Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2560
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 
พัฒนาการเด็กวัย 4-5 ปี และการส่งเสริมพัฒนาการ



พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี, พัฒนาการเด็กวัย 5 ปี, พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ, พัฒนาการทางร่างกาย, พัฒนาการทางสมอง, พัฒนาการทางอารมณ์, พัฒนาการทางสังคม, พัฒนาการของลูกอนุบาล, พัฒนาการของเด็กอนุบาล, พัฒนาการของลูกอนุบาล, พัฒนาการลูก 4-5 ขวบ, พัฒนาการลูกอายุ 4-5 ปี, การเจริญเติบโตของลูก 4 ขวบ, การเจริญเติบโตของลูก 5 ขวบ, การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, การส่งเสริมพัฒนาการลูก, กระตุ้นพัฒนาการเด็ก, กระตุ้นพัฒนาการลูก, เช็คพัฒนาการเด็ก, เช็คพัฒนาการลูก

เด็กวัย 4 -5 ปี มีความมั่นใจในตัวเองมาก เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งรอบตัวที่แปลกใหม่ ฝึกทักษะใหม่ๆ เพราะอยากทำอะไรให้สำเร็จทุกอย่าง ต้องการแสดงความคิดและแสดออกในสิ่งที่คิดซึ่งเต็มไปด้วยจินตนาการ

 



พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม

เด็กวัยนี้มักจะชอบเล่นแบบโลดโผน เพราะมีพัฒนาการทางร่างกายที่ดีขึ้น สามารถทรงตัวได้ดีขึ้น จึงมักคิดว่าเป็นเรื่องท้าทายและมักจะทำอะไรที่ยากๆ เพื่อทดสอบกำลังของตัวเอง

พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่เด็กอายุ 4 - 5 ปี

        • ก้าวสลับเท้าขึ้นลงบันไดได้คล่อง
        • ชอบหมุนตัว แกว่งตัว ตีลังกา ชอบวิ่ง กลิ้ง ปีนบันไดและต้นไม้
        • กระโดดขาเดียวได้ไกล 4 -6 ก้าว
        • กระโดดจากที่สูง 2 ฟุต โดยเท้าทั้งสองข้างลงพร้อมกัน
        • ใช้มือจับลูกบอลได้ดี แทนที่จะใช้แขนรับ
        • ถีบรถจักรยานสามล้อและเลี้ยวกลับรถได้

พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กเด็กอายุ 4 - 5 ปี

        • ต่อบล็อคเป็นหอคอยสูงๆ ได้
        • ใช้กรรไกรได้ดี ตัดกระดาษตามเส้นได้
        • วาดรูปคนได้ มีส่วนหัว ลำตัว แขน และขา จะค่อยๆ พัฒนาการจนเติม ผม หู มือ และเท้า ได้
        • คัดลอกตัวอักษรตามแบบง่ายๆ ได้
        • ร้อยลูกปัดเป็นสร้อยคอได้ แต่ยังไม่สามารถสนเข็มได้

การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัย 4 – 5ปี

        • ให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเอง เช่น ใส่เสื้อผ้า ติดกระดุมเสื้อ และผูกเชือกรองเท้าเอง
        • หากิจกรรมให้ด็กทำ เช่น ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน ดัดลวด ดัดเชือกเป็นรูปทรงต่างๆ หรือต่อภาพจิ๊กซอว์ เป็นต้น
        • พาลูกออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่
        • ฝึกให้รับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ เช่น เช็ดโต๊ะ เก็บรองเท้า พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ทำงานประสานกันระหว่างวายตากับมือได้ดีอีกด้วย
        • ถ้าเด็กเข้าใจว่าความพยายามของตนไม่เป็นไปตามที่ผู้ใหญ่ต้องการ เด็กจะเลิกล้มความพยายามทที่จะทำอะไรใหม่ๆ
        • ทันที ถ้าเด็กคนนั้นเก็บความรู้สึกนี้ไว้จนโต อาจก่อเป็นปมด้อยในภายหลังได้

สุขภาพฟันของเด็กวัย 4-5 ปี

ในช่วงวัย 4-5 ปี เด็กจะมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ เด็กๆ จะชอบกินขนม ของขบเคี้ยวที่มีแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ จะทำให้ฟันผุง่าย ดังนั้น เด็กๆ ควรได้รับการดูแลและแปรงฟันอย่างถูกวิธีและสะอาด เพราะการเสียฟันน้ำนมก่อนเวลาที่ฟันแท้จะขึ้น ทำให้ฟันแท้เกหรือซ้อนกันได้

 

การส่งเสริมพัฒนาการสุขภาพฟันของเด็กวัย 4 - 5 ปี

        • ควรดูแลความสะอาดในช่องปากของเด็ก โดยเป็นผู้แปรงฟันอย่างถูกวิธีให้เด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 5 ขวบ และควรพูดคุยให้เด็กเห็นความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาฟันให้แข็งแรง
        • หัดให้เด็กแปรงฟันเอง และผู้ใหญ่ช่วยแปรงซ้ำในตอนสุดท้ายเพื่อให้ฟันสะอาด และต้องระวังไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟัน



พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม

เด็กอายุ 4 – 5 ปี อยู่ในระยะโครงสร้าง (Structure Stage) การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก เด็กจะคอยสังเกตการณ์การใช้ภาษาของคนรอบข้าง และทดลองใช้ด้วยตนเอง

 

พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 5 ปี

        • บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
        • รู้จักเพศของตัวเอง
        • ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
        • เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
        • เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
        • ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
        • คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
        • มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
        • ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
        • สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
        • สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก

การส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 4-5 ปี

        • ควรตอบคำถามของเด็กด้วยคำตอบ สั้น เข้าใจง่าย และใช้ภาษาที่ถูกต้อง
        • ไม่ควรถือป็นอารมณ์เมื่อเด็กพูดคำหยาบ ไม่สุภาพต่างๆ ควรมีท่าทีไม่สนใจถ้อยคำเหล่านั้น ไม่นานเด็กจะเลิกพูดไปเอง
        • สร้างทักษะพื้นฐานอื่นๆ ทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เช่น อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ
        • ควรสอนให้เด็กเข้าใจจำนวนจากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ขนม 1 ชิ้น นก 2 ตัว และสอนการเพิ่มหรือลดจำนวนจากภาษาที่ใช้ เช่น "ได้เพิ่มมาอีก" หรือ "บินหายไป" เป็นต้น ความเข้าใจพื้นฐานจากสิ่งเหล่านี้ จะเชื่อมโยงไปสู่ความหมายของสัญลักษณ์ และการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นต่อไป
        • เมื่อเด็กเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง และแต่งเติมเสริมต่อ ควรปล่อยให้เด็กเล่า และไม่ตำหนิติเตียน

           

พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี, พัฒนาการเด็กวัย 5 ปี, พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ, พัฒนาการทางร่างกาย, พัฒนาการทางสมอง, พัฒนาการทางอารมณ์, พัฒนาการทางสังคม, พัฒนาการของลูกอนุบาล, พัฒนาการของเด็กอนุบาล, พัฒนาการของลูกอนุบาล, พัฒนาการลูก 4-5 ขวบ, พัฒนาการลูกอายุ 4-5 ปี, การเจริญเติบโตของลูก 4 ขวบ, การเจริญเติบโตของลูก 5 ขวบ, การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, การส่งเสริมพัฒนาการลูก, กระตุ้นพัฒนาการเด็ก, กระตุ้นพัฒนาการลูก, เช็คพัฒนาการเด็ก, เช็คพัฒนาการลูก


พัฒนาการทางสติปัญญาและการส่งเสริม

ความพร้อมของพัฒนาการด้านสติปัญญา ของเด็กวัย 4-5 ปี มีมากขึ้น เมื่อสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) พัฒนาและทำงานได้ดีขึ้น เด็กๆ จะสามารถควบคุม ยับยั้งชั่งใจ อธิบายความต้องการ หรือความคับข้องใจของตนเองได้มากขึ้น แล้วความซน ดื้อ และ เจ้าอารมณ์จะค่อยๆ ลดลงไปเอง

เด็กวัยนี้จะมีการมองโลกอย่างหลากหลายมุมมอง (Multicausal thinking) เริ่มเข้าใจเหตุและผลที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งเป็นผล

จากพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยนี้

 

พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 4 - 5 ปี

        • นับ 1 – 3 ได้ถูกต้อง และ ท่องจำเลข 1 – 30 ได้
        • เรียงบล็อก 5 อัน ตามลำดับจากใหญ่ที่สุดไปเล็กที่สุด
        • บอกชื่อและจับคู่แม่สีได้
        • แยกแยะความต่างระหว่างเส้นขวาง เส้นตั้ง และเส้นนอนได้
        • บอกได้ว่าอันไหนที่ใหญ่ที่สุด และยาวที่สุดในสิ่งของสามอย่าง
        • เข้าใจเรื่องขนาดได้ลึกซึ้งขึ้น
        • ใช้คำที่บอกตำแหน่งได้ เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างใต้ ข้างบน ข้างใน ข้างนอก ฯลฯ
        • มีความเข้าใจเรื่องเวลาเพิ่มขึ้น เช่น วัน เดิน นาที เวลาเข้านอน ฯลฯ
        • เป็นนักสังเกตการณ์ที่ดี โดยเฉพาะเรื่องที่ตัวเองมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
        • เล่นของเล่นได้นานขึ้น เพราะมีสมาธิดีขึ้น

การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 4 - 5 ปี

        • ออกกำลังกาย เช่น ปั่นจักรยาน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมอง เมื่อใช้สายตามอง ขาออกแรงปั่น ใช้สมองส่วนควบคุมการทรงตัว ทุกส่วนจึงได้ทำงานประสานกัน และยังนำออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองอีกด้วย
        • การเล่นต่อบล็อกหรือชุดตัวต่อเสริมทักษะ เป็นรูปร่างต่างๆ การใช้นิ้วและมือทำให้สมองทำงานต่อเนื่อง และเด็กมีสมาธิดีขึ้นด้วย
        • เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกในเรื่องการอ่าน ชวนกันตั้งคำถามและให้เด็กคิดหาคำตอบ ให้คำชมเมื่อเขาแสดงวิธีคิดใหม่ๆ
        • ฝึกให้เด็กคิดเป็นภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมอง เช่น การบวกเลข จะกระตุ้นสมองซีกซ้ายเพียงอย่างเดียว ควรกระตุ้นสมองซีกขวาให้ทำงานไปพร้อมกัน
        • เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ ดีต่อการเรียนและการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ เพราะจะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับทางเดินของประสาทที่ใช้ความคิด จิตใจสงบ กล้ามเนื้อสมองผ่อนคลาย พร้อมสำหรับการเรียนรู้
        • การเรียนหรือการเล่นดนตรี จะช่วยให้การเรียนคณิตศาสตร์ดีตามไปด้วย เพราะดนตรีทำให้เด็กรู้จักตัวเลขจากการนับจังหวะ บวกลบค่าของเวลา เข้าใจเรื่องของสัดส่วน และรู้จักค่าของตัวโน้ตแต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน

           

           

           

พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี, พัฒนาการเด็กวัย 5 ปี, พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ, พัฒนาการทางร่างกาย, พัฒนาการทางสมอง, พัฒนาการทางอารมณ์, พัฒนาการทางสังคม, พัฒนาการของลูกอนุบาล, พัฒนาการของเด็กอนุบาล, พัฒนาการของลูกอนุบาล, พัฒนาการลูก 4-5 ขวบ, พัฒนาการลูกอายุ 4-5 ปี, การเจริญเติบโตของลูก 4 ขวบ, การเจริญเติบโตของลูก 5 ขวบ, การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, การส่งเสริมพัฒนาการลูก, กระตุ้นพัฒนาการเด็ก, กระตุ้นพัฒนาการลูก, เช็คพัฒนาการเด็ก, เช็คพัฒนาการลูก


พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม

เด็กวัยนี้ต้องการสัมผัสสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าผู้คน อาหาร เสื้อผ้า การเล่น และของเล่นใหม่ๆ มีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบรุนแรง แสดงพฤติกรรมขัดแย้งกับคนอื่น เพื่อเรียกร้องการตอบสนองทางสังคมจากเพื่อนๆ และเป็นเพราะการทำงานของ สมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงแสดงออกรุนแรง แต่ก็จะค่อยๆ ลดลงไปเอง

        • การปฏิเสธหรือต่อต้านอำนาจของผู้ใหญ่แสดงออกด้วยคำพูด ท่าทาง หรือบางครั้งอาจใช้ความเงียบ แกล้งทำเป็นไม่ได้ยิน หรือทำเป็นไม่เข้าใจคำถาม
        • การเลียนแบบ เลียนแบบการพูด กิริยาท่าทางจากเด็กคนอื่น หรือผู้ใหญ่ที่รู้สึกผูกพัน หรือเลียนแบบจากผู้ที่สัมผัสตัวเขาอย่างนุ่มนวลหรือ เลียนแบบจากผู้ที่ต้องการจะเลียนแบบด้วย
        • การแข่งขันจะเริ่มในวัยประมาณ 4 ปี เด็กอยากให้ตนเองได้รับการยอมรับมากกว่าคนอื่นๆ
        • การทะเลาะวิวาท แสดงออกด้วยการเตะ ตี กัด ร้องไห้ หรือแย่งชิงของเล่นกลับคืน
        • ความเห็นใจหรือรู้สึกสงสารแสดงออกด้วยการพยายามจะช่วยเหลือผู้อื่น เช่น ช่วยเพื่อนที่หกล้ม ช่วยทำแผลให้เพื่อน เป็นต้น
        • การยึดตนเองเป็นศูนย์กลางเด็กต้องการให้ตัวเองเป็นใหญ่ ต้องได้ทุกสิ่ง ต้องการให้คนอื่นยอมรับในสิ่งที่ทำอยู่ และจะเริ่มลดการยึดตนเองลงเมื่อเด็กได้เข้ากลุ่มกับเพื่อน ได้เล่นรวมกับคนอื่น เด็กจะเกิดการเรียนรู้และยอมรับคนอื่นมากขึ้น

พัฒนาการทางสังคมของ เด็กอายุ 4 - 5 ปี

        • เข้าใจความจำเป็นของการให้ และรับ
        • รู้จักการอดทนรอคอย และลำดับก่อนหลัง
        • ตอบสนองต่อกฎเกณฑ์ เช่น มีกฎว่าไม่ตีหรือทำร้ายเด็กคนอื่น หรือ เล่นได้แค่หน้าบ้าน
        • สนใจและอยากเล่นเป็นกลุ่ม และเกาะกลุ่มกันมากขึ้น มีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม
        • ชอบมีเพื่อน และอยู่ท่ามกลางเพื่อนๆ จะคุยและเล่นจนไม่ยอมเลิก
        • ถ้าเล่นด้วยกันเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากกว่า 2 คน โดยเฉพาะจำนวนเลขคี่ เช่น 3 คนมักจะกีดกันเด็กคนที่ 3
        • เด็กจะคุ้นเคยกับการเล่นรวมกันเป็นกลุ่ม เด็กๆ จะรู้วิธีการจัดการกันเองในกลุ่ม จัดการปัญหาทะเลาะเบาะแว้งได้ดีพอสมควร
        • ชอบกระซิบและมีความลับ
        • ชอบเล่นกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เล่นกับเพื่อนได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่เพื่อนสนิทมักเป็นเพศเดียวกัน
        • ชอบเล่นสมมุติ

การส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 4-5 ปี

        • แม้ว่าเด็กวัยนี้จะจัดการปัญหาทะเลาะเบาะแว้งได้ดีพอสมควร ผู้ใหญ่สามารถเข้าไปไกล่เกลี่ยหรือให้คำแนะนำได้บ้าง
        • การพาลูกออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน นอกจากจะช่วยส่งเสริมด้านมิติสัมพันธ์แล้วช่วยให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหาด้วย
        • ฝึกให้รับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ เช่น เช็ดโต๊ะ เก็บรองเท้า เพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหาและรู้จักวางแผน

 

 

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจและการส่งเสริม

เด็กวัยนี้ รู้จักคิดและมีเหตุผลมากขึ้น แต่ก็ยังมีความกลัวอยู่ ซึ่งเป็นความกลัวจากจินตนาการของเด็กเอง

 

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของเด็กอายุ 4 - 5 ปี

        • เด็กวัยนี้จะมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เดี๋ยวรักมาก เกลียดแรง ร่าเริง น่ารัก หรือเดี๋ยวอาจจะพูดจาไม่ดี
        • อ่อนไหวต่อคำชมและคำตำหนิ
        • ไม่หยิบของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
        • ชอบออกนอกกฎเกณฑ์
        • ชอบส่งเสียงดัง ขี้โม้ โอ้อวด
        • มักพูดคำหยาบ โดยที่ยังไม่เข้าใจความหมาย
        • ชอบดูดนิ้วหัวแม่มือตอนจะนอน สำหรับเด็กบางคนการดูดนิ้วเป็นการคลายเครียดเท่านั้น
        • ร้องไห้คร่ำครวญไม่ยอมแยกจากแม่ไปนอนคนเดียวทั้งที่เคยทำได้มาก่อน
        • เด็กผู้ชายชอบจับอวัยวะเพศเวลาหงุดหงิด
        • สนใจเรื่องการแต่งงาน
        • ซักถามว่าเด็กออกมาจากท้องแม่ได้อย่างไร ชอบสงสัยว่ามีการซื้อขายเด็กได้ไหม
        • เริ่มรู้จักสิ่งดี และ สิ่งไม่ดี

การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของเด็กวัย 4 - 5 ปี

        • หากเด็กรู้สึกมีปัญหาที่แก้ไม่ได้ จะต้องช่วยเหลือโดยให้คำแนพนำที่หนักแน่น ต้องคอยพูดด้วยเหตุผล
        • เมื่อเด็กอาละวาด พูดด้วยเหตุผลแล้วยังไม่เชื่อฟัง อาจต้องบังคับหรือควบคุม
        • คอยดูแลและทำให้หายกลัว เมื่อเด็กมีความกลัวมากเกินไป เพราะเด็กอาจยังไม่สามารถแยกความคิดจินตนาการของตนเองจากความจริงได้ หรือมีเหตุซ้ำเติม เช่น ได้ฟังเรื่องน่ากลัว ถูกขู่ให้กลัว หรือฟังนิทานหวาดเสียว
        • งดการดูโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์เรื่องผีที่น่ากลัว
        • ต้องเข้าใจอารมณ์ของเด็กอยู่เสมอ เพราะเด็กวัยนี้ จะมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย
        • กระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุและผลที่หลากหลาย โดยใช้คำถามแบบปลายเปิด เช่น แล้วเป็นยังไงอีก
        • หากเด็กพูดคำหยาบ คำด่า ไม่ควรดุหรือลงโทษ ควรอธิบายให้เด็กฟังว่า ไม่มีใครชอบฟังคำพูดแบบนี้
        • เมื่อเด็กถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศ ความแตกต่างของหญิงชาย หรือ ถามว่า เด็กมาจากไหน ควรตอบอย่างง่ายๆ ด้วยท่าทีสบายๆ และถูกต้องเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ควรตอบแบบหลอกเด็ก เพราะจะยิ่งทำให้เด็กสับสนในเรื่องนั้นๆ

           

           

           





Create Date : 30 พฤษภาคม 2560
Last Update : 30 พฤษภาคม 2560 23:36:55 น. 0 comments
Counter : 5985 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

meku
Location :
ประจวบคีรีขันธ์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add meku's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.