โรค กระดูกพรุน




โรคกระดูกพรุน หรือ osteoporosis

คือภาวะที่เนื้อกระดูกของร่างกายลดลงอย่างมาก และเป็นผลให้โครงสร้างของกระดูกไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเช่นเดิม โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของผู้สูงอายุ โดยปกติร่างกายเราจะมีกระบวนสร้างและสลายกระดูก เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิน 40 ปี กระบวนสร้างจะ ไม่สามารถไล่ทันกระบวนสลายได้ นอกจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้นการดูดซึมของทางเดินอาหาร จะเสื่อมลงทำให้ร่างกายต้องดึง สารแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ผลคือ ร่างกายต้องสูญเสียปริมาณเนื้อกระดูกมากขึ้น

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

- หญิงวัยหมดประจำเดือน -- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น

- ผู้สูงอายุ

- ชาวเอเซียและคนผิวขาว -- โรคกระดูกพรุนถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ ตามสถิติพบว่า สองชนชาตินี้
มีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวดำ

- รูปร่างเล็ก ผอม

- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ

- ออกกำลังน้อยไป

- สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ

- ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์

- เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต

- รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนและอาหารมีกากมากเกินไป

- รับประทานอาหารเค็มจัด

อาการของโรคกระดูกพรุน

ระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อเริ่มมีอาการแสดงว่าเป็นโรคมากแล้ว อาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆลดลง หลังจะโก่งค่อมหากหลังโก่งค่อมมากๆจะ ทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิก เคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ จะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ

โรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมาก ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งหากที่กระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถ เคลื่อนไหว ไปไหนได้

การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

วิธีที่ดีที่สุด คือ การเสริมสร้างเนื้อกระดูกของร่างกายให้มากที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยควรให้ความสนใจในการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยการปฏิบัติตนดังนี้

รับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต กุ้งแห้งตัวเล็ก กุ้งฝอย
ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป
เลี่ยงอาหารเค็มจัด
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

การทรงตัวดี ป้องกันการหกล้มได้
หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ
เลี่ยงยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
ระมัดระวังตนเองไม่ให้หกล้ม
การใช้ยาในการป้องกันและรักษาจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ เพศ
และระยะเวลาหลังการหมดประจำเดือน

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรก ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องวัดความหนาแน่น ของกระดูก (BoneDensitometer) การตรวจนี้เป็นการตรวจโดยใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมากส่องตามจุดต่างๆ ที่ต้องการตรวจแล้วใช้คอมพิวเตอร ์คำนวณหาค่าความหนาแน่น ของกระดูกบริเวณต่างๆเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางรายที่มีความเสี่ยง ได้แก่ รูปร่างผอม ดื่มเหล้า กาแฟ สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ไม่ออกกำลังเป็นประจำ หรือ รับประทานยาสเตียรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่น ของกระดูกเป็นประจำทุกปี



Create Date : 30 กรกฎาคม 2550
Last Update : 30 กรกฎาคม 2550 13:12:34 น. 0 comments
Counter : 327 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สักกะนิด
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




หลังไมค์ถึงสักกะนิดจ้า

ชีวิตคนเรามันไม่ได้ทุกอย่างที่เราต้องการ

มันมีทั้งมุมที่เราชอบและที่เราไม่ชอบ

เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกที่จะมองมัน

และเลือกที่จะอยู่กับมันให้ได้

Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สักกะนิด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.