มีนาคม 2555

 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
อาหารเสริมกับการลดความอ้วน part 2





11. Tooth brush เคล็ดลับช่วยประคองใจไม่ให้กินจุกจิก หลังมื้ออาหาร คือ แปลงฟันหลังอาหารทุกครั้ง
Smiley การแปรงฟันต้องตระหนักในคุณภาพของการแปรง คือ มิให้มีคราบแป้ง น้ำตาล เศษอาหารเกาะติดซอกฟัน เพราะจะสลายตัวเป็นน้ำตาล อันเป็นบ่อเกิดของแบคทีเรียที่จะแบ่งตัวและปล่อยกรดออกมากัดกร่อนชั้นเครือบฟัน การแปลงฟัน ต้องทำซัก 3 ขั้นตอนเป็นอย่างน้อย เพื่อเพิ่มภาระให้กับร่างกาย โดยขั้นแรกต้องใช้แปลงเพื่อทำความสะอาดซอกฟัน ขั้นตอนที่ 2 คือแปรงฟันตามปกติ ให้สะอาดหมดจด ขั้นตอนสุดท้ายคือการแปรงลิ้น เป็นต้น นับว่าเป็นงานที่หนัก ทำให้ไม่อยากกินอะไรให้ต้องแปรงฟันซ้ำ 

Smiley 10 อาจทักท้วงว่าการแปรงฟันหลังอาหารทันทีเป็นการทำลายเคลือบฟันที่สลายไปในมื้ออาหาร ก็ขอเป็นทางสายกลาง คือ แปรงหลังอาหารสักครึ่งชั่วโมง จึงใช้การบ้วนปากหลังการกินอาหารทันทีไปก่อน

12. Eat alone คือ หลีกเลี่ยงการกินอาหารเป็นหมู่คณะ โดยไม่จำเป็น เนื่องจากจิตวิทยาหมู่ จูงใจให้ร่วมกันกิน ร่วมกันดื่ม อย่างเอร็ดอร่อย จนลืมอิ่ม ขาดการยับยั้งชั่งใจ

                การกินคนเดียว ตักใส่จานเดียว ทำให้กะปริมาณที่พออิ่มได้ดี และยังมีรายงานล่าสุดระบุว่า การกินอาหารมื้อเช้ามากๆ เป็นการกระตุ้นอัตราการเผาผลาญตั้งแต่เช้า ทำให้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญไนระดับสูงอยู่ตลอดวันซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่กินมื้อเช้าแล้วพบว่า คนที่ไม่กินมื้อเช้าจะมีอัตราการเผาผลาญต่ำลงตลอดทั้งวัน ดังนั้น พี่น้องที่ไม่กินอาหารเช้าเพื่อจะลดความอ้วนควรเข้าใจในจุดนี้ใหม่ นี่น่าจะเป็นกุญแจอีกดอกหนึ่งที่ช่วยพี่น้องลดความอ้วนได้
13. Refuse toxic stress หลีกเลี่ยงสารพิษในอาหาร
                หัวข้อนี้นอกจากผมจะอธิบายให้พี่น้องรู้เท่าทันสารพิษ ที่อาจจำเป็นต้องใส่มาในอุตสาหกรรมการผลิตและถนอมอาหารแล้ว เพื่อประกอบการยับยั้งชั่งใจ ให้กินพออิ่ม ช่วยให้ไม่อ้วนแล้ว ผมยังต้องการให้พี่น้องคำนึงถึงการใช้สารต้านอนุมูลอิสระเป็นตัวช่วยอีกด้วย

 ผมแบ่งกลุ่มสารพิษได้ ดังนี้

Smiley กลุ่มที่ทำให้ผนังเซลล์ และ ผนังไมโตคอนเดรียแข็งกระด้าง สารอาหารซึมผ่านไม่ได้ เกิดภาวะดื้ออินซูลินที่เร็วกว่าปกติ แม้กระทั่งในวัยเด็ก ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว จากไขมันที่ผ่านความร้อนสูง เช่น การทอด การปิ้ง การย่าง  หรือ จากห้องครัวที่บ้านพี่น้องเอง ที่น่ากลัวก็คือ ไขมันชนิดทรานส์ ซึ่งนิยมใช้ในอุสาหกรรมอาหารทั้งหลายที่จำเป็นตั้งใช้ไขมันประเภทนี้ ไม่ว่าด้วยวิธีเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) หรือ ใช้ความร้อนดัดแปลงโครงสร้างกรดไขมันทั้งหลาย รวมทั้ง ไขมันเทียม (Oslestra) อาจถูกเรียกว่า ไขมันสังเคราะห์ หรือ โอลีน หรือ ซูโครสพอลิเอสเตอร์ ซึ่งเจ้าไขมันเทียมเนี๊ยมันผลิตมาจาก น้ำตาลซูโครสและกรดไขมัน ออกแบบมาเพื่อให้มันไม่ถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในร่างกายเราและไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ฟังดูดีในทางทฤษฎี แต่ไขมันเทียมที่ใช้กันทั่วไปในขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมอบไส้ชีส มีผลข้างเคียงที่ไม่โอเคเลย นั่นก็คือ “ปรากฎการณ์รอยคราบสีน้ำตาล” เพราะคนที่กินหลายคนประสบปัญหาเกี่ยวกับอุจจาระเหลวและกลั้นไม่อยู่  นอกจากนั้นแล้วมันจะเข้าไปดูดซับวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น เอ ดี อี เค รวมไปถึง แคโรทีนอยด์  นอกจากนี้แร่ธาตุ สำคัญๆที่เกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญไขมันในเซลล์ (Cellular burn) จนเซลล์ลดการเผาผลาญตามปกติไป ในปัจจุบันโอเลสตร้าได้เพิ่มประสิทธิภาพโดยการเติมวิตามินเหล่านี้ลงไป แต่เพียงในปริมาณที่น้อยมากๆๆๆๆ เป็นการเติมเพื่อป้องกันการขาดวิตามินเท่านั้น ไม่ใช่ปริมาณที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ สรุปคือ โอเลสตร้าช่วยลดปริมาณรวมของไขมันที่กินเข้าไปได้จริง (จาก 150 แคลอรี ลดลงเหลือ 70 แคลอรี) แต่ต้องแลกกับการสูญเสีย และ ความเสี่ยงทางโภชนาการ แล้วมันคุ้มหรือไม่ ลองคิดดู  รายการอาหารที่มักมีไขมันชนิดทรานส์ ได้แก่ ผักบุ้งไฟแดง ปลาดุกฟู หมูกรอบ ไข่เจียว ขนมขบเคี้ยว เนื้อแดดเดียว โดนัท คุกกี้ ขนมขาไก่ เฟรนซ์ฟราย ไก่ทอด ทอดมัน ปาท่องโก๋ กล้วยแขก แคร๊กเกอร์ เวเฟอร์ ตลอดจน ขนาดกรุบกรอบทั้งหลาย พุดดิ้ง ของปิ้ง ย่าง ฯลฯ

Smiley กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนเร่งการแบ่งเซลล์ ให้สัตว์โตเร็วๆ และจะทำให้สัตว์ชนิดนั้นมีอัตราการเผาผลาญต่ำ เช่น อนาโบลิคฮอร์โมน ที่ใช้เลี้ยง ไก่ หมู ปลา หรือ ปศุสัตว์ทั้งหลาย เมื่อสารเร่งโตตกค้างในเนื้อสัตว์ พอเรากินเข้าไปเราก็พลอยได้รับผลนั้นไปด้วย โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่นิยมอาหารทันสมัย หนีไม่พ้นสารปนเปื้อนในอาหารเหล่านี้ ซึ่งนอกจากทำให้โตเป็นหนุ่มสาวเร็วแล้ว ยังอ้วนบวมแบบสัตว์เลี้ยง ที่สำคัญ คือ หลุกหลิก อยู่ไม่สุข ไม่ง่วง (เหมือนไก่ ซึ่งตื่น + กินตลอดเวลา) ทำให้กินบ่อย มีสมาธิสั้น ทำอะไรขาดความยับยั้งชั่งใจ

Smiley กลุ่มสัตว์ที่ถูกเลี้ยงด้วยยากล่อมประสาท เพื่อทำให้สัตว์ชนิดนั้นมีอัตราการเผาผลาญต่ำ เช่น เนื้อวัว ผู้บริโภคก็จะได้รับเคราะห์ไปด้วย

Smiley กลุ่มสัตว์ที่เลี้ยงด้วยสเตียรอยด์ เพื่อทำให้เป็นสัตว์นั้นอยู่ในสภาพเลื้ยงลูกด้วยนมตลอดเวลา เช่น วัวนม เพื่อให้รีดนมได้ต่อเนื่องตลอดปี อีกทั้งต้องเติมยาปฎิชีวนะเพื่อรักษาเต้านมอักเสบ เนื่องมาจากการรีดนมทุกวัน ผลตกค้างมาสู่ผู้ดื่มนม คือ ฮอร์โมนเพศ ทำให้อ้วน เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็ว สิวขึ้น อักเสบ เชื้อโรคดื้อยา อีกทั้งการดื่มนมวัวยังมีฮอร์โมนของวัวปนออกมาด้วย ทำให้คนที่ดื่มนมเป็นประจำ มีนิสัยลึกๆ ก้าวร้าว  มีสันดานดิบเถื่อน ตามประสาสัตว์ป่า

Smiley DDT ที่ตกค้างในหญ้า ซึ่งนำมาเป็นอาหารสัตว์ ก็ตกค้างสู่นมและเนื้อ มีฤทธิ์เป็น Xenoestrogen ซึ่งมันถูกสันนิฐานว่าเป็นเหตุแห่งการกลายเพศ พฤติกรรมเบี่ยงเบน(กระเทย) ในเด็กรุ่นใหม่ อีกทั้งเป็นสารขัดขวางระบบเผาผลาญ ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน

Smiley กลุ่มอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู ฯลฯ จากมลพิษน้ำเสีย น้ำทิ้งจากครัวเรือน จนถึงโรงงานอุสาหกรรม ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืชจากเทคโนโลยีการเกษตรสู่ท่อระบายน้ำ ลำคลอง แม่น้ำ สู่ทะเล ทำให้สัตว์น้ำชายฝั่ง สะสมสารพิษทั้งหลาย
กุ้งกุลาดำ มักมียาปฎิชีวนะตกค้าง เช่น คลอแรม เตตร้าไซคลิน กินแล้วทำให้ ไตวาย หรือ เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ผลจาก คลอแรม)
ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้น รวมไปถึงอาหารปรุงสำเร็จที่ต้องการถนอมรักษา ก็เพิ่มสารกันบูดปริมาณมากเกินขีดอันตรา 
น้ำที่ต้มในภาชนะอลูมิเนียม เช่น หม้อน้ำร้อน หม้อชงกาแฟ น้ำก๋วยเตี๋ยว
คูลเลอร์ที่ใช้ตะกั่วบัดกรี ทั้งตะกั่ว อลูมิเนียม ล้วนสะสมในสมอง ทำให้ โง่ งง ฟังอะไรไม่รู้ประเด็น ไม่รู้ภาษา ลงท้ายคือ ......ทำให้กินลูกเดียว!!!

Smiley กลุ่มน้ำตาลเทียม สารให้ความหวานเทียม เช่น ซอร์บิทอล แมนิทอล ไซลิทอล ที่ดูเหมือนไร้แคลอรี ไร้พิษภัย แต่ ความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงที่สุดเกี่ยวกับสารให้ความหวานเหล่านี้ก็คือ ความเข้าใจที่ว่า สารเหล่านี้ไม่มีแคลอรี ความจริงก็คือ มันมีแคลอรีพอๆกับน้ำตาล และในบางครั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารให้ความหวานเหล่านี้ ให้แคลอรีมากกว่าสูตรปกติที่ใช้น้ำตาลธรรมดาด้วยซ้ำ อีกนัยหนึ่งก็คือ สารให้ความหวานเหล่านี้ไม่ใช่ สารทดแทนที่ให้พลังงานต่ำ หรือปราศจากแคลอรีแต่อย่างใด เพียงแต่มันจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดช้ากว่า กลูโคส ก็เท่านั้นเอง ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารเหล่านี้มักมีวางขายในส่วนของผลิตภัณฑ์เพื่อลดน้ำหนักก็ตาม ให้สังเกตุจากฉลากก่อนซื้อเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารให้ความหวานเหล่านี้จะระบุว่า ไม่ใช่อาหารแคลอรีต่ำ หรือ ไม่ใช่อาหารสำหรับลดน้ำหนัก   เป็นต้น

Smiley Note แอสพาร์แตม(อีควลหรือนูตราสวีท) อะซีซัลเฟมเค(ซูเนตต์หรือสวีทวัน) แซ็กคาริน(สวีทแอนด์โลว์ หรือ สวีท --ห้ามกิน) สตีเวีย ซูคลาโลส(สเปลนดา)  นีโอเทม เป็นสารให้ความหวานที่ปราศจากแคลอรี แต่ว่า ไม่ว่าจะเป็นสารให้ความหวานที่มีแคลอรีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังไม่ควรกินอยู่ดี เนื่องมาจาก ผลจากความหวานกว่าน้ำตาลเป็นร้อยเป็นพันเท่า ทำให้ลิ้นชินติดรสหวาน ส่งผลให้ต้องเพิ่มปริมาณน้ำตาลในอาหารอื่นๆโดยไม่รู้ตัว 

                Smiley 14 แม้กระทั่งน้ำตาลทรายแดงที่หลายๆคนมักเข้าใจว่าดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำตาลทรายขาวแท้ที่จริงแล้ว น้ำตาลทรายแดงในปัจจุบันเป็นเพียงน้ำตาลที่เคลือบด้วยกากน้ำตาล ปัญหาใหญ่ของน้ำตาลก็คือ พี่น้องกินมันมากเกินไป และบ่อยครั้งที่เราไม่รู้ตัวเองเลย อาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้ความหวานทั้งหมดจัดเป็นน้ำตาล แม้ว่าเราจะเรียกมันด้วยชื่ออื่นก็ตาม เช่น ในซีเรียล 1 กล่อง อาจจะมีซูโครสเป็นส่วนประกอบอันดับที่ 3 มีคอร์นไซรัปเป็นส่วนปรกอบอันดับที่ 5 และมีน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบอันดับที่ 7 พี่น้องอาจจะไม่รู้ตัวเลยว่า จริงๆแล้วพี่น้องกำลังกินอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ราว ร้อยละ 50

                Smiley 14 ผู้บริโภคทุกวันนี้มันตกหลุมพลางของน้ำตาลตั้งแต่แรกเริ่มชีวิต อาหารสูตรสำหรับเด็กทารกส่วนใหญ่มักเติมรสหวานด้วยน้ำตาล เช่นเดียวกับอาหารเด็กเล็ก เนื่องจากน้ำตาลทำหน้าที่เป็นทั้งสารกันเสียและสารดูดซับความชื้น มันมักถูกใส่ลงในผลิตภัณฑ์ที่เราไม่คาดคิดว่าจะมี เช่น เกลือ เนยถั่วลิสง ผักกระป๋อง ซุปก้อน ฯลฯ พี่น้องเชื่อมั๊ยว่า ซอสมะเขือเทศมีน้ำตาลน้ำกว่าไอศกรีมเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น และพี่น้องเชื่อมั๊ยว่าครีมที่เติมลงไปในกาแฟมีน้ำตาลอยู่กว่าร้อยละ 65 ในขณะที่ช็อกโกแลตแท่งมีน้ำตาลอยู่ร้อยละ 51

                Smiley ความเป็นจริงก็คือ พวกเรากำลังกินน้ำตาลมากเกินกว่าที่สุขภาพของเราจะรับได้ เป็นเรื่องจริงที่ว่า น้ำตาลเป็นสาเหตุของฟันผุ โรคอ้วน โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในถุงน้ำดี ปวดหลัง ข้ออักเสบ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่พี่น้องต้องพิจารณาอาหารก่อนกินมันเข้าไป 

                Smiley กรดฟอสฟอริคและคาเฟอีนในน้ำอัดลมทำให้สูญเสียแมกนีเซียม ขาดการสร้างเลซิทิน ทำให้ผนังเซลล์เสื่อมสภาพ ประสาทเสื่อม สมาธิสั้น ผลสุดท้ายก็คือ ทำให้อ้วน ส่วนน้ำผลไม้กล่องหรือกระป๋อง ซึ่งไม่เหลือเอนไซม์พืช คงไว้เพียงน้ำตาลผสมสีเติมกลิ่น อาจมีวิตามินอยู่บ้าง แต่ก็ไม่คุ้มกับน้ำตาลที่มีอยู่มาก จนทำให้อ้วน

Smiley น้ำที่บริสุทธิเกินก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนได้ เช่น น้ำอาร์โอ (RO-Reverse Osmosis) เป็นน้ำที่สะอาดมาก สะอาดจนเกินไป เนื่องจากน้ำชนิดนี้จะถูกกรองแร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งเชื้อโรคออกไปหมด (สะอาดดุจน้ำกลั่นเติมรถ) เมื่อมันทำปฎิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จะได้น้ำที่เจือด้วยกรดคาร์บอนิค ซึ่งเป็นน้ำกรดอ่อนๆ มีศักยภาพในการละลายโลหะได้สูง ดังนั้นท่อโลหะสำหรับส่งน้ำก็ถูกกัดกร่อนด้วย จึงมีโอกาสที่โลหะหนักจะเจือปนสูง หากดื่มขณะท้องว่าง ก็จะเข้าไปดูดซับแร่ธาตุในการเดินอาหารและในกระแสเลือด หรือ ดึงแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ออกจากกระดูก เนื่องจากน้ำ RO บริสุทธิ์มาก (มีความเข้มข้นน้อยมากๆๆ) จึงไปดึงเอาแร่ธาตุต่างๆเหล่านี้ในร่างกาย มาเจือตัวของมันเพื่อให้มันมีความเข้มข้นสูงเท่ากับสิ่งแวดล้อมในร่างกาย (หลักการแพร่-ออสโมซีส) ผลก็คือ กระดูกพรุน

เซลล์ขาดแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเผาผลาญ -----> อ้วน


                Smiley สิ่งที่ต้องตระหนักคือ น้ำดื่มจากตู้ขายน้ำอัตโนมัติบรรจุขวด หรือ ถ้วยพลาสติก ส่วนใหญ่ล้วนเป็นน้ำอาร์โอ ทั้งแบบระบุที่ฉลากหรือแอบใช้โดยไม่ระบุ (อาร์โอแฝง)

                Smiley 12 ไม่น่าเชื่อว่า น้ำบริสุทธิ์ ก็ทำให้อ้วนได้ !!!

                Smiley ในส่วนของผัก ผลไม้ ก็มักมียาฆ่าแมลงตกค้าง โดยเฉพาะผลไม้เปลือกบางนอกฤดูกาล คงเหลือผลไม้สุดยอดไม่กี่ชนิด เช่น ฝรั่ง ส้มโอ สับปะรด มะละกอ แอปเปิ้ล แม้แต่ข้าวขาว ก็ถูกขัดสีของดีออกไป เหลือแต่แป้ง ขนมปังขาว ก็ทำจากแป้งข้าวสาลีขัดสี

                Smiley 12 ในปัจจุบัน ไข่จากฟาร์มก็อุดมไปด้วย โอเมก้า 6 ซึ่งเป็นบ่อเกิดของ โรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะเลี้ยงด้วย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ

หากพี่น้องลองตระหนักถึงสิ่งที่ผมพูดก่อนที่จะส่งอะไรเข้าปาก เชื่อว่า พี่น้องจะฉุกคิดและกินน้อยลงแน่นอน 555

ข้อยกเว้น ในผู้ที่กินน้อยแต่อ้วน อาจเกิดได้จาก

1. พันธุกรรม ที่เซลล์มีอัตราการเผาผลาญต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น เซลล์มีไมโตคอนเดรียน้อยกว่าคนปกติ

2. ลำไส้ยาวกว่าปกติ ทำให้ดูดซึมสารอาหารได้มากกว่าคนปกติ

3. มีวิไล (Villi) ในลำไส้เยอะ ทำให้มีประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหาร ได้มากกว่าคนปกติ


4. ร่างกายกายเข้าใจว่าเกิดภาวะอดอยากตลอดเวลา ดังนั้นจึงสะสมไขมันไว้ตลอดเวลาด้วย ซึ่งถ้าเป็นเหตุการณ์นี้ ก็สุดหนทางในการรักษาแบบชีววิถี อาจจะต้องใช้การผ่าตัด ดูดไขมัน ตัดต่อลำไส้ ฯลฯ

แต่ร้อยละ 90 สามารถลดไขมันส่วนเกินได้ด้วยวิธีชีววิถีที่ถูกต้อง




สรุปกินลดอ้วน

Set Attitude
ตั้งใจมั่น มุ่งเป้าหมายให้ความสำคัญ ที่จะเอาชนะความอ้วนให้ได้

Low carb and less calories
งดแป้ง น้ำตาล ข้าวขาว ขนมปังขาว ลดปริมาณรวมลง 10% โดยให้มีโปรตีนไม่เกิน  200 กรัม ผักผลไม้  หวานน้อยไม่จำกัด

Exercise      
ออกกำลัง 60% MHR เป็นเวลา 30 นาที หลังมื้ออาหาร(หรืออย่างน้อย 2 วันครั้ง)

Nutrition
ใช้อาหารเสริม  ช่วยสกัดการดูดซึม หรือสกัดการย่อยน้ำตาล   และหาวิธีเผาผลาญไขมันให้ครบวงจร 

Detoxification
ล้างพิษโดยงดเนื้อสัตว์ 7 วัน  ทานผัก ผลไม้ 800 กรัม / วัน  และสวนกาแฟหากจำเป็น

Extra Drinking Water
ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว

Respiration
สูดหายใจเข้า – ออก ลึกๆ บ่อยๆ

Fruits Before  
ทานผลไม้น้ำตาลต่ำก่อนมื้ออาหาร

Asleep  
เข้านอน (หลับ) ก่อน 4 ทุ่ม

Sit Up
สำหรับผู้ไม่มีเวลา & สถานที่ออกกำลัง  ให้ใช้ท่ากายบริหารแบบง่ายๆ  เช่น  ซิทอัพ เป็นต้น

Tooth brush
แปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง

Eat Alone
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเป็นหมู่คณะ  โดยไม่จำเป็น เน้นให้มื้อเช้าเป็นมื้อหนัก

Refuse Toxic Stress
เลี่ยงสารพิษทั้งหลายในอาหาร โดยหาข้อมูลและตระหนักไว้

กินพออิ่ม อย่าถึงกับอด งดแป้งน้ำตาล เลือกใช้อาหารเสริม เพิ่มออกกำลัง ยับยั้งชั่งใจ ตั้งปณิธาณมั่นไว้ ให้หนักมื้อเช้า เข้าใจสารพิษ ฟิตกายแข็งแรง แปรงฟันทุกครั้ง…แล้วยังอ้วนได้ไง !




Reference : กฤษดา สิรามพุชนพ : ถ้าไม่รู้จักอาหารเสริมก่อนแก่ ISBN 978-974-7814-56-9 / ธรรมชาติ ต้านมะเร็ง ISBN 978-974-7814-69-9 / แก้ว กังสดาลอำไพ รศ.ดร : อาหารพอเพียงต่อต้านมะเร็ง ISBN 978-974-660-1610 / ใกล้หมอ ก.พ. 2546 / คณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรีรวิทยา 1 ISBN 974-661-641-2 / คลินิก ปีที่ 25 8 ส.ค. 2552 ISBN 0857-149x / คู่มืออบรมเวชศาสตร์ครอบครัวครั้งที่ 30 2544 ISBN 974-88329-29 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ : อายุรศาสตร์แนวใหม่ ตุลาคม 2552 ISBN 974-332-792-4 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ตำราอายุรศาสตร์ 4 ISBN 978-974-03-1/939-9 / ฉลาดซื้อ ISSB 0858-9461 พ.ค.-มิ.ย. 52 / เฉลียว ปิยะชน ศ.นพ. : รู้สู้โรค ISBN 974-409-833-3 / หลอดเลือดแข็งตีบตันป้องกันได้ : ISBN 974-409-792-2 / ชีวโมเลกุลทางการแพทย์ของศูนย์ชีวโมเลกุลเอเชีย / ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : มหัศจรรย์ น้ำมะพร้าว เล่ม 1-2-3 ตุลาคม 2551-52 / กัลปพฤกษ์ ก.ค. 2552 / ทวีศักดิ์ บูรณวุฒิ พอ.รศ. : วารี พร้อมเพชรรัตน์ พอ. หญิง ผศ.ดร. บก. : สาระสำคัญวิชาสรีรวิทยา โครงการตำรา วพม ISBN 974-7634-22-8 / เทพ หิมะทองคำ ศ.เกียรติคุณ นพ. เบาหวาน ฉบับเทพ ISBN 978-7318-29-5 / เทอดศักดิ์ เตชคง พบ.วรสารคลินิก นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ธันวาคม 2549 ISSN 0857-149x / ธาดา เปี่ยมพงศ์สานต์ นพ. : เวชปฎิบัติโรคผิวหนัง ISBN 974-8615-40-5 / ธิดากานต์ รัตนบรรณากูร นพ. : สูตรลับชะลอวัย Anti-Aging ISBN 978-974-212-840-1 / ธีรวัฒน์ บูรวัฒน์ พบ. วรสารคลินิค พ.ค. 49 ISSN 0857-149x / นิวัฒน์ ศิตลักษ์ นพ.,สมบูรณ์ ธนกิจสินทร.,แน่งน้อย เฉลิมโรจน์ ภญ.,พัชร์อริญ กาญจนวรินทร์ ภญ.: การแพทย์บูรณาการ ฉบับหมอมวลชน. ISBN 978-974-350-398-6 / นราชาญ เอื้อประเสริฐ นพ. , อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ นพ. บก. : Essential Hematology for general Practitioners 2552 / นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีระวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลินิค 257(22)/5/49 / นิจศรี ชาญณรงค์ ภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอยุรศาสตร์แนวใหม่ โครงการตำราอายุรศาสตร์ ฉบับี่ 19 ISBN 974-332-792-4 / นิสา เลาหพจนารถ ภญ. : วงการยา ก.พ. 54 / บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล นพ. และ ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรค ธ.ค. 2551 ISBN 978-974-9751-53-4 / บรรเจิด ตันติวิท นพ., ดวงจิตติ สรรพศรี ตันติวิท : หลิงจือกับข้าพเจ้า ISBN 974-90278-8-4 / ประเวศ วะสี ศ.นพ. บรรณาธิการ : โลหิตวิทยา 2513 / ประสาน เปรมะสกุล พลเอก : เบาหวานรู้จริงจะเบาใจ ISBN 974-9608-17-8 / ลดความดันเลือดด้วยตัวเอง ISBN 974-90858-7-6 / มะเร็งพ่าย ISBN 974-91833-7-1 / Dermatology 2000 ISBN 974-7803-34-8 / ปรียา กุลลวณิชย์ / ประวิทตร พิศาลบุตร : ปัญหาได้รับการปรึกษาบ่อยทางอายุรศาสตร์ : กองอายุรกรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 2546 ISBN 974-915066x / พิชิต สุวรรณประกร พบ. : ตำรับยาและวิธีรักษาโรคผิวหนัง ISBN 974-86164-7-9 / พินิจ ลิ้มสุคนธ์ นพ. : รู้ทันโรค รู้ทันหมอ เล่ม 1 2551 ISBN 978-974-05-3564-5 / ภาควิชาเคมี คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ : เซลล์ชีววิทยาทางการแพทย์ 1-2 //www.md.chula.ac.th/biochem / กลไกการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื้อ / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ก้าวทันชีวเคมีทางการแพทย์ สูงวัย ห่างไกลโรค ISBN 974-9980-63-8 / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำราชีวเคมี 2548 ISBN 974-284-073-3 / ภาคสูตินศาสตร์ - นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์จุฬา : ตำรานรีเวชวิทยา 2547 ISBN 974-277-898-1 / ยุวดี สมิทธิวาสน์ ภญ. : ประโยชน์ของธาตุสังกะสีต่อสุขภาพ //www.elib-online.com / รีดเดอร์ไดเจสท์ : คู่มือฉลาดใช้วิตามินและแร่ธาตุและสมุนไพร ISBN 974-93003-5-1/มหัศจรรย์ อาหารต้านโรค 2549 ISBN 974-9784-42-4/1001/ตำรับยาใกล้ตัว ISBN 974-7784-31-9 / รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผศ. นพ. , กัมมันต์ พันธุมจินดา ศ. นพ. , ศรีจิตรา บุนนาค ศ. พญ.ท่านผู้หญิง : พาร์กินสันรักษาได้ ISBN 974-9922-40-9 / รุษณา สวนกระต่าย รศ.นพ.,ชานินทร์ อินทรกำธรชัย ศ.นพ. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ บก. : update in Problem-Based Medical Practices ISBN 974-9941-780 / เรย์ ดี แสตรนด์ นพ. เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริม บำบัดโรค...ความตายอาจ...กำลังครอบงำคุณ แปลโดย พรหมพัฒณ ธรรมรัตน์จินดา 2549 ISBN 974-94582-0-6 / ลลิตา ธีรสิริ พญ. : ภูมิเพี้ยน ISBN 978-974-9751-21-3/หลับไม่ดี มีทางแก้ ISBN 974-9754-97-8 / วิจิตร บุณยะโหตระ ศ. ดร. นพ. :ศาสตร์ชะลอวัย.ISBN 978-616-7005-35-5 / วัฒนา เลี้ยววัฒนา รศ.นพ. : Hemocysteine ISBN 974-05-0158-3 / วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ภก. : ศาสตร์ชะลอชรา ISBN 978-974-06-0702-1 / วิตามินและโภชนาบำบัด ศาสตร์มัศจรรย์ชะลอความชรา ISBN 978974-06-0702-1 / เวชศาสตร์ครอบครัว ครั้งที่ 30 พ.ศ.2544 ISBN 974-88329-2-9 / ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ พ.อ.หญิง / และคณะ แปล วารสาร อาหาร & สุขภาพ ฉ.104/2546 , ฉ84,85,86/2543 , ฉ.97/2545 / ศักดา ดาดวง ดร. แปล โภชนาการต้านมะเร็ง ISBN 978-974-212-811-1 / ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ พบ.จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารคลินิก ส.ค. 2553 ISBN 0857-149x / ศุภวรรณพิพัฒนพรรณวงศ์ กรีน : ไอน์สไตล์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ ISBN 974-9412-59-1 / สง่า ดามาพงษ์ : อ้วนอันตราย ...ไม่อยากตายต้องลดอ้วน ISBN 978-974-7361-63-6 / สมยศ กิตติมั่นคง นพ. : เมื่อหมอต้องลดความอ้วน ISBN 978-974-7316-41-4 / สมศักดิ์ วรคามิน ศ.ดร.นพ. : King of Herbs ISBN 978-974-067570-9/Food of the Future ISBN 978-974-04-4242-4/Omega 3 น้ำมันปลา ISBN 978-974-7512-92-2 / Stem cell 2552 ISBN 978-974-03-2283-2/ Water for Life ISBN 974-90899-9-5/ มหัศจรรย์แมกนีเซียม ISBN 974-92340-5-7 / เบต้ากลูแคน ISBN 978-974-03-2650-2 / สมหมาย ถุงสุวรรณ บก. : นรีเวชวิทยา โครงการตำราศิริราช 2523 / สมาคมรูมิติสซั่มแห่งประเทศไทย โรคข้อและรูมาติสซั่ม ISBN 978-974-0529163/ISBN 974-94142-4-1 / สรจักร ศิริบริรักษ์ ภก. : โรคกระดูกพรุน คอลัมน์ เภสัชโภชนา นิตยสารพลอยแกมเพชร / สรรพสาร DNA Volume 036, May 2009 USSB 1686-3658 / สรรพสารวงการแพทย์ 1-15/09/10 / สรรพสารวงการยา ISSN 1513-5896 ส.ค. 52 / สรีรวิทยา : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุ๘ ISBN 974-7762-41-2 / สุพรพิมพ์ เจียสกุล และคณะ สรีรวิทยา 3 ISBN 974-661-641-2 (ล.3)2552 / สุรพล รักปทุม นพ. : สู้มะเร็งด้วยเห็ดหลินจือ ISBN 978-974-7525-86-1 / หมอมวลชน บจก.โภชนาการ เล่ม 1, 2 / เอมวลี อมรมย์ดี พบ. : โรคเก๊าท์และภวะกรด ยูริคสูง / Belardinelli R, et al (2005) Coenzyme Q 10 improves contrac tility ofdysfunctional myocardium in chronic heart failure, Biofac tors, 25 (1-4) p. 137-45 / Cooper JM , et al (2003) Friedreich’s Ataxia : disease mecha nisms , antioxidant and Coenzyme Q10 therapy, Biofactors ; 18(1-4) p.163-71 / Earl mindell : The new vitamin bible. ISBN 978-616-529-016-6 / Ely, JTA (2000) A Brief Update on Ubiquinone (Coenzyme Q10), Journal of Orthomolecular Medicine 2000; 15(2) p. 63-68 / Ferrante KL, etal (2005) Tolerance of high-dose (3000 mg/day> coenzyme Q10 in ALS,Neurology, Dec 13; 65(11) p. 1834-6 / Hathcock JN, et al (2006) Risk Assessment for coenzyme Q10(Ubiquinone) , Regul Toxicol Rharmacol, Aug; 45(3) p. 282-8 / Healthy Eating –Fat and Cholexterol //www.diabetes-insght.info/healthy-eating/DL-gat.asp ///en.wikipedia.org/wiki/conjugated-linoleic-acid / //thyroid.about.com.cs.dietweightloss.a.cla.htm /http:..www.consumeraffairs.com/diet/news/20060522/cla_weight_loss_debate_continues / //www.zincinfothailand.com / Kalpravidh RW et al (2005) Dffect fo coenzyme Q10 as an antioxidant in beta-thalassemia/Hb E patients,Biofactors, 25(1-4) p. 225-34





Create Date : 01 มีนาคม 2555
Last Update : 19 มีนาคม 2555 9:51:45 น.
Counter : 2975 Pageviews.

5 comments
  
Test
โดย: เฟยเฟย (ultramaths ) วันที่: 6 มีนาคม 2555 เวลา:14:33:55 น.
  
Thanks
โดย: Nang IP: 24.132.172.168 วันที่: 30 มีนาคม 2555 เวลา:5:18:40 น.
  
ยากนะอะไรก็เลี่ยงหมดแต่ก็เป็นข้อแนะนำที่สมบูรณ์มาก
โดย: Gaa IP: 118.172.130.222 วันที่: 3 เมษายน 2555 เวลา:14:46:37 น.
  
ที่แนะนำไป ไม่ใช่ว่าเราต้องเลี่ยงหมดนะคับ แต่ที่แนะนำไป อยากจะให้คุณได้ "ฉุกคิด" ก่อนจะหยิบอะไรเข้าปาก เช่น จะกินขาไก่เคเอฟซี คุณก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า มันมีข้อเสียอย่างนั้นอย่างนี้ ทีนี้ การกินของคุณก็จะลดลงไงครับ คุณก็จะไม่กล้ากินมาก การจะเลี่ยงนั้นยากมากในชีวิตประจำวันของเรา แต่จุดประสงค์คือ อยากให้ "ฉุกคิด" ก่อนเอาเข้าปากก็เพียงเท่านั้น
โดย: เฟยเฟย (ultramaths ) วันที่: 4 เมษายน 2555 เวลา:11:54:11 น.
  
ชอบจังเลยคะ กลับมาเถอะค่าคุณเฟยเฟย
โดย: Casidy IP: 202.173.214.26 วันที่: 17 เมษายน 2557 เวลา:11:40:01 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ultramaths
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]



ผม..เฟยเฟย รายงานตัวค้าบ
ultramaths ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อความทั้งหมดในblogนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
All rights reserved.