษและถอนพิษอื่นๆ
- ยอดอ่อน ใช้รักษาไข้หัวลม
- ดอก มีรสหวานเย็น แก้ไข้เปลี่ยนฤดู

11. ชุมเห็ดเทศ
ชุมเห็ดเทศ มีชื่ออื่นเรียกว่า ขี้คาก ลับมืนหลวง หมากกะสิงเทศ (ภาคเหนือ)
ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณ :
 - ฝัก มีรสเอียน แก้พยาธิ เป็นยาระบายขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน
- ใบ เป็นยาถ่าย รักษาขี้กลากและโรคผิวหนังอื่นๆ
- ใบและดอก ทำยาต้มรับประทาน ขับเสมหะในรายที่หลอดลมอักเสบ และแก้หืด
- เมล็ด มีกลิ่นเหม็น รสเอียนเล็กน้อย ใช้ขับพยาธิ แก้ตาซาง แก้ท้องขึ้น
แก้นอนไม่หลับ
12. ตะไคร้
ตะไคร้ มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี)
 สรรพคุณ :
- เหง้า มีรสหอมปร่า แก้กระษัย แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้ขัดปัสสาวะ แก้นิ่ว ดับกลิ่นคาว เจริญอาหาร
- ใบ มีรสหอมปร่า แก้ไข้ ลดความดันโลหิต
- ทั้งต้น มีรสหอมปร่า แก้ปวดท้อง หืด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงธาตุ

13. ตำลึง
ตำลึง มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ผักแคบ(ภาคเหนือ) แคเด๊าะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณ :
- ราก มีรสเย็น แก้ตาขึ้นฝ้า ดับพิษทั้งปวง แก้ไข้ แก้อาเจียน ต้มน้ำกินเป็นยาระบาย
- หัว มีรสเย็น ดับพิษทั้งปวง
- ใบ มีรสเย็น ปรุงเป็นยาดับพิษร้อน เช่น ยาเขียว ใบสดตำให้ละเอียด

14. ทับทิม
ทับทิม มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า มะเก๊าะ(ภาคเหนือ) พิลา(หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว(น่าน) หมากจัง(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เขียะลิ้ว(จีน)
สรรพคุณ :
- เปลือกผลแก่ ตากแห้งรักษาอาการท้องร่วง ฝนกับน้ำข้นๆ กินวันละ 1-2 ครั้ง กินมากเป็นอันตรายได้ หรือฝนกับน้ำทาแก้น้ำกัดเท้า
- ราก ใช้ฆ่าพยาธิตัวตืด
- น้ำทับทิม (จากเนื้อหุ้มเมล็ด) ใช้ลดความดันโลหิต ใช้ร่วมกับบัวบก ลดภาวะโรคเหงือก

สะระแหน่
สรรพคุณ :
- ทั้งต้นสด กินเป็นยาขับลม ขยี้ทาขมับแก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกช้ำ บวม


16. บัวบก
บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ) ผักแว่น (ภาคใต้)
สรรพคุณ :
- ทั้งต้น มีรสหอมเย็น แก้ช้ำใน แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้โรคปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค แก้ตับอักเสบ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง
- ใบ มีรสขม เป็นยาดับร้อน ลดอาการอักเสบบวม แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ดีซ่าน ใบต้มกับน้ำซาวข้าวกินแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ตำพอกหรือต้มน้ำกินแก้ฝีหนอง แก้หัด ต้มกับหมูเนื้อแดงกินแก้ไอกรน
- เมล็ด มีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ
 

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

 

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร


รองศาสตราจารย์ ภญ. ยุวดี วงษ์กระจ่าง และ
เภสัชกร วสุ ศุภรัตนสิทธิ
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 270,304 ครั้ง  
 
ตั้งแต่วันที่ 30/06/2558
 
อ่านล่าสุด 4 นาทีที่แล้ว
 

ปัจจุบันสมุนไพรเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมากขึ้นในการใช้รักษาโรคหรือการใช้เป็นอาหารเสริม เนื่องจากสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพร แต่หากมีการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี สมุนไพรก็อาจจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ใช้ได้ ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันเริ่มมีรายงานทางคลินิกเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้สมุนไพรมากขึ้น สมุนไพรที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกาศเตือนให้ระวังถึงความปลอดภัยจากการใช้ 9 ชนิดในปี ค.ศ.1993 ได้แก่ Chaparral, Comfrey, Yohimbe, Lobelia, Germander, Willow Bark, Ma huang, Jin Bu Huan (ตำรับสมุนไพรจีน),ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสมุนไพรกลุ่ม Stephania และ Magnolia species

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สมุนไพร สามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม สมุนไพร 1 ชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่า 1 กลุ่ม โดยข้อมูลบางส่วนมีหลักฐานยืนยันแน่นอน บางส่วนอิงข้อมูลจากการทดลอง (สัตว์ทดลอง และ/หรือ หลอดทดลอง) และบางส่วนก็มีเพียงกรณีศึกษาเท่านั้น อันตรายจากการใช้สมุนไพรจำแนกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
  1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)
  2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions)
  3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)
  4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions)
  5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี (Mistaken plants, Mistaken preparation)
  6. การปนเปื้อนในสมุนไพร (Contamination)
  7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน (Adulterants)


1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)

จากการสำรวจการใช้ “นมผึ้ง” ปี พ.ศ. 2536-2540 พบการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองไวเกิน จากการได้รับนมผึ้งเกือบ 40 ราย มีอาการคือ อาการหืด อาการหลอดลมหดเกร็ง หลอดเลือดบวม ความดันโลหิตต่ำ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นคัน และเมื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง (skin test) พบว่าเกิดปฏิกิริยาเป็นบวกกับนมผึ้ง สรุปได้ว่าอาจเกิดจากโปรตีนในนมผึ้งไปกระตุ้นแอนติบอดี (antibody) ชนิด IgE และในปี พ.ศ.2537 มีรายงานจากประเทศออสเตรเลียว่านมผึ้งทำให้ตายได้เนื่องจากอาการหืดในเด็กหญิงอายุ 11 ปี หลังจากได้รับนมผึ้ง 500 มก. เพื่อรักษาต่อมทอมซิลอักเสบ เมื่อสืบประวัติพบว่าก่อนหน้านี้ผู้ป่วยรายนี้เคยมีอาการหายใจดังวี้ดหลังการได้รับนมผึ้ง และเมื่อได้รับอีกครั้งหนึ่งในครั้งนี้จึงเกิดอาการหืดเร็วมากและอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากการไปกระตุ้น IgE ทำให้เกิดปฏิกิริยาไวเกินขึ้น

2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions)
  • สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ

    ในประเทศไทยเคยมีรายงานในปี พ.ศ. 2542 ว่าใบขี้เหล็กซึ่งผลิตและจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด ทำให้การเกิดตับอักเสบเฉียบพลันอย่างน้อยในผู้ป่วย 9 รายที่รับประทาน ซึ่งระดับความรุนแรงของภาวะตับอักเสบมีตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนและมีตัวเหลืองตาเหลือง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงมีมติให้ระงับการผลิตและเก็บยาสมุนไพรขี้เหล็กซึ่งเป็นสูตรยาเดี่ยวออกจากตลาด

    นอกจากนี้ คาวา (kava) สมุนไพรที่นิยมใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ มีรายงานหลายรายงานว่ามีผลทำลายตับเช่นกัน
  • สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อไต

    มีรายงานการเกิดความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักที่มี aristolochic acid มีมากกว่าร้อยรายจากหลายประเทศ เช่น เบลเยียม สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สเปน และญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ระบุชื่อบนฉลากว่าผลิตจากสมุนไพรที่มีชื่อว่า Stephania tetrandra แต่จากการพิสูจน์เอกลักษณ์หลายผลิตภัณฑ์พบว่ามี Aristolochia fangchi ผสมอยู่ และวิเคราะห์พบ aristolochic acid ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดความผิดปกติที่ไต พยาธิสภาพที่พบจากการวิเคราะห์ชิ้นเนื้อเยื่อ คือ เนื้อไตมีสภาพเป็นพังผืด ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะไตวายในระยะสุดท้ายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยโรคไตควรระวังการใช้ ชะเอมเทศ และ มะขามแขก เพราะอาจมีผลทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมต่ำในเลือด และ น้ำลูกยออาจให้เกิดภาวะโปแตสเซียมสูงในเลือด และมีรายงานว่า Juniper Berries ในปริมาณสูงทำให้ไตเกิดการถูกทำลายได้( kidney irritation and damage) ส่วนมะเฟืองมีรายงานว่าทำให้ไตเกิดความเป็นพิษจากออกซาเลท( oxalate nephropathy) ได้.

3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)

การใช้สมุนไพร อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรือฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ได้ อาการไม่พึงประสงค์ซึ่งสัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการ หรือไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการ ดังตารางข้างล่างนี้

  

4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions)

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร สามารถอธิบายได้ 2 รูปแบบ คือ ปฏิกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic interactions) โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการดูดซึม การกระจายตัว เมแทบอลิซึม (Metabolism) และการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้ปริมาณของยาหรือสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือลดลง และ ปฏิกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamic interactions) โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะเป้าหมาย ทำให้ยาหรือสมุนไพรแสดงฤทธิ์เพิ่มขึ้น (Synergistic effects) หรือลดลง (Antagonist effects)

จากรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าสมุนไพรบางชนิด มีผลการศึกษารายงานว่าเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร ส่งผลกระทบต่อการรักษาอย่างแน่นอน เช่น เซนต์จอห์นเวิร์ท (St.John’s Wort; Hypericum perforatum Linn) หรือ เกรปฟรุต (Grapefruit; Citrus paradisi Macfad)

รายละเอียดอยู่ในบทความเรื่อง "สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันกินด้วยกันดีมั้ย"

(https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/209/)

5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี (Mistaken plants, Mistaken preparation)

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สมุนไพรส่วนหนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชนิดของสมุนไพร เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน และมีความคล้ายคลึงกับพืชมีพิษบางอย่าง หากขาดความเชี่ยวชาญในการจำแนกชนิดของพืชสมุนไพรก็อาจนำมาซึ่งอันตรายต่อร่างกายได้จากการใช้สมุนไพรไม่ถูกชนิดได้ รวมทั้งการนำมาใช้โดยผิดวิธี

ในประเทศไทยเคยมีรายงานถึงผลของการใช้มะเกลือในการถ่ายพยาธิซึ่งรับประทานโดยไม่ได้ผสมกับน้ำกระทิ แต่รับประทานโดยใช้ผลสด นำไปต้มหรือนำไปผสมกับน้ำปูนใสแทนที่จะเป็นน้ำกระทิตามวิธีโบราณ ผลคือทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตา วิธีในตำรายาไทยซึ่งให้ใช้น้ำกะทิผสมนั้นเพื่อที่จะป้องกันการดูดซึมของสารที่เป็นพิษที่ปนเปื้อนพวก naphthalene การต้มหรือการผสมน้ำปูนใสทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้สาร diospyrol ซึ่งเป็น naphthalene และ สารพวก phenolic อื่นๆ อีกมาก ซึ่งสารเหล่านี้จะมีผลต่อประสาทตา ดูดซึมผ่านกระเพาะอาหารได้ดี ซึ่งการดูดซึมนี้จะมากหรือน้อยอาจขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ใช้

6. การปนเปื้อนในสมุนไพร (Contamination)

การปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์สมุนไพรไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง หรือเชื้อ จุลินทรีย์ต่างๆ ในผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น หรือหากมีก็ไม่ควรเกินปริมาณที่กำหนด เนื่องจากการปนเปื้อนของสารดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลัน และสารบางอย่างอาจมีการสะสมและก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวตามมา

จกการศึกษาของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ที่ทำการสำรวจคุณภาพยาจากสมุนไพรในระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2551 โดยเก็บตัวอย่างจากแหล่งผลิตและจำหน่าย จำนวน 205 ตัวอย่าง ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 8 ตัวอย่าง และโลหะหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 1 ตัวอย่าง และพบทั้งการปนเปื้อนโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์เกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 1 ตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ยาดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่ไม่มีเลขทะเบียนยาและไม่ทราบแหล่งผลิตซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับปัญหานี้และดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน (Adulterants)

สมุนไพรหลายชนิดที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง จากการสุ่มตรวจสมุนไพรที่มีการกล่าวอ้างว่าสามารถรักษาโรคได้หลายชนิด หรือรักษาโรคได้หายรวดเร็วทันใจ หลายตัวอย่างจะพบการปนปลอมของสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา โดยเฉพาะ ยาสเตียรอยด์ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากใช้ไม่ถูกต้อง

ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงครามได้ทำการสำรวจคุณภาพยาจากสมุนไพร ทั้งหมด 626 ตัวอย่าง พบตัวอย่างยาจากสมุนไพรมีการปลอมปนสารสเตียรอยด์ (dexamethasone และ/หรือ prednisolone) จำนวน 136 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 21.7 โดยมีสเตียรอยด์เทียบเท่า dexamethasone ระหว่าง 0.010-1.119 มิลลิกรัม/กรัม และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.319 มิลลิกรัม/กรัม และจากการสำรวจคุณภาพยาจากสมุนไพรจากแหล่งผลิตและจำหน่ายในระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2551 จำนวน 205 ตัวอย่าง ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ โดยพบการปลอมปนยาแผนปัจจุบันจำนวน 27 ตัวอย่าง พบว่าการปลอมปนยาแผนปัจจุบันอื่นนอกจาก ยาสเตียรอยด์ ได้แก่ paracetamol, diclofenac, indomethacin, chlorpheniramine และ diazepam

สรุป

จากการรวบรวมรายงานของการเกิดอันตรายจากการใช้สมุนไพรนี้พบว่าเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่ทำให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายอันอาจเกิดได้จากการใช้สมุนไพร เนื่องจากการที่มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นสามารถเลือกซื้อได้อย่างอิสระ การควบคุมไม่ค่อยเข้มงวดเท่าไร ต่างจากยาแผนปัจจุบัน มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นสมุนไพรเดี่ยวๆ และที่เป็นตำรับ บางผลิตภัณฑ์ไม่สามารถทราบชนิดและปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่แน่นอน ถึงแม้จะเป็นสมุนไพรชนิดเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างกัน เนื่องจากสถานที่เพาะปลูก ฤดูกาล ส่วนของพืชที่นำมาใช้ วิธีการเก็บเกี่ยว และกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีการปนเปื้อนโลหะหนัก มีการปลอมปนสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา หรืออาจมีการนำสมุนไพรผิดชนิดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และพบว่าประชากรจำนวนหนึ่งมีการใช้สมุนไพรร่วมกับยารักษาโรคแผนปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรขึ้นได้

ดังนั้นหากมีความประสงค์ที่จะใช้สมุนไพรนั้นควรที่จะ
  1. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสมุนไพรนั้นๆ ว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ และรู้ถึงการใช้อย่างถูกต้อง โดยอาจจะใช้หลักดังนี้คือ ใช้ให้ถูกต้น ใช้ให้ถูกส่วน ใช้ให้ถูกขนาด ใช้ให้ถูกวิธี ใช้ให้ถูกกับโรค
  2. การเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาใช้นั้น ควรที่จะรู้ว่าในผลิตภัณฑ์นั้นประกอบด้วยสมุนไพรอะไรบ้าง เพราะหากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากสมุนไพรชนิดใด เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นข้อมูลในการระวังการใช้ต่อไป
  3. หมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพร
  4. ไม่ควรใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นหรือมีความประสงค์ที่จะใช้สมุนไพรเป็นเวลานาน ควรมีการตรวจร่างกายทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการใช้สมุนไพรเป็นระยะๆ ได้แก่ ตรวจการทำงานของตับ เช่น ตรวจเอนไซม์ตับ ( AST, ALT) การทำงานของไต (BUN, Cr) ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
  5. หากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้สมุนไพร ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  6. หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร และเด็กไม่ควรที่จะใช้สมุนไพรถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะสมุนไพรที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย เนื่องจากสารบางชนิดในสมุนไพร สามารถผ่านรก ขับออกทางน้ำนม หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตได้


เอกสารอ้างอิง
  1. Escher M. Desmeules J. Hepatitis associated with kava, a herbal remedy. Br Med J 2001; 322: 139.
  2. Gow PJ, Connelly NJ, Hill RL, Crowley P, Angus PW. Fata fulminant hepatic failure induced by a natural therapy containing kava. Med J Aust. 2003; 178(9):442-3.
  3. Thien FC, Leung R, Plomley R, Weiner J, Czarny D. Royal jelly-induced asthma: Med J Aust. 1993 Nov 1;159(9):639.
  4. Laporte JR, Ibaanez L, Vendrell L, Ballarin E. Bronchospasm induced by royal jelly. Allergy. 1996;51(6):440.
  5. Leung R, Ho A, Chan J, Choy D, Lai CK. Royal jelly consumption and hypersensitivity in the community. Clin Exp Allergy. 1997;27(3):333-6.
  6. Bullock RJ, Rohan A, Straatmans JA. Fatal royal jelly-induced asthma: Med J Aust. 1994 Jan 3;160(1):44.
  7. Thien FC, Leung R, Baldo BA, Weiner JA, Plomley R, Czarny D. Asthma and anaphylaxis induced by royal jelly. Clin Exp Allergy. 1996;26(2):216-22.
  8. Faleni R, Soldati F. Ginseng as cause of Stevens-Johnson syndrome?: Lancet. 1996 Jul 27;348(9022):267.
  9. สมบัติ ตรีประเสริฐสุข, มงคล หงษ์ศิรินิรชร, อนุชิต จูฑะพุทธิ. ภาวะตับอักเสบจากสมุนไพร “ขี้เหล็ก” บทเรียนเพื่อการพัฒนาสมุนไพรไทย. คลินิกนานาสาระ. 2542;186(16)/6:43:385-90.
  10. Lewis CJ. Letter to health professionals regarding safety concerns related to the use of botanical products containing aristolochic acid 2001 [cited 2014 Aug 10] Available from: https://www.fda.gov/Food/RecallsOutbreaksEmergencies/SafetyAlertsAdvisories/ucm111200.htm
  11. Lord GM, Tagore R, Cook T, Gower P, Pusey CD. Nephropathy caused by Chinese herbs in the UK: Lancet. 1999 Aug 7;354(9177):481-2.
  12. Tanaka A, Nishida R, Maeda K, Sugawara A, Kuwahara T. Chinese herb nephropathy in Japan presents adult-onset Fanconi syndrome: could different components of aristolochic acids cause a different type of Chinese herb nephropathy? Clin Nephrol. 2000;53(4):301-6.
  13. Narinder P Singh, Anupam Prakash. Nephrotoxic Potential of Herbal Drugs. JIMSA 2011; 24 ( 2) ;79-81
  14. Ifeoma O and Oluwakanyinsola S. Screening of Herbal Medicines for Potential Toxicities. INTECH 2013 . (cited 2014 Aug 10] Available from: https://creativecommons.org/licenses/by/3.0)
  15. มะเกลือ จาก ฐานข้อมูล "สมุนไพรที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน" Available from: https://www.medplant.mahidol.ac.th
  16. Limpaphayom P, Wangspa S, Lilapatana P. Optic atrophy from Maklua: a case report. Siriraj Hospital. Gaz. 1977;29(4):454-7.
  17. Limpaphayom P, Wangsapha S, Sinjermsiri J. Treatment of optic neuritis caused by Maklue. Bull Dep Med Serv, Thailand 1981;6(4):251-9.
  18. Kitcharoen P, Wiriyalappa C. Blindness from Maklua: Clinical reports of 2 patients. Chiang Mai Med Bull. 1980;19(1):5.
  19. Konsomboon S. Blindness from Maklua. Bull Dep Med Serv, Thailand 1979; 4(2):59-65.
  20. Pattanapanyasat K, Panyathanya R, Pairojkul C. A primary study on toxicity of diospyrol and oxidized diospyrol from Diospyros mollis Griff.(Maklua) in rabbits eyes. J Med Ass Thailand 1983;68:60-5. 21. นันทนา กลิ่นสุนทร ชมพูนุท นุตสถาปนา และปริชญา มาประดิษฐ การสำรวจคุณภาพยาสมุนไพรในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5 ว กรมวิทย พ 2557; 56 (1) : 40-51 22. นันทนา กลิ่นสุนทร ตวงพร เข็มทอง ชมพูนุท นุตสถาปนา การศึกษาปริมาณสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาจากสมุนไพรเขตพื้นที่สาธารณสุข4,5 วารสารอาหารและยา ฉบับเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555 ;31-37
 
 



Create Date : 29 ธันวาคม 2558
Last Update : 8 ตุลาคม 2565 21:47:58 น.
Counter : 1453 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 2854914
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ราตรีสวัสดิ์ หลับตาเถอะ ขอให้เธอหลับฝันดี แผ่นดินนี้พี่จะดูให้เอง เนื่องจากได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น และ เนื่อตรงกลับความต้องการ ของเพื่อนๆ สำหรับเรื่องทหารผ่านศึก คิดจะทำนานแล้ว ถ้าเกิดขัดครองในเนื้อหาสาระแต่ประการใดจึงขออภัยไว้ ณ นี้ด้วย
ธันวาคม 2558

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
30
31