Group Blog
 
<<
เมษายน 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
4 เมษายน 2560
 
All Blogs
 

4 เมย 60 วันพระ & หอมๆ



  อนุตตริยะ ๖

ภาวะอันยอดเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม

๑. ทัสสนานุตริยะ - การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวกรวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ

๒. สวนานุตตริยะ - การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวก

๓. ลาภานุตตริยะ - การได้อันเยี่ยม ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคตและตถาคตสาวก หรือการได้อริยทรัพย์

๔. สิกขานุตตริยะ - การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา

๕. ปาริจริยานุตตริยะ - การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวก

๖. อนุสสตานุตตริยะ - การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑ ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ

ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิดดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า ลาภนี้นั้นเป็นของเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่งย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิดดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งหมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำบำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า การบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ...เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่งย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวกเป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ



              วันพระอีกแล้ว  เช้านี้มีดอกไม้หอมๆผลิบานมากกว่าทุกวัน  








                  "พุดน้ำ"  ดอกสีขาวหกกลีบ รูปแตร  มีเกสรสีขาวอยู่ข้างในกรวย  









             นอกจาก "พุดน้ำ"  วันนี้ยังมี  "พุดแคระดอกซ้อน"  พุดแคระนี้เลี้ยงยากกว่าพุดซ้อนธรรมดา    ดอกซ้อนเล็กๆน่ารัก








ถ่ายภาพเปรียบเทียบกับพุดซ้อนแบบไม่แคระ คนละขนาด 





พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปาฏิกสูตร (๒๔)
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อนุปิยนิคม ของชาวมัลละ ใน
แคว้นมัลละ ครั้งนั้นแลเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอนุปิยนิคม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่ายังเช้านักที่จะเข้าไปบิณฑบาตยังอนุปิยนิคม ถ้ากระไร เราพึงไปหาปริพาชก ชื่อภัคควโคตรที่อารามของเขา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาปริพาชกชื่อภัคควโคตรที่อารามของเขาแล้ว ฯ
ปริพาชกชื่อภัคควโคตรได้กราบทูลเชิญพระผู้มีพระภาคว่า ขอเชิญ
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว นานๆ พระองค์จึงจะมีโอกาสเสด็จมาที่นี้ ขอเชิญประทับนั่ง นี้อาสนะที่จัดไว้ พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้แล้ว ฝ่ายปริพาชกชื่อภัคควโคตร ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงได้กราบทูลว่า 
              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
วันก่อนๆ พระโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วบอกว่า ดูกรภัคควะ บัดนี้ ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพเจ้าไม่อยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำนั้นเป็นดังที่เขากล่าวหรือ ฯ
              ก็เป็นดังที่โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะกล่าวนั้นแล ภัคควะ                   ในวันก่อนๆ เขาได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอบอกคืนพระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักไม่อยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวว่า ดูกรสุนักขัตตะเราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า มาเถิด สุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา ดังนี้บ้างหรือ ฯ

หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ

หรือว่า เธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค ฯ
หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ

               ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เราไม่ได้กล่าวกะเธอว่า มาเถิด สุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา ดังนี้ อนึ่ง เธอก็ไม่ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้เธอเมื่อบอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใคร เธอจงเห็นว่า ข้อนี้เป็นความผิดของเธอเท่านั้น ฯ
[๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงกระทำอิทธิปาฏิ
หาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์แก่ข้าพระองค์เลย ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์แก่เธอ ดังนี้บ้างหรือ ฯ
หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
หรือว่า เธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ฯ
หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เรามิได้กล่าวกะเธอว่า มาเถิด สุนักขัตตะ
เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจักกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์แก่เธอดังนี้ อนึ่ง เธอก็มิได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดังนี้ ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อบอกคืนจะชื่อว่าบอกคืนใคร ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือเมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ [หรือหาไม่] ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ได้ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็น
ธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้ทรงกระทำก็ดี ธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้าฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรม
ยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ เช่นนี้ เธอจะปรารถนาการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ไปทำไม
ดูกรโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้เป็นความผิดของเธอ
เท่านั้น ฯ
[๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงบัญญัติสิ่งที่โลก
สมมติว่าเลิศแก่ข้าพระองค์เลย ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่เธอ ดังนี้ บ้างหรือ ฯ
หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
หรือว่า เธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่ข้าพระองค์ ฯ
หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เรามิได้กล่าวกะเธอว่า มาเถิด สุนักขัตตะ
เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่เธอ ดังนี้ อนึ่ง เธอก็มิได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่ข้าพระองค์ ดังนี้ ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อบอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใคร ดูกรสุนักขัตตะเธอจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือเมื่อเราได้บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ หรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
[หรือหาไม่] ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ได้บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ หรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่พระองค์ได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศหรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ เช่นนี้ เธอจะปรารถนาการบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศไปทำไม ดูกรโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้ เป็นความผิดของเธอเท่านั้น สุนักขัตตะ เธอได้สรรเสริญเราที่วัชชีคาม โดยปริยายมิใช่น้อยว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้ เธอได้สรรเสริญพระธรรมที่วัชชีคามโดยปริยายมิใช่น้อยว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้าไปในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ และเธอได้สรรเสริญพระสงฆ์
ที่วัชชีคาม โดยปริยายมิใช่น้อยว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญญเขตของชาวโลกไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ สุนักขัตตะ เราขอบอกเธอ เราขอเตือนเธอว่าจักมีผู้กล่าวติเตียนเธอว่า โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว ดังนี้ดูกรภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ถึงแม้ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ได้หนีไปจากธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์อบาย เหมือนสัตว์นรก ฉะนั้น ฯ
[๔] ดูกรภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่นิคมแห่งชาวถูลูชื่ออุตตรกาในถูลูชนบทครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะเป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปบิณฑบาตที่อุตตรกานิคม สมัยนั้น มีอเจลกคนหนึ่งชื่อโกรักขัตติยะ ประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก ดูกรภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เห็นแล้วจึงคิดว่าเขาเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่ง ครั้งนั้น เราได้ทราบความคิดในใจของโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะด้วยใจแล้ว จึงกล่าวกะเขาว่า ดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอก็ยังจักปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่าดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังจักปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เธอได้เห็นโกรักขัตติยอเจลกคนนี้ ซึ่งประพฤติอย่างสุนัขเดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก แล้วเธอจึงได้คิดต่อไปว่า เขาเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่งมิใช่หรือ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคยังทรงหวง
พระอรหันต์อยู่หรือ ฯ
ดูกรโมฆบุรุษ เรามิได้หวงพระอรหันต์ แต่ว่า เธอได้เกิดทิฐิลามกขึ้น
เธอจงละมันเสีย ทิฐิลามกนั้นอย่าได้มีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน อนึ่ง เธอย่อมเข้าใจโกรักขัตติยอเจลกว่า เป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่ง อีก ๗ วัน เขาจักตายด้วยโรคอลสกะ ครั้นแล้ว จักบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา  ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และจักถูกเขานำไปทิ้งที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ และเมื่อเธอประสงค์อยู่ พึงเข้าไปถามโกรักขัตติยอเจลกว่า ดูกรโกรักขัตติยะผู้มีอายุ ท่านย่อมทราบคติของตนหรือ ข้อที่โกรักขัตติยอเจลกพึงตอบเธอว่า ดูกรสุนักขัตตะผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบคติของตนอยู่ คือ ข้าพเจ้าไปเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง ดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้าไปหาโกรักขัตติยอเจลก
แล้วจึงบอกว่า ดูกรโกรักขัตติยะผู้มีอายุ ท่านถูกพระสมณโคดมทรงพยากรณ์ว่าอีก ๗ วัน โกรักขัตติยอเจลกจักตายด้วยโรคอลสกะ แล้วจักบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และจักถูกเขานำไปทิ้งที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ ฉะนั้น ท่านจงกินอาหารและดื่มน้ำแต่พอสมควร จงให้คำพูดของพระสมณโคดมเป็นผิด ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้นับวันตั้งแต่วันที่ ๑ ที่ ๒ ตลอดไปจนครบ ๗ วัน เพราะเขาไม่เชื่อต่อพระตถาคต ครั้งนั้นโกรักขัตติยอเจลก ได้ตายด้วยโรคอลสกะในวันที่ ๗ แล้วได้ไปบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และถูกเขานำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้ทราบข่าวว่า โกรักขัตติยอเจลก ได้ตายด้วยโรคอลสกะ ได้ถูกเขานำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาศพโกรักขัตติยอเจลกที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ แล้วจึงเอามือตบซากศพเขาถึง ๓ ครั้ง แล้วถามว่า ดูกรโกรักขัตติยะ ท่านทราบคติของตนหรือ ครั้งนั้น ซากศพโกรักขัตติยอเจลกได้ลุกขึ้นยืนพลางเอามือลูบหลังตนเองตอบว่า ดูกรสุนักขัตตะผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบคติของตนอยู่ คือข้าพเจ้าไปบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง ดังนี้ แล้วล้มลงนอนหงายอยู่ ณ ที่นั้นเอง
๑. โรคนี้เกิดเพราะกินอาหารมากเกินไป ไฟธาตุไม่ย่อย และเพราะธาตุที่ทรมานตนโดยคลานไปด้วยศอกและเข่า ๒. อสูรพวกนี้ มีตัวสูง ๓ คาวุต มีเนื้อและโลหิตน้อย เช่นใบไม้แก่ มีตาติดบนศีรษะคล้ายตาปู มีปากเท่ารูเข็มบนศีรษะ ทั้งกินอาหารด้วยปากเล็กๆ นั้น ฯ
ดูกรภัคควะ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราได้กล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า สุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้นได้มีแล้ว เหมือนดังที่ เราได้พยากรณ์โกรักขัตติยอเจลกไว้แก่เธอ มิใช่โดยประการอื่น ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มีแล้ว เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาค
ได้ทรงพยากรณ์ โกรักขัตติยอเจลกไว้แก่ข้าพระองค์ มิใช่โดยประการอื่น ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิทธิ
ปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นคุณอันเราได้แสดงไว้แล้วหรือมิใช่ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นอันทรงแสดงไว้แล้ว แน่นอน มิใช่ไม่ได้
ทรงแสดงไว้ ฯ
ดูกรโมฆบุรุษ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ แก่ข้าพระองค์ดังนี้ ดูกรโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้ เป็นความผิดของเธอเท่านั้น ดูกรภัคควะโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อว่าสุนักขัตตะ ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ได้หนีไปจากพระธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในอบาย เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในนรก ฉะนั้น ฯ
[๕] ดูกรภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน เขต
เมืองเวสาลี สมัยนั้น อเจลกคนหนึ่งชื่อกฬารมัชฌกะอาศัยอยู่ที่วัชชีคามเขตเมืองเวสาลี เป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ เขาได้ยึดถือสมาทานข้อวัตรทั้ง ๗ คือ:-
๑. เราพึงเปลือยกาย ไม่นุ่งห่มผ้าตลอดชีวิต ฯ
๒. เราพึงประพฤติพรหมจรรย์ไม่เสพเมถุนธรรมตลอดชีวิต ฯ
๓. เราพึงเลี้ยงชีวิตด้วยการดื่มสุราและกินเนื้อสัตว์ ไม่กินข้าวและขนมตลอดชีวิต ฯ
๔. เราพึงไม่ล่วงเกินอุเทนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทิศบูรพาแห่งเมืองเวสาลี ฯ
๕. เราพึงไม่ล่วงเกินโคตมเจดีย์ ซึ่งอยู่ทิศทักษิณแห่งเมืองเวสาลี ฯ
๖. เราพึงไม่ล่วงเกินสัตตัมพเจดีย์ ซึ่งอยู่ที่ทิศประจิมแห่งเมืองเวสาลี ฯ
๗. เราพึงไม่ล่วงเกินพหุปุตตกเจดีย์ ซึ่งอยู่ทิศอุดรแห่งเมืองเวสาลี ฯ
เพราะการสมาทานข้อวัตรทั้ง ๗ นี้ เขาจึงเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศอยู่ที่วัชชีคาม ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้เข้าไปหาอเจลกชื่อกฬารมัชฌกะ แล้วถามปัญหากะเขา เขาไม่สามารถแก้ปัญหาของโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะให้ถูกต้องได้ จึงแสดงความโกรธ โทสะและความโทมนัสให้ปรากฏ ครั้งนั้นโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้คิดว่า ตนได้รุกรานสมณะผู้เป็นพระอรหันต์ที่ดีข้อนั้นอย่าได้มีแก่เราเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้เข้ามาหาเราถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราได้กล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอก็
ยังจักปฏิญาณตนเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่าดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังจักปฏิญาณตนเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เธอได้เข้าไปหาอเจลกชื่อกฬารมัชฌกะแล้วถามปัญหากะเขา เขาไม่สามารถแก้ปัญหาของเธอให้ถูกต้องได้ จึงได้แสดงความโกรธ โทสะและความโทมนัสให้ปรากฏ เธอจึงได้คิดว่า ตนได้รุกรานสมณะผู้เป็นพระอรหันต์ที่ดี ข้อนั้นอย่าได้มีแก่เราเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อทุกข์สิ้นกาลนานดังนี้ มิใช่หรือ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคก็ยังทรงหวง
พระอรหัตอยู่หรือ ฯดูกรโมฆบุรุษ เรามิได้หวงพระอรหัต แต่ว่าเธอได้เกิดทิฐิลามก เธอจงละมันเสีย ทิฐิอันลามกนี้อย่าได้เกิดแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน อนึ่ง เธอย่อมเข้าใจอเจลกชื่อกฬารมัชฌกะ ว่าเป็นสมณะผู้เป็นพระอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่ง ต่อไปไม่นาน เขาจักกลับนุ่งห่มผ้า มีภรรยา กินข้าวและขนม ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไปดูกรภัคควะ ต่อมาไม่นาน อเจลกชื่อกฬารมัชฌกะ ก็กลับนุ่งห่มผ้า มีภรรยากินข้าวและขนม ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมดกลายเป็นคนเสื่อมยศแล้วตายไป โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้ทราบข่าวว่า อเจลกชื่อกฬารมัชฌกะ
กลับนุ่งห่มผ้า มีภรรยา กินข้าวและขนม ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไป จึงได้เข้ามาหาเราถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราจึงกล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า สุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้น ได้มีแล้วเหมือนดังที่เราได้พยากรณ์ อเจลกชื่อกฬารมัชฌกะไว้แก่เธอ มิใช่โดยประการอื่น ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มีแล้ว เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์อเจลกชื่อกฬารมัชฌกะไว้แก่ข้าพระองค์ มิใช่โดยประการอื่น ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิทธิ
ปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นคุณอันเราได้แสดงไว้แล้วหรือมิใช่ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นอันทรงแสดงแล้วแน่นอน มิใช่ไม่ทรง
แสดง ฯ
ดูกรโมฆบุรุษ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์
ดังนี้ ดูกรโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้เป็นความผิดของเธอเท่านั้น ดูกรภัคควะโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ได้หนีไปจากพระธรรมวินัยนี้เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในอบาย เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในนรก ฉะนั้น ฯ
[๖] ดูกรภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน เขต
เมืองเวสาลีนั้นเอง สมัยนั้น อเจลกชื่อปาฏิกบุตร อาศัยอยู่ที่วัชชีคาม เขตเมืองเวสาลี เป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ เขากล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่าแม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาท แม้เราก็เป็นญาณวาท ก็ผู้ที่เป็นญาณวาท ย่อมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์กับผู้ที่เป็นญาณวาท พระสมณโคดมพึงเสด็จไปกึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้ง ๒ พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจักกระทำ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจักกระทำ ๔ อย่าง ถ้าสมณโคดมจักทรงกระทำ ๔ อย่าง เราจักกระทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใดๆ เราก็จักกระทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะทราบข่าวนั้น จึงเข้ามาหาเราถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วจึงกล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อเจลกชื่อปาฏิกบุตรอาศัยอยู่ที่วัชชีคาม เขตเมืองเวสาลี เป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ เขากล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาท แม้เราก็เป็นญาณวาทก็ผู้ที่เป็นญาณวาท ย่อมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์กับผู้ที่เป็นญาณวาท พระสมณโคดมพึงเสด็จไปกึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทางในที่พบกันนั้น แม้เราทั้ง ๒ พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของ
มนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจักกระทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงทำ ๒ อย่างเราจักกระทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักกระทำ ๔ อย่าง เราจักกระทำ ๘ อย่างพระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใดๆ เราจักกระทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆเมื่อโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ กล่าวอย่างนี้ เราได้กล่าวกะเขาว่า สุนักขัตตะอเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรักษาพระวาจานั้น ขอพระสุคตจงทรงรักษาพระวาจานั้น ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ก็ไฉนเธอจึงกล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรักษาพระวาจานั้น ขอพระสุคตจงทรงรักษาพระวาจานั้น ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสวาจาโดยแน่นอนว่า
อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถจะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออกดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อเจลกชื่อปาฏิกบุตรอาจแปลงรูปมาพบเห็นพระผู้มีพระภาคก็ได้ ในคราวนั้น พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคก็พึงเป็นมุสา ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ตถาคตเคยกล่าววาจาที่เป็น ๒ ไว้บ้างหรือ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบอเจลกชื่อปาฏิกบุตร
โดยแจ้งชัดด้วยพระหฤทัยว่า เขาเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออกหรือเทวดามาทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคว่า เขาเมื่อไม่ละวาจา จิตและสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นพระองค์ได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ เราทราบอเจลกชื่อปาฏิกบุตร โดยแจ้งชัดด้วยใจของเราว่า เขาไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น จึงไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นสมณโคดมได้ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก แม้เทวดาก็ได้บอกความนั้นแก่เราว่า เขาเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถจะมาพบเห็นพระองค์ได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก แม้เสนาบดีแห่งเจ้าลิจฉวีชื่ออชิตะ ซึ่งได้ตายไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เข้าถึงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็ได้เข้ามาบอกเราอย่างนี้ว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตรเป็นคนไม่
ละอาย ชอบกล่าวมุสา ทั้งได้พยากรณ์ข้าพระองค์ว่า เสนาบดีแห่งเจ้าลิจฉวีชื่ออชิตะ ในวัชชีคาม เข้าถึงมหานรก แต่ข้าพระองค์มิได้เข้าถึงมหานรก ได้เข้าถึงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาไม่ละอาย ชอบกล่าวมุสา เขาเมื่อไม่ละวาจา จิตและสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถจะมาพบเห็นพระองค์ได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก แม้เพราะเหตุนี้แล สุนักขัตตะ เราทราบอเจลกชื่อปาฏิกบุตรโดยแจ้งชัดด้วยใจของเราว่า เขาไม่ละวาจา จิต สละคืนทิฐิเช่นนั้น ไม่ควรมาพบเห็นเรา แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิตและสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ ศีรษะเขาจะพึงแตกออก แม้เทวดาก็บอกความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อเจลกชื่อปาฏิกบุตร ไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ไม่ควรมาพบเห็นพระผู้มีพระภาค ถ้าแม้เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิ เช่นนั้น พึงไปพบเห็นสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก ดูกรสุนักขัตตะ เรานี้แล เที่ยวไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วเข้าไปยังอารามของอเจลกชื่อปาฏิกบุตร เพื่อพักผ่อนกลางวัน บัดนี้ถ้าเธอปรารถนาก็จงไปบอกเขาเถิด ฯ
[๗] ดูกรภัคควะ ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วเข้าไปยังอารามของอเจลกชื่อปาฏิกบุตร เพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ รีบเข้าไปเมืองเวสาลีแล้ว เข้าไปหาพวกเจ้าลิจฉวีที่มีชื่อเสียงบอกว่าท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วเสด็จเข้าไปยังอารามของอเจลกชื่อปาฏิกบุตร เพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน ขอพวกท่านจงรีบออกไป จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรม
ยอดเยี่ยมของมนุษย์ ของพวกสมณะที่ดี ฯ
ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงได้คิดกันว่า ท่านผู้เจริญทราบข่าวว่า
จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ของพวกสมณะที่ดีฉะนั้น เชิญพวกเราไปกัน และโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ เข้าไปหาพวกพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลีกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้วเสด็จเข้าไปยังอารามของอเจลกชื่อปาฏิกบุตรเพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน ขอพวกท่านจงรีบออกไป จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ของพวกสมณะที่ดี ครั้งนั้น พวกพราหมณ์มหาศาล
คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้คิดกันว่าท่านผู้เจริญ ทราบข่าวว่า จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยม ของพวกสมณะที่ดี ฉะนั้น เชิญพวกเราไปกัน ฯ
ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่งเหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้เข้าไปยังอารามของอเจลกชื่อปาฏิกบุตร ดูกรภัคควะ บริษัทนั้นๆ มีหลายร้อย หลายพันคน ฯอเจลกชื่อปาฏิกบุตรได้ทราบข่าวว่า บรรดาเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ทรงนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของเรา ครั้นแล้ว จึงเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ครั้งนั้นอเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อกลัว หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า จึงเข้าไปยังอารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ บริษัทนั้นได้ทราบข่าวว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตรกลัว หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า เข้าไปยังอารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ ฯ
ครั้งนั้น บริษัทนั้นได้เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปหาอเจลกชื่อปาฏิกบุตรที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วจงบอกกะเขาอย่างนี้ว่าท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป บรรดาเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้ว แม้สมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง ท่านได้กล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาทแม้เราก็เป็นญาณวาท ก็ผู้ที่เป็นญาณวาท ย่อมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์กับผู้ที่เป็นญาณวาท พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง
แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้ง ๒ พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจักกระทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจักกระทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ๔ อย่าง เราจักกระทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใดๆ เราก็จักกระทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทางพระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อาราม
ของท่าน ฯ
ดูกรภัคควะ บุรุษนั้นรับคำสั่งบริษัทนั้นแล้ว จึงเข้าไปหาอเจลก
ชื่อปาฏิกบุตร ที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วบอกกะเขาอย่างนี้ว่าท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาลคฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่งท่านได้กล่าววาจาในที่บริษัทที่เมืองเวสาลี อย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาท แม้เราก็เป็นญาณวาท ก็ผู้ที่เป็นญาณวาท ย่อมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์กับผู้ที่เป็นญาณวาท พระสมณโคดมพึงเสด็จมา
กึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้ง ๒ พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจักกระทำ ๒ อย่างถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจักกระทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๔ อย่าง เราจักกระทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใดๆเราจักกระทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน
ที่อารามของท่าน เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อเจลกชื่อปาฏิกบุตรจึงกล่าวว่าเราจะไปๆ แล้วซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ฯ
ครั้งนั้น บุรุษนั้นได้กล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร ไฉนท่านจึงเป็นอย่างนี้ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไปๆ แต่กลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ดูกรภัคควะ อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แม้ถูกว่าอยู่อย่างนี้ ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ เมื่อบุรุษนั้นได้ทราบว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงกลับมาหาบริษัทนั้น แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญอเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ฯ
ดูกรภัคควะ เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่าท่านทั้งหลาย อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้นก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิตและสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก ฯจบ ภาณวาร ที่หนึ่ง
-----------------------------------------------------
[๘] ดูกรภัคควะ ครั้งนั้น มหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีคนหนึ่ง ลุกขึ้นยืนกล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านจงรอคอยสักครู่หนึ่งพอให้ข้าพเจ้าไป บางทีข้าพเจ้าอาจนำเอาอเจลกชื่อปาฏิกบุตรมาสู่บริษัทนี้ได้ ครั้งนั้นมหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีคนนั้น จึงเข้าไปหาอเจลกชื่อปาฏิกบุตร ที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วจึงกล่าวว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป การกลับไปของท่านเป็นการดี พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้ว
แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง ท่านได้กล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาท แม้เราก็เป็นญาณวาท ก็ผู้ที่เป็นญาณวาท ย่อมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์กับผู้ที่เป็นญาณวาท พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้ง ๒ พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจักกระทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจักกระทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๔ อย่าง
เราจักกระทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใดๆ เราจักกระทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน
อนึ่ง พระสมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัทว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจาจิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไปด้วยการกลับไปนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าจักให้ชัยชนะแก่ท่าน จักให้ความปราชัย
แก่พระสมณโคดม ฯ

ดูกรภัคควะ เมื่อมหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีกล่าวแล้วอย่างนี้ อเจลก
ชื่อปาฏิกบุตรจึงกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ครั้งนั้น มหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีจึงกล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านเป็นอย่างไรไปเล่า ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเองไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ เมื่อมหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีนั้นได้ทราบว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงมาหาบริษัทนั้นแล้วบอกว่า ดังนี้ ท่านผู้เจริญ อเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ฯ

ดูกรภัคควะ เมื่อมหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึง
กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านทั้งหลาย อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่าเราไม่ละวาจา จิต และสละทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอาเชือกมัดอเจลกชื่อปาฏิกบุตร แล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่ เชือกเหล่านั้นหรืออเจลกชื่อปาฏิกบุตรพึงขาดออก ก็อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิตและสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก ฯ
[๙] ดูกรภัคควะ ครั้งนั้น ศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ ชื่อชาลิยะลุกขึ้นยืน
กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านจงรอคอยสักครู่หนึ่งพอให้ข้าพเจ้าไป บางทีข้าพเจ้าอาจนำเอาอเจลกชื่อปาฏิกบุตรมาสู่บริษัทนี้ได้ ครั้งนั้นศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ ชื่อชาลิยะ จึงเข้าไปหาอเจลกชื่อปาฏิกบุตร ที่อารามของปริพาชก ชื่อติณฑุกขานุ แล้วจึงกล่าวว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป การกลับของท่านเป็นการดี พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้วแม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง ท่านได้กล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาท แม้เราก็
เป็นญาณวาท ก็ผู้ที่เป็นญาณวาท ย่อมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์กับผู้ที่เป็นญาณวาท พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้ง ๒ พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจักกระทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจักกระทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๔ อย่างเราจักกระทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใดๆ เราจักกระทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทางพระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง พระสมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัทว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตรเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้นก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอาเชือกมัดอเจลกชื่อปาฏิกบุตรแล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่ เชือกเหล่านั้นหรืออเจลกชื่อปาฏิกบุตรพึงขาดออกก็อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป ด้วยการกลับไปนั่นแหละ พวก
ข้าพเจ้าจักให้ชัยชนะแก่ท่าน จักให้ความปราชัยแก่พระสมณโคดม ฯ
ดูกรภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะกล่าวแล้วอย่างนี้ อเจลกชื่อปาฏิกบุตรกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ครั้งนั้น ศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะจึงกล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านเป็นอย่างไรไปเปล่า ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แม้ถูกว่าอย่างนี้ ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเองไม้อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม่ชื่อชาลียะได้ทราบว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกจากอาสนะได้
จึงกล่าวกะเขาต่อไปว่า-

ดูกรท่านปาฏิกบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คือพญาสีหมิคราชได้คิดอย่างนี้
ว่า ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ แล้วออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกาย เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง จึงเที่ยวไปหากิน เราต้องฆ่าหมูเนื้อตัวล่ำสันกินเนื้อที่อ่อนนุ่มๆ แล้วกลับมาซ่อนตัวอยู่ตามเคย ครั้งนั้น พญาสีหมิคราชนั้น จึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกาย เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งเที่ยวไปหากิน มันฆ่าหมูเนื้อตัวล่ำสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่มๆ แล้วกลับมาซ่อนอยู่ตามเคย ท่านปาฏิกบุตร มีสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง กินเนื้อที่เป็นแดนของพญาสีหมิคราชตัวนั้น แล้วก็เจริญอ้วนท้วนมีกำลัง ต่อมา สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้นจึงเกิดความคิดว่า เราคือใคร พญาสีหมิคราชคือใคร ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกาย เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เที่ยวไปหากิน เราต้องฆ่าหมูเนื้อตัวล่ำสันกินเนื้ออ่อนนุ่มๆ แล้วก็กลับมาซ่อนอยู่ตามเคย ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้นอาศัย
ป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกาย เหลียวดูทิศทั้ง ๔โดยรอบ แล้วคิดว่า เราจักบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แต่กลับบันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกอย่างน่ากลัวน่าเกลียด สุนัขจิ้งจอกตัวลามกเป็นอย่างไร และการบันลือของสีหะเป็นอย่างไร ดูกรท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคตบริโภค  อาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไรดูกรภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะ ไม่สามารถที่จะให้อเจลกชื่อปาฏิกบุตรเคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สุนัขจิ้งจอกเข้าใจว่า ตนเป็นสีหะ
จึงได้ถือตัวว่าเป็นมิคราช
มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น
สุนัขจิ้งจอกตัวลามกเป็นอย่างไร
การบันลือของสีหะเป็นอย่างไร ฯ

[๑๐] ดูกรท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบ
พระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ดูกรภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะไม่สามารถที่จะให้อเจลกชื่อปาฏิกบุตรเคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สุนัขจิ้งจอกจ้องดูเงาของตนซึ่งปรากฏในน้ำ
ที่บ่อไม่เห็นตนตามความเป็นจริง จึงถือตัวว่า
เป็นสีหะ มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่น
นั้น เสียงสุนัขจิ้งจอกตัวลามกเป็นอย่างไร
การบันลือของสีหะเป็นอย่างไร ฯ

[๑๑] ดูกรท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบ
๑. อธิบายว่า บริโภคอาหารบิณฑบาตที่เขานำมาให้ แต่เป็นของที่เหลือจากถวายพระสุคตแล้ว พระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ดูกรภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะไม่สามารถที่จะให้อเจลกชื่อปาฏิกบุตรเคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สุนัขจิ้งจอกกินกบ [ตามบ่อ] และหนูตามลาน
ข้าว ซากศพที่ทิ้งตามป่าช้า จึงอ้วนพีอยู่ตาม
ป่าใหญ่ ตามป่าที่ว่างเปล่า จึงได้ถือตัวว่าเป็น
มิคราช มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น
สุนัขจิ้งจอกตัวลามกเป็นอย่างไร การบันลือ
ของสีหะเป็นอย่างไร ฯ

[๑๒] ดูกรท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ฯ

ดูกรภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะ ไม่สามารถที่จะให้
อเจลกชื่อปาฏิกบุตรเคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงกลับมาหาบริษัทนั้น แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ อเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วกลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ดูกรภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงกล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านทั้งหลาย อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิตและสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้นก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่าง
นี้ว่า พวกเราจะเอาเชือกมัดอเจลกชื่อปาฏิกบุตรแล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่ เชือกเหล่านั้นหรืออเจลกชื่อปาฏิกบุตรพึงขาดออก ก็อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาพึงแตกออก ฯ

ดูกรภัคควะ ลำดับนั้น เราจึงยังบริษัทนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้
อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ทำให้พ้นจากเครื่องผูกใหญ่ รื้อถอน
สัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ขึ้นจากหล่มใหญ่จึงเข้าเตโชธาตุกสิณเหาะขึ้นสู่เวหาสสูงประมาณ ๗ ชั่วลำตาล นิรมิตไฟอื่นให้ลุกโพลงมีควันกลบ สูงประมาณ ๗ ชั่วลำตาล แล้วจึงกลับมาปรากฏที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ดูกรภัคควะ ครั้งนั้นโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราจึงได้กล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า สุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้น ได้มีแล้ว เหมือนดังที่เราได้พยากรณ์อเจลกชื่อปาฏิกบุตรแก่เธอ มิใช่โดยประการอื่น ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้น ได้มีแล้ว เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาค
ได้ทรงพยากรณ์อเจลกชื่อปาฏิกบุตรแก่ข้าพระองค์ มิใช่โดยประการอื่นฯ

ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิทธิ
ปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นคุณอันเราได้แสดงแล้ว หรือมิใช่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นอันทรงแสดงไว้แล้วแน่นอนมิใช่ไม่ทรงแสดงฯ

ดูกรโมฆบุรุษ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ดังนี้ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้เป็นความผิดของเธอเท่านั้น ดูกรภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะถูกเรากล่าวอย่างนี้ ได้หนีไปจากพระธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในอบาย เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในนรก ฉะนั้น ฯ

[๑๓] ดูกรภัคควะ อนึ่ง เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับ
ได้เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ฯดูกรภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวกบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่าพระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่าได้ยินว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่าพระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่าพระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์มีแบบอย่างไรสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้ เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้วจึงพยากรณ์ว่า ท่านทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราวโดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ฯ

ดูกรท่านทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราวโดยระยะกาลยืดยาวช้านาน
ที่โลกนี้จะกลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่าครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหารมีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงามสถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์นั้นอยู่แต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสันความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง เป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจมีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ฯ

ดูกรท่านทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เราเป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้ เราเนรมิตขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า เราได้มีความคิดอย่างนี้ก่อนว่าโอหนอแม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พวก
เราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าพวกเราได้เห็นท่านพรหมผู้นี้เกิดก่อน ส่วนพวกเราเกิดภายหลัง ฯ ดูกรท่านทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้นสัตว์ใดเกิดก่อน สัตว์นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์มากกว่า ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมี
ได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาทอาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้ใดแลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการเป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดที่นิรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่
แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้วนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ว่าพระพรหมทำให้ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ฯ

ดูกรภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้นและไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้เฉพาะตนฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ฯ

[๑๔] ดูกรภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวกบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามอย่างนี้ว่า ทราบว่าท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งโลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไรสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า-ดูกรท่านทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลาสติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็น
ฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อตั้งมั่นแล้วย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน พวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการ
สรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกร ภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคต
จึงไม่ถึงทุกข์ ฯ
[๑๕] ดูกรภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางจำพวกบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติ
ว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่าท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูกจึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า-ดูกรท่านทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อมโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกันเมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน พวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกันแล้ว ก็ไม่ลำบากกายไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืนมีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่ามโนปโทสิกะมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงพากันลำบากกายลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน
มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้ หรือมิใช่สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกรภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น แต่เราไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ฯ
[๑๖] ดูกรภัคควะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่า
เลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่าทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า-ดูกรท่านทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์ ก็แลเทวดาเหล่านั้นย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญานั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า เมื่อก่อนข้าพเจ้าไม่ได้มีแล้ว [ไม่ได้มีสัญญา] เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นไม่มี เพราะน้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบแล้ว ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่าท่านโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกรภัคควะ
เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ฯ
[๑๗] ดูกรภัคควะ สมณพราหมณ์บางจำพวกกล่าวตู่เรา ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ ด้วยคำที่ไม่มีจริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำมุสา ด้วยคำที่ไม่เป็นจริงว่าพระสมณโคดม และพวกภิกษุวิปริตไปแล้ว เพราะพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่าสมัยใด พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม ดูกรภัคควะ ก็เราไม่ได้กล่าวอย่างนี้เลยว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งทั้งปวงว่า ไม่งาม แต่เราย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดแต่สิ่งที่งามเท่านั้น และผู้ที่ชื่อว่าวิปริตไปแล้ว ก็คือผู้ที่กล่าวร้ายพระผู้มีพระภาคและพวกภิกษุเพราะตนวิปริตไปเองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดงธรรมให้ข้าพระองค์
เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ ฯ

ดูกรภัคควะ การที่ท่านผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่งมีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์จะเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากมาก ขอให้ท่านจงพยายามรักษาความเลื่อมใสในเราเท่าที่ท่านมีอยู่ให้ดีก็พอ ฯ

ปริพาชกชื่อภัคควโคตร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าการที่ข้าพระองค์ผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากไซร้ ข้าพระองค์ก็จักพยายามรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเท่าที่ข้าพระองค์มีอยู่ให้ดี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ปริพาชกชื่อภัคควโคตร ยินดี
ชื่นชม เพลิดเพลินพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
จบ ปาฏิกสูตร ที่ ๑









 

Create Date : 04 เมษายน 2560
0 comments
Last Update : 4 เมษายน 2560 23:56:59 น.
Counter : 1546 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณอุ้มสี


mcayenne94
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




Bangkok

Kyoto

Sydney

Mcayenne94's Diary มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการ จัดจำหน่าย ต้นไม้ดอกไม้ หรือสิ่งใด อนุญาตให้นำภาพถ่าย พร้อมชื่อMcayenneผู้ถ่ายภาพไปใช้ประโยชน์ได้ และสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำภาพถ่าย Mcayenne ไปใช้ โดยการดัดแปลงตัดต่อหรือลบชื่อภายในภาพ
Friends' blogs
[Add mcayenne94's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.