Group Blog
 
 
สิงหาคม 2556
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 

มารับมือกับลูกเจ้าอารมณ์

เด็กชอบกัดเล็บและเอาแต่ใจ

สวัสดีค่ะคุณหมอ ดิฉันมีปัญหากลุ้มใจเกี่ยวกับลูกชาย อยากปรึกษาดังนี้ตอนนี้น้องอายุได้ 3 ขวบ 2 เดือนค่ะ เข้าโรงเรียนอนุบาลแล้ว ชอบกัดเล็บเล่น (ทั้ง 2 ข้าง) คุณแม่และทุกคนภายในบ้านพูดเตือนและห้าม ลูกจะหยุดทำไปสักพัก พอเผลอก็กัดเล็บอีก เป็นแบบนี้ประมาณ 2 เดือน จนเล็บไม่งอกใหม่ ตอนนี้ไมได้ตัดเล็บให้ลูกเลย (ปกติจะคอยตัดเล็บให้ตอนนอนทุกสัปดาห์) จะเป็นอันตรายไหมคุณหมอช่วยแก้ปัญหาให้ด้วยค่ะเขาเป็นลูกชายคนเดียว และเอาแต่ใจถ้าไม่พอใจก็จะชอบใช้กำลังทุบตีพ่อแม่ เล่นรุนแรง และร้องไห้งอแง เวลาที่อะไรไมได้ดังใจ เช่น เขาชอบเล่นรถตักมากๆ พอรถพังเล่นไม่ได้ เขาก็จะร้องให้พ่อแม่ซ่อมให้หน่อย แต่พอรถพังจนซ่อมไมได้ก็จะใช้กำลังทุบตีพ่อแม่ โดยไม่ยอมฟังเหตุผลเป็นแบบนี้บ่อยมาก จะแก้ปัญหาอย่างไรคะ

คุณแม่น้องเปรม/กรุงเทพฯ

การกัดเล็บต่างจากการดูดนิ้วการดูดนิ้วเป็นเหตุบังเอิญได้เขาเคยชินกับการดูด ทำให้เพลินและสบาย บ่องครั้งที่จะพบว่าเด็กทำเวลาเหงา ตื่นเต้น หรือง่วงนอน เป็นการปลอบประโลมใจยามที่เขายังเล็กๆ ยังพูดคุยและบอกความต้องการกับเราไม่ได้แต่เขาจะไม่ติดเป็นนิสัยไปจนโต ซึ่งเราก็ต้องให้เด็กมีอะไรทำแทนการดูดนิ้วเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ ให้เด็กพูดบอกความต้องการระบายความคับข้องใจ หาอะไรให้ทำหรือเล่นให้เพลินแทน แต่การกัดเล็บมักเป็นเรื่องของอารมณ์ โดยเฉพาะเด็กที่มีความเครียดหรือความคับข้องใจ ยิ่งถ้าไปทัก ไปห้าม ไปเตือน ไปขู่บ่อยๆ เด็กจะยิ่งมีความกังวลและความเครียดหนักขึ้นฉะนั้นเราจึงไม่ควรใช้วิธีพูดเตือนหรือห้ามกันบ่อยๆ ควรใช้วิธีตรงข้ามคือไม่สนใจอาการนั้น ควรตัดเล็บหรือตะไบเล็บให้สั้นไม่ให้เหลือเล็บให้เขากัดได้ บางคนทาน้ำมันมะกอกบางๆ ช่วยให้เล็บอ่อนตัว กัดยากขึ้นไม่ไปดุว่าเขา และห้ามคนอื่นพูดถึงด้วยค่ะข้อสำคัญสำรวจดูว่า มีอะไรบ้างที่ทำให้เด็กมีความกลัว กังวล หรือเครียด เด็กที่อายุ 3 ขวบแล้ว สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบุคคลนั้นสำคัญเอามากๆ เลยค่ะ นอกจากคุณพ่อคุณแม่และบุคคลในบ้านแล้ว ยังมีญาติมิตร คนข้างบ้าน คนใกล้เคียง และคนที่โรงเรียนเช่น คุณครู พี่เลี้ยงที่มาช่วยดูแลเด็ก และเพื่อนเด็กๆ ด้วยกัน ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเด็กเมื่อคุณเล่าต่อมาว่า ลูกชายนั้นเป็นคนเอาแต่ใจ ชอบร้องไห้งอแงเมื่อไม่ได้ดังใจหรือทำอะไรไม่ได้ ทุบตีพ่อแม่ถ้าไม่พอใจและไม่ฟังเหตุผลอายุเท่านี้ยังไม่มีเหตุผล โดยเฉพาะที่เป็นนามธรรม เพราะเขายังไม่สามารถเข้าใจได้ และเป็นวัยที่นึกถึงตนเองเป็นที่ตั้งความคิดของเขาอยู่ในระดับที่ยังแยกแยะความเป็นจริงออกจากความคิดและความต้องการไม่ได้ เขายังเข้าใจว่าพ่อแม่เป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เขา และในชีวิตประจำวัน เขาก็พบเห็นว่า พ่อแม่ทำให้เขาเลี้ยงดูเขา อยากกินอะไรก็ได้กิน อยากได้อะไรก็หามาให้ เขาจึงทึกทักเข้าใจว่าพ่อแม่คือผู้ที่ให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่างฉะนั้นพอรถพัง เขาจึงคิดว่าพ่อแม่ต้องซ่อมให้เขาได้ แม้เราจะให้เหตุผลใดๆ เขาก็ไม่เชื่อ เด็กวัยนี้จึงไม่ต้องอธิบายอะไรมากเพียงคุณทำให้เขาแน่ใจว่าคุณพยายามซ่อมและให้เขาดูว่าเครื่องยนต์มันหักต่อไม่ติด เป็นต้น บอกเขาว่าเราเสียใจที่ซ่อมไม่ได้และยอมรับว่าเขาโกรธ เสียใจ คุณปล่อยให้เขาร้องไห้ได้ พูดบ่นได้ แต่ถ้าจะมาทุบตีพ่อแม่ไม่ได้เป็นอันขาด คุณจะต้องเอาจริงและสื่อไปยังลูกให้ชัดเจนว่าตีพ่อแม่ไม่ได้ตีใครก็ไม่ได้เวลาที่เด็กทำร้ายตัวเอง เราต้องหยุดพฤติกรรมนั้น การขว้างปาทำลายข้าวของก็ไม่ยอมเช่นกัน การหยุดพฤติกรรมที่เด็กกระทำรุนแรงอย่าใช้วิธีอธิบายขนาดนั้นแต่ให้พูดสั้นๆ กระชับ และกระทำร่วมด้วย เช่น จับมือเขา จ้องตาเขา และให้บอกว่า "แม่รู้ว่าหนูกำลังโกรธ (หรือเสียใจ) แต่ตีแม่ไม่ได้ ถ้าอยากตี ตีพื้น" แล้วปล่อยมือเขา ถอยห่างออก ถ้าเด็กวิ่งตามมาตี ก็จับตัวจับมือไม่ให้ตี ถ้าดิ้นรน ก็รวบตัวเอาหลังเข้าหาตัวเรา โดยที่เราไม่ต้องพูด รอให้บรรยากาศสงบ และจึงปล่อยเด็กลง บอกเขาว่า "แม่จะอยู่ตรงนี้ (เดินห่างออกไป) หนูสงบแล้วมาหาแม่ หรือเรียกแม่ก็ได้"การกระทำในลักษณะนี้ เป็นการปล่อยเด็กอยู่ตามลำพัง เพื่อให้เขาสงบอารมณ์ของเขา โดยเราจะไม่ไปเกี่ยวข้อง เป็นวิธีที่เรียกว่า "แยกไปให้เวลานอก" เด็ก 3 ขวบ แยกได้ 3 นาที เราอาจเข้ามาหาเขาได้ถ้าเขายังอาละวาดอยู่ก็ทำวิธีเดิม เด็กบางคนทำ 2-3 ครั้งได้ผล บางคนก็นานกว่านี้ข้อสำคัญอยู่ที่การเอาจริงของเราโดยเราไม่แสดงอารมณ์ตอบโต้ ผู้ใหญ่ต้องรักษาความสงบของตนเองไว้เด็กจะได้เรียนรู้ การทำร้ายคนอื่นนั้นทำไม่ได้ และเขาควรได้เริ่มเรียนรู้การรู้จักระงับอารมณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการเรียนรู้เรื่องการควบคุมตนเองต่อไปข้างหน้าเด็กปฐมวัยจะต้องรู้จักบังคับตนเองได้บ้างแล้ว โดยที่ผู้ใหญ่เป็นผู้กำกับดูแล ไม่ปล่อยให้เด็กได้ทำตามอำเภอตามใจ หรือบอกเล่าให้เขาสงบการพูดอธิบายมากขณะนั้น จะยิ่งไปกระตุ้นอารมณ์ต่อกันมากขึ้น เด็กจะไม่ฟังไม่เข้าใจ ก็ยิ่งเป็นเรื่องบานปลาย พ่อแม่ทุกคนในบ้านจะต้องร่วมมือช่วยกันไปในทิศทางเดียวกัน เราคงไม่ต้องการให้เด็กทำบาป สร้างกรรมในการตีพ่อแม่ หรือมีอารมณ์ร้ายติดตัวไปในภายหน้า และไปมีปัญหาในการอยู่กับเพื่อนและสังคมต่อไปการเล่นรุนแรงก็เช่นกัน จะต้องห้ามและจัดหาวิธีเล่นให้ใหม่ ถ้าเด็กเล่นรุนแรงต้องหยุดเล่นทันที บอกเขาว่าเราไม่เล่นกันแบบนี้ เบี่ยงเบนการเล่น โดยให้ไปปีนป่าย วิ่งบนสนาม เตะลูกบอล เด็กวัยนี้ต้องการการออกกำลัง ฉะนั้นสนามเด็กเล่นจะเหมาะมาก เพราะมีเครื่องเล่นหลายอย่าง เช่น ลื่นไถ ชิงช้า ลอดอุโมงค์ โหนตัว เขาจะได้ใช้พลังงานไปในทางสร้างสรรค์อีกประการคือ วัยนี้กำลังเหมาะในการให้ช่วยเหลือตัวเอง เวลาที่เขาอยู่บ้านกับครอบครัว การให้ช่วยเหลืองานบ้าน เขาจะชอบทำตาม การให้โอกาสเด็กฝึกทำไปด้วยกัน มีการชมเชยเขา ที่เขาพยายามหรือมีน้ำใจ การที่เราให้เด็กรู้จักการทำบุญ สวดมนต์ ไหว้พระ ตามที่ครอบครัวนับถือจะช่วยให้จิตใจอ่อนโยน รู้จักสงสารเป็นเห็นใจผู้อื่นเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยทำกับเขาและให้โอกาสเขาทำตาม จะช่วยป้องกันการทำรุนแรงได้ดีทีเดียว ข้อสำคัญต้องทำไปด้วยกันเสมอๆ เรื่อยๆ ไม่ใช้วิธีพูดบอกอย่างเดียวที่สำคัญอีกประการคือ อย่าให้ลูกดูสิ่งที่แสดงวิธีการรุนแรง เช่น การดูโทรทัศน์ วิดีโอ เห็นภาพการกระทำรุนแรง โหดร้าย เมื่อเห็นภาพอะไรก็มักจะเอาอย่าง จึงควรหลีกเลี่ยงด้วยค่ะ

ศ.(เกียรติคุณ)พญ.วันเพ็ญ บุญประกอบ

//www.elib-online.com/childclinic/childclinic51/child_clinic51022.html





 

Create Date : 20 สิงหาคม 2556
0 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2556 15:27:40 น.
Counter : 944 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


iambombie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add iambombie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.