Group Blog
 
<<
เมษายน 2562
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 เมษายน 2562
 
All Blogs
 

My first trip to Lord Buddha's Place Day2; 29 Jan 2019 Nalanda



                  หลังจากลงจากเขาคิชฌกูฎ   เดินทางต่อไปอีกประมาณ 1 โยชน์ ( 16 กม.)  เพื่อไปชม  มหาวิทยาลัยนาลันทา  จุดสำคัญในนาลันทาที่ควรเยี่ยมชม  คือ  โบราณสถานที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่เป็นสถานที่เรียนทางพุทธศาสนาในอดีต    สถูปพระสารีบุตรท่านเป็นชาวเมืองนาลันทา  และพระพุทธรูปดำที่ศักดิ์สิทธิ์   

                    นาลันทาก่อตั้งในราว ค.ศ. 400-500  เชื่อว่าก่อตั้งโดยพระเจ้าสักราทิตย์แห่งราชวงศ์คุปตะ  เนื่องจากมีพระนามของพระองค์ปรากฏอยู่ในดินเผาตราประทับของมหาวิทยาลัยนาลันทา

 มหาวิทยาลัยนาลันทาพบว่าก่อสร้างด้วยอิฐแดงธรรมดาๆ มีอาณาเขตเกือบ 90 ไร่ มีกำแพงสูงล้อมรอบและมีประตูทางเข้าใหญ่หนึ่งแห่ง แบ่งเป็น 8 ส่วน  น่าจะเป็นการรวมวัดประมาณ 6 วัดเข้าด้วยกัน โดยมีการล้อมกำแพง 6 วัดนี้ให้อยู่ในเขตเดียวกัน จากเดิมมีแต่พระมาเรียน แล้วก็มีแต่วิชาเกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งนั้น ต่อมาเปิดขยายรับนักศึกษาที่เป็นฆราวาส  รับนักศึกษาต่างชาติ  รวมถึง หลวงจีนเหียนจัง หรือพระถังซัมจั๋ง ท่านเรียนจบแล้วก็ได้งานเป็นอาจารย์และเป็นหนึ่งใน “บอร์ดผู้บริหาร” อยู่หลายปีก่อนกลับเมืองจีนโดยไม่ลืมที่จะนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่

                 นาลันทาเป็นแหล่งความรู้ด้านต่างๆ ในยุคนั้น มีห้องสมุดที่เป็นอาคารสูง 9 ชั้นถึง 3 หลัง ชื่อรัตนสาคร รัตโนทธิ และรัตนรัญชกะ ล้วนแต่มีบ่งความหมายว่าความรู้มีค่าดุจอัญมณี มีตำราเป็นแสนๆ เล่ม มีส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตตำราเองเสียด้วย มีหอพักนักศึกษา มีวัด 10 แห่ง ไม่นับห้องประชุมสำหรับนั่งสมาธิวิปัสสนา ห้องเรียน ทะเลสาปและสวนหย่อมภายในบริเวณนะครับ มีการเปิดสอนหลากหลายวิชาทั้งสายศิลป์และสายวิทย์ ตั้งแต่ศาสนา ประวัติศาสตร์ กฎหมาย สาธารณสุข ไปจนถึงดาราศาสตร์ ยันสถาปัตย์ มีการวางระเบียบแบบแผนทั้งงานบริหารและวิชาการอย่างมีระบบ พุทธศาสนาทั้งมหายานและวชิรยานมีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนที่นาลันทามาก ในช่วงที่รุ่งเรืองมีนักศึกษาถึงกว่าหมื่นคน ครูอาจารย์อีกกว่า 2 พันคน
 







สถานที่ได้รับการดูแลอย่างดี  ร่มรื่น  สะอาดเป็นระเบียบ
                     นาลันทามีความหมายว่า “ให้ไม่รู้จบ” (insatiable in giving)  เป็นสถานศึกษาให้ความรู้แก่ผู้มาเรียนไม่มีที่สิ้นสุด  ได้รับการอุปถัมภ์จากพระราชาพระจักรพรรดิ์

 

นอกจากไกด์ของเราแล้ว  ยังมีไกด์ท้องถิ่น (เห็นด้านหลัง)  ช่วยบรรยายอีกด้วย



 
อาคารเรียนมี แปดหลัง ภายในเหมือนกันทุกหลัง แต่ละหลังใหญ่โตอลังการ  ห้องเล็กๆรอบอาคารตามแผนผังคือห้องฝึกกรรมฐาน นักศึกษาพักห้องละ 1 คน


                

 


 

 เค้าโครงภายในห้องพักของนักศึกษาแต่ละคน



แนวระบายของเสียของนักศึกษาแต่ละห้องพัก  








ทางขึ้นอาคารห้องสมุดที่สูง 9 ชั้น





ยืนบนเวที ในห้องเรียนขนาดกว้างใหญ่  มาสถานที่แห่งนี้รู้สึกชอบและมีความสุข






นักเรียน นักบวช พุทธศาสนิกชน  เดินทางเข้าชมไม่ขาดสาย








ภายในนาลันทา  ยังมีสถานที่สำคัญคือ สถูปของพระสารีบุตร






 

  บันทึกเรื่องที่ควรจดจำ  เกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยนาลันทา

พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1149-1191 ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. 1172-1187 ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่าถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ 10,000 คน และมีอาจารย์ประมาณ 1,500 คน พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน 200 หมู่โดยรอบให้ โดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ

                      แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมากและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน หลวงจีนอี้จิงซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. 1223 ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรืองสืบมาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1303-1685) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่

                       อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ ซึ่งเมื่อพระที่ควรงดเว้นเรื่องกามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา กลับหันมาเสพกามเสียแล้ว ก็ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกาเริ่มเสื่อมศรัทธาจนส่งผลให้ไม่สนใจใยดีพระศาสนา ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ฝ่ายเดียวต่างจากลัทธิพราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัวจนกลายมาเป็น ฮินดู การปรับตัวนั้นก็เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพราหมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายัญสัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว สร้างเรื่องให้พระพุทธเจ้าก็กลายเป็นอวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดูมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา

                 
                 นาลันทาถูกรุกรานรวม 3 ครั้ง
1.ชาวฮั่นรุกรานครั้งแรกหลังก่อตั้งได้ไม่นาน แต่ได้รับการบูรณะฟื้นฟูแทบจะทันทีโดยลูกหลานของพระเจ้าสุคนธคุปต์ โดยสร้างใหม่ใหญ่กว่าเดิม  จัดทำระบบทรัพยากรต่างๆ ภายในให้เพียงพอที่มหาวิทยาลัยนาลันทาจะสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้อย่างยั่งยืน ต่อมา
2.  ชาวเกาฑะ (Gaudas) จากตะวันออกของอินเดียได้รุกรานนาลันทาเป็นครั้งที่สองเมื่อราว พ.ศ. 1100 เศษ คราวนี้ได้พระเจ้าหรรษวรรธนะ (Harshavardhana) กษัตริย์เชื้อสายฮินดูเป็นผู้บูรณะขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง   

3. การรุกรานครั้งที่สามเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1193 (พ.ศ. 1736 ก่อนก่อตั้งกรุงสุโขทัย) ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายและร้ายแรงที่สุดถึงขนาดทำให้นาลันทาล่มสลาย เป็นฝีมือของชาวอัฟกัน-เติร์กชื่อ ภักติยาร์ คิลชิ (Bakhtiyar Khilji) ซึ่งต้องการแผ่อิทธิพลของศาสนาอิสลามโดยใช้ความรุนแรง กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น  เพราะต้องการที่จะถอนรากถอนโคนอิทธิพลของพุทธศาสนาในชมภูทวีปเสียให้หมดสิ้น อาคารเรียน วัดวาอาราม ห้องสมุด ล้วนถูกทำลาย ตำราที่ถูกเผาไหม้นั้น คุโชนอยู่เป็นเดือนๆ กว่าจะมอดไหม้หมดสิ้น และอาจพูดได้ว่า คุณภักติยาร์ประสบความสำเร็จตามตั้งใจเพราะนับแต่นั้นมาพุทธศาสนาแทบจะจางหายไปจากอินเดียเป็นการถาวร

                 จากการบันทึกของท่าน ตารนาท ธรรมสวามินปราชญ์เขียนเอาไว้ว่า พอกองทัพมุสลิมยกทัพกลับไปแล้ว พระ นักศึกษา และพระอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 70 องค์ ก็พากันออกมาจากที่ซ่อน ทำการสำรวจข้าวของที่ยังหลงเหลืออยู่ รวบรวมเท่าที่จะหาได้ ปฏิสังขรณ์ตัดทอนกันเข้าก็พอได้ใช้สอยกันต่อมา และ ท่านมุทิตาภัทร รัฐมนตรีของกษัตริย์ในสมัยนั้นได้จัดทุนทรัพย์จำนวนหนึ่ง ส่งไปจากแคว้นมคธ เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่นาลันทาขึ้นมาใหม่แต่ก็ทำได้บางส่วนเท่านั้น

               แต่แล้ววันหนึ่งได้มีปริพาชก 2 คนได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนขึ้นและคงคิดว่าเพียงพอแล้วที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป จึงได้รวบรวมเศษไม้แล้วก่อไฟขึ้น พร้อมทั้งขว้างปาดุ้นฟืนที่ติดไฟไปตามสถานที่ต่างๆ โดยรอบ จนกระทั่งเกิดไฟลุกไหม้ไปทั่วมหาวิทยาลัยนาลันทา ก็เป็นอันแหลกลาญเป็นผุยผง สุดที่จะทำการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ให้คืนดีได้ดังเดิม มหาวิทยาลัยนาลันทา อันเลื่องชื่อลือนาม ก็เป็นอันสิ้นสุดลง ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า มาตั้งแต่บัดนั้นซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลัง ยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีตในปลายพุทธศตวรรษที่ 25

                 
                  ต่อมาในปี พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง บริเวณปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบในมหาวิทยาลัยนาลันทา

 




 

Create Date : 03 เมษายน 2562
43 comments
Last Update : 12 เมษายน 2562 19:49:15 น.
Counter : 1641 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณสองแผ่นดิน, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณSai Eeuu, คุณตะลีกีปัส, คุณThe Kop Civil, คุณtoor36, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณกะว่าก๋า, คุณ**mp5**, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณKavanich96, คุณkae+aoe, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณหอมกร, คุณชีริว, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณJinnyTent, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณhaiku

 

มาเที่ยว ชมต่อครับ
มหาวิทยาลัยนาลันทาใหญ่โตอลังการมากครับ นักศึกษาหมื่นกว่าคน อาจารย์พันกว่าคน
เป็นมหาวิทยาลัยเรียนกินนอน ที่ต้องใช้พื้นที่มากมายครับ



 

โดย: สองแผ่นดิน 3 เมษายน 2562 20:45:45 น.  

 

แม้จะเป็นแค่ทรากอิฐไม่สมบูรณ์แบบ
แต่ก็ดูสวยงามอลังการงานสร้างมากเลยค่ะ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 3 เมษายน 2562 20:53:58 น.  

 

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 3 เมษายน 2562 21:41:08 น.  

 

สวัสดีมีสุขค่ะ

แม้เป็นเพียงซากปรักหักพัง
ก็ยังความศรัทธาแก่ผู้นับถือ
ดูจากหน้าตาสดใสของคุณเย็นก็พอรู้สึกได้ค่ะ

ทางระบายของเสียของแต่ละห้อง
ถ้าต้องผ่านห้องอื่นด้วย คงลำบากยิ่งนะคะ

 

โดย: ตะลีกีปัส 3 เมษายน 2562 21:52:24 น.  

 

ตามมาเที่ยวอินเดียด้วยคนครับ วัฒนธรรมประเพณ๊เค้าช่างงดงามจริง ๆ ครับ

 

โดย: The Kop Civil 3 เมษายน 2562 22:00:28 น.  

 

มาลองจินตนาการถึงสมันก่อนตอนที่มันยังสมบูรณ์มันคงดูยิ่งใหญ่อลังการมากเลยทีเดียวนะครับ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 3 เมษายน 2562 23:41:49 น.  

 

ชื่อเมืองนี้คุ้น ๆ.... เคยดูสารดี ที่จัดทำโดย(จำชื่อไม่ได้)
เป็นสตรี น่าจะคุ้นเคยกับคุณนิรุต ศิริจรรยา.

เสียงบรรยายทุ้มนุ่มวิธีการพูดเป็นจังหวะ ทำให้นึกอยากไปเที่ยว
...

เห็นภาพข้างบน อากาศคงจะดี ไม่ร้อน...อิฐดูจะโตกว่าอิฐ
ในปัจจุบันนะครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 4 เมษายน 2562 6:09:57 น.  

 



สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น

ในสมัยโบราณ
ที่นี่คงยิ่งใหญ่
และเป็นแหล่งผลิตบัณฑิต นักปราชญ็จำนวนมากเลยนะครับ
ชอบความหมายของนาลันทา

ชื่อเฟซบุ๊คของผม คือ kawaka nalanta
มีที่มาด้วยครับ
คือ วันหนึ่งขณะที่ผมเล่นคอม
อยู่ๆก็มีชื่อนาลันทาแว๊บเข้ามาในหัว
ผมก็เลยเอาชื่อนี้มาตั้งโดยไม่รู้ว่ามีความหมายอะไรยังไง

แล้วที่น่าแปลกก็คือ ปลายปีนั้นหลวงพ่อก็เรียกผม
หใ้ไปอินเดียด้วยกัน ตอนที่ไปถึงนาลันทา
ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ชื่อเฟซของผม
ก็เป็นชื่อเดียวกันเลยครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 4 เมษายน 2562 6:43:27 น.  

 

ส่งกำลังใจครับ

 

โดย: **mp5** 4 เมษายน 2562 15:02:06 น.  

 

สวัสดีมีสุขค่ะ

ขอบคุณกำลังใจให้ข้าวยำกะปิค่ะ
แม่ครัวหากมีลูกมือช่วยจะเบาแรงและเร็วหน่อย
ถ้าทำอยู่คนเดียวเหนื่อยค่ะกว่าจะได้กิน

 

โดย: ตะลีกีปัส 4 เมษายน 2562 20:08:39 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับคุณเย็น

ผมเองก็หวังที่จะเห็นแผ่นดินร่มเย็นเป็นสุข
ไม่อยากเห็นคนไทยทะเลาะกันเอง
แม้จะเห็นต่าง
แต่ขอให้ต่างอย่างเข้าใจและสงบ
เพราะทุกครั้งที่เกิดความวุ่นวายล้มตาย
ประชาชนคือผู้รับเคราะห์
แต่นักการเมืองคือผู้รับผลประโยชน์จริงๆครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 4 เมษายน 2562 21:23:12 น.  

 

มหาวิทยาลัยนาลันทาในช่วงที่รุ่งเรืองมีนักศึกษาถึงกว่าหมื่นคน
ครูอาจารย์อีกกว่า 2 พันคน
สถานที่ทั้งกว้างขวางและยังเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ
สมกับความหมายของชื่อนาลันทานะคะคุณเย็น

ขอบคุณคุณเย็นที่พาชมสถานที่สำคัญแห่งนี้ค่ะ
ขอบคุณคุณเย็นสำหรับกำลังใจด้วยนะคะ

 

โดย: Sweet_pills 4 เมษายน 2562 23:34:14 น.  

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Kavanich96 5 เมษายน 2562 4:45:16 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น

 

โดย: กะว่าก๋า 5 เมษายน 2562 6:11:11 น.  

 

มาติดตามด้วยคนค่ะ

 

โดย: kae+aoe 5 เมษายน 2562 8:51:45 น.  

 

mcayenne94 Travel Blog ดู Blog
แวะมาเที่ยวด้วยคนนะคะ

 

โดย: หอมกร 5 เมษายน 2562 14:22:35 น.  

 

ยินดีค่ะ
คุณเย็นนอนหลับฝันดีคืนนี้นะคะ

 

โดย: Sweet_pills 5 เมษายน 2562 23:12:43 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับคุณเย็น

จริงครับ
บางเรื่อง
ถึงเวลา
รู้เองจริงๆครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 5 เมษายน 2562 23:16:56 น.  

 



สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น


 

โดย: กะว่าก๋า 6 เมษายน 2562 5:47:06 น.  

 

เป็นหนึ่งในที่ๆอยากไปที่สุดของอินเดียแล้วครับ นาลันทา มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
ขนาดใหญ่โตมโหฬารด้วย รวม 6 วัดเข้าด้วยกัน
สมัยก่อนการศึกษากับศานาใกล้ชิดกันมากเลยครับ โรงเรียนเก่าๆของประเทศตะวันตกก็เป็นโบสถ์คริสต์ทั้งนั้น
(ก่อนมีศาสนาก็ประมาณโรงเรียนสอนปรัชญา)
เพิ่งรู้ว่าพระถังซัมจั๋งก็เรียนจบจากที่นี่
ถึงตอนนี้จะเหลือแต่ซากปรักหักพัง แต่ก็เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตนะครับ
อย่างสถูปพระสารีบุตรนี่ยังใหญ่โตอยู่
เวลาพวกมหาลัยหรือหอสมุดถูกเผาทำลาย รู้สึกความสูญเสียครั้งใหญ่ของความรู้มวลมนุษยชาติ
อย่างหอสมุดอเล็กซานเดรียที่อียิปต์ก็น่าเสียดายมากๆ ครับ

 

โดย: ชีริว 6 เมษายน 2562 12:42:29 น.  

 

ใหญ่โตอลังการมากเลยนะคะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 6 เมษายน 2562 20:27:41 น.  

 

เคยได้ยินประวัติของมหาวิทยาลับนาลันทามาอยู่บ้าง
น่าเสียดายนะคะ ที่ถูกไฟไหม้เสียหายจนไม่สามารถบูรณะปฏิสังขรณ์กลับมาเหมือนเดิม

อ่านแล้วรู้สึกสลดใจ สงครามศาสนา
ก็โหดร้ายไม่แพ้สงครามทางการเมืองเลยนะคะ
เผาไหม้กว่าจะมอดใช้เวลาเป็นเดือน ๆ
นึกไม่ออกเลยว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหนในสมัยนั้น
น่าเสียดายจริง ๆ

สอนอะไรได้หลายอย่างนะคะ
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง เคยเฟื้องฟู ก็เสื่อมถอยได้
หมุนเวียนกันอยู่ เป็นอนัตตา

วันนี้ฟังซีดีหลวงพ่อปราโมทย์ วัดสวนสันติธรรม
ท่านก็บอกว่าปัจจุบันนี้ คนนับถือศาสนาพุทธแท้ ๆ
มีเพียง 5% เท่านั้นเมื่อเทียบกับศาสนาอื่น

ท่านก็เล่าต่อว่า เหตุผลที่ทำให้คนนับถือศาสนาพุทธน้อยลง
เพราะศาสนาพุทธเราสอนให้ช่วยเหลือตนเอง
ไม่ได้สอนให้อ้อนวอนของพระเจ้าช่วย
ต้องค้นหาทางพ้นทุกข์ ปฏิบัติด้วยตนเองไม่มีใครช่วย
ครูบาอาจารย์มีหน้าที่แนะแนวทางให้เท่านั้น

พอฟังถึงเหตุผลก็เห็นด้วยค่ะ
ยุคสมัยนี้ คนที่เข้าใจศาสนาพุทธแท้
ที่เข้าใจหัวใจของพุทธศาสนาจริง ๆ มีน้อยลงมากจริง ๆ

 

โดย: JinnyTent 7 เมษายน 2562 18:16:38 น.  

 

น้องซีได้เล่นล่องแก่งค่ะบอกเปียกชอบเลย เมืองหิมะก็ชอบมากค่ะ ที่เหลือเล่นแต่ขแองเด็กๆ ไม่เล่นพวกหวาดเสียวเลย ไม่ได้แม่มาเลย 5555 แม่ชอบมากสมัยก่อนที่แดนเนรมิตเช่นกันค่ะ อิอิ

 

โดย: kae+aoe 8 เมษายน 2562 8:53:18 น.  

 

เล่มนี้จริงๆตั้งใจซื้อมาให้น้องสาวอ่านครับ
แต่พอเจ้าตัวเห็นเนื้อหาและความหนา
ก็เกิดถอดใจ
ผมเลยเอามาอ่านเอง
อ่านสนุกมากครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 8 เมษายน 2562 15:36:40 น.  

 

ชอบความหมายของนาลันทาค่ะ
ภาพที่ยืนบนเวทีสะท้อนถึงความสุข
ของผู้ที่มาเยือนตรงจุดนั้นเลยนะคะ^^

 

โดย: สันตะวาใบข้าว 8 เมษายน 2562 19:59:37 น.  

 

ขอบคุณค่ะ คุณเย็น
ต้นนี้หนามกอดกันน่ารักดีค่ะ ไม่ดุ 555
รออ่านตอนต่อไปนะคะ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 8 เมษายน 2562 20:10:16 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น

 

โดย: กะว่าก๋า 9 เมษายน 2562 6:06:57 น.  

 

ขอบคุณที่ไปเยี่ยมทรงผมวันละทรงของน้องซีนะคะ อีกแค่ 3 วัน จะได้ปิดซัมเมอร์แล้วค่ะ

 

โดย: kae+aoe 9 เมษายน 2562 8:33:13 น.  

 

น้ำยำทำง่ายและปรับรสได้ตามเราชอบนะคะ

ขอบคุณคุณเย็นมากค่ะสำหรับกำลังใจ

 

โดย: Sweet_pills 9 เมษายน 2562 18:10:42 น.  

 

เป็นครั้งแรก ปีแรกเลยค่ะ ที่ตั้งใจจะไปดูนางพญาเสือโคร่ง ช่วงเค้าบาน... ปกติไปเที่ยวกับครอบครัว เป็นช่วงวันหยุดยาว ไม่ตรงช่วงดอกบานซักทีค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 9 เมษายน 2562 20:24:10 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับคุณเย็น

ผมชอบสิทธารถะมากเลยครับ
ชอบวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง
ลองผิดลองถูก
และเข้าหาธรรมชาติอย่างนอบน้อม
แล้วก็มีความดื้อนิดๆด้วยครับ 5555


 

โดย: กะว่าก๋า 9 เมษายน 2562 20:56:33 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น

 

โดย: กะว่าก๋า 10 เมษายน 2562 6:29:09 น.  

 

สวัสดีมีสุขค่ะ

ผ้าฝ้าย ผ้าขาวม้าฝ้ายแท้ ใส่สบายดีค่ะ
ลมผ่านได้ใต้ซิ่น หากนุ่งกางเกงขายาวจะเหนอะหนะเหนียวตัวมากเลย
ขอบคุณกำลังใจให้นุ่งซิ่นด้วยนะคะ

 

โดย: ตะลีกีปัส 10 เมษายน 2562 14:20:27 น.  

 

สงกรานต์คงไม่พาน้องหนามไปพักร้อนวัดไหนหรอกค่ะ อิอิ
อากาศร้อน ๆ ก็เข้าใจนะ แหม่ ตลกนะตะเอง 555

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 10 เมษายน 2562 20:25:51 น.  

 

เอนทรี่นี้ต้องอ่านโดยละเอียด
เดี๋ยวกลับมาใหม่ค่ะ

พี่เพิ่งกลับมาจากบ้านป่าเมื่อหัวค่ำนี้เองค่ะ
ไปอยู่ 5 วันเจอฝนอย่างหนักทุกวันเลย
สงกรารต์จะไม่ได่ไปค่ะ คุณหมอ พี่ปูจะไปสวิส
สองอาทิตย์ อาทิตย์สิ้นเดือนถึงจะได้กลับไปอีก
แต่คงจะได้ออกไปไหว้พระวัดในกรุ่งเทพฯค่ะ

 

โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า 10 เมษายน 2562 21:07:17 น.  

 

กลับมาตั้งใจอ่านค่ะ เป็นวิทยาทาน
แก่พี่มากเลยค่ะ คุณหมอ ไม่เคยรู้จักที่นี่
อย่างลึกซึ้งเช่นนี้มาก่อน

ขอบคุณนะคะ

 

โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า 12 เมษายน 2562 8:15:11 น.  

 

ผมได้แต่หวังไว้ในใจครับ
ว่าตอนหมิงหมิงลูกชายผมจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ระบบการศึกษาน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง 555
ตอนนี้เปลี่ยนจนงงครับ

อากาศที่เชียงใหม่ร้อนจัดมากๆ
และไม่มีฝนเหมือนทุกปี
ควันเยอะมากๆครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 12 เมษายน 2562 22:08:04 น.  

 



สวัสดียามเช้าครับคุณเย็น

 

โดย: กะว่าก๋า 13 เมษายน 2562 6:30:10 น.  

 

ขอบคุณค่ะ คุณเย็น
สุขสันต์วันสงกรานต์ค่า
มีความสุข เปียกน้ำบ้างหรือยังคะ อิอิ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 13 เมษายน 2562 15:58:43 น.  

 

สุขสันต์วันสงกรานต์...สุขภาพดีสดชื่นแจ่มใส...นะคะคุณเย็น^^



.....

จริงด้วยค่ะแกงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นต้นความสำเร็จ..(เล่นน้ำกันค่ะ...อิอิ)

 

โดย: สันตะวาใบข้าว 13 เมษายน 2562 16:02:14 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะคุณเย็น

 

โดย: Sweet_pills 13 เมษายน 2562 23:23:56 น.  

 

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ คุณเย็น
สวัสดีปีใหม่ไทยครับ

 

โดย: สองแผ่นดิน 13 เมษายน 2562 23:30:20 น.  

 

ผมไม่ได้เข้าไปในคูเมืองเลยครับ
เล่นน้ำครั้งสุดท้าย
น่าจะ 20 ปีที่แล้วครับ 555
ปีนี้ก็ทำงานตามปกติ
อากาศก็ยังร้อนมาก
ปกติสงกรานต์ทุกปีจะมีฝน
ปีนี้ไม่มีเลยครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 16 เมษายน 2562 10:43:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


mcayenne94
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




Bangkok

Kyoto

Sydney

Mcayenne94's Diary มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการ จัดจำหน่าย ต้นไม้ดอกไม้ หรือสิ่งใด อนุญาตให้นำภาพถ่าย พร้อมชื่อMcayenneผู้ถ่ายภาพไปใช้ประโยชน์ได้ และสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำภาพถ่าย Mcayenne ไปใช้ โดยการดัดแปลงตัดต่อหรือลบชื่อภายในภาพ
Friends' blogs
[Add mcayenne94's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.