Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
7 กค 55 Crinum latifolium - แร้งคอคำ

           ใบไม้ปริศนา เกี่ยวเนื่องกับพืชจีนัส Crinum หรือ    Amaryllidaceae หรือพืชตระกูล ลิลลี่ ทั้งนั้นค่ะ

            พืชในตระกูล ลิลลี่ นี้พบบริเวณอากาศ กึ่งร้อนชื้น และร้อนชื้น พบในแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และบริเวณที่ไม่มีหิมะของอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ เป็นพืชตระกูลที่น่าสนใจ แต่มีข้อมูลไม่มาก และยังมีการพัฒนาพันธุ์ได้ไม่มากนัก ตัวอย่างได้แก่ พลับพลึง ว่านสีทิศ แดฟฟอดิลค่ะ

            การแบ่งประเภท ซับจีนัส ของ J.G Baker ตั้งแต่ปี 1888 ที่ใช้รูปร่างและการเรียงตัวของกลีบดอกแต่เดิมมีการแบ่งเป็น 3 ซับจีนัส

1 Stenaster คือกลุ่มที่มีกลีบดอกตรงและเรียงตัวแบบสมมาตรทุกทิศทาง

2 Platyaster กลีบดอกเป็นเส้นยาวตรง กลีบเรียงตัวแบบสมมาตรทุกทิศทาง

3 Codonocrinum กลีบดอกกว้าง รูปดอกคล้ายแตร ออกดอกในทิศทางสมมาตรกันสองด้าน

         แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาวิธีการแบ่งซับจีนัสเพิ่มเติม เป็น 6 ซับจีนัสโดยใช้ ลักษณะการแตกก้านดอกเพิ่มเติม เช่นก้านดอกแตกโดยตรงจากหัว หรือกระจายที่ปลายก้านรวมของดอกค่ะ //www.crinum.org

          เริ่มแรกที่สนใจ เพราะสังเกตว่า ต้นมหาบัวแดง และ ว่านแร้งคอคำ มีลักษณะต้นและใบคล้ายกันจนแยกแทบไม่ออก แต่เมื่อลองคลำดูจะแยกได้เพราะมหาบัวแดงใบจะหนากว่าและมีผิวด้านล่างของใบเป็นร่องตามแนวยาว ส่วนแร้งคอคำ ผิวด้านล่างของใบจะเรียบลื่น เมื่อค้นคว้าเพิ่มเติมจึงทราบว่า เป็นพืชในซับจีนัสเดียวกันจึงได้ใกล้เคียงกันมาก แตกต่างกันที่สีของดอกค่ะ

 

              วันนี้นำเสนอไม้หัวที่ชอบ  Pink-striped Trumpet Lily หรือ Crinum latifolium ค่ะ ชื่อภาษาฝรั่งออกฟังดูดี ทำไมชื่อไทย เรียก "แร้งคอคำ" คนตั้งชื่อใจร้ายจริงๆ



ประโยชน์ของ "แร้งคอคำ"


หัวและใบ เป็นสมุนไพร
มีประโยชน์อย่างมากในการรักษาโรคที่สำคัญ ได้แก่ ต่อมลูกหมากอักเสบ เนื้องอก ต่อมลูกหมากโต เนื้องอกมดลูก ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งพาเซลล์ โดยเฉพาะที่ผ่านระบบ T-lymphocyte ใช้ในภาวะขาดออกซิเจน การอักเสบ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย น้ำสกัดจากใบ ช่วยรักษาอาการปวดหู ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใช้กระตุ้นการอาเจียน


//en.wikipedia.org/wiki/Crinum_latifolium

              บริบท- หลายปีก่อนไปร้านอาหารริมแม่น้ำแควใหญ่ กาญจนบุรี มีแปลงต้นนี้ปลูกไว้เป็นแปลงใหญ่ตลอดแนวริมน้ำ ออกดอกเต็ม ต้นเหมือนพลับพลึง ดอกสีขาวอมชมพูรูปร่างดอกเหมือนลิลลี่ กลิ่นหอม เกิดมาไม่เคยเห็น สวยมากค่ะ

               อยากได้สักหน่อเดียวดูคล้ายพลับพลึงน่าจะขุดหัวได้ แต่ก็นะ มืดแล้วถ้าเกิดขุดไปเจองู แย่เลย ลองถามชื่อไว้ก่อนแล้วค่อยไปหาซื้อ เมืองกาญจน์ เต็มไปด้วยพม่า ในร้านมีแต่เด็กเสริฟพม่า ถามว่าต้นอะไร "ต้นพึ-สา" เวง เกิดมาก็เพิ่งเคยได้ยิน จะไปถามใครว่าหนุ่มนี่มั่วนิ่มป่าวก็ไม่มีใคร เจ้าของร้านก็ไม่เห็น หลังจากนั้น ถ้าไปร้านต้นไม้ที่ไหน ก็จะถามหา ตระเวนไปเกือบทั่วประเทศไทย พยายามบรรยายภาพ "ต้นเหมือนพลับพลึงดอกเหมือนลิลลี่" ถามหาทุกร้านต้นไม้ ไม่มีใครรู้จัก ไม่เคยเห็น

                หลายปีผ่านไป วันหนึ่ง เดินสนามหลวง 2 เหลือบเห็นร้านขายหัวว่านสารพัดอย่าง โชว์รูปไว้ ใช่เลย ที่ตามหามานาน "แร้งคอคำ" ทำไมตั้งชื่อโหดร้ายขนาดนี้ หัวละประมาณ 25 บาท

               ลงดิน ขุดใส่กระถาง รดน้ำ อดน้ำก็แล้ว ไม่ยอมออกดอก ล่าสุดขุดมาใส่กระถางประคบประหงมกันใหม่ ออกดอกมาให้ชมเอามาอวดซะเลย

 

 

 

 

ใกล้บานค่ะ

สวยแหร่มเจิดจรัสมาก ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว

ภาพหน้าตรงอีกสักภาพ เหมือนดอกลิลลี่ จึงจัดอยู่ในซับจีนัส Codonocrinum ค่ะ

คนไทยให้ชื่อชื่อ" แร้ง" สันนิษฐานเองว่า ลักษณะดอกคอตกเหมือนคออีแร้งค่ะ

เฉลยภาพปริศนาค่ะ

ใบแรกสุด พลับพลึงเทศบาลค่ะ


ใบที่สอง เขียวเข้มกว่า ใบหนากว่า ถ้าลูบด้านล่างใบเป็นลายคลื่นตามยาว "มหาบัวแดง"


กระถางด้านหลัง มหาบัวแดง ด้านหน้า แร้งคอคำค่ะ


จับใบมาเทียบกันดูใกล้ๆ จะเห็นว่าคล้ายกันมากๆค่ะ แยกกันได้ต้องลองลูบดูค่ะ

                เรื่อง Crinum กับใบไม้ปริศนา ก็จบเพียงแค่นี้ หลังจากอ่านมาหลายวัน ได้ความรู้ใหม่ๆ สนุกดีเหมือนกันค่ะ








Create Date : 07 กรกฎาคม 2555
Last Update : 13 กรกฎาคม 2555 22:18:22 น. 8 comments
Counter : 4184 Pageviews.

 
มาดูเฉลยค่ะ เป็นการค้นพบที่สุดยอดมาก เหมือน Charl Darwin ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการ ก็เพราะเขาช่างสังเกตแบบนี้ค่ะ สังเกต สังกา (สงกา แปลว่า สงกาสัย เอ้ย สงสัยน่ะค่ะ) คนงานพม่าคงตอบด้วยปฏิภาณ ว่า ต้น พึ-ษา (พฤกษา) ตอบเป็น บาลี มั้งคะเพราะพม่าใกล้อินเดีย คงตอบว่า เป็นต้นไม้ นั่นเอง 555 ถูกใจมโหรีม้ากค่ะ เคยจะลองทำแต่ยังทำไม่เป็นเท่ารัย แต่ะทำได้ค่ะ ไว้ทำเก่งจะลอง ทำหนังสั้นประกวดงานภาพยนต์เมืองคาน


โดย: มณี IP: 27.55.0.207 วันที่: 7 กรกฎาคม 2555 เวลา:17:37:15 น.  

 
ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องเขียนอย่างนี้ครับ

Crinum latifolium ไม่ใช่ Crinum Latifolium ครับ


โดย: เปรี้ยวปิ๊ด IP: 124.122.118.211 วันที่: 7 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:49:42 น.  

 

ขอบคุณค่ะไม่ได้สังเกตว่าสำคัญ แต่เมื่อตั้งใจดูนักพฤกษศาสตร์เขียนตามหลัง ตัวเล็กจริงค่ะ เสียดายคนส่วนใหญ่ไม่ทราบ แม้แต่ในเอกสารทางการแพทย์ ก็ยังเขียนผิดกันแทบทั้งนั้น ขอบคุณคุณเปรี้ยวปี๊ด กรุณามาเม้นท์ ต่อไปไม่ผิด ที่ผิดแก้ไขหมดแล้วค่ะ กูรูตัวจริง


โดย: mcayenne94 วันที่: 7 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:39:13 น.  

 
ยัยมณี อวยเกิ้น หงายเงิบเลยมั้ย อิอิ


โดย: mcayenne94 วันที่: 7 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:40:08 น.  

 
คำศัพท์คำแรก (ชื่อสกุล) ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ นอกจากนั้นใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด[1][2]เช่น Canis lupus หรือ Anthus hodgsoni แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อทวินามไว้ก่อนหน้าศตวรรษที่ 20 และขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่อยู่แล้ว ไม่ต้องเขียนเป็นตัวเล็กอีก เช่น Carolus Linnaeus

สงสัยอาจตั้งชื่อไว้ก่อนหน้าศตวรรษที่20
อันนี้ค้นจากวิกิ


1. Heather Silyn-Roberts (2000). Writing for Science and Engineering: Papers, Presentation. pp. 198. ISBN 0750646365.
2.Recommendation 60F". International Code of Botanical Nomenclature, Vienna Code. 2006. pp. 60F.1.




โดย: มณี IP: 27.55.1.164 วันที่: 7 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:58:53 น.  

 
อุตส่าห์ค้น ขอบคุณน้องมณี
พอได้ ความรู้ใหม่บ้างแล้วค่ะ
สรุป ถ้าไม่แน่ใจว่า ตั้งทวินามไว้ก่อน 20 th
ก็ใช้ตัวเล็กไว้ก่อน จะไม่ผิด
ถ้าแน่ใจ เดิมเป็นตัวใหญ่ก็ใช้ตัวใหญ่


โดย: mcayenne94 วันที่: 8 กรกฎาคม 2555 เวลา:8:53:00 น.  

 
สวัสดีค่ะ
วันนี้ได้ดูดอกไม้สวยๆ แล้วยังได้ความรู้เรื่องการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์เลยน่ะค่ะ
แต่ยังสงสัยเรื่องชื่อ "แร้งคอดำ" มันมีที่มายังไงน้า...
คอตกเหมือนแร้งพอเข้าใจแล้ว
แต่คอดำเนี่ยยังไง...
แล้วชั้นจาสงสัยอะไรนักหนาเนี่ย


โดย: ภูผา กะ วาริน วันที่: 9 กรกฎาคม 2555 เวลา:15:49:01 น.  

 
เดาอีกค่ะ
"แร้งคอคำ" หรือ "แร้งคอแดง"
ที่บริเวณก้านดอก บางต้นก็ออกสีเหลือง ( สีเหลืองสีทอง เรียก คำ)
บางต้นที่ออกสีแดง ก็จะเห็นเป็นสีแดง
เดาล้วนๆ พอได้ป่ะล่ะ


โดย: mcayenne94 วันที่: 9 กรกฎาคม 2555 เวลา:18:03:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

mcayenne94
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




Bangkok

Kyoto

Sydney

Mcayenne94's Diary มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการ จัดจำหน่าย ต้นไม้ดอกไม้ หรือสิ่งใด อนุญาตให้นำภาพถ่าย พร้อมชื่อMcayenneผู้ถ่ายภาพไปใช้ประโยชน์ได้ และสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำภาพถ่าย Mcayenne ไปใช้ โดยการดัดแปลงตัดต่อหรือลบชื่อภายในภาพ
Friends' blogs
[Add mcayenne94's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.