^^ หนูน้อย หนูน้อย หนูน้อยอลิชชา ^^
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 

การทำโทษเด็ก

กำลังมีปัญหาเรื่องนี้พอดี ต้องเอาไว้อ่านซะหน่อย
ขอบคุณครูแหลมที่เขียนเรื่องดีๆมาให้พ่อแม่อย่างเราำได้อ่าน
จาก โอเคเนชั่น

การทำโทษ เมื่อลูกทำผิด Feb 10, '08 10:08 PM
by laem for everyone
การทำโทษ ไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้เด็กก้าวร้าวนะครับ

สิ่งนี้ต่างหาก
...สื่อ
...การอบรมสั่งสอน และต้นแบบ พ่อ แม่ ครู ดารา วีรบุรุษ ผู้นำ(นักการเมือง) ส่งผลโดยตรงแก่เด็กทันที
...การตลาดในเชิงรุก และการส่งเสริมให้เกิดการบริโภควัตถุ

เมื่อเด็กๆมีปัญหา ต้องรีบทำความเข้าใจทันที อย่า...

...เอาไว้ก่อน
...ยังเด็กอยู่ ไม่รู้เรื่อง
...สงสาร


ที่โรงเรียนศิลปะแหลมคม มีข้อกำหนดในการลงโทษ ไว้ดังนี้

เมื่อเด็กๆทำผิด
๑.ครูจะเรียกชื่อ แล้วให้หยุดทำทุกอย่าง ว่ากล่าวตักเตือน
๒.ถ้ายังไม่หยุด หรือทำผิดซ้ำ ให้เรียกชื่อ ด้วยเสียงที่ค่อนข้างดัง แล้วว่ากล่าวตักเตือนอีกครั้งหนึ่ง
๓.ถ้าทำผิดเรื่องเดิม ให้เข้าประชิดตัว เรียกชื่อ ให้นักเรียนมองตา ครูเอามือจับที่ไหล่ทั้งสองข้าง ค่อนข้างแน่น แล้วเขย่าตัว ...ถ้าทำผิดอีกครูจะทำโทษแล้วน่ะ... แล้วอบรมสั่งสอน
๔.เริ่มลงโทษ คือการให้ อยู่คนเดียว ออกจากบริเวณ ไม่ให้พูดคุยกับคนอื่น ห้ามเพื่อนมาใกล้ๆ (Time-out) จนกว่าจะรู้สึกตัว แล้วให้มาขอโทษ
๕.ตีด้วยไม้เรียว​(ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน .07 ซม.) ตีที่ฝ่ามือ แล้วถามว่า ทำผิดแบบนี้ จะให้ตีกี่ครั้ง
๖.ตีด้วยไม้เรียว ที่ก้นตรงเนื้อเยอะๆ (ถ้าโดนตีครั้งแรกให้ เอากระดาษหน้าๆหรือขวดน้ำพลาสติกเปล่าๆรองที่ก้น) แล้วอบรมสั่งสอนแบบยาวๆ


ยิ่งโตยิ่งก้าวร้าวขึ้น
มี 2 คำถามนะคะ 1. ลูกชายตอนประมาณ 2 ขวบครึ่ง(ตอนนี้ 2 ขวบสิบเดือน) เริ่มก้าวร้าว พูดโวยวาย เดินก็ยกไหล่เหมือนนักเลง ไม่ได้ดั่งใจก็โยนสิ่งของที่ใกล้มือ ช่วงแรกดิฉันก็ดุธรรดา แต่ไม่ดีขึ้น ก็ต้องตีบ้าง แต่ลูกโมโหรุนแรงและทุบตีกลับ จะแก้ปัญหาอย่างไรดีคะ
2. ตอนนี้ให้ลูกไปเข้าเรียนปฐมวัย (ก่อนอนุบาล) เพราะอยากให้เค้าปรับตัวก่อนเข้าอนุบาลปีหน้า วันแรกตื่นเต้นดีใจที่จะได้ไปโรงเรียน แต่พอกลับมาตอนเย็นบอกว่าไม่ไปโรงเรียนแล้ว วันที่สองดิฉันส่งขึ้นรถก็ร้องไห้ไม่ไป แล้วหลังจากนั้นก็ไม่ยอมไปอีกเลย
(โดย คุณแม่ตุ๊ก)

พอดีได้อ่านเรื่องของคุณแม่ตุ๊กแล้วตรงกับประสบการณ์ที่มีอยู่กับลูกชายคนแรก
เป็นครอบครัวที่พ่อแม่เลี้ยงลูกเองค่ะ เป็นแม่บ้านอยู่กับลูก ตั้งแต่เล็กๆ ลูกไม่ค่อยได้ไปเล่นกับคนอื่นเท่าไรนัก เพราะไม่มีเพื่อนบ้านที่เป็นเด็กรุ่นราวคราวเดียวกับลูกชาย เลยต้องอยู่บ้าน บางครั้งก็เล่นของเล่นอยู่คนเดียว บางครั้งแม่ก็เล่นด้วย เลยติดแม่เอามากๆ ค่ะ คิดว่านี่คือสาเหตุหนึ่งค่ะ คุณแม่ตุ๊กลองอ่านดูนะคะ .....
ประมาณ 2 ขวบ 10 เดือน ให้ลูกชายเข้าเตรียมอนุบาลเหมือนลูกคุณแม่ตุ๊กนั่นแหละคิดว่าเตรียมความพร้อม ไม่อยากจะบอกว่าอาการก็เหมือนกัน ช่วงเดือนแรกๆ คุณแม่ต้องไปส่งและอยู่กับเค้าจนถึงเที่ยงทุกวัน ให้คุ้นและปรับตัว (ปรับนานมาก) แล้วช่วงบ่ายก็พากลับบ้าน ประมาณว่าไม่อยากให้ลูกร้องเพราะสงสาร เคยหนีเค้ากลับบ้านตอนเค้าเผลอ ร้องไห้ตลอดเลย คุณครูต้องนั่งประกบ (ที่เห็นเพราะกลับไปที่โรงเรียนแอบดู)
พอเข้าอนุบาล 1 (3 ขวบ) เหมือนเดิมค่ะ ทำอย่างนี้อยู่ได้ประมาณอาทิตย์กว่าๆ เราต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูแล้ว เพราะเค้าจะเริ่มคุ้นกับครู ไต่ก็ไปส่งเค้าและอยู่กับเค้าจนโรงเรียนขึ้น เข้าแถวกับเค้าด้วย ส่งเข้าห้องแล้วก็กลับบ้าน เค้าร้องไห้เหมือนเดิมค่ะ แต่มีแต่นะคะ..... เราแอบกลับไปดู เค้าหยุดร้องไห้แล้วค่ะ (เราลงทุนแอบไปดูเค้าทั้งช่วงเช้าช่วงบ่ายเลย) ไม่ร้องไห้แล้ว เล่นเอาคุณแม่ดีใจมากเลย .......
ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดนี้ใช้เวลาเป็นเดือนนะคะ ดีที่ว่าคุณครูเข้าใจว่าเราเป็นคุณแม่ขี้ใจอ่อน ไม่อยากเห็นลูกร้องไห้ เล่นเอาเพื่อนๆ ในห้องลูกชายคุ้นกับเราไปด้วยเลย ปัจจุบันลูกชายอายุ 7 ขวบแล้วค่ะ .... เป็นกำลังใจให้นะคะ
(โดย คุณแม่งง)


ถ้าเวลาที่คุณลงโทษ เขาแล้วเขาทุบตี กลับ ให้คุณเปลี่ยนวิธีทำโทษ เช่น จำกัดพื้นที่ให้เขาอยู่ หรือ บอกเขาว่า จะให้อยู่ในห้อง ไหน สักห้องในบ้าน ไม่ให้ออกไปไหน และก่อนเวลาที่คุณจะทำโทษลูก คุณต้องอธิบายถึง ความผิด ของเขาที่เขาทำ และคุณอย่าไปกังวลมากกับท่าเดินของเด็ก จนคนฝั่งใจไปว่าคล้ายนักเลง บางครั้งคุณพ่อ คุณแม่ก้อวิตกกังวล กับท่าทางของเด็กมาก ไป คุณควรจะค่อย ๆ ปรับ หรือสอน เขาว่า การเดินด้วยท่าทางแบบนี้ไม่สวย หรือค่อย ๆ ฝึก และในการทำโทษ คุณพ่อ คุณแม่ควรจะใจแข็งพอสมควร คือ อย่า ใจอ่อน เพราะการที่คุณใจอ่อน หรือผลัดวัน ในการทำโทษเด็ก เด็กก้อจะรู้สึกเคยชิน ว่า ไม่เป็นไร ไม่โดนทำโทษจริง และ การที่คุณเคยตามใจเขามาก ๆ ในทุก ๆ เรื่องก้อจะมีผล ต่อ การเป็นคนเอาแต่ใจ และ สร้างให้เขากลายเป็นเด็กกร้าวราวไปด้วยในตัว เพราะเมื่อเด็กเคยได้ ในทุก ๆ สิ่งที่เขาได้ในวัยเด็ก แล้ว อยู่ ๆ มาวันหนึ่งเขาต้องการได้ แล้วเขาไม่ได้ เขาก้อจะมีการต่อต้าน เพราะฉะนั้น คุณพ่อ คุณแม่ ควรตามใจลูกในสิ่งที่สมเหตุสมผลนะค่ะ
(โดย คุณแม่ลูก 2)

วิธีการอบรมเด็ก

วิธีการอบรมเด็ก ให้ไปตามความประสงค์ของผู้เลี้ยงหรือพ่อแม่นั้น เป็นการยากที่จะวางหลักตายตัวลงไปว่า ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ บอกได้แต่หลักสำคัญอันเกี่ยวแก่อำนาจทางจิตใจของเด็ก เป็นการบอกไว้อย่างกว้างๆ ที่เหลือไว้ก็เป็นหน้าที่ของความฉลาดไหวพริบของพ่อแม่ และความเอาใจใส่ดูแล จงศึกษาธรรมชาติของเด็กของท่านให้เข้าใจ แล้วคิดหาทางแก้ไขว่า ควรทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการเป็นอยู่ของเด็กนั้นๆ ก็พอจะพบช่องทางในการที่จะอบรมเด็กของท่านให้เป็นคนดีได้
พ่อแม่เป็นกระจกเงาของเด็ก การกระทำอันใดของพ่อแม่ต่อหน้าเด็ก คือ การพิมพ์ภาพลงในใจของเด็ก จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเสมอ พี่เลี้ยงเป็นแต่ผู้ช่วยเหลือ แต่ความรับผิดชอบอยู่ที่ท่านสองคน อย่าได้ละเลยต่อหน้าที่โดยตรงของท่าน เพราะผลที่เกิดขึ้นในอนาคตจะตกเป็นของลูกท่าน และตัวท่านเองทั้งหมด
การลงโทษเด็ก
การทำโทษเด็ก เป็นเรื่องสำคัญมากอย่าทำโทษเด็กของท่านโดยปราศจากหลักการเป็นอันขาดหลักการทำโทษเด็กทั้ง 14 ข้อนี้ เป็นหลักใหญ่ที่ท่านควรจำไว้ให้ดี และนำไปใช้ ลูกของท่านจะกลายเป็นเด็กสุภาพเรียบร้อย มีความเคารพยำเกรงในตัวท่าน เชื่อฟังคำของท่านเสมอ แต่ถ้าท่านทำตนไม่เหมาะสมเอาอารมณ์โทสะเข้าใช้กับเด็กแล้ว มักเป็นความผิดของท่านเอง จะโทษใคร่ไม่ได้เลย
ข้อควรจำ
1) อย่าลงโทษเด็ก ในเมื่อความผิดนั้นไม่ได้ปรากฎต่อหน้าหรือไม่มีพยานหลักฐานว่า เป็นความผิดของเขา
2) อย่าทำโทษเด็กเพื่อประชดประชันอีกคนหนึ่ง เช่น โกรธพ่อ แต่ไปทุบลูกเสียบอบซ้ำไป อย่างนี้ไม่เป็นธรรมแก่เด็ก
3) อย่าผลัดเพี้ยนการทำโทษ ในเมื่อความผิดนั้นได้ปรากฏต่อหน้าหรือมีพยานหลักฐานแล้ว เช่น ผลัดว่า “รอให้พ่อมาก่อนเถอะจะให้พ่อเฆี่ยน”
4) อย่าเอาสิ่งไม่เกี่ยวภัยโทษเด็กมาเป็นการลงโทษเด็ก เช่น สัญญาว่าคืนนี้จะพาไปดูละคร พอเด็กกระทำผิดก็เลยงดการไปดูละครเสีย การงดไปดูละครเป็นการลงโทษเด็กแต่ไม่สมควรทำเช่นนั้น
5) อย่าออเซาะเด็กภายหลังที่ได้ทำโทษเด็กแล้ว จะทำให้เด็กคิดเห็นไปว่า การทำโทษเป็นการบรรเทาโทสะของท่าน หรือทำให้เด็กมองเห็นว่า ท่านเป็นคนอ่อนแอ เด็กจะไม่เกรงท่านในกาลต่อไป
6) อย่าลงโทษเด็กที่ได้รับโทษตามความผิดของเขาเสร็จสิ้นแล้ว เช่น เด็กซนไปล้มลง ท่านก็โกรธไปตีซ้ำพร้อมกับพูดคำหยาบสำทับเขา นี้ย่อมเป็นการไม่เหมาะสม การหกล้มสอนเขาให้รู้ว่าเจ็บปวดขนาดไหนอยู่แล้ว อย่าเพิ่มความปวดร้าวทางใจให้เขาอีกเลย หากเด็กยังไม่เดียงสาท่านก็ควรให้ความระวังแก่เขา
7) อย่าทำโทษเด็กด้วยลิ้นของคน การด่าว่าบ่นจู้จี้เด็ก เป็นสิ่งไม่มีประโยชน์เป็นการถ่ายทอดนิสัยเสียให้เด็กเปล่าๆ คนปากจัดจึงควรระวังสักหน่อย
8) สิ่งใดที่ท่านบอกเขาว่าผิด ก็ให้ถือว่าเป็นความผิดตลอดไป เช่น เด็กของท่านตบหน้าท่าน ท่านก็ตีเขาในฐานะที่ความประพฤติไม่ดี แต่ต่อมาเขาตบหน้าท่านอีก บังเอิญอารมณ์ของท่านดี ท่านหัวเราะเห็นเป็นของขันไปการกระทำของท่าน ทำให้เด็กงง ไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เมื่อไรการกระทำเช่นนั้นถูกผิดอย่างไร
9) อย่าทำโทษให้ผิดกันระหว่างผู้มีสิทธิทำโทษเด็ก พ่อทำโทษเด็กอย่างใดในความผิดอย่างหนึ่ง แม่ก็ควรทำโทษแบบเดียวกัน
10) อย่าทำโทษเด็กโดยความลำเอียง เช่น พี่น้องทะเลาะกัน พี่ถูกทำโทษหนัก น้องก็ถูกทำโทษสถานเบาเพราะเห็นว่าเล็กกว่า ทำให้พี่เกิดน้อยใจ และริษยาน้องเกิดความเครียดแค้น อาจทำร้ายแก่น้องได้ในภายหลังและจะขาดความเคารพแก่ท่านด้วย
11) อย่าทำโทษเด็ก โดยอาการเปาะแปะและพร่ำเพรื่อ ทำให้เป็นกิจลักษณะ
12) อย่าทำโทษเด็กโดยอาการไม่สมควร เช่น โกรธไม่พูดด้วยสามวัน
13) อย่าโต้แย้งกันในเรื่องการลงโทษเด็กต่อหน้าเด็ก ถ้าผู้ใหญ่จะโต้เถียงกันต้องกระทำอย่าให้เด็กเห็น
14) อย่าแสดงอาการเหลาะแหละ ไม่กล้าเอาจริงเอาจัง ด้วยการแสดงเอะอะให้คนอื่นทำโทษเด็กให้ การทำโทษจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ และไม่ทำให้เด็กเชื่อถือยำเกรง

(ตัดทอนจาก รักลูกให้ถูกทาง (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ))

การช่วยเหลือ แก้ไข และป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าว(ผศ.นฤมล ธีระรังสิกุล)
1. การแก้ไขตั้งแต่เริ่มแรกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
- เมื่อลูกเป็นเด็กทารก อย่าปล่อยให้ร้องไห้หรือโมโหตามลำพัง ควรอุ้มและโอบกอดลูก หรือสังเกตว่าลูกต้องการอะไร เช่น หิว หรือปัสสาวะ เพราะการที่ลูกโมโหอยู่นานจะทำให้เมื่อลูกโตขึ้นมีนิสัยเรียกร้องความสนใจจากคนอื่นตลอดเวลา
- พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ควรหยุดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กทันที ในกรณีที่เด็กทุบตียาย โดยจับมือหรือรวบตัวเด็กไว้และบอกเด็กสั้นๆว่า เขาทำอย่างนั้นไม่ได้ “ลูกตีคุณยายไม่ได้” ถ้าขว้างปาข้าวของก็ให้ไปเก็บของและบอกสั้นๆว่า “ปาของไม่ได้” และพูดจาด้วยท่าทีที่สงบ ไม่โกรธเด็กตอบ ไม่ตะโกนโต้ตอบ และตีเด็กรุนแรง จากนั้นคุณพ่อคุณแม่ยอมรับความรู้สึกลูกว่ากำลังโกรธ แต่ให้หยุดยั้งการกระทำของลูก โดยพูดว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่แม่ไม่อนุญาตให้ลูกตีคุณยาย” จากนั้นช่วยให้เด็กหาทางระบายความโกรธอย่างเหมาะสม โดยการระบายสี ขีดเขียน หรือพาลูกไปเดินเล่น เป็นต้น
2. พ่อแม่หยุดความรุนแรงโดยไม่ใช้ความรุนแรง เด็กวัยนี้จะเลียนแบบได้รวดเร็วที่สุด เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทุบตีลูกก็เท่ากับว่าสอนให้ลูกใช้ความรุนแรงทางร่างกาย
3. รับฟังลูก ให้ลูกได้ระบายอารมณ์บ้าง เมื่อลูกใช้คำพูดแรงๆ และตะโกนใส่แม่ ควรรับฟัง ไม่ควรโต้ตอบแรงกลับไป ถ้าแม่ยิ่งแรงตอบลูกก็จะพยายามเอาชนะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้น เมื่อแม่ฟังด้วยความสงบ ทำให้อารมณ์โกรธในขณะนั้นของลูกค่อยสงบลง แต่เมื่อลูกอารมณ์ดีแล้ว ลูกจะกลับมาอ้อนและพูดดีเหมือนเดิม
4. สอนลูกให้หาทางระบายความเครียดหรือความโกรธ โดยการเล่นโยนลูกบอลลงห่วง หรือขว้างลูกบอล
5. ถ้าลูกแสดงความก้าวร้าวหลายครั้ง ให้ตกลงกับลูกให้ชัดเจนว่า ลูกทำแบบนี้ไม่ได้ ถ้าทำอีกก็จะถูกทำโทษ โดยการแยกตัวเด็กออกไปอยู่ตามลำพังที่เรียกว่า time out และบอกให้เด็กอยู่บนเก้าอี้หรือมุมห้อง ถ้าลูกแสดงกิริยาก้าวร้าวอีกให้จับตัวลูกไว้ และบอกให้ไปอยู่มุมห้อง นานเท่ากับอายุลูก เช่นอายุ 2 ขวบ ให้อยู่นาน 2 นาที (เวลาที่ทำโทษ 1 นาที ต่ออายุ 1 ปี) โดยที่แม่อยู่ใกล้ๆ เมื่อหมดเวลา จึงอนุญาตให้ลูกทำอะไรก็ได้ตามปกติ แต่ไม่ให้ทำในสิ่งลูกแสดงความก้าวร้าว การทำโทษเช่นนี้ไม่ควรทำบ่อยและคุณแม่ต้องใจแข็งพอ อีกทั้งผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้านเดียวกันจะต้องเห็นด้วยกับการทำโทษเด็กเช่นนี้ เพราะถ้ามีความเห็นขัดแย้งกัน เด็กก็จะเข้าหาคนที่ใจดีกว่า ดังนั้นการลงโทษวิธีนี้จะไม่ได้ผล
6. การเลี้ยงดูลูกไม่ควรปกป้องหรือปล่อยปละละเลยเกินไป ตลอดจนเลี้ยงแบบเสมอต้นเสมอปลาย สิ่งใดที่เห็นว่าควรให้เด็ก หรือห้ามเด็ก ก็เป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ว่าวันนี้ให้ วันพรุ่งนี้ไม่ให้
7. ไม่ยั่วยุให้เด็กโกรธ ผู้ใหญ่ควรเข้าใจพัฒนาการเด็ก เด็กอายุ 1-2 ขวบ ซึ่งเป็นวัยสำรวจตรวจตรา และอยากรู้อยากเห็น ไม่ควรใช้คำว่า “อย่า” บ่อยเกินไป แต่ควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้เรียบร้อย และอาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจไปทำกิจกรรมที่น่าสนใจ ก่อนที่เด็กจะมีอารมณ์โกรธ ผู้ใหญ่ไม่ควรทำในสิ่งที่เด็กไม่ชอบเพื่อความสนุกสนานของผู้ใหญ่
8. พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ในการควบคุมอารมณ์โกรธ ไม่ควรแสดงความก้าวร้าวให้เด็กเห็น
9. พูดชมเชยเด็กเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้เด็กทำในสิ่งที่ดียิ่งขึ้น เด็กจะรู้สึกภูมิใจและอยากทำความดีเพราะไม่อยากถูกลงโทษและต้องการเป็นที่รักของพ่อแม่
ค่ะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นวิธีการที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่สามารถลดความก้าวร้าวของเด็กได้โดยใช้หลักการปฏิบัติตรงข้ามกับสาเหตุที่กระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนรายละเอียดที่จะให้ช่วยเหลือนั้น คุณแม่คงต้องพยายามเรียนรู้จากลูกของตน ที่สำคัญที่สุดคือการให้ความรักความอบอุ่นและเข้าใจในอารมณ์เด็กจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้มากค่ะ

เวลาเด็กโตโดนตี จนสามารถแยกชนิด ของการตี ตลกดีครับ ขำขำ

1. ตีปกติ
เป็นพื้นฐานของการทำโทษเลยครับ ส่วนมากครูที่ตีธรรมดานั้นจะเป็นครูที่เน้นการสอนมากกว่า การตีเป็นการทำโทษให้นักเรียนสำนึกในความผิดเท่านั้น
(ถึงแม้ว่าการทำให้สำนึกนั้น ไม่ทำเป็นต้องตีก็ได้)
2. ตีตัด
เนื่องจากการตีธรรมดา ไม่อาจทำให้นักเรียนหัวโจกบางคนเข็ดขยาดได้ ท่านอาจารย์ จึงได้คิดวิธีตีอีกแบบหนึ่งเรียกว่าตีตัด
วีธีการตีนั้น จะให้เด็กยืนโค้งๆก้นให้ยื่นออกมาโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วหวดไม้ลงมาในแนวดิ่ง หรือ 90 องศงเลยครับ
3.ตีตัดหน้า
อันนี้เป็นลูกเล่นที่เพิ่มขึ้นมา คือว่า นักเรียนชายเนี่ยเวลาโดนตี จะแอ่นใช่มะครับ คุณครูของเราเลย มีวิธีแกล้งด้วยการตีตัดหน้าครับ
คือว่า แทนที่จะหวดไม้ลงก้น กลับหวดไปด้านหน้าแทน นักเรียนบางคนที่เกิดอาการ "เบรด บ่ อยู่" ก็ได้เป็นอันเจ็บเจี๊ยวกันเป็นแถวๆครับ
4.ตีอัดกำแพง
เป็นอีกวิธีหนึ่งในการยับยั้งการแอ่นของนักเรียน วิธีก็คือให้หันหน้าเข้ากำแพงหรือกระดานดำ ให้นักเรียนเบียดชิดกับกำแพงให้ชิดที่สุด
แล้วจึงหวด ไม้จะสามารถกระทบก้นได้เต็มที่
5.ตีท่าหลบระเบิด
วิธีนี้ไม่ค่อยฮิตเท่าไหร่เพราะมันเลอะเสื้อสีขาวๆของเรา วิธีคือให้นอนคว่ำแล้วหวด แบบว่ากันแอ่นน่ะครับ หลังๆเนื่องจากมันเลอะง่าย เลยให้มานอนคว่ำบนโต๊ะแทน
6.ตีอัดตุ๊ด
วิธีนี้ เป็นไอเดียที่เกิดจากครูสอน ศิลปะ ครับ สุดยอดครับ คือว่า ห้องเรียนโรงเรียนชายล้วนเนี่ย ส่วนใหญ่ทุกห้องจะมีตุ๊ดประจำห้องน่ะครับ
วิธีการตีนั้น คือ จะให้ตุ๊ด มายืนโค้งก้นคว่ำกะโต๊ะไว้ แล้วให้หนุ่มๆที่โดนทำโทษประกบหน้า(ท้อง)เข้าไป แล้วก็หวด แน่นอนครับ ถ้าแอ่นก็จะได้สัมผัสดากตุ๊ด
เต็มๆ วิธีนี้ ผมบอกตามตรง สุดยอดครับ คิดได้ไงวะเนี่ย
7.ตีแฝด
อันนี้เน้นสำหรับพวกที่ชอบทำไรกันสองคนครับคือแบบผิดสองคนน่ะ เช่นนั่งคุยกันไม่สนใจหัวครู วิธีนี้ ก็คือให้สองคนยืนชิดกัน แล้วตีมันทีเดียวเลย
แต่จากการสังเกตของครู ทำให้รู้ว่าคนที่อยู่ด้านในนั้นจะได้เปรียบเพราะว่าจะเจ็บน้อย ครูท่านเลย ตีสองทีเลย แล้วให้สนับที่กัน เป็นไงครับ ยุติธรรมดีมั๊ย?
8.4x4
คล้ายกับตีแฝด แต่ 4 คน 4 ที
9.ตีด่วน
วิธีนี้เกิดการวิชา "กระบี่" ครับ เวลาที่รำผิด มักจะโดนทำโทษเสมอ ซึ่งเขาจะเหมาว่า ผิดทุกคน ฉะนั้น จึงต้องตีหมดห้อง เนื่องจากจำนวนเด็กมันเยอะ
เลยเกิดวิธีนี้ขึ้น ก็คือ จะให้เด็กยืนเรียงแถวกัน แล้ววิ่งเข้ามาในวงสวิงเลยครับ ครูเขาจะหวดไปเรื่อยๆ ประมาณว่ายิง auto น่ะครับ วิธีนี้เด็กๆที่มีแวว
ชอบการพนันแต่เด็กจะชอบครับ เพราะว่า ถ้าจังหวะดีๆ อาจจะโดนเฉี่ยวๆเลย หรือไม่โดนเลยก็ได้ แบบว่าวัดใจกันไปเล้ยย วู๊วว (ผมรอดบ่อย)
10.ตีร้อน&เย็น
อันนี้เกิดการครูสอนภาษาอังกฤษครับ เขาจะถามก่อนว่า "เอาร้อนหรือเย็นล่ะลูก" ถ้าร้อน เขาจะเอาไม้ถูๆๆๆๆก่อน ให้อุ่นๆ แล้วค่อย...เพี๊ยะะะะ....
ถ้าเอาเย็น เขาจะเอาไม้จุ่มน้ำก่อนแล้ว พรมๆให้ทั่วแล้วก็ .... เพี๊ยะะะะ..... อันนี้ผมไม่รู้จุดมุ่งหมายนะครับ คาดว่าคงเป็นการไม่สร้างความกดดันให้เด็กน่ะครับ
11.ตีจ๊ะเอ๋
ชื่อมันกุ๊กกิ๊ก แต่วิธีมันสยองครับ อันนี้ วิชาเลขครับ มันเกิดจากครูเขาให้พวกผมออกไปทำการบ้านหน้าห้อง ทำสดๆเลย เขาอยากรู้ว่าพวกผมลอกกันหรือป่าว
ไอ้วิชาเลขเนี่ย ผมก็พอกล้อมแกล้มล่ะครับ มั่วได้ แต่ก็ไม่ค่อยเก่งนัก เขาจะให้ออกไปทำทีละ 4 คน แล้วเขาจะถือไม้อยู่ด้านหลัง ถ้าเห้นว่ามีการลอกกัน
หรือทำผิด เขาจะหวด ...ฟั่บบ.... โหยคุณเอ้ยย มันทั้งเจ็บทั้งตกใจเลยครับ บอกตรงๆ ผมโดนประจำ ออกไปแล้วมันทำไม่รู้เรื่อง มันระแวงหลังครับ
เพื่อนผมเก่งๆเลขยังโดนเลย เพราะไม่มีสมาธิอ่ะครับ

“ครูส่วนใหญ่ไม่เข้าใจการสร้างวินัยเชิงบวก มักจะใช้การลงโทษอย่างรุนแรง เพื่อให้เด็กเลิกเกเร ดังนั้น สพฐ.จะต้องเพิ่มการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการสร้างวินัยเชิงบวกให้แก่ครู ให้ครูสามารถจัดการเรียนในชั้นเรียน แก้ไขพฤติกรรมนักเรียนได้ โดยขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะหลายกรณีปัญหาหาพฤติกรรมนักเรียน ก็มีพื้นฐานมาจากครอบครัวหรือเห็นตัวอย่างที่ไม่ดีในสังคม ปัจจุบัน สพฐ.ก็เร่งดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่” (คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)


บรรณานุกรม
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2543). ชักธงรบความก้าวร้าวของลูก พ่อแม่เตรียมพร้อมหรือยัง. แม่และเด็ก. 23 (พ.ค. 339), 105-107.
ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย (2549). ซน ดื้อ ก้าวร้าว ไม่มีแน่ถ้าพ่อแม่รู้ทัน. นิตยสารรักลูก, 24(227), 166-168.
นฎา (2544). ไม่ได้ก้าวร้าวนะ ...... ฮึ่ม.. ดวงใจพ่อแม่. 6(ต.ค.72), 102-103.
ศูนย์สุขวิทยาจิต กรมการแพทย์ (2541). หนังสือเข้าใจตัวยุ่ง หน้า 73-75. กรุงเทพฯ: มปพ.
หน่วยจิตเวชเด็ก (มปป). เลี้ยงลูกรักให้ฉลาดและมีวินัย. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.

ขอบพระคุณครับ




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2553
2 comments
Last Update : 26 ตุลาคม 2553 0:40:33 น.
Counter : 1019 Pageviews.

 

ชอบสาระตรงนี้มากค่ะขอแอดไว้ติดตามข้อมูลดีๆนะคะ

 

โดย: sarah@kw 26 ตุลาคม 2553 4:28:48 น.  

 

สาระดีมากๆๆ

 

โดย: supergaye 31 ตุลาคม 2553 19:00:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


มารูเอฟ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คุณแม่ลูกหนึ่ง วันๆวุ่นวายอยู่กับคนเนี้ยกับคุณพ่อของคนเนี้ย เวลาก็หมดซะแล้วหนึ่งวัน ต้องจดไว้ จดไว้ เดี๋ยวจะลืมซะหมด ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในแต่ละวัน จะได้เอาไว้เตือนตัวเองว่าวันนี้สอนอะไรให้ลูกไปบ้าง ตั้งใจ ตั้งใจ aja aja fighting

FRIDAY I am IN LOVE
Friends' blogs
[Add มารูเอฟ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.