เนื้อหาเหล่านี้เกิดจากความรู้ ทัศนะและประสบการณ์ของผู้เขียน....โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

เเต่งงาน,พาร์ทเนอร์,หรือ samen wonen ดี

เรากำลังจะจดทะเบียนในไม่ช้า เลยอยากเก็บไว้เป็นข้อมูล ใครมีข้อเเก้ไขหรือความคิดเห็นก็เเสดงความคิดเห็นร่วมกันได้น่ะค่ะ เราอยากหาความรู้ให้เเน่ใจก่อนจะเซ็นต์อะไรลงไปเพราะเราคิดว่าไม่จดทะเบียนก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เราไม่ได้คิดจะมีลูกเเละก็ไม่ได้อยากจะได้สัญชาติดัชต์นะค่ะ เลยไม่อยากจดทะเบียนสมรส

เเต่งที่ไทยหรือที่นี่ดี
เคยได้ยินว่าจดทะเบียนสมรสที่ไทยเเล้ว(ผู้ชายคนเดียวกัน)จะจดทะเบียนสมรสที่ฮอลเเลนด์อีกไม่ได้ เพราะเราไม่มีใบรับรองโสดที่จะมาเเต่งงานที่นี่ ได้เเต่เอาเอกสารการเเต่งงานจากไทยมาลงเป็นหลักฐานว่าเเต่งงานกันเท่านั้น เเต่งที่ไหนก็ถือกฏหมายของที่นั่น
ส่วนใครที่เลือกเเต่งที่นี่ มันก็มีหลายระดับให้เลือก

1จดทะเบียนสมรส จดที่ Gemeente
2จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ จดที่ Gemeente
3จดsamenlivingscontract จดที่ Notaris ถ้าเราอยู่ร่วมชายคาเดียวกันเเต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นหลักฐานก็ไม่มีผลทางกฏหมาย

ถ้าไม่จด เงินลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ไม่มีรายได้(Algemene heffingskorting) ก็จะไม่ได้ เเละต่อไปมีเเนวโน้มว่าจะได้น้อยลง

ถ้าจด ฝ่ายชายมีิเงินฝากเกิน 20,661 ยูโร ส่วนที่เกินต้องจ่ายภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก เเต่ถ้าฝ่ายหญิงไม่มีรายได้ รัฐเพิ่มฐานเงินฝากให้เป็น 41,332 ยูโร ส่วนที่เกินถึงจะต้องจ่ายภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้เสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากน้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องเสียเลยก็ไ้ด้ (กฏปี 2010)

ข้อ 1 เเละ 2 สถานนะเเทบจะไม่ต่างกัน ส่วนข้อ 3 เหมาะกับคนไม่มีลูกไม่ต้องการการผูกมัด เเต่ต้องการทำให้มันชัดเจน โดยจดเป็นสัญญาเเต่ละเรื่องไว้ เช่น ทำสัญญาซื้อบ้านร่วมกัน ทำสัญญาเเบ่งทรัพย์สิน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายนึงตายอีกฝ่ายจะได้ไม่ลำบาก

ข้อ 1 เเละ 2 ที่เหมือนกันคือ
ต้องมีพยาน 2-4 คน (samen wonen ไม่ต้องใช้พยาน)

ข้อเเตกต่างระหว่างข้อ 1 เเละข้อ 2

เเต่งงาน
ถ้าจะเลิกกันต้องใช้ทนายเเม้จะยิีนยอมด้วยกันทั้งสองฝ่ายก็ต้องใช้ทนาย ซึ่งราคาค่อนข้างเเพง
เลิกกันต้องเเยกบ้าน
ลูกเป็นลูกของคู่สมรสโดยสมบูรณ์ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
รับผิดชอบหนี้ร่วมกัน เเต่จดเเยกได้ว่าจะรับผิดชอบเรื่องใดบ้าง
ถือพาร์ทสปอร์ต 2 ใบไ้ด้(อันนี้ไม่เเน่ใจ)

พาร์ทเนอร์
ถ้าสองคนตกลงจะเลิกกันได้ก็ไม่ต้องใช้ทนาย
เลิกกันไม่ต้องเเยกบ้านก็ได้
ถ้าฝ่ายหญิงมีลูก ฝ่ายชายสามารถบอกไ้ด้ว่าไม่ใช่ลูกของตัวเอง ฝ่ายหญิงต้องไปฟ้องร้องเอาเอง
รับผิดชอบหนี้ร่วมกัน เเต่จดเเยกได้ว่าจะรับผิดชอบเรื่องใดบ้าง
เปลี่ยนเป็นสัญญาเเต่งงานได้ไม่ยาก

เมื่อสองวันที่ผ่านมาเดินทางจะไปทำเรื่องขอจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ เจ้าหน้าที่ให้คำเเนะนำว่าถ้าจดพาร์ทเนอร์จากที่นี่เเล้วจดทะเบียนสมรสทีหลัง ในอนาคตถ้าต้องการไปเเต่งงานที่ไทยมันจะมีเอกสาร 3 ชุดเเต่ทางไทยยอมรับเเค่ชุดเดียวคือการเเต่งงานเเต่อีก 2 ชุด ทางไทยไม่ยอมรับ จะทำให้ไม่มีผลทางกฏหมายที่ไทย เจ้าหน้าที่บอกเจอปัญหานี้มาเเล้ว 95 % ไม่รู้จริงเท็จเเค่ไหน
เราจึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย
1. ถ้าเเต่งที่ไทยทางนี้่ให้เเค่เอาเอกสารมาลงเป็นหลักฐานเเล้วกฏหมายของที่เนเธอร์เเลนด์ยังจะคุ้มครองเป็นปกติหรือไม่เพราะเราไม่ได้เเต่งกันตามกฏหมายของเนเธอร์เเลนด์
2. ถ้าเราเเละเเฟนจดทะเบียนพาร์ทเนอร์กันที่เนเธอร์เเลนด์เเล้ว ภายหลังอยากเปลี่ยนเป็นทะเบียนสมรส(ซึ่งทำได้ไม่ยากเพราะพาร์ทเนอร์สถานะเเทบไม่ต่างกับทะเบียนสมรส) ทางไทยไม่ยอมรับนี่หมายถึงเเค่เอกสารหรือว่าทะเบียนสมรสที่เราจดจากที่เนเธอร์เเลนด์ไปจะไม่มีผลทางกฏหมายที่ไทยด้วย
3. สืบเนื่องจากข้อ 2 ถ้าเราจดเเค่พาร์ทเนอร์ เเฟนจะไม่โสดอีกต่อไป เเล้วจะจดทะเบียนสมรสที่ไทย เเฟนไม่มีใบรับรองโสดเเล้วจะจดทะเบียนที่ไทยได้อย่างไร เเล้วอนาคตเผื่อเเฟนอยากกลับไปอยู่ไทยหลังอายุ 50 ปี เเบบอยู่ถาวรมันจะได้หรือไม่ จะมีผลทางกฏหมายที่ไทยหรือไม่ เพราะเมื่อปีที่เเล้วไปฟังที่สถานทูตที่กรุงเฮกมาว่า ฝ่ายชายถ้าจะไปอยู่ไทยเเบบถาวรตลอดชีพเเบบที่ไม่ต้องออกไปต่อวีซ่า ต้องอายุ 50 ปีขึ้นไปเเละเเต่งงานกับผู้หญิงไทย หรือถ้าอายุน้อยกว่า 50 ปีก็เข้ามาอยู่ไทยได้เเต่ต้อง มีเงินมาลงทุนทำกิจการในไทยเป็น 10 ล้าน รายละเอียดของกฏหมายมันหยิบย่อยจนเกินกว่าจะเข้าใจ บางคนบอกมาอยู่ไทยไม่เห็นจะยาก เเต่ต้องดูด้วยว่าอยู่ไทยเเบบระยะสั้นหรือระยะยาว ถูกกฏหมายหรือผิดกฏหมาย ถ้าอยู่เเบบผิดกฏหมายก็อาจจะโดนไถเงินอยู่เรื่อยๆ เราไม่ชอบให้ใครมาไถเงิน เพราะไม่มีเงินให้ไถ555 ก็อยากทำให้มันถูกกฏหมายซะจะได้ไม่เป็นข้ออ้างให้มิจฉาชีพเอามาหากิน
ข้างล่างนี้คือข้อความนึงในข้อมูลที่เราขอมาจากเจ้าหน้า่ที่

Thailand kent naast het huwelijk geen andere samenlevingsvormen.
ประเทศไทยไม่ยอมรับการจดทะเบียนอยู่ด้วยกันเเบบอื่นนอกจากการจดทะเบียนสมรส

สรุประหว่างที่เรายังไม่เข้าใจข้อกฏหมาย เราทั้งสองคนปรึกษากันว่า ถ้างั้นเราเเค่ไปจดที่ samen wonen ที่ Notaris ดีกว่าเเล้วทำสัญญาเเบ่งทรัพย์สินเเบบเเต่งงานทุกอย่าง ฉะนั้นเราเเละเเฟนก็จะยังมีสถานะโสด เเถมมีผลทางกฏหมายเเละภาษีด้วย วันดีคืนดีนึกอยากกลับไปอยู่ไทยค่อยไปจดทะเบียนสมรสที่ไทย




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2554
0 comments
Last Update : 14 ตุลาคม 2554 18:24:07 น.
Counter : 1244 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


makampom-ta
Location :
Bangkok- Netherlands

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





website counter
Friends' blogs
[Add makampom-ta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.