Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2562
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
14 มิถุนายน 2562
 
All Blogs
 

My first trip to Lord Buddha's Place Day 5; 1 Feb 2019 Dharmarajika Stupa Sarnath

                   ทัศนศึกษาต่อ  ภายในพุทธสถานที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   เมืองสารนารถที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า   นอกจากธรรมเมกขสถูป   ที่ยังคงรูปร่างสถูปโดดเด่นแล้ว   ภายในบริวเณรั้วพุทธสถานแห่งนี้   มองเห็นเพียงซากปรักหักพังของอิฐเป็นส่วนใหญ่    เดินชมและถ่ายภาพไปเรื่อยๆ   ไม่ได้เดินตามไกด์หรือสนใจฟังแม้แต่น้อย    กลับมาทบทวนภาพ   เพิ่งมาเห็นจากป้ายในภาพว่า  "ธรรมราชิกาสถูป"   ร่องรอยเค้าโครงสิ่งก่อสร้างคล้ายวงกลมขนาดใหญ่ทางด้านหลังนั่นเอง   สาธุ ได้มาเห็นในภาพก็ยังดี   ตอนไปตาไม่มีแวว 



"ธรรมราชิกาสถูป"  




                   ธรรมราชิกาสถูป   มีความสำคัญคือ    เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง 
อนัตตลักขณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์   ทำให้ ปัญจวัคคีย์ได้บรรลุอรหัตตผล  พระสูตรนี้ โดยทรงแสดงต่อ ปัญจวัคคีย์ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 หลังจากที่ พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จนพระอัญญาโกณฑัญญะบรรลุโสดาบัน และในวันต่อ ๆ มา คือในวันแรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ 3 ค่ำ และ 4 ค่ำเดือน 8 ทรงแสดง “ปกิณณกเทศนา” ยังผลให้  พระวัปปะ  พระภัททิยะ  พระมหานามะ และ พระอัสสชิ  บรรลุโสดาบันตามลำดับ และได้รับเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   นับเป็นพระอรหันต์กลุ่มแรกในพระบวรพุทธศาสนา

                  อนัตตลักขณสูตร  เป็นธรรมเบื้องสูง ทำให้ปัญจวัคคีย์ผู้ได้ฟังเป็นครั้งแรก  บรรลุอรหัตตผล  จึงนับว่า เป็น  ราชาของธรรมะ  สถานที่แห่งนี้จึง ชื่อ  ธรรมราชิกาสถูป

                    ธรรมราชิกสถูป มีลักษณะเป็นสถูป สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชควบคู่กับเสาศิลาหัวสิงห์ที่เด่น สง่างามที่สุด ซึ่งรัฐบาลอินเดียใช้ตราหัวสิ่งห์เป็นตราเงินสกุลรูปี ส่วนเครื่องหมายสัญลักษณ์ตราธรรมจักรที่อยู่บนหัวสิงห์ ใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน​​​​​​

พระสถูปองค์นี้มีความเก่าแก่ที่สุด

                   พระสถูปองค์นี้มีความเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบได้ในบริเวณนี้ ลักษณะเดิมนั้นเป็นทรง บาตรคว่ำเหมือนธรรมเมกขะสถูป ที่เห็นในปัจจุบัน สร้างด้วยอิฐบล็อกแดง  เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแต่น่าเสียดายว่าปัจจุบันนี้เหลืออยู่เพียงแค่ฐานเท่านั้นเอง

                   ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๗ ชาคัด สิงห์ มหาอำมาตย์ของ มหาราช เชตสิงห์ ผู้ครองนครพาราณสี ต้องการอิฐก้อนใหญ่ๆ ไปก่อสร้างเมือง จึงทำลายองค์สถูปใหญ่นี้ในขณะนั้นได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และได้นำไปลอยในแม่น้ำคงคา ด้วยความปรารถนาดีแท้ๆ เพราะเกรงว่า พระพุทธเจ้าจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ อันเป็นความเชื่อของศาสนาฮินดู ด้วยคิด ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปลอยลงแม่น้ำคงคา ทำให้ข่าวนี้เลื่องลือ ไปทั่วทุกหัวเมือง และได้นำความเศร้าสลดใจ มาสู่พุทธศาสนิกชน เป็นอย่างมาก
 

บทสวด อนัตตลักขณสูตรพร้อมคำแปล
พระธรรมเทศนา ที่เป็นผลให้ ปัญญจวัคคีย์ บรรลุอรหัตตผล

หันทะ มะยัง อะนัตตะลักขะณะสุตตัง ภะณามะ เส ฯ 
เอวัมเม สุตัง ฯ อันข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาแล้ว อย่างนี้ว่า 
เอกัง สะมะยัง ภะคะวาสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ 
าราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเนมิคะทาเย    ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี 
ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญจะ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส 
วัคคิเย ภิกขู อามันเตสิฯ เรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ มาแล้วทรงตรัสว่า 
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ฯ ภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา 
รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้เป็นอัตตา คือ 
อัตตา อะภะวิสสะตัวตนเรา หรือตัวตนของๆ เราแล้วไซร้,
นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
สังวัตเตยยะลัพเภถะ จะ ทั้งยังจะสั่งจะทำได้ดังใจปรารถนาในรูปว่า 
รูเปเอวัง เม รูปัง โหตุ ขอให้รูปร่างกายของเราจงเป็นรูปร่าง 
เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ ฯ อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นรูปร่างอย่างนั้นเลย 
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลาย รูปจึงเป็น 
รูปัง อะนัตตาอนัตตา รูปจึงไม่ใช่ตนหรือของๆ ตน 
ตัสฺมา รูปัง อาพาธายะ รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
สังวัตตะตินะ จะ ลัพภะติ และไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนาในรูปว่า 
รูเปเอวัง เม รูปัง โหตุ ขอรูปร่างกายของเราจงเป็นรูปอย่างนี้เถิด 
เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ ฯ อย่าได้เป็นรูปร่างอย่างนั้นเลย 
เวทะนา อะนัตตา ฯ เวทนา(คือความรู้สึก-อารมณ์) เป็นอนัตตา,
เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ก็หากว่าเวทนานี้เป็นอัตตา คือ 
อัตตา อะภะวิสสะสุขหรือทุกข์เป็นตนหรือของๆ ตนจริงแล้วไซร้ 
นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ หรือรู้สึกไม่สบาย 
สังวัตเตยยะลัพเภถะ จะ ย่อมเป็นสุขทุกข์ได้  จะบังคับได้ดั่งใจปรารถนา 
เวทะนายะเอวัง เม เวทะนา โหตุ ว่าขอเวทนาของเราจงรู้สึกอย่างนี้เถิด 
เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ ฯ อย่าได้มีความรู้สึกเป็นทุกข์เลย 
ยัสฺมา จะ โข ภิกขะเว เพราะเหตุที่ว่า เวทนาเป็นอนัตตา คือ 
เวทะนา อะนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆตน จึงบังคับไม่ได้ 
ตัสฺมา เวทะนา อาพาธายะ เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ-รู้สึกไม่สบาย
สังวัตตะตินะจะ ลัพภะติ และไม่ได้ตามใจปรารถนาในเวทนาว่า 
เวทะนายะเอวัง เม เวทะนาโหตุ ขอให้เวทนาของเราจงรู้สึกอย่างนี้ๆ 
เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติฯ อย่าได้รู้สึกอย่างนั้นๆ อย่าได้เป็นทุกข์เลย 
สัญญา อะนัตตา ฯ สัญญา(ความจำได้-หมายรู้) เป็นอนัตตา,
สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว ถ้าหากว่าสัญญานี้เป็นอัตตา คือ 
อัตตา อะภะวิสสะความจำได้หมายรู้เป็นของๆตนแล้วไซร้ 
นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สัญญาจะไม่อาพาธ หรือทำให้เราลำบากใจ 
สังวัตเตยยะลัพเภถะ จะ ย่อมบังคับสัญญาได้ตามปรารถนา 
สัญญายะเอวัง เม สัญญา โหตุ ขอให้ความจำของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด 
เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ ความจำของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย 
ยัสฺมา จะ โข ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ความจำนี้ เป็นอนัตตา 
สัญญา อะนัตตาคือ มิใช่ตัวตนหรือของๆ ตนหรือของใครๆ 
ตัสฺมา สัญญา อาพาธายะ สัญญาความจำจึงเสื่อมเลือนหายไปได้ 
สังวัตตะตินะ จะ ลัพภะติ จึงบังคับไม่ได้ดั่งใจปรารถนาว่า 
สัญญายะเอวัง เม สัญญา โหตุ ขอให้ความจำของเราเป็นอย่างนี้เถิด 
เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ ความจำของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย 
สังขารา อะนัตตา ฯ สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) เป็นอนัตตา
สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความคิดเป็นตัวเรา 
อัตตา อะภะวิสสังสุเป็นของๆ เราแล้วไซร้ 
นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังขารความคิดคงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ 
สังวัตเตยยุงไม่เป็นไปเพื่อให้เราทรมาณ-ลำบากใจ
ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุจะทำคิดได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า 
เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง ขอสังขารความคิดของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด 
เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ อย่าได้เป็นอย่างนั้น อย่าคิดไปอย่างนั้นเลย 
ยัสฺมา จะ โข ภิกขะเว ก็เพราะเหตุที่สังขารไม่ใช่ตัวตนเรา-ของๆเรา
สังขารา อะนัตตาความคิดดี ความคิดชั่ว นี้ไม่ใช่เรา-ของๆ เรา
ตัสฺมา สังขารา อาพาธายะ สังขารความคิดนี้ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ 
สังวัตตะติคือความคิดที่เป็นไป ทำให้เราไม่สบายใจ 
นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุและไม่ได้สังขารความคิดดั่งใจปรารถนาว่า 
เอวัง เม สังขารา โหตุ ขอให้ความคิดปรุงแต่งเป็นแบบนี้เถิด 
เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ อย่าได้คิดปรุงแต่งไปแบบนั้นเลย 
วิญญาณัง อะนัตตา ฯ วิญญาณ (ความรู้สึกรับรู้) ไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ,ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณเป็นตัวตนแล้วไซร้ 
นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ วิญญาณนี้ก็ย่อมไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ 
สังวัตเตยยะย่อมไม่ทำให้เรารู้สึกป่วย-ไม่สบายใจ
ลัพเภถะ จะ วิญญาเณก็จะได้วิญญาณตามใจปรารถนาว่า 
เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด 
เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ ฯ อย่าให้วิญญาณของเราเป็นอย่างนั้นเลย 
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว ก็เพราะเหตุวิญญาณไม่ใช่ตัวตน-ของๆ ตน
วิญญาณัง อะนัตตา ตัสฺมา วิญญาณัง อาพาธายะ  สังวัตตะติ วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ 
นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณและไม่ได้วิญญาณเป็นไปตามใจปรารถนา 
เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ ว่าขอให้วิญญาณความรับรู้ของเรา เป็นอย่างนี้เถิด 
เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ ฯ อย่าได้วิญญาณรับรู้อย่างนั้นเลย 
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อความนี้เป็นไฉน 
รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ รูปทั้งหลาย เที่ยงหรือไม่เที่ยง 
อะนิจจัง ภันเต ฯ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า 
ทุกขัง ภันเตฯ เป็นทุกข์พระเจ้าข้า 
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ทนได้ยาก จัดว่าเป็นทุกข์ 
วิปะริณามะธัมมังมีความแปรปรวน เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุงควรแล้วหรือที่เราจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ รูปนี้ ร่างกายนี้เป็นเรา นี้เป็นของ ๆ เรา 
เอโส เม อัตตาติ ฯ ตัวเราเป็นอย่างนั้น ตัวเราเป็นอย่างนี้ 
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่ควรเห็นเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย เธอย่อมสำคัญความข้อนี้ 
เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ เป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อะนิจจา ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า 
ทุกขัง ภันเต ฯ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ทนได้ยาก เป็นทุกข์ 
วิปะริณามะธัมมังมีความแปรปรวนไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา 
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุงสมควรแล้วหรือที่เราจะคิดว่า 
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ เวทนานี้เป็นเรา เราคือเวทนาอย่างนั้นอย่างนี้ 
เอโส เม อัตตาติ ฯ หรือเวทนานี้เป็นตัวตนเรา เป็นของๆ เรา 
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่สมควรที่จะคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย  เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน 
สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อะนิจจา ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า.
ทุกขัง ภันเต ฯ เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ 
วิปะริณามะธัมมังมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุงควรแล้วหรือจะคิดว่า ความจำนี้เป็นเรา 
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ เราคือความจำอย่างนั้น อย่างนี้ 
เอโส เม อัตตาติ ฯ และความจำนี้เป็นตัวตนของเรา 
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่ควรที่จะคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความนี้เป็นไฉน 
สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ สังขาร-ความคิดปรุงแต่ง เที่ยงหรือไม่เที่ยง
อะนิจจา ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า.
ทุกขัง ภันเต ฯ เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ 
วิปะริณามะธัมมังมีความแปรปรวนไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุงสมควรแล้วหรือที่จะคิดว่า 
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ ความคิดนั้นเป็นเรา เราคือความคิดนั้น 
เอโส เม อัตตาติความคิดที่ดีที่ชั่วนั้น เป็นตัวตนของเรา 
โน เหตัง ภันเตไม่สมควรคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย  เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน 
วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อะนิจจัง ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า 
ทุกขัง ภันเตฯ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ 
วิปะริณามะธัมมังมีความแปรปรวน เปลี่ยนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุงควรแล้วหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า 
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ นั่นเป็นเรา เราคือความรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ 
เอโส เม อัตตาติ ฯ และความรู้เหล่านี้เป็นตัวตนของเรา 
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่สมควรที่จะคิดเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า 
ตัสมาติหะ ภิกขะเวเพราะเหตุนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย 
ยังกิญจิ รูปังรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง 
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนังทั้งที่เป็นรูปในอดีต ในอนาคต หรือรูปปัจจุบัน 
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วาทั้งภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม 
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วาหยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม 
หีนัง วา ปะณีตัง วาเลวก็ตาม ประณีตก็ตาม 
ยันทูเร สันติเก วาอยู่ในที่ใกล้ก็ตาม ในที่ไกลก็ตาม,
สัพพัง รูปังเนตัง มะมะ เนโสรูปทั้งหมด ล้วนแต่ไม่เที่ยง รูปนี้ไม่ใช่ตัวเรา 
หะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ รูปไม่เป็นเรา รูปไม่เป็นของๆเรา 
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เราไม่ใช่รูปร่างกายนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา 
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้นเถิด 
ยา กาจิ เวทะนา เวทนา คือความรู้สึก อย่างใดอย่างหนึ่ง 
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนาทั้งที่เป็นอดีต ในอนาคต และในปัจจุบันก็ตาม 
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วาเวทนาอยู่ภายในก็ตาม ที่ภายนอกก็ตาม 
โอฬาริกา วา สุขุมา วาหยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม 
หีนา วา ปะณีตา วาเลวก็ตาม ประณีตก็ตาม 
ยา ทูเร สันติเก วาอยู่ที่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม 
สัพพา เวทะนาเนตัง มะมะ เวทนาทั้งหมด เธอพึงรู้สึกด้วยปัญญาอันชอบ 
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ ตามความจริงอย่างนี้ว่า เวทนานี้ไม่ใช่ของเรา 
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เราไม่ใช่เวทนาอย่างนั้นอย่างนี้ 
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ และเวทนานี้ ก็มิใช่ตัวตนของเรา 
ยา กาจิ สัญญา สัญญา ความจำได้ระลึกได้อย่างใดอย่างหนึ่ง 
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนาที่มีแล้วในอดีต อนาคต แม้ในปัจจุบันก็ตาม,
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วาภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม 
โอฬาริกา วา สุขุมา วาหยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม 
หีนา วา ปะณีตา วาเลวก็ตาม ประณีตก็ตาม 
ยา ทูเร สันติเก วาระลึกจำได้หมายรู้ที่อยู่ใกล้ก็ตาม ไกลก็ตาม 
สัพพา สัญญาเนตัง มะมะ สัญญาทั้งหมดนั้น ล้วนแต่ไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา 
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติฯ ไม่เป็นตัวตนของเรา เราไม่เป็นสัญญา 
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญา-ความจำนี้ ด้วย
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ ปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนั้นเถิด 
ยา เกจิ สังขาราสังขารความคิดปรุงแต่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง 
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนาทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและในปัจจุบัน 
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วาความคิดภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม 
โอฬาริกา วา สุขุมา วาคิดหยาบก็ตาม คิดละเอียดก็ตาม 
หีนา วา ปะณีตา วาคิดเลวๆ ก็ตาม คิดอย่างประณีตก็ตาม 
เย ทูเร สันติเก วาคิดในเรื่องใกล้ตัวก็ตาม คิดเรื่องไกลก็ตาม 
สัพพา สังขาราเนตัง มะมะ สังขารทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสังขาร ล้วนไม่เที่ยง 
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ ความคิดนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่ความคิดนี้ 
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เธอทั้งหลาย พึงเห็นสังขารด้วยปัญญาอัน 
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ ชอบตามความเป็นจริงแล้วอย่างนั้นเถิด 
ยังกิญจิ วิญญาณัง ความรับรู้ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนังทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และในปัจจุบัน 
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วาภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม 
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วาหยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม 
หีนัง วา ปะณีตัง วาเลวก็ตาม ประณีตก็ตาม 
ยันทูเร สันติเก วาไกลก็ตาม ใกล้ก็ตาม 
สัพพัง วิญญาณังเนตัง มะมะ วิญญาณทั้งหมดไม่เที่ยงนี้ ไม่ใช่ตัวเรา 
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ นั่นไช่ของๆเรา เราไม่ใช่ความรู้สึกเหล่านี้ 
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณด้วยปัญญาอัน 
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ ชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้นเถิด 
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยะสาวกผู้ได้สดับฟัง 
สุตฺวา อะริยะสาวะโกและพิจารณาตามรู้และเห็นอยู่ อย่างนี้แล้ว 
รูปัสมิงปิ นิพพินทะติย่อมเบื่อหน่ายในรูป ร่างกายทั้งหลาย 
เวทะนายะปิ นิพพินทะติย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา ความรู้สึกต่างๆ 
สัญญายะปิ นิพพินทะติย่อมเบื่อหน่ายในสัญญา ความจำต่างๆ 
สังขาเรสุปิ นิพพินทะติย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร การปรุงแต่งต่างๆ 
วิญญาณัสมิงปิ นิพพินทะติย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ การรับรู้ต่างๆ 
นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด 
วิราคา วิมุจจะติ ฯ เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น 
วิมุตตัสฺมิง วิมุตตะมีติ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว 
ญาณัง โหติย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว 
ขีณา ชาติรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว หมดสิ้นความเกิดแล้ว 
วุสิตัง พรัหมะจะริยังพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์หมดจด อยู่จบแล้ว 
กะตัง กะระณียังนาปะรัง กิจที่ควรทำได้กระทำสำเร็จแล้ว กิจอื่น 
อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ เพื่อความเป็นผู้หมดจดจากกิเลส ไม่มีอีกแล้ว 
อิทะมะโวจะ ภะคะวาพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส อนัตตลักขณสูตร 
อัตตะมะนา ปัจจะวัคคิยา ภิกขู นี้จบลง ภิกษุปัญจวคีย์ ต่างก็มีใจยินดี ชื่นชม 
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ ในพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า 
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยาก็ในขณะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังตรัส 
กะระณัสฺมิง ภัญญะมาเนเทศนาพระภาษิตนี้อยู่ จิตของพระภิกษุปัญจว 
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง -คีย์เหล่านั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง
อะนุปาทายะอาสะเวหิ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ละปล่อยวางอุปาทาน 
จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 
แล ฯ


พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่ตนของเรา. สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

   






เสาอโศกบริเวณ ธรรมราชิกาสถูป 
ปัจจุบันหักเป็นท่อนใส่ตู้ไว้ ส่วนหัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์

อักษรพราหมีบนศิลาจารึกพระเจ้าอโศก ทางการอินเดียล้อมรั้วไว้

               ตามคัมภีร์มหาวงศ์ (Mahavamsa) ของชาวลังกา บันทึกไว้ว่าในช่วงราว พ.ศ. 300 มีชุมนุมสงฆ์จำนวนมากอยู่ในพื้นที่อิสิปตน เพราะปรากฏหลักฐานว่าในพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเจดีย์มหาถูปะ (Maha Thupa) ที่เมืองอนุราธปุระ เมืองหลวงแรกของชาวสิงหลในอดีต มีพระธรรมเสนา พระอาวุโสจากอิสิปตนนำพระสงฆ์ไปร่วมพิธีถึง 12,000 รูป

                ราวๆ พ.ศ. 1300 พระถังซำจั๋ง  จาริกมาที่นี่ จึงได้บันทึกไว้ว่ากลุ่มพุทธสถานที่เมืองสารนาถเจริญรุ่งเรืองสุดๆ ในสมัยราชวงศ์คุปตะ มีอารามสงฆ์ 30 แห่ง และมีพระสงฆ์อยู่ในสารนาถราว 3,000 รูป ศึกษาพระธรรมแนวหินยาน มีพระสถูปสูง 100 เมตร มีเสาศิลาจารึกรูปหัวสิงห์อันเป็นตราประจำพระองค์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแสดงว่าเคยเสด็จฯ มาที่แห่งนี้แล้ว แต่สถานที่เหล่านี้ถูกทิ้งร้างปล้นสดมภ์ไปเมื่อถูกพวกมุสลิมเตอร์ก (ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นราชวงศ์โมกุล) รุกราน แถมต่อมายังรื้อถอนก้อนอิฐไปก่อสร้างอาคารวัตถุอื่นที่เมืองพาราณสีอีกด้วย 

                ท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม นายทหารช่างชาวอังกฤษ ผู้เป็นบิดาแห่งกรมสำรวจโบราณคดีแห่งอินเดีย   มาพบมฤคทายวันแห่งนี้เข้าในสภาพที่เป็นป่าปกคลุมพื้นที่ราว 1 ตารางกิโลเมตรนับจากธัมเมกขสถูปทางด้านเหนือไปจรดเจาคันธีสถูปทางด้านใต้   นี่คือจุดเริ่มของการขุดค้นบูรณะซากโบราณสถานสารนาถ   ต่อมา ท่านอนาคาริก ธรรมพล ชาวสิงหลจากเกาะลังกา ได้มาช่วยบูรณะเพิ่มเติม และได้สร้างวัดศรีลังกาขึ้นในบริเวณนั้น
 



เจาคันธีสถูป   
ภายหลังตรัสรู้พระพุทธองค์  เดินทางมาพบปัญจวัคคีย์ครั้งแรกที่สถานที่นี้


                จากพุทธคยา  มายังพาราณสี   พระพุทธองค์ใช้เวลาเดินด้วยพระบาทนานถึง เกือบสองเดือน    ซาบซึ้งในพระวิริยะอุตสาหะ   พระมหาเมตตา  พระมหากรุณาธิคุณ  เดินเท้าเป็นระยะทางไกลเพื่อมาโปรดปัญจวัคคีย์ผู้เคยร่วมอุดมการณ์กันมาก่อนในการพยายามหาหนทางออกจากทุกข์   

                เนื้อความในถ้อยคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นสุดยอดธรรมะขั้นสูง   อนัตตลักขณะสูตร   เป็นจุดกำเนิดพระรัตนตรัย  เอหิภิกขุอุปสัมปทา  และ  เป็นจุดกำเนิดพระอรหันตสาวกกลุ่มแรก 5 องค์  เป็นจุดเริ่มต้นการหมุนธรรมจักรจนธรรมะเหล่านั้นได้รับการถ่ายทอดมาถึงยุคสมัยของเรา  




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2562
8 comments
Last Update : 14 มิถุนายน 2562 19:57:25 น.
Counter : 1179 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtuk-tuk@korat, คุณtoor36, คุณKavanich96

 


สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น

ตรงจุดนี้ผมไม่ได้ไปครับ

ในเนื้อความถ้อยคำสอน
ซึ่งกลายเป็นบทสวดนั้น
เป็นคำสอนทีเ่ป็นเหตุเป็นผลมากๆเลยนะครับ
สอนเป็นลำดับขั้นตอน
และมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง
จากเหตุนำไปสู่ผล
เพราะสิ่งนั้นจึงเป็นสิ่งนี้
เพราะสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งนั้น

พระพุทธองค์ทรงเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ของโลกจริงๆครับ



 

โดย: กะว่าก๋า 15 มิถุนายน 2562 6:32:31 น.  

 

เรื่องโรงเรียนผมให้ลูกมีส่วนในการเลือกและตัดสินใจด้วยครับ
คืนก่อนนอนคุยกัน
ผมก็เล่าให้เขาฟังว่า
ผมเองก็ไม่ได้จบจากโรงเรียนดัง เลือกไม่เอนทรานซ์ด้วย
ลูกก็ถามเหตุผล
ผมก็เล่าไปตามความรู้สึกของตัวเอง

แต่สุดท้ายก็ให้ลูกเป็นคนตัดสินใจด้วยครับ
ว่าเขาอยากเรียนที่ใด



 

โดย: กะว่าก๋า 15 มิถุนายน 2562 15:26:49 น.  

 

ขอบคุณกำลังใจที่บล็อกค่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ แม้แต่ดอกไม้ยังไม่ยอมบาน
โยงไปเข้าเรื่องในบล็อกเราจนได้ แหะ ๆ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 15 มิถุนายน 2562 18:33:09 น.  

 

ชอบภาพแรกค่ะ คุณเย็น ณ จุดนี้ เอาอยู่เลยค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 15 มิถุนายน 2562 21:21:40 น.  

 

สาธุค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 15 มิถุนายน 2562 21:45:42 น.  

 

น่าเสียดายที่ตอนนี้สถูปเหลือแต่ฐาน สิ่งต่างๆ ไม่เที่ยงจริงๆ พุพังไปตามกาลเวลา

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 15 มิถุนายน 2562 23:44:23 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น

 

โดย: กะว่าก๋า 16 มิถุนายน 2562 6:42:12 น.  

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Kavanich96 19 มิถุนายน 2562 1:49:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


mcayenne94
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




Bangkok

Kyoto

Sydney

Mcayenne94's Diary มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการ จัดจำหน่าย ต้นไม้ดอกไม้ หรือสิ่งใด อนุญาตให้นำภาพถ่าย พร้อมชื่อMcayenneผู้ถ่ายภาพไปใช้ประโยชน์ได้ และสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำภาพถ่าย Mcayenne ไปใช้ โดยการดัดแปลงตัดต่อหรือลบชื่อภายในภาพ
Friends' blogs
[Add mcayenne94's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.